เหม็นขี้ฟัน! นักการเมืองเรียกร้องสปิริตได้ด้วยเหรอ?
เหม็นขี้ฟัน!
นักการเมืองเรียกร้องสปิริต
ได้ด้วยเหรอ?
หลังจากพรรคพลังประชารัฐ เลือกกรรมการบริหารพรรคและประกาศตัว 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาเป็นผู้บริหารพรรค ทั้ง อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ที่มาเป็นหัวหน้า สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เป็นเลขาธิการพรรค สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรองหัวหน้าพรรค และ กอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นโฆษกพรรค ก็ตามมาด้วยเสียงเรียกร้องจาก “นักการเมือง” ให้รัฐมนตรีเหล่านั้น ลาออกจากรัฐบาลและมาทำงานการเมืองเพียงอย่างเดียว
สำหรับนักการเมืองที่ไม่เคยเป็นรัฐมนตรี ออกมาเรียกร้องเพื่อหวังสร้างชื่อในช่วงสนามเลือกตั้งเปิด ก็ไม่น่าแปลกใจ แต่นักการเมืองที่เคยเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี อย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ภูมิธรรม เวชชัย อดีตรมช.คมนาคม, ชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รวมทั้ง จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายสมัย มาเรียกร้อง “สปิริต” ให้ 4 รัฐมนตรีลาออก ด้วยเหตุผลที่สรุปได้ว่ากลัวเป็นการเอาเปรียบคู่แข่ง (ซึ่งก็คือตัวนักการเมืองผู้นั้นเอง)
การเรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว จึงปลุกกระแสอารมณ์ของสังคมไม่ขึ้น เพราะการเรียกร้องนั้นหาได้ยกเหตุผลส่วนรวมเพื่อประเทศชาติไม่ ที่สำคัญไปกว่านั้นหากย้อนไปดูประวัติศาสตร์ช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา นักการเมืองเหล่านี้ หาได้เคยแสดง “สปิริต” ในการลาออกช่วงมีการหาเสียงเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว ยังคงสวมหมวก 2 ใบ คือ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ร่วมกับตำแหน่งในพรรคทั้งสิ้น การออกมาพูดเรียกร้องหาสปิริตทางการเมืองเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้คนเขาว่าเอาได้ว่า “เหม็นขี้ฟัน”
ย้อนไปดูในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ในการจัดเลือกตั้ง ปี 2535 ครั้งนั้นรัฐบาลพิเศษ หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งมี อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ดูแลการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลชุดพิเศษไม่มีนักการเมือง จึงไม่มีข้อครหานี้ ยุบสภาเลือกตั้งปี 2538 ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรี เกือบครึ่ง ครม.ไม่มีใครลาออกช่วงยุบสภาเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว
รุ่งขึ้นอีก ปี 2539 บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ประกาศยุบสภา รัฐมนตรีจากทุกพรรคนั่งครองเก้าอี้อยู่จนเลือกตั้ง เช่นเดียวกับการยุบสภาเลือกตั้งปลายปี 2543 ที่รัฐบาล ชวน2 ของประชาธิปัตย์บริหารประเทศ ก็ไม่มีสปิริตของใครให้เห็นเช่นกัน
หันมาดูพวกเดียวกัน ทั้ง ไทยรักไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ต่อมาแปลงร่างเป็นเพื่อไทยดูแลการเลือกตั้ง 3 ครั้ง ทั้งปี 2547 (ช่วง ทักษิณ 1 ครบเทอม) 2549 ทักษิณ ชินวัตร ยุบสภา เพราะถูกไล่ รวมถึง ยิ่งลักษณ์ ยุบสภา เมื่อ 9 ธันวาคม 2556 ก็มิได้ลาออก แต่ต้องยอมออก เพราะคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี จากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผิดระเบียบ หาใช่การแสดงสปิริตไม่และให้ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มารักษาการแทน...นี่หรือสปิริตนักการเมือง...เหม็นขี้ฟัน!
http://www.komchadluek.net/news/hit-issue-thansettakij/346318
อ่านบทความนี้แล้วก็ประหลาดใจ นักการเมืองที่ออกมาเรียกร้องสปิริต
ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่เคยมี
ย้อนอดีตไปทบทวนกันเสียบ้าง
อย่าลืมตัวค่ะ
🤐~มาลาริน~เหม็นขี้ฟันนักการเมืองบางคนบางพรรค...เรียกร้องสปิริตที่ไม่เคยมี
เหม็นขี้ฟัน! นักการเมืองเรียกร้องสปิริตได้ด้วยเหรอ?
