แหล่งข่าว
http://backoff.thansettakij.com/2018/09/15/318025
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
โดย : บากบั่น บุญเลิศ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6 ฉบับ 3401 ระหว่างวันที่ 16-19 ก.ย.2561
ผมเชื่อว่าหลายคนตกตะลึงพรึงเพริดกับการที่เจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ เศรษฐีอันดับ 1 ของไทย ผู้มีสินทรัพย์ในการครอบครองรวมกัน 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท ประกาศยุทธศาสตร์กินรวบโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” มูลค่าลงทุน 2.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็น 1 ใน 6 โครงการที่เป็นหัวใจในการยกระดับการลงทุนของประเทศในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รังสรรค์ขึ้นให้เป็น “ประตูทองการลงทุนของไทย”
โครงการที่เป็นหัวใจในอีอีซีที่ต้องมีการลงทุนในระยะ 5 ปีข้างหน้าใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2 แสนล้านบาท
2. โครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ มาบตาพุด-แหลมฉบัง-สัตหีบ วงเงินลงทุน 6.43 หมื่นล้านบาท
3. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่ 6,500 ไร่ วงเงินลงทุนรวม 2 แสนล้านบาท
4. โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงิน 1.11 หมื่นล้านบาท
5. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางเรือ วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท
6. โครงการพัฒนาถนนเชื่อมระหว่างเมืองมอเตอร์เวย์ วงเงิน 3.53 หมื่นล้านบาท
รัฐบาลนายกฯลุงตู่ ตั้งธงไว้ชัดว่า จะทำการประมูลลงนามสัญญากับเอกชนในปีนี้และต้นปี 2562 ไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านบาท
แต่การประมูลโครงการแรกคือ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท ที่รัฐจะเปิดให้สัมปทานการลงทุนยาวนานมากๆ และเปิดโอกาสในเรื่องการพัฒนาที่ดินแถมให้อีกชุดใหญ่ ที่มีผู้สนใจมากถึง 31 ราย ซึ่งจะประมูลกันจริงในวันที่ 12 พฤศจิกายน ยังไม่ทันมาถึง เจ้าสัวธนินท์ ประกาศลั่นว่า “รถไฟฟ้า 2.3 แสนล้านบาท เส้นนี้ของข้า ใครอย่าแตะ”
เจ้าสัวธนินท์ บอกอะไร? ทำไม ผมถึงว่า รถไฟฟ้าเส้นนี้ ใครอย่าแตะ ไปดูกันครับ…
คุณธนินท์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ โกลเบิล ไทม์ส สื่อภาษาอังกฤษของจีนเมื่อเร็วๆนี้ว่า “กลุ่มซีพีต้องการจับมือนักลงทุนจีนและญี่ปุ่น เข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของไทย ที่เป็นหัวใจของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก”
“โครงการนี้มีสิ่งที่สำคัญ คือการได้สิทธิพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์ ซีพี จึงต้องการดึงพันธมิตรกับนักลงทุนจีนเป็นอันดับต้นๆ ร่วมกับกลุ่มอิโตชูของญี่ปุ่น พันธมิตรร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมาร่วมทุนกัน…
การลงทุนโครงการนี้ไม่ใช่มีเพียงบริษัทเอกชนไทย แต่เราต้องการให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาร่วมด้วย อีอีซีจะเป็นโมเดลการพัฒนาร่วม ทั้งทุนท้องถิ่นและบริษัท” เจ้าสัวธนินท์บอกกล่าว
เป็นการบอกกล่าวผ่านสื่อของทางการจีน ท่ามกลางกลิ่นควันการประมูลเค้กก้อนโต 2.3 แสนล้านบาท ในโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ที่จะเริ่มต้นประมูลจริงโน่น….12 พฤศจิกายน 2561
