#เพลิงนรกตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้# ตอนที่ ๑๕ เมื่อสงฆ์ขัดแย้งในธรรม
กดลิ้งค์ด้านล่างเพื่อฟัง #เสียงอ่านพระสูตรบทนี้ โดยคุณ ชมนาด
http://www.toncoon.com/tripitaka/14/003_s_.mp3
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าชัฏ อันเป็นสถานที่บวงสรวงพลีกรรม เขตกรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราบ้างหรือว่า
‘พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรม
เพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”
"ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่มีความคิดในพระผู้มีพระภาคเช่นนั้นเลยพระเจ้าข้า"
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลายไม่มีความคิดในเราอย่างนี้เลยว่า
‘พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่ง
บิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดม
แสดงธรรมเพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้’
ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราเล่า”
“ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความคิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์จึงทรงแสดงธรรม’
พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายในที่นี้ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
เธอทั้งหมดพึงเป็นผู้สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษาในธรรมเหล่านั้น
แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่
จะพึงมีภิกษุ ๒ พวกที่มีวาทะต่างกันในอภิธรรม
ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรม(ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรม
เครื่องตรัสรู้) เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ท่านเหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ'
เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและ
เป็นความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ
ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า
‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและเป็นความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ
ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงต้องอาบัติ ล่วงละเมิดบัญญัติ
เธอทั้งหลายไม่ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้นด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้น พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า
'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่น
เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ด้วยอาการอย่างนี้'
ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า
'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น
เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละ
คืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้
ก็เรื่องความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลนั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า'
ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
ภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า
‘ความลำบากจักมีแก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย
เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก
และเราก็ไม่สามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้’
เธอทั้งหลายก็อย่าพึงดูหมิ่นความวางเฉยในบุคคลเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน
ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันได้
เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันในที่นั้นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราสามัคคีกัน
ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน
ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน
ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน
มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน
ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’
ก็ภิกษุอื่นพึงถามเธอว่า
‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ต่อจากนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลาย
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน
มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’
ก็ภิกษุอื่นจะพึงถามเธอว่า
‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุภิกษุเหล่านี้ของเราทั้งหลายอันท่านให้ออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์แล้วได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว’
ภิกษุเมื่อชี้แจงอย่างนี้ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล
ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
**************************************************
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ กินติสูตร
ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=3
ขอเชิญอ่าน "เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้" ตั้งแต่ตอนที่ ๑ ได้ที่
http://toncoon.com/community/index.php?topic=2008.0
กดลิ้งค์ด้านล่างเพื่อฟัง #เสียงอัดอ่านพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา
http://toncoon.com/community/index.php?board=64.0
ขออนุโมทนาสามารถเผยแผ่เป็นธรรมทานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย
**************************************
ขออนุโมทนากับท่านผู้ช่วยเผยแพร่พระสัทธรรม และคุณชมนาด ผู้อัดเสียงธรรมเผยแผ่เป็นธรรมทาน
ขอให้ทั้งหลายเจริญในธรรม มีธรรมเป็นที่ไป มีธรรมดำเนินไป มีธรรมนำทางไป
บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงขอจงถึงแก่ อ.พ่อพันธุม คีริวัต คุณแม่เสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม ตลอดถึงบิดามารดาครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ผู้ถูกเบียดเบียนของข้าพเจ้าและทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมร่วมกัน ขอพวกเราทั้งหลายจงเจริญแต่กุศลปิดหนทางอบาย ได้เวียนว่ายเพียงในเฉพาะสุคติภูมิ ไม่พบเจอกับทุคติวินิบาตนรกอีกตลอดทุกภพทุกชาติตราบถึงวันแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ
#เพลิงนรกตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้# ตอนที่ ๑๕ เมื่อสงฆ์ขัดแย้งในธรรม [ธรรมจากพระไตรปิฎก]
#เพลิงนรกตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้# ตอนที่ ๑๕ เมื่อสงฆ์ขัดแย้งในธรรม
กดลิ้งค์ด้านล่างเพื่อฟัง #เสียงอ่านพระสูตรบทนี้ โดยคุณ ชมนาด http://www.toncoon.com/tripitaka/14/003_s_.mp3
