ศาลไต่สวนพยาน3ปากปมหุ้น 'ดอน' ปธ.ไต่สวนกกต.ยันพบไม่แจ้งปปช.- 2 บริษัทแจงไม่ชัด
https://www.matichon.co.th/politics/news_1147109
ตุลาการศาล รธน.ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยาน 3 ปากปมหุ้น ‘ดอน’ ปธ.คณะไต่สวน กกต.ยันทำเอกสารโอนหุ้นย้อนหลัง พบไม่แจ้ง ป.ป.ช. ขณะที่ 2 บริษัทแจงไม่ชัดปมต้องจัดประชุมวิสามัญรับรองการโอนหุ้น -ไร้หนังสือนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแจ้งเปลี่ยนแปลงหุ้น
เมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนาย
ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 และต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสองหรือไม่ โดยศาลได้ให้พยาน 3 ปาก คือนาย
มนัส สุขสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง สำนักงาน กกต. นาย
ภัฏฏการก์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ รีแอลที่ จำกัด และนาย
ตรีวัฒน์ ทังสุบุตร กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด เข้าไต่สวน โดยนาย
ดอน และนาย
เสรี สุวรรณภานนท์ ทนายความของนาย
ดอนได้เข้าร่วมรับฟังและซักถามพยานด้วย
ทั้งนี้ การไต่สวนศาลได้พยายามสอบถามเรื่องของข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับการโอนหุ้น การลงรายการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท การมีหนังสือนำส่งรายงานการโอนหุ้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และการจัดประชุมสามัญและวิสามัญประจำปีของบริษัทที่มีข้อสังเกตว่าวาระการประชุมของปี 2557-2559 มี 5 วาระที่ดำเนินการเป็นประจำในทุกปี โดยไม่พบว่ามีเรื่องการรับรองการแจ้งเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นเลย แต่มาพบเป็นวาระการประชุมเดียวในวาระการประชุมวิสามัญของปี 2560
นาย
มนัส ในฐานะประธานคณะกรรมการไต่สวนของ กกต.ชี้แจงว่า การสอบสวนเมื่อมีเหตุสงสัยเรื่องพยานเอกสารได้ให้โอกาสนาย
ดอน ผู้ถูกร้องมาชี้แจงหลายครั้งแต่ไม่มา ส่งเป็นเอกสารมาเท่านั้น โดยพยานเอกสารที่นาย
ดอนส่งมาแม้จะเป็นหนังสือของนาง
นรีรัตน์ที่แสดงเจตนาโอนหุ้นให้นาย
เพื่อน ปรมัตถ์วินัย บุตรชาย ในวันที่ 10 เมษายน 2560 และมีการโอนหุ้นในวันที่ 27 เมษายน 2560 และวันที่ 30 เมษายน 2560 ถ้ามีการดำเนินการจริงในวันเวลาดังกล่าว ทำไมจึงไม่มีการแจ้งให้ ป.ป.ช.ได้รับทราบ และแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในบริษัทแล้ว ขณะเดียวกันกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และประธาน ป.ป.ช.แจ้งมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นระยะะเวลาหลังรัฐธรรมนูญ 60 ประกาศใช้ไปแล้ว 4 เดือน ว่าการถือหุ้นของนาง
นรีรัตน์ในบริษัททั้งสองยังคงเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น ประกอบกับทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทภายในครอบครัว จึงทำให้คณะกรรมการไต่สวนเห็นว่าการชี้แจงของนาย
ดอนที่ว่า ภรรรยามีการโอนหุ้นให้นาย
เพื่อนใน 30 วันหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ไม่น่าเชื่อถือ
