จริงๆแล้ว การจะบอกว่าคนเราควรจะมี "เงินเก็บ" เท่าไหร่นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะแต่ละคนล้วนมีภาระค่าใช้จ่ายและเป้าหมายทางการเงินที่ไม่เหมือนกัน การวางแผนทางการเงินและเริ่มลงมือสะสมเงินเก็บจะต้องเริ่มจากการทำสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่างการวางเป้าหมายทางการเงินก่อนเป็นอันดับแรก
ทำงานมาตั้งหลายปี เงินก็เก็บมาตั้งหลายปี ส่วนอายุจะเข้าเลข 30 แล้ว มี "เงินเก็บ" เท่านี้พอหรือยังนะ?
การวางเป้าหมายทางการเงินควรจะมีความชัดเจนในด้านของ "ระยะเวลา และจำนวนเงิน" พี่ทุยขอแบ่งระยะของเป้าหมายทางการเงินออกเป็น 3 แบบ นั่นคือ เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง และ เป้าหมายระยะยาว
เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น หมายถึง เป้าหมายที่เราต้องการจะทำสำเร็จได้ภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี เช่น การเก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ หรือ การเก็บเงินเพื่อเรียนคอร์สสอนทำอาหาร
เป้าหมายทางการเงินระยะกลาง จะอยู่ในช่วง 2-5 ปี เช่น การเก็บเงินเพื่อเรียนต่อปริญญาโท เก็บเงินเพื่อซื้อรถ
เป้าหมายทางการเงินระยะยาว คือ เป้าหมายที่มีระยะเวลาที่ต้องการจะทำให้สำเร็จมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นเป้าหมายที่ใช้เงินเยอะ เช่น การซื้อบ้านหรือคอนโด การเก็บเงินเพื่อการเกษียณโดยไม่ต้องทำงาน
ความต่างกันของระยะเวลาในการใช้เงิน ทำให้รูปแบบและวิธีการออมเงินต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะกับการลงทุน ยิ่งถ้าเป็นระยะยาว การลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวจะช่วยทำให้เราได้ผลตอบแทนมากกว่า และเพื่อที่เงินเราจะได้ไม่ลดไปตามมูลค่าเงินเฟ้อด้วย
ด้วยระยะของเป้าหมายที่ต่างกัน การวางแผนทางการเงินจึงไม่เหมือนกัน
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า พี่ทุยจะสมมติให้มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง เริ่มทำงานตอนอายุ 22 ปี ปัจจุบันอายุ 28 ปี ใกล้เข้าเลข 30 เต็มทีแล้ว มีเป้าหมายทางการเงินแบบคนทั่วๆไป ดังนี้
ต้องการเก็บเงินสำหรับใช้ในวัยเกษียณ ใช้เงิน 5 ล้านบาท เมื่ออายุ 60 ปี (ระยะยาว)
กำลังคิดจะดาวน์บ้าน ราคา 3 ล้าน เมื่ออายุ 32 ปี (ระยะกลาง)
อยากได้กล้องถ่ายรูป ราคา 3 หมื่น เมื่ออายุ 29 ปี (ระยะสั้น)
ถ้าคำถามคือ อายุ 30 ปี ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ? นั่นคือในอีกสองปีข้างหน้า หลังจากได้แบ่งเป้าหมายทางการเงินอย่างชัดเจนแล้ว ก็เริ่มลงมือคำนวณกันเลย
ในส่วนของเป้าหมายระยะสั้น คือ กล้องถ่ายรูป ตามเป้าแล้วเป้าหมายนี้จะจบก่อนอายุ 30 ปี จึงไม่จำเป็นต้องนำมาคำนวณ
ในส่วนของเป้าหมายระยะกลาง คือ การดาวน์บ้านราคา 3 ล้าน ถ้าจะดาวน์ 10% ก็คือ 300,000 บาท จะสำเร็จในตอนที่อายุ 32 ปี เมื่ออายุ 30 ปี จะเท่ากับว่าทำงานมาแล้ว 8 ปี คิดแบบง่ายๆ ก็ควรจะเก็บเงินได้ 8 ใน 10 นั่นก็คือ 240,000 บาท และก็อย่าลืมสำรองเงินในส่วนของค่าตกแต่งบ้าน และค่าผ่อนในแต่ละเดือนกันไว้ด้วย
และสุดท้ายคือส่วนของเป้าหมายระยะยาว การเก็บเงินเพื่อการเกษียณ ซึ่งการเก็บเงินเพื่อเป้าหมายระยะยาวให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด ต้องมีการลงทุนควบคู่ไปด้วย เพราะการลงทุนจะทำให้เงินเก็บของเราปลอดภัยจากเงินเฟ้อและผ่อนแรงเราไปด้วยในตัว
