งานค่ะ ไม่ต้องสนใจเลื่อนผ่าน

กระทู้คำถาม
ขนมแพนเค้ก
                           
                            วิชาการศึกษาและสร้างองค์ความรู้(I21101)
                            โรงเรียนรัตนราษฎร์บํารุง
                            อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ขนมแพนเค้ก
วิชาการศึกษาและสร้างองค์ความรู้
(I21101)
เสนอ
ครูดิเรก สุวรรณา
จัดทําโดย
ด.ญ.รุ่งนภา ยิ้มค่าย
ด.ญ.อรปรียา บุญมี
ด.ญ.อัญญาภรณ์ โรจนวิทยโอภาส
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/11

สารบัญ
บทที่1
บทนํา
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่3
วัสดุอุปกรณ์
ขั้นตอนการทํา
รูปภาพการดําเนินงาน

บทที่4
ผลการศึกษา

บทที่5
สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม

คํานํา
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องการทําแพนเค้กเป้นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาและสร้างองค์ความรู้(I21101) กลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทําขึ้นเพื่อนําเสนอวิธีการทําขนมแพนเค้ก โดยได้ีการอธิบายวิธีการทําความสําคัญของการทําเอกสารประกอบการเรียน ความรู้เรื่องแพนเค้ก
โทษพระโยชน์ของขนมแพนเค้ก เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงประโยชน์ของแพนเค้ก ที่สามารถสร้างรายได้และประหยัดค่าใช้จ่ายเอกสารประกอบการเรียนนี้ได้รวบรวม เนื้อหามาจากอินเตอร์เน็ต
                 คณะผู้จัดทําต้องขอขอบคุณครูดิเรก สุวรรณาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทําเอกสารประกอบการเรียน คณะผู้จัดทําหวังว่าจะเป้นประโยชน์กับผู้อ่านทุกๆท่าน เอกสารประกอบการเรียนเล่มนี้อาจจะมีสิ่งใดผิดพลาดก้ขออภัยมา ณ โอกาสนี้


บทที่1

บทนํา

ที่มาและความสําคัญ
แพนเค้ก (อังกฤษ: Pancake) เป็นขนมปังแผ่นแบนชนิดหนึ่งทำจาก แป้งนวดเปียก (batter) ซึ่งเป็นแป้งที่ผสมกับ ของเหลว เช่น น้ำ หรือนม และโดยมากแป้งนวดเปียกจะมีไข่เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย แพนเค้กมีความหวานเล็กน้อย และ ถูกทำให้สุกด้วยการหยอดลงในกระทะแบนร้อน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ แพนเค้กมีกินในหลายประเทศในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่แล้วแพนเค้กจะทำจากแป้งสำเร็จรูป ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำให้แป้งขึ้นตัวเมื่อถูกความร้อน เช่น ผงฟู แม้ว่าในบางที เราสามารถที่จะพบแพนเค้ก ที่ทำจากแป้งนวดเปียก ที่หมักจากยีสต์ได้
ในสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักจะนิยมกินแพนเค้กเป็นอาหารเช้าโดยกินร่วมกับไซรัปและร่วมกับผลไม้เช่นกล้วยหรือสตรอเบอร์รี
ในยุโรปตอนกลาง แพนเค้กจะมีความบางกว่าแพนเค้กแบบอเมริกาเหนือ และจะสอดไส้อาหารหลายแบบ ซึ่งสามารถที่จะถูกนำไปทานเป็นอาหารกลางวัน หรือ อาหารมื้อเย็นก็ได้ แพนเค้กแบบนี้ จะถูกเรียกว่า Palatschinken ในภาษาเยอรมัน palacsinta ในภาษาฮังการี clătită ในภาษาโรมาเนีย palačinke ในภาษาเซอร์เบีย โครเอเชีย และบอสเนีย naleśnik ในภาษาโปแลนด์

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
2.เพื่อฝึกทักษะการทําขนมให้ดียิ่งขึ้น
3.เพื่อใช้เวลาว่างให้เป้นประโยชน์
4.เพื่อหารายได้ให้แก่หมู่คณะ
5.เพื่อสร้างความสามัคคีในกลุ่ม

ขอบเขตุ
ในการทําขนมแพนเค้กนี้ คณะผู้จัดทําได้กําหนดขอบเขตในการทํา โดยใช้ห้องคหกรรมของโรงเรียนรัตนราษฎร์บํารุง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ด้านการทําขนม
2.ได้รับประทานขนมหวานที่มีคุณค่าทางสารอาหาร
3.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทําขนม
4.เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5.ทราบวิธีการทําและอุปกรณ์การทําขนมเค้ก

บทที่2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แพนเค้ก เป้นขนมว่างชนิดหนึ่งที่รู้จักกันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นขนมที่มีวิธีการทำที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และอร่อย เป็นขนมปังแผ่นแบนชนิดหนึ่งทำจาก แป้งนวดเปียก ซึ่งเป็นแป้งที่ผสมกับ ของเหลว เช่น น้ำ หรือนม และโดยมากแป้งนวดเปียกจะมีไข่เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย แพนเค้กมีความหวานเล็กน้อย และ ถูกทำให้สุกด้วยการหยอดลงในกระทะแบนร้อน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ แพนเค้กมีกินในหลายประเทศในหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่แล้วแพนเค้กจะทำจากแป้งสำเร็จรูป ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำให้แป้งขึ้นตัวเมื่อถูกความร้อน