เจ้าสัวธนินท์ ทิ้งทุ่นให้คนไทยทั้งแผ่นดินได้ตระหนักว่า “ผมต้องการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงร่วมกับบริษัทจีนและญี่ปุ่น โดยซีพีเตรียมแผนลงทุนครั้งใหญ่ด้วยงบหลายแสนล้านบาท สร้างโครงการเมืองใหม่ที่แปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) บนพื้นที่ 10,000 ไร่ ให้เป็น สมาร์ทซิตี ด้วยการวางผังเมืองให้ระบบสาธารณูปโภครวมอยู่จุดเดียว เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้าในใจกลางเมือง และจะก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม
ต่อมายังสถานีมักกะสัน ให้เดินทางเข้าถึงกรุงเทพฯ ภายใน 20 นาที
ขณะนี้ให้สถาปนิกและที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ-อังกฤษ ออกแบบและวางแผนโครงการอยู่” เจ้าสัวธนินท์ ให้สัมภาษณ์
เหตุผลที่เลือก แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เป็นแห่งแรก เพื่อเป็นการทดลองโครงการเชื่อมต่อกับเขตอีอีซี และแปดริ้วอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ผู้คนสามารถเดินไปทำงานได้ จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะต้องไม่ตํ่ากว่า 300,000 คน เพื่อให้ธุรกิจคุ้มทุน โดยเมืองยิ่งใหญ่ยิ่งดี ถึงจะคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภค
เจ้าสัวธนินท์ เสนอความเห็นว่าเมืองใหม่ในอีอีซีควรจะมี 3 แห่ง คือ แปดริ้ว พัทยา และระยอง แต่ซีพีจะไม่ลงทุนคนเดียวจะชวนนักธุรกิจไทย และต่างประเทศมาร่วมลงทุน
ผมไม่ต้องแปลอะไร แต่ในทาง “เศรษฐกิจการเมือง” บอกได้ว่า การที่เจ้าสัวซีพี ตีตราจองโครงการรถไฟฟ้า 2.3 แสนล้านบาท และจะมีการสร้างเมืองใหม่ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการเปิดประมูล และกล้าซื้อที่ดินในแปดริ้ว 1 หมื่นไร่มารองรับ การลงทุนแบบนี้ต้องมีอะไรในกอไผ่
แน่นอนว่า ต้องมีใครบางคนที่มีพลังมากๆ มาการันตีในการทำงานชิ้นนี้ให้ “บรรลุ” ไม่เช่นนั้น “เจ้าสัวธนินท์” ไม่ออกโรงแบบแรงๆ ก่อนการประมูลแน่นอน…แล้วคนคน นั้นคือใคร…ถึงกล้าโยนเค้กก้อนใหญ่ไปให้กลุ่มซีพี
แม้ขณะนี้จะมีกลุ่มเจ้าถิ่นที่ถือครองที่ดินใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง จะประกาศดึงทุนต่างชาติมาร่วมสร้างเมืองใหม่ แต่ผมเห็นว่า นั่นเป็นเพียงการออกแรงกดดันเพื่อขายที่ ขายทาง หรือเข้าไปขอแบ่งเค้กก้อนนี้เท่านั้น เพราะการดึงคนมาร่วมลงทุนตั้งเมืองใหม่เพียงพันล้านก็ยากแล้ว แต่นี่ต้องถึงเป็นหมื่นล้านบาท แสนล้านบาทยิ่งยากใหญ่
ที่สำคัญ ผมไม่เคยเชื่อเลยว่า “เจ้าถิ่น” จะมีพลังพอไปสู้ “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์”
ท่านทั้งหลายโปรดใช้สติในการพิจารณาให้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้…
ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 321 ล้านไร่ เป็นที่ดินของรัฐ 165 ล้านไร่เศษ ที่เหลือ 156 ล้านไร่ เป็นที่ดินของภาคเอกชน ที่ผ่านมากรมที่ดินออกเอกสารสิทธิโฉนดที่ดิน, นส.3 ก, นส.3, ใบจอง ไปแล้วทั้งสิ้น 32-33 ล้านโฉนด คิดเป็นเนื้อที่ 130-135 ล้านไร่
มูลนิธิสถาบันที่ดินแห่งประเทศไทย ระบุว่า “เอกสารสิทธิที่กรมที่ดินออกไปทั้งหมดกว่า 90% ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนเพียง 10% ของประชากรทั้งประเทศ หรือแค่ 6 ล้านคน โดยเกษตรกร 5.8 ล้านครัวเรือนมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่มีเกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินอยู่ 1.09 ล้านครัวเรือน”