“ผมในฐานะประธานคณะกรรมการไต่สวนมีหนังสือไปยังประธานบริษัททั้งสองเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ขอให้ชี้แจงว่าระหว่างปี 58-60 นางนรีรัตน์ได้ถือหุ้นในบริษัทเท่าไร คิดเป็นละร้อยละเท่าไรจนถึงปัจจุบันและได้หุ้นมาด้วยวิธีใด ซึ่งบริษัทก็ตอบมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ว่าการถือหุ้นเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด ระบุว่านางนรีรัตน์ถือหุ้น 7,200 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 12 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตรงกับข้อมูลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และประธาน ป.ป.ช.ส่งมา เมื่อพยานหลักฐานเป็นเช่นนี้คณะกรรมการไต่สวนก็ไม่อาจฟังเป็นอย่างอื่นได้”
ทั้งนี้ นาย
มนัสยังได้ยอมรับกับคำถามที่นาย
เสรี ทนายความของนายดอนซักค้านว่าที่นาย
มนัสเห็นว่าพยานหลักฐานที่นาย
ดอนนำเสนอไม่น่าเชื่อถือ และเป็นการทำย้อนหลังเพื่อเอาไว้ชี้แจงต่อศาลเท่านั้นเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่มีอยู่ในมติของคณะกรรมการไต่สวน หรือในการพิจารณาของ กกต. เป็นการตอบในประเด็นที่ศาลตั้งประเด็นขอความเห็นว่ามีความเห็นเพิ่มเติมต่อกรณีนี้อย่างไร
ด้านนาย
ภัฏฏการก์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ รีเอลที่ จำกัด ชี้แจงว่า หุ้นของบริษัทเป็นใบหุ้นระบุชื่อโดยมีข้อบังคับบริษัทว่าถ้ามีการโอนหุ้นต้องแจ้งบริษัททราบเพื่อป้องกันคนนอกไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อโอนหุ้นแล้วต้องเข้าที่ประชุมเพื่อรับทราบทุกครั้งแล้วจึงมอบสำนักบัญชีไปดำเนินการแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่วนการโอนหุ้นในอดีตเคยมีของนาย
ตรีวัฒน์ โอนให้บุตรแต่จำไม่ได้ชัดว่าปีอะไร ยอมรับว่าในปี 57-59 ไม่มีเพิ่งจะปรากฏเป็นครั้งแรกคือกรณีของนาง
นรีรัตน์ ซึ่งเห็นว่าเมื่อบริษัทรับทราบสัญญาการโอนหุ้นในวันที่ 30 เมษายน ก็น่าจะถือว่าการโอนหุ้นมีผลตามกฎหมายในวันดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นาย
จรัญ ภักดีธนากุล ได้พยายามสอบถามถึงการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นไปยังกรมธุรกิจการค้าว่าต้องมีหนังสือนำส่ง นาย
ภัฏฏการก์ได้เคยเซ็นหรือเห็นหนังสือฉบับนี้หรือไม่ เพราะตามแบบพิมพ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผู้เป็นกรรมการบริษัทต้องลงนามและประทับตราบริษัท รวมทั้งจากเอกสารการประชุมสามัญปี 57-59 ที่บริษัทนำส่งทุกครั้งจะมี 4-5 วาระ เช่น การรับรองผลการดำเนินการประจำปีที่ผ่านมา การตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและการกำหนดค่าตอบแทน การรับรองงบดุล แต่ทำไมในการประชุมสามัญปี 60 กลับไม่มีวาระเหล่านี้ และมามีในการประชุมวิสามัญครั้งที่ 2 ซึ่งก็ไม่มีวาระในเรื่องแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและค่าตอบแทน หลังจากครั้งแรกที่กำหนดวาระเป็นการรับรองการโอนหุ้นแล้ว โดยนาย
ภัฏฏการก์ชี้แจงว่า หนังสือนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจำไม่ได้ว่ามีหรือไม่ เพราะมอบให้สำนักบัญชีไปดำเนินการ โดยสำนักบัญชีขอไว้ 6 เดือนหลังที่ประชุมรับรองการโอนหุ้น เนื่องจากเขาต้องปิดงบดุลของหลายบริษัท ส่วนเรื่องวาระการประชุมปี 60 ไม่มีเรื่องผู้ตรวจสอบบัญชีเพราะยังไม่มีการแต่งตั้งและใช้บริษัทเก่าเป็นผู้ดำเนินการเนื่องจากไม่ได้มีปัญหาอะไร
