สงครามถังไม้โอ๊กตักน้ำเพียงใบเดียว




สงครามถังไม้โอ๊ก Oaken Bucket
เป็นการรบระหว่างนครรัฐ Bologna กับ Modena ในคาบสมุทรอิตาลี


เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1325
จากการที่ทหาร Modena ได้ลักลอบเข้าไปในนครรัฐ Bologna
แล้วขโมยถังไม้โอ๊กที่ใช้ตักน้ำบ่อในใจกลางเมือง
ทั้ง ๆ ที่ตัวถังไม้โอ๊กใบนี้ก็ไม่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
หรือมีคุณค่าทางจิตใจต่อพลเมืองแต่อย่างใด






แต่เรื่องนี้ทำให้ชาว Bologna รู้สึกว่า
เสียเหลี่ยม(เล่ห์เหลี่ยม)เสียหน้าเสียศักดิ์ศรี
จึงได้ขอให้ทาง Modena ส่งถังไม้โอ๊กคืนด้วย
แต่ Modena ปฏิเสธที่จะส่งถังไม้โอ๊กคืน
ทำให้ Bologna ประกาศสงครามทันที
โดยได้รวบรวมทหารราบจำนวน 30,000 นาย
และนักรบบนหลังม้าจำนวน 2,000 นาย
ทำการเดินทัพเข้าไปยังสนามรบ
ที่ตั้งอยู่ใกล้กับที่ปัจจุบัน
คือ Zappolino ใน Bolagna


ในการเผชิญหน้ากันในสนามรบ
กองทัพ Modena  จะมีคนน้อยกว่า
เพราะระดมทหารราบได้เพียง 5,000 นาย
และนักรบบนหลังม้าจำนวน 2,000 นาย
รวมทั้งตอนที่ตั้งรับเพื่อเตรียมรบ
กองทัพกลับอยู่กันอย่างกระจัดกระจายในที่ราบ


ขณะที่ทหารฝ่ายศัตรู Bologna
ได้ยึดครองอยู่บนพื้นที่สูงรอบเนินเขา
ซึ่งเป็นชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่าในการรบ
แม้จะกองทัพ Bologna  จะมีจำนวนทหาร
มากกว่า Modena ถึง 6 เท่าหรือ 6/1
และล้อมฝ่ายศัตรู Modena ไว้หมดแล้ว


แต่กองทัพ Modena  กลับสู้รบอย่างกล้าหาญ
ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการสู้รบ
ผลการรบจบลงด้วย
กองทัพ Bologna ต่างพากันวิ่งหนีตาย
โดยมีกองทัพ Modena ไล่ล่าติดตามกองทัพ  Bologna
จนรุกเข้าไปในเขตนครรัฐ Bologna
พร้อมกับเดินทัพผ่านประตูเมือง
และทำลายป้อมปราการปราสาทหลายแห่ง
พร้อมกับปิดประตูน้ำสายน้ำ Reno
ซึ่งชักน้ำเข้าเมือง Bologna
ทำให้คนทั้งเมืองขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้






เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว
กองทัพ Modena  ที่ล้อมเมืองไว้จะเข้าพิชิตชัยก็ได้
แต่กองทัพ  Modena  กลับเลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้น
แต่ตัดสินใจที่จะทำชาวเมือง Bologna  อับอายขายหน้า
ด้วยการจัดมหกรรมการแสดงล้อเลียนชาวเมือง Bologna
โดยการจำลองการแข่งขันกรีฑาแบบยุคโบราณ
การละเล่นเรื่อง ความละอายชั่วนิรันดร์ของ Bologna
ที่ส่งกองทัพเดินทางออกไปสู้รบแต่แพ้หลุดลุ่ย
และราวกับว่ายังเย้ยหยันชาวเมือง Bologna  ยังไม่พอ
ดังนั้น ก่อนที่กองทัพ Modena จะยกทัพกลับ
พวกทหารก็ยังหยิบถังไม้โอ๊กใบที่ 2
ที่ใช้ตักน้ำจากบ่อน้ำด้านนอกประตูเมืองบานหนึ่ง


