คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คำว่า "อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ" แม้โดยความหมายจะรวมถึง "อเนกชนนิกร" คือคนทั้งหมด แต่แท้จริงในทางปฏิบัติจะเป็นเฉพาะกลุ่มผู้มีอำนาจเท่านั้น หากจะเปรียบกับประชาธิปไตยในทางทฤษฎีก็พอกล้อมแกล้ม แต่ในทางปฏิบัติออกจะเป็นคณาธิปไตยมากกว่า
ต้องอธิบายย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ก่อนสมัยใหม่ ตั้งแต่โบราณมาไม่มีแบบแผนการสืบสันตติวงศ์ที่ชัดเจนตายตัว (บางท่านเข้าใจว่าวังหน้าคือรัชทายาทโดยชอบธรรม แต่หากพิจารณาประวัติศาสตร์อยุธยาแล้วจะพบว่ามีหลายครั้งที่วังหน้าไม่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป) ในสมัยอยุธยาดูจะให้ความสำคัญกับการถ่ายเทอำนาจสู่พระโอรสมากกว่าพระอนุชา แต่พระอนุชามักจะได้เป็นวังหน้า จึงมีกำลังอำนาจมากกว่าพระโอรส นี่คือสาเหตุที่ทำให้สมัยอยุธยามีการแย่งชิงอำนาจบ่อยครั้ง และส่วนใหญ่มักจะเป็นกรณี อา-หลาน หรือ พี่-น้อง
มาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังใช้แบบแผนเดียวกันกับสมัยอยุธยาอยู่ ด้วยความที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน การขึ้นสู่ราชบัลลังก์จึงมักจะเป็นไปตามบุญญาธิการ ซึ่งก็คือความเห็นชอบพร้อมกันของเจ้านายและขุนนางที่จะเชื้อเชิญพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกศพระองค์ใดขึ้นครองราชสมบัติ นี่คือลักษณะของอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ แต่ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ว่าจะเกิดในทุกยุคสมัย ในบางครั้งที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาดและสถาปนารัชทายาทไว้แน่นอนแล้ว อเนกชนนิกรสโมสรสมมติก็มักจะไม่เกิดขึ้น แต่หากไม่มีการแต่งตั้งรัชทายาท หรือพระมหากษัตริย์สวรรคตโดยฉับพลัน หรือเกิดสุญญกาศทางการเมือง หรือขุนนางมีอำนาจเหนือกษัตริย์ ก็มักจะอัญเชิญพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วยวิธีนี้
ขอยกกรณีที่เห็นได้ชัด
1. เมื่อครั้งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 3 แทนที่จะเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยผู้มีบทบาทสำคัญนอกจากพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แล้ว ยังมีคนในสกุลบุนนาค และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา สกุลบุนนาคมีอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดินจนเป็นตัวแปรทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของสยาม
2. เมื่อครั้งเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นรัชกาลที่ 4 ในขณะนั้นรัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตโดยไม่ได้สถาปนาองค์รัชทายาท (เพราะไม่ได้สถาปนาสมเด็จพระราชินี) ความจริงพระราชวงศ์ที่มีแนวโน้มที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์คือเจ้าฟ้าจุฑามณี ด้วยทรงมีบทบาทสำคัญในราชกิจมาตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการทหาร และทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 ในขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎ (วชิรญาณภิกขุ) ทรงผนวชมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็เพราะพระราชวงศ์และสกุลบุนนาคเห็นชอบว่าควรเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ พระองค์จึงถือว่าขึ้นครองราชสมบัติด้วยวิธีการนี้เช่นกัน และได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าจุฑามณีเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และถือเป็น The second king ด้วยทรงเป็นพระอนุชาร่วมอุทร และทรงควบคุมกำลังทหารไว้มาก