ขณะที่นาย
ตรีวัฒน์ ทังสุบุตร กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด ชี้แจงว่า หุ้นของบริษัทเป็นประเภทระบุชื่อ บริษัทไม่มีข้อบังคับ แต่เมื่อมีการโอนหุ้นต้องเข้าที่ประชุมเพื่อแจ้งผู้ถือหุ้นทราบ โดยจะนำเข้าที่ประชุมหลังเปลี่ยนแปลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยการเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่ในสมุดบัญชีผู้ถือหุ้น ยืนยันการเปลี่ยนแปลงหุ้นในกรณีนี้มีบันทึกอยู่ในสมุดทะเบียนและนำส่งภายหลัง ทั้งนี้ นาย
ตรีวัฒน์ยังระบุว่าการประชุมสามัญประจำปี 60 มีวาระ 2 เรื่อง คือรับรองงบการเงิน กับเรื่องอื่น ไม่มี 5 วาระเหมือนปี 2557-2559 รวมทั้งไม่มีวาระการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี เพราะเจ้าหน้าที่ที่รับดำเนินการทำไม่ทัน และในเมื่อการประชุมสามัญไม่ได้อนุมัติแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนจึงต้องมีการประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องที่ขาด แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ส่วนการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ดำเนินการจึงไม่ทราบเรื่องหนังสือนำส่งและกระบวนการ เพราะเป็นการแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ที่คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.ส่งหนังสือไปสอบถามเรื่องการถือหุ้นของนาง
นรีรัตน์นั้น เจ้าหน้าที่บริษัทได้ตอบตามเอกสารที่ปรากฏกับกระทรวงพานิชย์ แต่ไม่ได้ตอบตามที่มีการโอนหุ้นจริง เพราะยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการอยู่ ประกอบกับเจ้าหน้าที่เร่งรัดในเรื่องการตอบโดยให้เวลาเพียง 10 วันนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม แต่บริษัทก็ตอบภายใน 3 วัน
ทั้งนี้ หลังการไต่สวนเสร็จสิ้น นาย
นุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แจ้งต่อคู่กรณีว่าศาลนัดพิจารณาคดีนี้ในครั้งต่อไปวันที่ 17 ตุลาคม เวลา 13.30 น. ขณะที่นาย
ดอนได้เดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ กับสื่อมวลชน
'สนธยา'ไขก๊อกที่ปรึกษานายกฯ หลังม.44 ตั้งนั่งนายกเมืองพัทยา
https://www.matichon.co.th/politics/news_1147702
เมื่อวันที่ 25 กันยายน แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตามที่ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 15/2561 เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา โดยมีคำสั่งแต่งตั้งให้นาย
สนธยา คุณปลื้ม เป็นนายกเมืองพัทยานั้น ทำให้นาย
สนธยา จะต้องลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เนื่องจากในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542 ระบุ ไว้ชัดเจนว่าผู้บริหารเมืองพัทยาต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ทั้งนี้นาย
สนธยา ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนที่จะมีประกาศคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับดังกล่าวลงในราชกิจจานุเบกษา
"ดาว์พงษ์" เล็งฟื้นโครงการ 1อำเภอ 1ทุน หลังคณะวิจัยจุฬาฯ ชี้ช่วยลดเหลื่อมล้ำ
https://www.thairath.co.th/content/527725
สั่งทบทวนกติกาเพื่ออุดช่องโหว่
พล.อ.