สมมติว่าเราลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางให้ผลตอบแทน 5% ต่อปี กับเวลาประมาณ 40 ปี ทำให้ต้องออมเงินเดือนละ 3,200 บาท จึงจะเพียงพอต่อเป้าหมายนี้ และเมื่ออายุ 30 ปี เราก็ควรมีเงินเก็บสำหรับเป้าหมายนี้ประมาณ 500,000 บาท
สำหรับคนที่มีเป้าหมายชีวิตแค่เพียง 2 อย่างนี้ (ระยะกลางกับระยะยาว) เมื่ออายุ 30 ปี ก็ควรจะมีเงินเก็บให้ได้ 740,000 บาท แต่ถ้าชีวิตนี้มีเป้าหมายอื่นอย่างการ ทำธุรกิจ ซื้อรถ หรือ แต่งงาน ก็ต้องมีเงินเก็บมากกว่านี้แน่นอน
อย่างที่พี่ทุยบอกว่าแต่ละคนล้วนมีภาระหน้าที่และเป้าหมายทางการเงินที่ไม่เหมือนกัน ทั้งหมดนี้เป็นตัวเลขที่สมมติขึ้นมาสำหรับมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง ที่มีเป้าหมายทางการเงินประมาณนี้ สำหรับใครที่อยากลองวางแผนทางการเงินของตัวเองดู ก็สามารถนำแนวคิดของพี่ทุยไปปรับใช้ให้ตรงกับชีวิตของตัวเราเองได้เลย
ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคสำหรับการ "เก็บเงิน" เพื่อเป้าหมายระยะยาว นั่นก็คือ เป้าหมายระยะสั้นมากมายระหว่างทาง เพราะฉะนั้นการวางแผนการเงินที่ดี ควรจะวางแผนถึงอนาคต ให้ครอบคลุมทุกระยะเวลา เพื่อจะได้สำเร็จครบทุกเป้าหมาย
แต่สำหรับคนที่มีชีวิตไม่แน่นอน ยังไม่สามารถวางแผนเป้าหมายทางการเงินได้ชัดเจนขนาดนั้น ก็อาจจะสามารถคำนวณจากเงินเก็บได้ พี่ทุยว่า ถ้าคนที่มีรายได้ยังไม่มากนัก เก็บเงินให้ได้เดือนละประมาณ 5-10% ก็ถือว่าโอเคนะ แต่ที่สำคัญคือต้องทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอด้วยล่ะ
ที่มาบทความ :
http://bit.ly/2OpBLfR
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
> Website : www.moneybuffalo.in.th
> Facebook : fb.com/moneybuffalo
> LINE :
https://goo.gl/GAQxF8
อายุ 30 ปี ควรมี "เงินเก็บ" เท่าไหร่ ?
จริงๆแล้ว การจะบอกว่าคนเราควรจะมี "เงินเก็บ" เท่าไหร่นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะแต่ละคนล้วนมีภาระค่าใช้จ่ายและเป้าหมายทางการเงินที่ไม่เหมือนกัน การวางแผนทางการเงินและเริ่มลงมือสะสมเงินเก็บจะต้องเริ่มจากการทำสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่างการวางเป้าหมายทางการเงินก่อนเป็นอันดับแรก
ทำงานมาตั้งหลายปี เงินก็เก็บมาตั้งหลายปี ส่วนอายุจะเข้าเลข 30 แล้ว มี "เงินเก็บ" เท่านี้พอหรือยังนะ?
การวางเป้าหมายทางการเงินควรจะมีความชัดเจนในด้านของ "ระยะเวลา และจำนวนเงิน" พี่ทุยขอแบ่งระยะของเป้าหมายทางการเงินออกเป็น 3 แบบ นั่นคือ เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง และ เป้าหมายระยะยาว
เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น หมายถึง เป้าหมายที่เราต้องการจะทำสำเร็จได้ภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี เช่น การเก็บเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ หรือ การเก็บเงินเพื่อเรียนคอร์สสอนทำอาหาร
เป้าหมายทางการเงินระยะกลาง จะอยู่ในช่วง 2-5 ปี เช่น การเก็บเงินเพื่อเรียนต่อปริญญาโท เก็บเงินเพื่อซื้อรถ
เป้าหมายทางการเงินระยะยาว คือ เป้าหมายที่มีระยะเวลาที่ต้องการจะทำให้สำเร็จมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นเป้าหมายที่ใช้เงินเยอะ เช่น การซื้อบ้านหรือคอนโด การเก็บเงินเพื่อการเกษียณโดยไม่ต้องทำงาน
ความต่างกันของระยะเวลาในการใช้เงิน ทำให้รูปแบบและวิธีการออมเงินต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะกับการลงทุน ยิ่งถ้าเป็นระยะยาว การลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวจะช่วยทำให้เราได้ผลตอบแทนมากกว่า และเพื่อที่เงินเราจะได้ไม่ลดไปตามมูลค่าเงินเฟ้อด้วย