ประมาณการว่ามีคนตาย 2,000 คน
ในการสู้รบเรื่องที่ไร้สาระและหลีกเลี่ยงได้
ตามที่ Alessandro Tassoni กวีอิตาลี ในศตวรรษที่ 17
ได้เขียน La secchia rapita หรือ War of the Bucket
ผู้นิพนธ์เรื่องราวนี้ได้เขียนเย้ยหยันไว้


อีกหลายปีต่อมา
ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาสงบศึกและทำข้อตกลงสันติภาพ
ทางนครรัฐ Modena ได้ส่งคืนทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง
ที่เคยยึดมาจากนครรัฐ Bologna เพื่อแสดงความปรารถนาดี
แต่ ถังไม้โอ๊ก ทางนครรัฐ Modena ไม่ยอมส่งคืนแต่อย่างใด


จนถึงทุกวันนี้เมือง Modena ได้เก็บรักษาถึงไม้โอ๊ก
ไว้ในห้องใต้ดิน Torre della Ghirlandina
ส่วนรูปจำลองของถังไม้โอ๊กใบเดิม
จะวางโชว์ที่ศาลากลางเมือง Modena



Torre della Ghirlandina










มูลเหตุของสงคราม



ตั้งแต่ตอนปลายยุคกลาง Middle Ages
จนกระทั่งถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ Renaissance
ทางตอนเหนือของ Italy
มีการแบ่งกลุ่มสนับสนุนทางการเมืองเป็น 2 ขั้วอำนาจ
คือ Ghibellines กับ Guelfs


Ghibellines ถือข้าง Holy Roman Emperor ฝ่ายราชอาณาจักร
นครรัฐ Modena เป็นแกนนำ


Guelfs ถือข้าง Pope ฝ่ายศาสนจักร แต่อยาก 2 in 1 ในช่วงนั้น
นครรัฐ Bologna เป็นแกนนำ อยู่ทางตอนเหนือ


ความขัดแย้งทางการเมืองของทั้งสองฝ่าย
คือ การแย่งชิงดินแดนระหว่างพรมแดนกัน
และอ้างสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
ด้วยกองทัพที่บุกเข้ายึดดินแดนอีกฝ่ายหนึ่งได้มากกว่า
หรือสิทธิ์ที่พระเจ้ามอบหมายให้ผ่านทางพิธีกรรมศาสนา


ในปี  1176 Frederick Barbarossa แพ้ในสงคราม Battle of Legnano
ที่รบกับ Lombard League ผู้นำทัพ
โดยมี Pope Alexander III เป็นผู้หนุนหลัง


นั่นคือ  จุดเริ่มต้นเรื่องราวบาดหมางไม่พอใจ
ตั้งแต่ยุคกลางของฝ่าย Guelphs กับ Ghibellines
ที่ต่างทำสงครามระหว่างกันหลายครั้งและยืดเยื้อยาวนาน


ในปี 1296  Bologna ได้ยึดเมือง Bazzano กับ Savigno จาก Modena
Pope Boniface VIII ก็ประกาศยืนยันสิทธิ Bologna ในเรื่องนี้


ในช่วง 1837-1851 Azzo VIII d'Este  Marquis of Ferrara
เจ้านครรัฐ Modena เริ่มเผชิญหน้ากับ Bologna ฝ่าย Guelphs


ต่อมา Passerino Bonacolsi ผู้สืบทอดอำนาจ มาจากเมือง Mantuan
โดยได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากพวกขุนนาง Modena
ทั้งยังฝักใฝ่ Emperor Louis IV of Bavaria ฝ่าย Ghibellines
ที่ไม่พอใจ Pope  ที่ถือข้างฝ่าย Guelphs  เป็นทุนเดิมอยู่แล้วและอยากแย่งชิงอำนาจ/ดินแดนเพิ่ม
จึงเริ่มทำสงครามโจมตีและยึดเมือง Parma กับ Reggio ได้