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน หรือทุนโอดอส ว่า ที่ประชุมได้รับทราบการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลความสำเร็จ โครงการทุนโอดอส ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งยอมรับว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่มีฐานะยากจนให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และผลที่ตามมาคือได้คนที่มีคุณภาพกลับมาพัฒนาประเทศ แต่ที่ผ่านมากติกาที่ใช้ดำเนินการค่อนข้างหลวมทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่กลับมายังไม่เห็นประโยชน์ชัดเจน ทั้งที่ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2547 ใช้งบประมาณค่อนข้างมากกว่า 29,000 ล้านบาท มีเด็กเข้าโครงการรวม 4 รุ่น จำนวน 3,093 คน สำเร็จการศึกษา แล้ว 2 รุ่น แบ่งเป็นรุ่นแรก 921 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 915 คน โดยผู้ที่จบการศึกษา กลับมาทำงาน ภาคเอกชน 73.7% รับราชการ 11.93% เรียนต่อ 10.73% ธุรกิจส่วนตัว 1.4% ทำงานรัฐวิสาหกิจ 1.2% ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างศึกษาทั้งในและต่างประเทศอีก 1,257 คน แบ่งเป็นรุ่น 3 จำนวน 689 คน และรุ่น 4 จำนวน 568 คน ซึ่งเด็กเหล่านี้คงไม่ทิ้งกลางคันต้องดูแลต่อ
รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า แม้จะเป็นโครงการที่มีประโยชน์แต่ก็เห็นช่องโหว่ในกติกา ที่ประชุมเห็นว่าควรมีการทบทวนวัตถุประสงค์ ซึ่งเดิมให้โอกาสกับเด็กด้อยโอกาสในแต่ละอำเภอ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกติกาเริ่มแกว่ง มีการเปลี่ยนนโยบาย ให้ผู้ที่มีรายได้สูงเข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดปัญหาและเด็กที่มีฐานะยากจนต้องเสียโอกาส ดังนั้นตนจึงให้ตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกติกาและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะเน้นเรื่องใดและให้น้ำหนักทางไหน อาทิ กระจายทุนให้เด็กด้อยโอกาสในทุกอำเภอ ครอบครัวยากจนรายได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี หรือให้จบออกมาแล้ว มาช่วยพัฒนาประเทศ ส่วนจะรับเด็กรุ่นใหม่เพื่อสานต่อโครงการหรือไม่นั้นขอให้ได้ความชัดเจนตรงนี้ก่อนจึงจะสามารถตอบได้ว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่ เพราะก่อนที่ตนจะนำเสนอรัฐบาลต้องตอบให้ได้ว่าถ้ารัฐจะให้เงินไปดำเนิน โครงการต่อจะได้ประโยชน์แค่ไหนอย่างไร ส่วนโครงการทุนช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นั้น ตนก็พร้อมที่จะผลักดัน แต่ได้ให้ พล.อ.
สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กลับไปดูภาพรวมการดำเนินงานของอาชีวะทั้งระบบก่อน.
JJNY : 6in1 ศาลไต่สวนปมหุ้นดอน/สนธยานั่งนายกพัทยา/เล็งฟื้น1อ.1ทุน/ล้งมะพร้าวจมหนี้/ไก่งวงถูกกดราคา/"โออีซีดี"เตือน
https://www.matichon.co.th/politics/news_1147109
ตุลาการศาล รธน.ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยาน 3 ปากปมหุ้น ‘ดอน’ ปธ.คณะไต่สวน กกต.ยันทำเอกสารโอนหุ้นย้อนหลัง พบไม่แจ้ง ป.ป.ช. ขณะที่ 2 บริษัทแจงไม่ชัดปมต้องจัดประชุมวิสามัญรับรองการโอนหุ้น -ไร้หนังสือนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแจ้งเปลี่ยนแปลงหุ้น
เมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 และต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสองหรือไม่ โดยศาลได้ให้พยาน 3 ปาก คือนายมนัส สุขสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง สำนักงาน กกต. นายภัฏฏการก์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ รีแอลที่ จำกัด และนายตรีวัฒน์ ทังสุบุตร กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด เข้าไต่สวน โดยนายดอน และนายเสรี สุวรรณภานนท์ ทนายความของนายดอนได้เข้าร่วมรับฟังและซักถามพยานด้วย