คนเหล่านั้นเป็นใครบ้าง…ข้อมูลที่มีการตรวจสอบพบแต่ไม่มีหน่วยงานไหนการันตีพบว่า ตระกูลสิริวัฒนภักดี 6.3 แสนไร่ ตระกูลเจียรวนนท์ 2 แสนไร่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 3 หมื่นไร่ บริษัท สหอุตสาหกรรมนํ้ามันปาล์มฯ 4.4 หมื่นไร่บริษัท ไออาร์พีซีฯ เครือ ปตท. 1.7 หมื่นไร่ ตระกูลมาลีนนท์ 1 หมื่นไร่ วิชัย พูลวรลักษณ์ 7 พันไร่ ตระกูลจุฬางกูร 5,000 ไร่
และลองตอบคำถามผมสัก 2-3 ข้อ
1.ท่านรู้ได้อย่างไรก่อนหน้านี้ว่า โครงการรถไฟฟ้าจะวิ่งไปในเส้นทางนี้ จึงพยายามไล่ซื้อที่ดินไว้ในเส้นทางพอดี ยังกับจับมือให้คนเขียนโครงการลากเส้นไป แต่ทำไมคนอื่นไม่รู้ว่าวิ่งไปทางไหน
2. ถ้าเป็นท่านจะซื้อที่ดินก่อนโครงการจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ หรือซื้อไป ลุยไป เพื่อมิให้มีต้นทุนจากการเก็งราคาที่ดินมาทำให้ต้นทุนสูง…แต่อะไรทำให้ท่านมั่นใจว่าตัวเองได้โครงการนี้แน่จึงกว้านซื้อที่ดิน
3. ท่านคิดว่าการไล่ซื้อที่ดินจากประชาชนชาวแปดริ้ว จนสามารถมีที่ดิน 10,000 ไร่ หรือ 400,000 ตารางวานั้น ง่ายดายดุจกล้วยเข้าปากเชียวหรือ…
4. ท่านคิดว่าการรวบรวมที่ดิน 1 หมื่นไร่ ทำได้ง่ายๆ โดยที่คนแปดริ้วไม่เคยรับรู้เลยหรือ ในเมื่อข้อมูลของกรมที่ดินบอกว่า ค่าเฉลี่ยของคนไทยมีที่ดินแค่คนละ 5-6 ไร่เท่านั้น การซื้อเป็นหมื่นไร่จะต้องรวบรวมที่ดินมาจากคนกี่คน…แต่ทำไมคนไม่รู้ ตลาดไม่แตก…
ผมกำลังรอดู “ผู้รับผิดชอบฝ่ายการเมือง-คสช.(คุณสมชาย)” จะเล่นเกมนี้อย่างไร ด้วยความระทึกในฤทัย
เพราะผมไม่เชื่อว่า คุณสมชาย จะไปมีส่วนร่วมในการวางแผนโยนเค้กให้เจ้าสัวซีพี…แต่ทำทีเป็นมีการประมูล
คุณละคิดอย่างไร….
ไม่รู้โกรธกันมาแต่ตอนไหน "ทางออกนอกตำรา โดย บากบั่น บุญเลิศ"
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
โดย : บากบั่น บุญเลิศ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6 ฉบับ 3401 ระหว่างวันที่ 16-19 ก.ย.2561
ผมเชื่อว่าหลายคนตกตะลึงพรึงเพริดกับการที่เจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ เศรษฐีอันดับ 1 ของไทย ผู้มีสินทรัพย์ในการครอบครองรวมกัน 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท ประกาศยุทธศาสตร์กินรวบโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” มูลค่าลงทุน 2.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็น 1 ใน 6 โครงการที่เป็นหัวใจในการยกระดับการลงทุนของประเทศในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รังสรรค์ขึ้นให้เป็น “ประตูทองการลงทุนของไทย”
โครงการที่เป็นหัวใจในอีอีซีที่ต้องมีการลงทุนในระยะ 5 ปีข้างหน้าใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2 แสนล้านบาท
2. โครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ มาบตาพุด-แหลมฉบัง-สัตหีบ วงเงินลงทุน 6.43 หมื่นล้านบาท
3. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่ 6,500 ไร่ วงเงินลงทุนรวม 2 แสนล้านบาท
4. โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 วงเงิน 1.11 หมื่นล้านบาท
5. โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางเรือ วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท
6. โครงการพัฒนาถนนเชื่อมระหว่างเมืองมอเตอร์เวย์ วงเงิน 3.53 หมื่นล้านบาท