ส่วนประกอบของขนมแพนเค้ก

1.1แป้งสาลี
แป้งสาสี หรือ wheat flour ผลิตมาจากข้าวสาลี ผ่านกรรมวิธีผลิตให้เป็นผงแป้ง โดยปกติแล้วแป้งสาลีจะมี กลูเต็น Gluten เจ้ากลูเต็นนี่แหละที่มีผลทำให้แป้งสาลีถูกแบ่งออกมาเป็นประเภทต่างๆ

1.2กลูเต็น Gluten โปรตีนจากข้าวสาลีและธัญพืชอื่นๆ เช่น ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ถ้ามีโปรตีนมากจะทำให้เนื้อขนมมีความยืดหยุ่นสูง ไม่เละง่าย แต่เนื้อสัมผัสหนัก ถ้าโปรตีนต่ำจะทำให้เนื้อขนมมีความเบา ความยืดหยุ่นน้อย พูดง่ายๆ โปรตีนมากมักใช้ทำขนมปัง โปรตีนกลางๆใช้ทำคุกกี้ เค้กบางชนิด โปรตีนต่ำใช้ทำเค้กหรือขนมที่ใช้ความฟู นุ่ม เป็นหลัก

2.นม
นมเป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุอาหารครบทุกหมู่ คือ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลนมหรือแล็กโทส (lactose) และโปรตีนที่เรียกว่า เคซีน (casein) จะพบในธรรมชาติคือในนมหรือน้ำนมเท่านั้น นมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาร่างกายและสมองของเด็กและเยาวชน

3.เนย
“เนย” (butter) คือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันนมไม่น้อยกว่า 80% (ของน้ำหนัก) มีลักษณะเป็นก้อนแข็งเมื่อแช่เย็น และจะเริ่มนิ่มหรืออ่อนตัวลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นค่ะ เนยเกิดจากการเขย่า (churning) ครีมหรือนม เพื่อแยกไขมันออกมาจากนม กระบวนการนี้จะได้ไขมันเนย และบัตเตอร์มิลก์ ซึ่งเจ้าไขมันเนยตัวนี้จะถูกนำไปผ่านกระบวนการในอุณหภูมิต่ำจนแข็งตัวกลายเป็นเนยในแบบที่เราคุ้นเคยกันนั่นเองค่ะ โดยทั่วไปแล้วเนยจะทำจากนมวัว แต่ก็จะมีแบบที่ทำจากนมแพะ นมแกะ นมควาย ฯลฯ ซึ่งก็จะให้รสชาติและกลิ่นที่แตกต่างกันไป

4.ไข่ไก่
"ไข่ไก่" เป็นอาหารชนิดเดียวที่มีสารอาหารครบถ้วนเกือบทุกชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะเป็นโปรตีนชนิดเดียวที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการเพราะมีโคลีน (Choline) เนื่องจากเป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร นอกเหนือจากที่โคลีนจะช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำแล้ว จากงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า โคลีนยังเป็นสารอาหารที่ช่วยชะลอความแก่ เรียกว่าเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อคนเราในทุกช่วงชีวิต ตั้งแต่เป็นทารกจนวัยชราเลยทีเดียว
ส่วนลูธีน (Lutein) และ ซีแซนทิน (zeaxanthin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในไข่แดง ซึ่งช่วยชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม และในการผลิตไข่ไก่สมัยใหม่ยังสามารถเพิ่มปริมาณแร่ธาตุเช่น โอเมก้า3 DHA EPA

5.นํ้าผึ้ง
น้ำผึ้ง เป็นอาหารหวานที่ผึ้งผลิตโดยใช้น้ำต้อยจากดอกไม้ น้ำผึ้งมักหมายถึงชนิดที่ผลิตโดยผึ้งน้ำหวานในสายพันธุ์ Apis เนื่องจาก เป็นผึ้งเก็บน้ำหวานให้คุณภาพสูง และสามารถเลี้ยงระบบกล่องได้ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำต้อยที่มา
น้ำผึ้งได้ความหวานจากมอโนแซ็กคาไรด์ ฟรุกโทสและกลูโคส และมีความหวานประมาณเทียบได้กับน้ำตาลเม็ด[1][2] น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางเคมีที่ดึงดูดในการอบ และมีรสชาติพิเศษซึ่งทำให้บางคนชอบน้ำผึ้งมากกว่าน้ำตาลและสารให้ความหวานอื่น ๆ [1] จุลินทรีย์ส่วนมากไม่เจริญเติบโตในน้ำผึ้งเพราะมีค่าแอกติวิตีของน้ำต่ำที่ 0.6[3] อย่างไรก็ดี บางครั้งน้ำผึ้งก็มีเอนโดสปอร์ในระยะพักตัวของแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารก เพราะเอนโดสปอร์สามารถแปลงเป็นแบคทีเรียที่ผลิตชีวพิษในทางเดินอาหาร