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าชัฏ อันเป็นสถานที่บวงสรวงพลีกรรม เขตกรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราบ้างหรือว่า
‘พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรม
เพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”
"ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่มีความคิดในพระผู้มีพระภาคเช่นนั้นเลยพระเจ้าข้า"
“ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าเธอทั้งหลายไม่มีความคิดในเราอย่างนี้เลยว่า
‘พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่ง
บิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดม
แสดงธรรมเพราะเหตุแห่งภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้’
ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราเล่า”
“ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความคิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์จึงทรงแสดงธรรม’
พระพุทธเจ้าข้า”
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วแก่เธอ
ทั้งหลายในที่นี้ด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
เธอทั้งหมดพึงเป็นผู้สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษาในธรรมเหล่านั้น
แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่
จะพึงมีภิกษุ ๒ พวกที่มีวาทะต่างกันในอภิธรรม
ถ้าเธอทั้งหลายมีความคิดในโพธิปักขิยธรรม(ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรม
เครื่องตรัสรู้) เหล่านั้นอย่างนี้ว่า
‘ท่านเหล่านี้มีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ'
เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุเหล่านั้นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ขอ
ท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า ‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและ
เป็นความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ ท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
ต่อจากนั้นเธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายมีความขัดแย้งกันโดยอรรถและมีความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ
ขอท่านทั้งหลายจงทราบความขัดแย้งกันนี้นั้นว่า
‘เป็นความขัดแย้งกันโดยอรรถและเป็นความขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ
ขอท่านทั้งหลายอย่าถึงกับวิวาทกันเลย’
ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งพึงต้องอาบัติ ล่วงละเมิดบัญญัติ
เธอทั้งหลายไม่ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้นด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้น พึงใคร่ครวญบุคคลก่อนว่า
'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลอื่น
เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ดื้อรั้น สละคืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ ด้วยอาการอย่างนี้'
ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
อนึ่ง ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า
'ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น
เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละ
คืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้
ก็เรื่องความขัดใจของบุคคลอื่นนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออก
จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลนั้น เป็นเรื่องใหญ่กว่า'
ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
ภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลายมีความเห็นอย่างนี้ว่า
‘ความลำบากจักมีแก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย
เพราะบุคคลอื่นเป็นผู้มักโกรธผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก
และเราก็ไม่สามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้’
เธอทั้งหลายก็อย่าพึงดูหมิ่นความวางเฉยในบุคคลเช่นนี้
ภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อเธอทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน
ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันได้
เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันในที่นั้นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราสามัคคีกัน
ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน
ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน
ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน
มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน
ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’
ก็ภิกษุอื่นพึงถามเธอว่า
‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ต่อจากนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลาย
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน
มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’
ก็ภิกษุอื่นจะพึงถามเธอว่า
‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
‘ท่านผู้มีอายุภิกษุเหล่านี้ของเราทั้งหลายอันท่านให้ออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์แล้วได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว’
ภิกษุเมื่อชี้แจงอย่างนี้ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล
ไม่มีเลยที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
**************************************************
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ กินติสูตร
ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=3
ขอเชิญอ่าน "เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้" ตั้งแต่ตอนที่ ๑ ได้ที่ http://toncoon.com/community/index.php?topic=2008.0
กดลิ้งค์ด้านล่างเพื่อฟัง #เสียงอัดอ่านพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา http://toncoon.com/community/index.php?board=64.0
ขออนุโมทนาสามารถเผยแผ่เป็นธรรมทานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย
**************************************
ขออนุโมทนากับท่านผู้ช่วยเผยแพร่พระสัทธรรม และคุณชมนาด ผู้อัดเสียงธรรมเผยแผ่เป็นธรรมทาน
ขอให้ทั้งหลายเจริญในธรรม มีธรรมเป็นที่ไป มีธรรมดำเนินไป มีธรรมนำทางไป
บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงขอจงถึงแก่ อ.พ่อพันธุม คีริวัต คุณแม่เสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม ตลอดถึงบิดามารดาครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ผู้ถูกเบียดเบียนของข้าพเจ้าและทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมร่วมกัน ขอพวกเราทั้งหลายจงเจริญแต่กุศลปิดหนทางอบาย ได้เวียนว่ายเพียงในเฉพาะสุคติภูมิ ไม่พบเจอกับทุคติวินิบาตนรกอีกตลอดทุกภพทุกชาติตราบถึงวันแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