ทั้งนี้ การไต่สวนศาลได้พยายามสอบถามเรื่องของข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับการโอนหุ้น การลงรายการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท การมีหนังสือนำส่งรายงานการโอนหุ้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และการจัดประชุมสามัญและวิสามัญประจำปีของบริษัทที่มีข้อสังเกตว่าวาระการประชุมของปี 2557-2559 มี 5 วาระที่ดำเนินการเป็นประจำในทุกปี โดยไม่พบว่ามีเรื่องการรับรองการแจ้งเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นเลย แต่มาพบเป็นวาระการประชุมเดียวในวาระการประชุมวิสามัญของปี 2560
นายมนัส ในฐานะประธานคณะกรรมการไต่สวนของ กกต.ชี้แจงว่า การสอบสวนเมื่อมีเหตุสงสัยเรื่องพยานเอกสารได้ให้โอกาสนายดอน ผู้ถูกร้องมาชี้แจงหลายครั้งแต่ไม่มา ส่งเป็นเอกสารมาเท่านั้น โดยพยานเอกสารที่นายดอนส่งมาแม้จะเป็นหนังสือของนางนรีรัตน์ที่แสดงเจตนาโอนหุ้นให้นายเพื่อน ปรมัตถ์วินัย บุตรชาย ในวันที่ 10 เมษายน 2560 และมีการโอนหุ้นในวันที่ 27 เมษายน 2560 และวันที่ 30 เมษายน 2560 ถ้ามีการดำเนินการจริงในวันเวลาดังกล่าว ทำไมจึงไม่มีการแจ้งให้ ป.ป.ช.ได้รับทราบ และแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในบริษัทแล้ว ขณะเดียวกันกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และประธาน ป.ป.ช.แจ้งมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นระยะะเวลาหลังรัฐธรรมนูญ 60 ประกาศใช้ไปแล้ว 4 เดือน ว่าการถือหุ้นของนางนรีรัตน์ในบริษัททั้งสองยังคงเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น ประกอบกับทั้งสองบริษัทเป็นบริษัทภายในครอบครัว จึงทำให้คณะกรรมการไต่สวนเห็นว่าการชี้แจงของนายดอนที่ว่า ภรรรยามีการโอนหุ้นให้นายเพื่อนใน 30 วันหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ไม่น่าเชื่อถือ
“ผมในฐานะประธานคณะกรรมการไต่สวนมีหนังสือไปยังประธานบริษัททั้งสองเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ขอให้ชี้แจงว่าระหว่างปี 58-60 นางนรีรัตน์ได้ถือหุ้นในบริษัทเท่าไร คิดเป็นละร้อยละเท่าไรจนถึงปัจจุบันและได้หุ้นมาด้วยวิธีใด ซึ่งบริษัทก็ตอบมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2560 ว่าการถือหุ้นเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด ระบุว่านางนรีรัตน์ถือหุ้น 7,200 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 12 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ตรงกับข้อมูลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และประธาน ป.ป.ช.ส่งมา เมื่อพยานหลักฐานเป็นเช่นนี้คณะกรรมการไต่สวนก็ไม่อาจฟังเป็นอย่างอื่นได้”
ทั้งนี้ นายมนัสยังได้ยอมรับกับคำถามที่นายเสรี ทนายความของนายดอนซักค้านว่าที่นายมนัสเห็นว่าพยานหลักฐานที่นายดอนนำเสนอไม่น่าเชื่อถือ และเป็นการทำย้อนหลังเพื่อเอาไว้ชี้แจงต่อศาลเท่านั้นเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่มีอยู่ในมติของคณะกรรมการไต่สวน หรือในการพิจารณาของ กกต. เป็นการตอบในประเด็นที่ศาลตั้งประเด็นขอความเห็นว่ามีความเห็นเพิ่มเติมต่อกรณีนี้อย่างไร