3. เมื่อครั้งสถาปนากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระราชวงศ์ชั้นสูงและขุนนางผู้ใหญ่ได้ใช้วิธีอเนกชนนิกรสโมสรสมมติอีกครั้งเพื่อสถาปนาพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศเป็นวังหน้า และผมถือว่านี่เป็นครั้งสุดท้ายที่ใช้วิธีนี้
เมื่อเกิดเหตุกบฏวังหน้า รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าไป และต่อมาได้มีตำแหน่ง crown prince เหมือนอย่างยุโรป ทำให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นตำแหน่งที่สืบทอดพระราชสมบัติไปโดยปริยาย และด้วยชื่อตำแหน่งจึงชัดเจนว่าต้องเป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์เท่านั้น จะเป็นพระอนุชาไม่ได้ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระราชบัญญัติกฎมณเฑียรบาล ถือเป็นแบบแผนปฏิบัติในราชสำนัก การทำอเนกชนนิกรสโมสรสมมติจึงไม่เกิดขึ้นอีกเลยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ปล.1 บางท่านอาจถือว่าการที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบอัญเชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นทรงราชสมบัติ เป็นการใช้วิธีอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ แต่ผมถือว่าไม่ใช่ เพราะการขึ้นทรงราชสมบัติครั้งนี้แม้จะเป็นมติของสภา แต่ก็เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลโดยชอบ ไม่ได้มีการผลัดเปลี่ยนตามขั้วอำนาจแต่อย่างใด และธรรมเนียมการขึ้นทรงราชสมบัตินับตั้งแต่มีกฎมณเฑียรบาลก็ต้องเป็นหน้าที่ของสภาที่จะทูลเกล้าฯอยู่แล้ว ต่างกับในสมัยโบราณที่มีการอัญเชิญตามบุญญาธิการ
ปล.2 ไม่ทราบว่าจะช่วยให้จขกท.มีความเข้าใจกระจ่างได้มากน้อยเพียงใด และทั้งหมดเป็นการเขียนขึ้นจากความทรงจำ หากมีข้อผิดพลาดต้องขอให้ท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขด้วยครับ
ต้องอธิบายย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ก่อนสมัยใหม่ ตั้งแต่โบราณมาไม่มีแบบแผนการสืบสันตติวงศ์ที่ชัดเจนตายตัว (บางท่านเข้าใจว่าวังหน้าคือรัชทายาทโดยชอบธรรม แต่หากพิจารณาประวัติศาสตร์อยุธยาแล้วจะพบว่ามีหลายครั้งที่วังหน้าไม่ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป) ในสมัยอยุธยาดูจะให้ความสำคัญกับการถ่ายเทอำนาจสู่พระโอรสมากกว่าพระอนุชา แต่พระอนุชามักจะได้เป็นวังหน้า จึงมีกำลังอำนาจมากกว่าพระโอรส นี่คือสาเหตุที่ทำให้สมัยอยุธยามีการแย่งชิงอำนาจบ่อยครั้ง และส่วนใหญ่มักจะเป็นกรณี อา-หลาน หรือ พี่-น้อง
มาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังใช้แบบแผนเดียวกันกับสมัยอยุธยาอยู่ ด้วยความที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน การขึ้นสู่ราชบัลลังก์จึงมักจะเป็นไปตามบุญญาธิการ ซึ่งก็คือความเห็นชอบพร้อมกันของเจ้านายและขุนนางที่จะเชื้อเชิญพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกศพระองค์ใดขึ้นครองราชสมบัติ นี่คือลักษณะของอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ แต่ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่ว่าจะเกิดในทุกยุคสมัย ในบางครั้งที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาดและสถาปนารัชทายาทไว้แน่นอนแล้ว อเนกชนนิกรสโมสรสมมติก็มักจะไม่เกิดขึ้น แต่หากไม่มีการแต่งตั้งรัชทายาท หรือพระมหากษัตริย์สวรรคตโดยฉับพลัน หรือเกิดสุญญกาศทางการเมือง หรือขุนนางมีอำนาจเหนือกษัตริย์ ก็มักจะอัญเชิญพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วยวิธีนี้
ขอยกกรณีที่เห็นได้ชัด
1. เมื่อครั้งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 3 แทนที่จะเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยผู้มีบทบาทสำคัญนอกจากพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่แล้ว ยังมีคนในสกุลบุนนาค และนี่คือสาเหตุที่ทำให้ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา สกุลบุนนาคมีอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดินจนเป็นตัวแปรทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของสยาม
2. เมื่อครั้งเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นรัชกาลที่ 4 ในขณะนั้นรัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตโดยไม่ได้สถาปนาองค์รัชทายาท (เพราะไม่ได้สถาปนาสมเด็จพระราชินี) ความจริงพระราชวงศ์ที่มีแนวโน้มที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์คือเจ้าฟ้าจุฑามณี ด้วยทรงมีบทบาทสำคัญในราชกิจมาตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการทหาร และทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 ในขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎ (วชิรญาณภิกขุ) ทรงผนวชมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็เพราะพระราชวงศ์และสกุลบุนนาคเห็นชอบว่าควรเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ พระองค์จึงถือว่าขึ้นครองราชสมบัติด้วยวิธีการนี้เช่นกัน และได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าจุฑามณีเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และถือเป็น The second king ด้วยทรงเป็นพระอนุชาร่วมอุทร และทรงควบคุมกำลังทหารไว้มาก
3. เมื่อครั้งสถาปนากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระราชวงศ์ชั้นสูงและขุนนางผู้ใหญ่ได้ใช้วิธีอเนกชนนิกรสโมสรสมมติอีกครั้งเพื่อสถาปนาพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศเป็นวังหน้า และผมถือว่านี่เป็นครั้งสุดท้ายที่ใช้วิธีนี้
เมื่อเกิดเหตุกบฏวังหน้า รัชกาลที่ 5 ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าไป และต่อมาได้มีตำแหน่ง crown prince เหมือนอย่างยุโรป ทำให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นตำแหน่งที่สืบทอดพระราชสมบัติไปโดยปริยาย และด้วยชื่อตำแหน่งจึงชัดเจนว่าต้องเป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์เท่านั้น จะเป็นพระอนุชาไม่ได้ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระราชบัญญัติกฎมณเฑียรบาล ถือเป็นแบบแผนปฏิบัติในราชสำนัก การทำอเนกชนนิกรสโมสรสมมติจึงไม่เกิดขึ้นอีกเลยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ปล.1 บางท่านอาจถือว่าการที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบอัญเชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นทรงราชสมบัติ เป็นการใช้วิธีอเนกชนนิกรสโมสรสมมติ แต่ผมถือว่าไม่ใช่ เพราะการขึ้นทรงราชสมบัติครั้งนี้แม้จะเป็นมติของสภา แต่ก็เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลโดยชอบ ไม่ได้มีการผลัดเปลี่ยนตามขั้วอำนาจแต่อย่างใด และธรรมเนียมการขึ้นทรงราชสมบัตินับตั้งแต่มีกฎมณเฑียรบาลก็ต้องเป็นหน้าที่ของสภาที่จะทูลเกล้าฯอยู่แล้ว ต่างกับในสมัยโบราณที่มีการอัญเชิญตามบุญญาธิการ
ปล.2 ไม่ทราบว่าจะช่วยให้จขกท.มีความเข้าใจกระจ่างได้มากน้อยเพียงใด และทั้งหมดเป็นการเขียนขึ้นจากความทรงจำ หากมีข้อผิดพลาดต้องขอให้ท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ นี่แท้จริงคอนเสปต์มันเป็นอย่างไรกันแน่
แต่ก็สงสัยอีก เพราะสมัยก่อนสยามยังไม่มีเซนส์ในเรื่องการเลือกตั้ง อย่างน้อยก็ตามมาตรฐานที่เราเข้าใจกันตอนนี้เลย แถมประชาชนนอกจากเหล่าขุนนางที่เหลือก็เป็นไพร่ กับ ทาส ที่ไม่น่าจะไปมีสิทธิ์มีเสียงอะไรในการเลือกแบบนั้น สรุปแล้วความหมายของคำนี้ควรจะตีความอย่างไรกันแน่
อีกอย่างหนึ่งที่สงสัยคือ ขั้นตอนในการเลือกว่า ในสมัยนั้นเขาเลือกตั้งกษัตริย์ เสนอชื่ออะไรกันอย่างไรถึงได้เลือกได้ว่าใครควรจะขึ้นมารับเป็น และเหล่าขุนนางนั้นลงคะแนนเสียงอะไรกันยังไง ด้วยการยกมือหรือ? ด้วยการหย่อนบัตรลงคะแนนลับหรือเปล่า?