เหม็นขี้ฟัน!
นักการเมืองเรียกร้องสปิริต
ได้ด้วยเหรอ?
หลังจากพรรคพลังประชารัฐ เลือกกรรมการบริหารพรรคและประกาศตัว 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาเป็นผู้บริหารพรรค ทั้ง อุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ที่มาเป็นหัวหน้า สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เป็นเลขาธิการพรรค สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรองหัวหน้าพรรค และ กอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นโฆษกพรรค ก็ตามมาด้วยเสียงเรียกร้องจาก “นักการเมือง” ให้รัฐมนตรีเหล่านั้น ลาออกจากรัฐบาลและมาทำงานการเมืองเพียงอย่างเดียว
สำหรับนักการเมืองที่ไม่เคยเป็นรัฐมนตรี ออกมาเรียกร้องเพื่อหวังสร้างชื่อในช่วงสนามเลือกตั้งเปิด ก็ไม่น่าแปลกใจ แต่นักการเมืองที่เคยเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี อย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ภูมิธรรม เวชชัย อดีตรมช.คมนาคม, ชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รวมทั้ง จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายสมัย มาเรียกร้อง “สปิริต” ให้ 4 รัฐมนตรีลาออก ด้วยเหตุผลที่สรุปได้ว่ากลัวเป็นการเอาเปรียบคู่แข่ง (ซึ่งก็คือตัวนักการเมืองผู้นั้นเอง)
การเรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว จึงปลุกกระแสอารมณ์ของสังคมไม่ขึ้น เพราะการเรียกร้องนั้นหาได้ยกเหตุผลส่วนรวมเพื่อประเทศชาติไม่ ที่สำคัญไปกว่านั้นหากย้อนไปดูประวัติศาสตร์ช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา นักการเมืองเหล่านี้ หาได้เคยแสดง “สปิริต” ในการลาออกช่วงมีการหาเสียงเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว ยังคงสวมหมวก 2 ใบ คือ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ร่วมกับตำแหน่งในพรรคทั้งสิ้น การออกมาพูดเรียกร้องหาสปิริตทางการเมืองเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้คนเขาว่าเอาได้ว่า “เหม็นขี้ฟัน”
ย้อนไปดูในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ในการจัดเลือกตั้ง ปี 2535 ครั้งนั้นรัฐบาลพิเศษ หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งมี อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ดูแลการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลชุดพิเศษไม่มีนักการเมือง จึงไม่มีข้อครหานี้ ยุบสภาเลือกตั้งปี 2538 ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรี เกือบครึ่ง ครม.ไม่มีใครลาออกช่วงยุบสภาเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว
รุ่งขึ้นอีก ปี 2539 บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ประกาศยุบสภา รัฐมนตรีจากทุกพรรคนั่งครองเก้าอี้อยู่จนเลือกตั้ง เช่นเดียวกับการยุบสภาเลือกตั้งปลายปี 2543 ที่รัฐบาล ชวน2 ของประชาธิปัตย์บริหารประเทศ ก็ไม่มีสปิริตของใครให้เห็นเช่นกัน
หันมาดูพวกเดียวกัน ทั้ง ไทยรักไทย ของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ต่อมาแปลงร่างเป็นเพื่อไทยดูแลการเลือกตั้ง 3 ครั้ง ทั้งปี 2547 (ช่วง ทักษิณ 1 ครบเทอม) 2549 ทักษิณ ชินวัตร ยุบสภา เพราะถูกไล่ รวมถึง ยิ่งลักษณ์ ยุบสภา เมื่อ 9 ธันวาคม 2556 ก็มิได้ลาออก แต่ต้องยอมออก เพราะคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี จากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผิดระเบียบ หาใช่การแสดงสปิริตไม่และให้ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มารักษาการแทน...นี่หรือสปิริตนักการเมือง...เหม็นขี้ฟัน!
http://www.komchadluek.net/news/hit-issue-thansettakij/346318
อ่านบทความนี้แล้วก็ประหลาดใจ นักการเมืองที่ออกมาเรียกร้องสปิริต
ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่เคยมี
ย้อนอดีตไปทบทวนกันเสียบ้าง
อย่าลืมตัวค่ะ