ด้านนายภัฏฏการก์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ รีเอลที่ จำกัด ชี้แจงว่า หุ้นของบริษัทเป็นใบหุ้นระบุชื่อโดยมีข้อบังคับบริษัทว่าถ้ามีการโอนหุ้นต้องแจ้งบริษัททราบเพื่อป้องกันคนนอกไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อโอนหุ้นแล้วต้องเข้าที่ประชุมเพื่อรับทราบทุกครั้งแล้วจึงมอบสำนักบัญชีไปดำเนินการแจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่วนการโอนหุ้นในอดีตเคยมีของนายตรีวัฒน์ โอนให้บุตรแต่จำไม่ได้ชัดว่าปีอะไร ยอมรับว่าในปี 57-59 ไม่มีเพิ่งจะปรากฏเป็นครั้งแรกคือกรณีของนางนรีรัตน์ ซึ่งเห็นว่าเมื่อบริษัทรับทราบสัญญาการโอนหุ้นในวันที่ 30 เมษายน ก็น่าจะถือว่าการโอนหุ้นมีผลตามกฎหมายในวันดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายจรัญ ภักดีธนากุล ได้พยายามสอบถามถึงการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นไปยังกรมธุรกิจการค้าว่าต้องมีหนังสือนำส่ง นายภัฏฏการก์ได้เคยเซ็นหรือเห็นหนังสือฉบับนี้หรือไม่ เพราะตามแบบพิมพ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผู้เป็นกรรมการบริษัทต้องลงนามและประทับตราบริษัท รวมทั้งจากเอกสารการประชุมสามัญปี 57-59 ที่บริษัทนำส่งทุกครั้งจะมี 4-5 วาระ เช่น การรับรองผลการดำเนินการประจำปีที่ผ่านมา การตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและการกำหนดค่าตอบแทน การรับรองงบดุล แต่ทำไมในการประชุมสามัญปี 60 กลับไม่มีวาระเหล่านี้ และมามีในการประชุมวิสามัญครั้งที่ 2 ซึ่งก็ไม่มีวาระในเรื่องแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและค่าตอบแทน หลังจากครั้งแรกที่กำหนดวาระเป็นการรับรองการโอนหุ้นแล้ว โดยนายภัฏฏการก์ชี้แจงว่า หนังสือนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจำไม่ได้ว่ามีหรือไม่ เพราะมอบให้สำนักบัญชีไปดำเนินการ โดยสำนักบัญชีขอไว้ 6 เดือนหลังที่ประชุมรับรองการโอนหุ้น เนื่องจากเขาต้องปิดงบดุลของหลายบริษัท ส่วนเรื่องวาระการประชุมปี 60 ไม่มีเรื่องผู้ตรวจสอบบัญชีเพราะยังไม่มีการแต่งตั้งและใช้บริษัทเก่าเป็นผู้ดำเนินการเนื่องจากไม่ได้มีปัญหาอะไร
ขณะที่นายตรีวัฒน์ ทังสุบุตร กรรมการผู้จัดการบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด ชี้แจงว่า หุ้นของบริษัทเป็นประเภทระบุชื่อ บริษัทไม่มีข้อบังคับ แต่เมื่อมีการโอนหุ้นต้องเข้าที่ประชุมเพื่อแจ้งผู้ถือหุ้นทราบ โดยจะนำเข้าที่ประชุมหลังเปลี่ยนแปลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยการเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่ในสมุดบัญชีผู้ถือหุ้น ยืนยันการเปลี่ยนแปลงหุ้นในกรณีนี้มีบันทึกอยู่ในสมุดทะเบียนและนำส่งภายหลัง ทั้งนี้ นายตรีวัฒน์ยังระบุว่าการประชุมสามัญประจำปี 60 มีวาระ 2 เรื่อง คือรับรองงบการเงิน กับเรื่องอื่น ไม่มี 5 วาระเหมือนปี 2557-2559 รวมทั้งไม่มีวาระการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี เพราะเจ้าหน้าที่ที่รับดำเนินการทำไม่ทัน และในเมื่อการประชุมสามัญไม่ได้อนุมัติแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนจึงต้องมีการประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องที่ขาด แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ส่วนการแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ดำเนินการจึงไม่ทราบเรื่องหนังสือนำส่งและกระบวนการ เพราะเป็นการแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ที่คณะกรรมการไต่สวนของ กกต.ส่งหนังสือไปสอบถามเรื่องการถือหุ้นของนางนรีรัตน์นั้น เจ้าหน้าที่บริษัทได้ตอบตามเอกสารที่ปรากฏกับกระทรวงพานิชย์ แต่ไม่ได้ตอบตามที่มีการโอนหุ้นจริง เพราะยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการอยู่ ประกอบกับเจ้าหน้าที่เร่งรัดในเรื่องการตอบโดยให้เวลาเพียง 10 วันนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม แต่บริษัทก็ตอบภายใน 3 วัน
ทั้งนี้ หลังการไต่สวนเสร็จสิ้น นายนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แจ้งต่อคู่กรณีว่าศาลนัดพิจารณาคดีนี้ในครั้งต่อไปวันที่ 17 ตุลาคม เวลา 13.30 น. ขณะที่นายดอนได้เดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ กับสื่อมวลชน
'สนธยา'ไขก๊อกที่ปรึกษานายกฯ หลังม.44 ตั้งนั่งนายกเมืองพัทยา