รัฐบาลนายกฯลุงตู่ ตั้งธงไว้ชัดว่า จะทำการประมูลลงนามสัญญากับเอกชนในปีนี้และต้นปี 2562 ไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านบาท
แต่การประมูลโครงการแรกคือ รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.3 แสนล้านบาท ที่รัฐจะเปิดให้สัมปทานการลงทุนยาวนานมากๆ และเปิดโอกาสในเรื่องการพัฒนาที่ดินแถมให้อีกชุดใหญ่ ที่มีผู้สนใจมากถึง 31 ราย ซึ่งจะประมูลกันจริงในวันที่ 12 พฤศจิกายน ยังไม่ทันมาถึง เจ้าสัวธนินท์ ประกาศลั่นว่า “รถไฟฟ้า 2.3 แสนล้านบาท เส้นนี้ของข้า ใครอย่าแตะ”
เจ้าสัวธนินท์ บอกอะไร? ทำไม ผมถึงว่า รถไฟฟ้าเส้นนี้ ใครอย่าแตะ ไปดูกันครับ…
คุณธนินท์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ โกลเบิล ไทม์ส สื่อภาษาอังกฤษของจีนเมื่อเร็วๆนี้ว่า “กลุ่มซีพีต้องการจับมือนักลงทุนจีนและญี่ปุ่น เข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของไทย ที่เป็นหัวใจของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก”
“โครงการนี้มีสิ่งที่สำคัญ คือการได้สิทธิพัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์ ซีพี จึงต้องการดึงพันธมิตรกับนักลงทุนจีนเป็นอันดับต้นๆ ร่วมกับกลุ่มอิโตชูของญี่ปุ่น พันธมิตรร้านเซเว่นอีเลฟเว่นมาร่วมทุนกัน…
การลงทุนโครงการนี้ไม่ใช่มีเพียงบริษัทเอกชนไทย แต่เราต้องการให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาร่วมด้วย อีอีซีจะเป็นโมเดลการพัฒนาร่วม ทั้งทุนท้องถิ่นและบริษัท” เจ้าสัวธนินท์บอกกล่าว
เป็นการบอกกล่าวผ่านสื่อของทางการจีน ท่ามกลางกลิ่นควันการประมูลเค้กก้อนโต 2.3 แสนล้านบาท ในโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ที่จะเริ่มต้นประมูลจริงโน่น….12 พฤศจิกายน 2561
เจ้าสัวธนินท์ ทิ้งทุ่นให้คนไทยทั้งแผ่นดินได้ตระหนักว่า “ผมต้องการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงร่วมกับบริษัทจีนและญี่ปุ่น โดยซีพีเตรียมแผนลงทุนครั้งใหญ่ด้วยงบหลายแสนล้านบาท สร้างโครงการเมืองใหม่ที่แปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา) บนพื้นที่ 10,000 ไร่ ให้เป็น สมาร์ทซิตี ด้วยการวางผังเมืองให้ระบบสาธารณูปโภครวมอยู่จุดเดียว เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้าในใจกลางเมือง และจะก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม ต่อมายังสถานีมักกะสัน ให้เดินทางเข้าถึงกรุงเทพฯ ภายใน 20 นาที
ขณะนี้ให้สถาปนิกและที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ-อังกฤษ ออกแบบและวางแผนโครงการอยู่” เจ้าสัวธนินท์ ให้สัมภาษณ์
เหตุผลที่เลือก แปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เป็นแห่งแรก เพื่อเป็นการทดลองโครงการเชื่อมต่อกับเขตอีอีซี และแปดริ้วอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ผู้คนสามารถเดินไปทำงานได้ จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะต้องไม่ตํ่ากว่า 300,000 คน เพื่อให้ธุรกิจคุ้มทุน โดยเมืองยิ่งใหญ่ยิ่งดี ถึงจะคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภค
เจ้าสัวธนินท์ เสนอความเห็นว่าเมืองใหม่ในอีอีซีควรจะมี 3 แห่ง คือ แปดริ้ว พัทยา และระยอง แต่ซีพีจะไม่ลงทุนคนเดียวจะชวนนักธุรกิจไทย และต่างประเทศมาร่วมลงทุน
ผมไม่ต้องแปลอะไร แต่ในทาง “เศรษฐกิจการเมือง” บอกได้ว่า การที่เจ้าสัวซีพี ตีตราจองโครงการรถไฟฟ้า 2.3 แสนล้านบาท และจะมีการสร้างเมืองใหม่ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการเปิดประมูล และกล้าซื้อที่ดินในแปดริ้ว 1 หมื่นไร่มารองรับ การลงทุนแบบนี้ต้องมีอะไรในกอไผ่