ด้วยระยะของเป้าหมายที่ต่างกัน การวางแผนทางการเงินจึงไม่เหมือนกัน
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า พี่ทุยจะสมมติให้มนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง เริ่มทำงานตอนอายุ 22 ปี ปัจจุบันอายุ 28 ปี ใกล้เข้าเลข 30 เต็มทีแล้ว มีเป้าหมายทางการเงินแบบคนทั่วๆไป ดังนี้
ต้องการเก็บเงินสำหรับใช้ในวัยเกษียณ ใช้เงิน 5 ล้านบาท เมื่ออายุ 60 ปี (ระยะยาว)
กำลังคิดจะดาวน์บ้าน ราคา 3 ล้าน เมื่ออายุ 32 ปี (ระยะกลาง)
อยากได้กล้องถ่ายรูป ราคา 3 หมื่น เมื่ออายุ 29 ปี (ระยะสั้น)
ถ้าคำถามคือ อายุ 30 ปี ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ? นั่นคือในอีกสองปีข้างหน้า หลังจากได้แบ่งเป้าหมายทางการเงินอย่างชัดเจนแล้ว ก็เริ่มลงมือคำนวณกันเลย
ในส่วนของเป้าหมายระยะสั้น คือ กล้องถ่ายรูป ตามเป้าแล้วเป้าหมายนี้จะจบก่อนอายุ 30 ปี จึงไม่จำเป็นต้องนำมาคำนวณ
ในส่วนของเป้าหมายระยะกลาง คือ การดาวน์บ้านราคา 3 ล้าน ถ้าจะดาวน์ 10% ก็คือ 300,000 บาท จะสำเร็จในตอนที่อายุ 32 ปี เมื่ออายุ 30 ปี จะเท่ากับว่าทำงานมาแล้ว 8 ปี คิดแบบง่ายๆ ก็ควรจะเก็บเงินได้ 8 ใน 10 นั่นก็คือ 240,000 บาท และก็อย่าลืมสำรองเงินในส่วนของค่าตกแต่งบ้าน และค่าผ่อนในแต่ละเดือนกันไว้ด้วย
และสุดท้ายคือส่วนของเป้าหมายระยะยาว การเก็บเงินเพื่อการเกษียณ ซึ่งการเก็บเงินเพื่อเป้าหมายระยะยาวให้ได้ประสิทธิภาพที่สุด ต้องมีการลงทุนควบคู่ไปด้วย เพราะการลงทุนจะทำให้เงินเก็บของเราปลอดภัยจากเงินเฟ้อและผ่อนแรงเราไปด้วยในตัว
สมมติว่าเราลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางให้ผลตอบแทน 5% ต่อปี กับเวลาประมาณ 40 ปี ทำให้ต้องออมเงินเดือนละ 3,200 บาท จึงจะเพียงพอต่อเป้าหมายนี้ และเมื่ออายุ 30 ปี เราก็ควรมีเงินเก็บสำหรับเป้าหมายนี้ประมาณ 500,000 บาท
สำหรับคนที่มีเป้าหมายชีวิตแค่เพียง 2 อย่างนี้ (ระยะกลางกับระยะยาว) เมื่ออายุ 30 ปี ก็ควรจะมีเงินเก็บให้ได้ 740,000 บาท แต่ถ้าชีวิตนี้มีเป้าหมายอื่นอย่างการ ทำธุรกิจ ซื้อรถ หรือ แต่งงาน ก็ต้องมีเงินเก็บมากกว่านี้แน่นอน
อย่างที่พี่ทุยบอกว่าแต่ละคนล้วนมีภาระหน้าที่และเป้าหมายทางการเงินที่ไม่เหมือนกัน ทั้งหมดนี้เป็นตัวเลขที่สมมติขึ้นมาสำหรับมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง ที่มีเป้าหมายทางการเงินประมาณนี้ สำหรับใครที่อยากลองวางแผนทางการเงินของตัวเองดู ก็สามารถนำแนวคิดของพี่ทุยไปปรับใช้ให้ตรงกับชีวิตของตัวเราเองได้เลย
ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคสำหรับการ "เก็บเงิน" เพื่อเป้าหมายระยะยาว นั่นก็คือ เป้าหมายระยะสั้นมากมายระหว่างทาง เพราะฉะนั้นการวางแผนการเงินที่ดี ควรจะวางแผนถึงอนาคต ให้ครอบคลุมทุกระยะเวลา เพื่อจะได้สำเร็จครบทุกเป้าหมาย
แต่สำหรับคนที่มีชีวิตไม่แน่นอน ยังไม่สามารถวางแผนเป้าหมายทางการเงินได้ชัดเจนขนาดนั้น ก็อาจจะสามารถคำนวณจากเงินเก็บได้ พี่ทุยว่า ถ้าคนที่มีรายได้ยังไม่มากนัก เก็บเงินให้ได้เดือนละประมาณ 5-10% ก็ถือว่าโอเคนะ แต่ที่สำคัญคือต้องทำให้ได้อย่างสม่ำเสมอด้วยล่ะ
ที่มาบทความ : http://bit.ly/2OpBLfR
ติดตามเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆของ Money Buffalo ได้ที่
> Website : www.moneybuffalo.in.th
> Facebook : fb.com/moneybuffalo
> LINE : https://goo.gl/GAQxF8