https://www.matichon.co.th/politics/news_1147702
เมื่อวันที่ 25 กันยายน แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตามที่ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 15/2561 เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา โดยมีคำสั่งแต่งตั้งให้นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นนายกเมืองพัทยานั้น ทำให้นายสนธยา จะต้องลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เนื่องจากในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542 ระบุ ไว้ชัดเจนว่าผู้บริหารเมืองพัทยาต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ทั้งนี้นายสนธยา ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนที่จะมีประกาศคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับดังกล่าวลงในราชกิจจานุเบกษา
"ดาว์พงษ์" เล็งฟื้นโครงการ 1อำเภอ 1ทุน หลังคณะวิจัยจุฬาฯ ชี้ช่วยลดเหลื่อมล้ำ
https://www.thairath.co.th/content/527725
สั่งทบทวนกติกาเพื่ออุดช่องโหว่
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน หรือทุนโอดอส ว่า ที่ประชุมได้รับทราบการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลความสำเร็จ โครงการทุนโอดอส ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งยอมรับว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่มีฐานะยากจนให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และผลที่ตามมาคือได้คนที่มีคุณภาพกลับมาพัฒนาประเทศ แต่ที่ผ่านมากติกาที่ใช้ดำเนินการค่อนข้างหลวมทำให้ผลสัมฤทธิ์ที่กลับมายังไม่เห็นประโยชน์ชัดเจน ทั้งที่ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2547 ใช้งบประมาณค่อนข้างมากกว่า 29,000 ล้านบาท มีเด็กเข้าโครงการรวม 4 รุ่น จำนวน 3,093 คน สำเร็จการศึกษา แล้ว 2 รุ่น แบ่งเป็นรุ่นแรก 921 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 915 คน โดยผู้ที่จบการศึกษา กลับมาทำงาน ภาคเอกชน 73.7% รับราชการ 11.93% เรียนต่อ 10.73% ธุรกิจส่วนตัว 1.4% ทำงานรัฐวิสาหกิจ 1.2% ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างศึกษาทั้งในและต่างประเทศอีก 1,257 คน แบ่งเป็นรุ่น 3 จำนวน 689 คน และรุ่น 4 จำนวน 568 คน ซึ่งเด็กเหล่านี้คงไม่ทิ้งกลางคันต้องดูแลต่อ
รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า แม้จะเป็นโครงการที่มีประโยชน์แต่ก็เห็นช่องโหว่ในกติกา ที่ประชุมเห็นว่าควรมีการทบทวนวัตถุประสงค์ ซึ่งเดิมให้โอกาสกับเด็กด้อยโอกาสในแต่ละอำเภอ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกติกาเริ่มแกว่ง มีการเปลี่ยนนโยบาย ให้ผู้ที่มีรายได้สูงเข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดปัญหาและเด็กที่มีฐานะยากจนต้องเสียโอกาส ดังนั้นตนจึงให้ตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกติกาและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะเน้นเรื่องใดและให้น้ำหนักทางไหน อาทิ กระจายทุนให้เด็กด้อยโอกาสในทุกอำเภอ ครอบครัวยากจนรายได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี หรือให้จบออกมาแล้ว มาช่วยพัฒนาประเทศ ส่วนจะรับเด็กรุ่นใหม่เพื่อสานต่อโครงการหรือไม่นั้นขอให้ได้ความชัดเจนตรงนี้ก่อนจึงจะสามารถตอบได้ว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่ เพราะก่อนที่ตนจะนำเสนอรัฐบาลต้องตอบให้ได้ว่าถ้ารัฐจะให้เงินไปดำเนิน โครงการต่อจะได้ประโยชน์แค่ไหนอย่างไร ส่วนโครงการทุนช่างเทคนิคและบัณฑิตนักปฏิบัติ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นั้น ตนก็พร้อมที่จะผลักดัน แต่ได้ให้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กลับไปดูภาพรวมการดำเนินงานของอาชีวะทั้งระบบก่อน.