แน่นอนว่า ต้องมีใครบางคนที่มีพลังมากๆ มาการันตีในการทำงานชิ้นนี้ให้ “บรรลุ” ไม่เช่นนั้น “เจ้าสัวธนินท์” ไม่ออกโรงแบบแรงๆ ก่อนการประมูลแน่นอน…แล้วคนคน นั้นคือใคร…ถึงกล้าโยนเค้กก้อนใหญ่ไปให้กลุ่มซีพี
แม้ขณะนี้จะมีกลุ่มเจ้าถิ่นที่ถือครองที่ดินใน 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง จะประกาศดึงทุนต่างชาติมาร่วมสร้างเมืองใหม่ แต่ผมเห็นว่า นั่นเป็นเพียงการออกแรงกดดันเพื่อขายที่ ขายทาง หรือเข้าไปขอแบ่งเค้กก้อนนี้เท่านั้น เพราะการดึงคนมาร่วมลงทุนตั้งเมืองใหม่เพียงพันล้านก็ยากแล้ว แต่นี่ต้องถึงเป็นหมื่นล้านบาท แสนล้านบาทยิ่งยากใหญ่
ที่สำคัญ ผมไม่เคยเชื่อเลยว่า “เจ้าถิ่น” จะมีพลังพอไปสู้ “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์”
ท่านทั้งหลายโปรดใช้สติในการพิจารณาให้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้…
ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 321 ล้านไร่ เป็นที่ดินของรัฐ 165 ล้านไร่เศษ ที่เหลือ 156 ล้านไร่ เป็นที่ดินของภาคเอกชน ที่ผ่านมากรมที่ดินออกเอกสารสิทธิโฉนดที่ดิน, นส.3 ก, นส.3, ใบจอง ไปแล้วทั้งสิ้น 32-33 ล้านโฉนด คิดเป็นเนื้อที่ 130-135 ล้านไร่
มูลนิธิสถาบันที่ดินแห่งประเทศไทย ระบุว่า “เอกสารสิทธิที่กรมที่ดินออกไปทั้งหมดกว่า 90% ไปกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มคนเพียง 10% ของประชากรทั้งประเทศ หรือแค่ 6 ล้านคน โดยเกษตรกร 5.8 ล้านครัวเรือนมีที่ดินเป็นของตัวเอง แต่มีเกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินอยู่ 1.09 ล้านครัวเรือน”
คนเหล่านั้นเป็นใครบ้าง…ข้อมูลที่มีการตรวจสอบพบแต่ไม่มีหน่วยงานไหนการันตีพบว่า ตระกูลสิริวัฒนภักดี 6.3 แสนไร่ ตระกูลเจียรวนนท์ 2 แสนไร่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 3 หมื่นไร่ บริษัท สหอุตสาหกรรมนํ้ามันปาล์มฯ 4.4 หมื่นไร่บริษัท ไออาร์พีซีฯ เครือ ปตท. 1.7 หมื่นไร่ ตระกูลมาลีนนท์ 1 หมื่นไร่ วิชัย พูลวรลักษณ์ 7 พันไร่ ตระกูลจุฬางกูร 5,000 ไร่
และลองตอบคำถามผมสัก 2-3 ข้อ
1.ท่านรู้ได้อย่างไรก่อนหน้านี้ว่า โครงการรถไฟฟ้าจะวิ่งไปในเส้นทางนี้ จึงพยายามไล่ซื้อที่ดินไว้ในเส้นทางพอดี ยังกับจับมือให้คนเขียนโครงการลากเส้นไป แต่ทำไมคนอื่นไม่รู้ว่าวิ่งไปทางไหน
2. ถ้าเป็นท่านจะซื้อที่ดินก่อนโครงการจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ หรือซื้อไป ลุยไป เพื่อมิให้มีต้นทุนจากการเก็งราคาที่ดินมาทำให้ต้นทุนสูง…แต่อะไรทำให้ท่านมั่นใจว่าตัวเองได้โครงการนี้แน่จึงกว้านซื้อที่ดิน
3. ท่านคิดว่าการไล่ซื้อที่ดินจากประชาชนชาวแปดริ้ว จนสามารถมีที่ดิน 10,000 ไร่ หรือ 400,000 ตารางวานั้น ง่ายดายดุจกล้วยเข้าปากเชียวหรือ…
4. ท่านคิดว่าการรวบรวมที่ดิน 1 หมื่นไร่ ทำได้ง่ายๆ โดยที่คนแปดริ้วไม่เคยรับรู้เลยหรือ ในเมื่อข้อมูลของกรมที่ดินบอกว่า ค่าเฉลี่ยของคนไทยมีที่ดินแค่คนละ 5-6 ไร่เท่านั้น การซื้อเป็นหมื่นไร่จะต้องรวบรวมที่ดินมาจากคนกี่คน…แต่ทำไมคนไม่รู้ ตลาดไม่แตก…
ผมกำลังรอดู “ผู้รับผิดชอบฝ่ายการเมือง-คสช.(คุณสมชาย)” จะเล่นเกมนี้อย่างไร ด้วยความระทึกในฤทัย
เพราะผมไม่เชื่อว่า คุณสมชาย จะไปมีส่วนร่วมในการวางแผนโยนเค้กให้เจ้าสัวซีพี…แต่ทำทีเป็นมีการประมูล
คุณละคิดอย่างไร….