Pope John XXII ที่ถือข้าง Guelphs
จึงประกาศคว่ำบาตร Passerino Bonacolsi  โทษฐานกบฏต่อศาสนจักร
แล้วขอให้ใครก็ได้อุทิศตนเป็นนักรบศาสนา Crusader
ทำสงครามศักดิ์สิทธิ์กับคนที่เป็นอันตรายต่อพระองค์หรือทรัพย์สินของพระองค์


ในช่วงหลายเดือนก่อนสงครามถังไม้โอ๊กตักน้ำ
มีการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างพรมแดน


เดือนกรกฎาคม
กองทัพ Bologna ได้บุกเข้าเขตแดน Modena
และทำลายทุ่งนาที่มีคลองกั้นด้วยไฟและดาบ


เดือนสิงหาคม
กองทัพ Bologna ได้ปลุกระดมมวลชน
บุกเข้าทำลายทรัพย์สินและดินแดนต่าง ๆ ของ Modena
โดยทำการเลวร้ายนานถึง 2 สัปดาห์


ตอนปลายเดือนกันยายน
Passerino Bonacolsi ผู้นำทัพ  Modena จึงเริ่มตีโต้กลับ
ที่ป้อมปราการ Monteveglio ของ Bologna
คนเฝ้าประตูป้อมทรยศรับสินบนจากทหาร Modena
ด้วยการแอบเปิดประตูให้ทหาร Modena 2 คนเข้าเมืองได้


ภายใต้บรรยากาศที่ตึงเครียด/สถานะการณ์สู้รบ
และความเป็นปรปักษ์ระหว่างกันที่ยาวนาน
ทหาร Modena ที่ลอบเข้าไปในใจกลางเมือง Bologna
จึงขโมยถังไม้โอ๊กที่ตักน้ำบ่อใจกลางเมืองออกมา 1 ใบ
เรื่องนี้สร้างความอับอายให้กับชาว Bologna
เพราะถือว่าเสียเหลี่ยม/ถูกหยามน้ำหน้า
จึงเรียกร้องให้ Modena  ส่งถังไม้โอ๊กคืน
แต่เมื่อถูกปฏิเสธจึงประกาศสงครามกับ Modena ทันที
ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของ Bolagna


แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากวันนั้นเป็นต้นมา
คือ ความบาดหมางที่ยืดเยื้อยาวนานแบบไม่เผาผีกัน
ระหว่างฝ่าย Guelphs กับ Ghibellines
และบางทีความขัดแย้งระหว่าง Guelphs กับ  Ghibellines
ได้กลายเป็นบทละครอังกฤษที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ
ความบาดหมางระหว่างสองตระกูล
Montague และ Capulet ใน Romeo and Juliet ของ Shakespeare



ภาพวาดสีน้ำมันในปี 1870  โดย Ford Madox Brown



หลังจากสงครามถังไม้โอ๊ก
ฝ่าย Ghibellines ที่เมือง Modena เป็นแกนนำ
ก็ผงาดมีอำนาจเหนือฝ่าย Guelphs
ที่มีเมือง Bologna เป็นแกนนำ


ในปี 1447 ฝ่าย Ghibellines กลับแพ้ภัยตนเอง
เพราะล้มเหลวภายในสาธารณรัฐ  Ambrosian Republic


แต่สงครามระหว่างฝ่าย Ghibellines กับ  Guelphs ก็ยังรบกันต่อเนื่อง


ในปี 1529 Charles I จาก Spain
ได้ทำสงคราม Italian Wars
ซึ่งเป็นสงครามแย่งชิงดินแดนในอิตาลีหลายครั้ง
จากกองทัพของหลายชนชาติที่ต้องการยึดนครรัฐ Italy เป็นเมืองขึ้น


ฝ่าย Ghibellines กับ  Guelphs ต่างมีศัตรูร่วมกัน
เพราะราชันย์ผู้รุกรานเป็นชนต่างด้าวคนต่างแดน
ทั้งสองฝ่ายจึงเจรจาสงบศึกและร่วมกันรบกับศัตรูร่วมกัน




เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/2QpXjr6
http://bit.ly/2NALwaJ