บทที่3

วิธีการดําเนินการ

อุปกรณ์

วัสถุดิบ

-แป้งสาลี 100 กรัม
- น้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ
- แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ
- ผงฟู 1/2 ช้อนโต๊ะ
- เกลือหยิบมือ
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- นมสดรสจืด 100 ml.
-นํ้าผึ้ง

อุปกรณ์
-กะทะ
-ทับพี
-เตาแก๊ส
-จาน
-ชามขนาดกลาง

วิธีทํา
- ล่อนส่วนผสม ที่เป็นของแห้งทั้งหมดให้รวมกัน คนให้เข้ากันด้วยตะกร้อมือ (พักไว้)
- ตอกไข่ใส่ชาม ตีพอแตก, นำนมสดรสจืดมาผสมให้เข้ากัน
- นำส่วนผสมที่เป็นของแห้ง ค่อยๆเทใส่ส่วนผสมที่เป็นของเหลว ที่ล่ะส่วน (แนะนำให้แบ่งเป็น 3 ส่วน) คนให้เข้ากัน
- แล้วจึงใส่น้ำมันพืช เป็นส่วนสุดท้าย คนให้เข้ากัน
- ตั้งกะทะ ด้วยค่อนอ่อน เทส่วนผสมลงไปประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ รอให้ฟองอากาศปุดๆ ขึ้น จึงกลับด้าน ยกขึ้น หม่ำคู่กับ น้ำผึ้ง เมเปิ้ลฯ...

ข้อเสนอแนะ
-สามารถนํามาประยุกต์ทําขนมเค้กชนิดอื่นๆอย่างสร้างสรรค์ได้
-สามารถนําความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเสริม
-ถ้าอยากให้ขนมแพนเค้กมีสีสันน่ารับประทานก้เพิ่มผลไม้ของตกแต่งได้ตามใจคนทํา

           ขนมแพนเค้กเป้นอีกหนึ่งทางเลือกสําหรับผู้มีรายได้น้อย เพื่อเป็นอาชีพเสริมสําหรับครอบครัวของท่าน ซึ่งถือว่ารายได้ดีพอสมควร

รูปภาพการดําเนินงาน

บทที่4
ผลการศึกษา
หลังการดําเนินงาน ซึ่งได้นําขนมแพนเค้ก มาออกแบบทําเป็นผลิตภัณฑ์ขนม สรุปผลสรุปดังนี้

1.การออกแบบทําผลิตภัณฑ์ขนมแพนเค้ก ให้นํารับประทาน ให้คุณค่าทางโภชนาการ และในด้านของรสชาติ มีการยอมรับเป็นอย่างดี ซึ่งผลการดําเนินงานครั้งนี้ ทําให้มีผู้สนใจผลิตภัณฑ์ของขนมแพนเค้กมากขึ้น
2.การส่งเสริมการทําขนมในรูปแบบต่างๆ ทําให้ผู้ดําเนินงานสามาถออกแบบขนมหวานรูปแบบต่างๆได้มากขึ้น
3.ผลการดําเนินงานออกแบบทําขนมหวาน ช่วยให้นักเรียนนําไปประกอบอาชีพระหว่างเรียนได้
4.ผลการดําเนินงานออกแบบทําขนมหวาน ช่วยส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น จากระบบการทํางานร่วมกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี นักเรียนสามารถดําเนินงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5.ผลการดําเนินงานออกแบบทําของหวานทําให้นักเรียนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีรายได้เสริมระหว่างเรียน
6.เป้นการนําวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทที่5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การดําเนินงานออกแบบทําขนมแพนเค้ก เป็นที่รู้จักและเป็นที๋สนใยของผู้บริโภคมากขึ้น ทําให้เกิดออกแบบทําขนมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้หลายรูปแบบ สามารถนําไปต่อยอด ไปสร้างรายได้แก่ตนเองและครอบครัว ผลการดําเนินงานสรุปได้ดังนี้


1.การออกแบบทําผลิตภัณฑ์ขนมแพนเค้ก ให้นํารับประทาน ให้คุณค่าทางโภชนาการ และในด้านของรสชาติ มีการยอมรับเป็นอย่างดี ซึ่งผลการดําเนินงานครั้งนี้ ทําให้มีผู้สนใจผลิตภัณฑ์ของขนมแพนเค้กมากขึ้น
2.การส่งเสริมการทําขนมในรูปแบบต่างๆ ทําให้ผู้ดําเนินงานสามาถออกแบบขนมหวานรูปแบบต่างๆได้มากขึ้น
3.ผลการดําเนินงานออกแบบทําขนมหวาน ช่วยให้นักเรียนนําไปประกอบอาชีพระหว่างเรียนได้
4.ผลการดําเนินงานออกแบบทําขนมหวาน ช่วยส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ คิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น จากระบบการทํางานร่วมกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี นักเรียนสามารถดําเนินงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5.ผลการดําเนินงานออกแบบทําของหวานทําให้นักเรียนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และมีรายได้เสริมระหว่างเรียน
6.เป้นการนําวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่