เรื่องเล่าไร้สาระ


ในอดีตนครรัฐในอิตาลีต่างแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน
ต่างมีภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างกัน
และต่างไม่ชอบขี้หน้าพลเมืองต่างนครรัฐ
มีดีอยู่อย่างคือ การยอมรับผลงานด้านศิลป์กับวิชาการ
ทำให้ศิลปิน/นักวิชาการสอนเป็นภาษาละติน ต่างออกเดินสาย
หารายได้และรับจ้างเจ้านครรัฐต่าง ๆ
ก่อนหน้านั้นมีหลายรายมาก  ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
เช่น มิเชลลานเจโล่ กับ ลีโอ นาโด ดาวินซี่
ลูก้า พาซิโอลี่ ผู้คิดค้นหลักการบัญชี สินทรัพย์ = หนี้สิน+ทุน
ท่านยังเป็นเพื่อนซี้กับดาวินซี  ทั้งคู่ชอบเดินทางร่วมกัน
ไปรับจ้างเจ้านครรัฐต่าง ๆ ร่วมกันในวัยฉกรรจ์


Pope มักอ้างว่าพระเจ้ามอบอำนาจ
ให้ศาสนจักรเหนือราชอาณาจักร
Rome คือ สัญลักษณ์จักรวรรดิ์/ราชอาณาจักร
Pope จึงสร้างพระราชวัง Vatican ราชอาณาจักรมุ้งเล็กในมุ้งใหญ่ใน Rome
ความพยายามที่ให้ศาสนจักรอยู่เหนือราชอาณาจักร
ทำให้มีปัญหากระทบกระทั่งกับหลายชาติ เช่น อังกฤษ เยอรมัน
รวมทั้งหลายนครรัฐในคาบสมุทรอิตาลี
ต่างเกลียดชังคนในตระกูล Medici


Medici คือ ตระกูลเจ้าพ่อมาเฟีย
ที่ผูกขาดอำนาจครอบงำในการแต่งตั้ง Pope หลายพระองค์
จากพ่อสู่ลูกสู่หลาน/คนในครอบครัว Medici
มีบทเรียนความเจ้าเล่ห์/เหี้ยมโหดของตระกูล Medici
คือ Cesare Borgia (1475–1507) ลูกชาย Pope Alexander VI
ที่ราชาต้องทำตนเป็นทั้งหมาจิ้งจอกกับราชสีห์
ในหนังสือ เจ้าผู้ปกครอง โดย นิคโคโล มาเคียเวลลี


อนึ่งก่อนหน้านั้น โยฮันน์ กูเทนแบร์ก (1398-1468)
ได้ผลิตเครื่องพิมพ์ทำให้มีการพิมพ์หนังสือแพร่หลาย
และในยุคนั้นไม่มีเรื่องลิขสิทธิ์สิทธิบัตร
จึงมีการ C&D Copy and Development
จากเดิมที่พิมพ์แต่หนังสือภาษาละติน
ก็กลายเป็นภาษาชาวบ้านของแต่ละชาติ
เพราะซื้อง่ายขายคล่องอ่านเข้าใจง่ายกว่า
ภาษาท้องถิ่นทำให้เกิดชาตินิยม
และความอยากรู้อยากเห็นของผู้คนจึงมีมากขึ้น
พอ ๆ กับเอกสารใต้ดินที่ผลิตขึ้นมา
ได้บ่อนทำลายความเชื่อ/ความมั่นคง


ในที่สุดอำนาจตระกูล Medici ก็สิ้นสุดลง
การแต่งตั้ง Pope จึงเริ่มเปลี่ยนแปลง
เป็นการเลือกตั้งในแบบปัจจุบัน
และบาทหลวงห้ามมีลูกเมียอีก


เบนิโต มุสโสลินี
คือ ผู้มีบทบาทมากที่สุดในการหลอมรวมชาติอิตาลี
เป็นผู้นำที่มีคนรักคนชังมากที่สุด
เพราะทำให้อิตาลีมีชัยกับแพ้สงคราม
พอ ๆ กับทีมชาติอิตาลีในศึกฟุตบอลโลก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่