Fleet in being ยุทธศาสตร์ "กองเรือคงชีพ"

เมื่อช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสอ่าน นิตยสาร นาวิกศาสตร์ นิตยสารว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับกองทัพเรือนั้นเองไม่ว่าจะเป็น กองทัพเรือทั้งของไทยและต่างประเทศ อาวุธต่างๆในกองทัพ และยังมีประวัติศาสตร์การทำสงครามทางเรืออีกด้วยครับ ซึ่งผมเปิดมาเจอหัวข้อหนึ่งซึ่งน่าสนใจดีนั้นคือ

“ยุทธศาสตร์กองเรือคงชีพ” หรือ Fleet-in-being นั้นเองครับ .. ก่อนอื่นความหมายของ กองเรือคงชีพหรือ Fleet-in-being คืออะไรจากที่ผมอ่านมาคร่าวๆ ผมจะสรุปให้ฟังเป็นคำพูดง่ายๆ

“การที่เราคงกองเรือไว้ไม่ให้ถูกทำลายหรือหลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงกับกองเรือข้าศึก เพื่อตรึงกำลังและกดดันกำลังรบทางเรือของข้าศึกไม่ให้ปฎิบัติการณ์ได้อย่างเต็มรูปแบบ”

ถ้าให้แปลสั้นๆเลยก็เสมือนการตรึงกำลังตัวเองไว้ ให้ข้าศึกพะวงครับ เพราะข้าศึกย่อมทราบดีว่าเรายังคงมีกองเรือที่พร้อมใช้งานอยู่ในมือ จะออกทะเลไปทำดำเนินยุทธศาสตร์ที่อื่นต่อก็ไม่ได้ จะสู้เราก็ไม่ยอมออกมาสู้ด้วยสักทีก็ตรึงไปอยู่อย่างนี่ล่ะ เหมือนเป็นการเหนี่ยวรั้งข้าศึกไว้นั้นเอง Fleet-in-being ส่วนมากจะใช้ในกรณีที่เรามีกำลังรบน้อยกว่าและอาจจะแพ้ได้หากต้องรบขั้นเด็ดขาดกับข้าศึก

สำหรับการใช้ Fleet-in-being ถูกใช้ในครั้งแรกตั้งแต่สมัย สงครามเพโลพอนนีเซียน โดยกองเรือของนครรัฐซีราคิวส์ ได้ตรึงกำลังไว้ที่ท่าไม่ยอมออกมาสู้กับ กองเรือของเอเธนส์ ทำให้กองเรือเอเธนส์ไม่สามารถขยายขอบเขตการรบได้ต่อเพราะต้องรอรับมือกองเรือของซีราคิวส์สุดท้าย สปาต้าร์ก็ได้เข้ามาแทรกแซงการรบทำให้ เอเธนส์พ่ายแพ้อย่างยับเยิน แต่แน่นอนว่าชาวกรีกไม่ใช่ผู้จำกัดความคำว่า Fleet-in-being เป็นครั้งแรก

สำหรับคำว่า Fleet-in-being นั้นเกิดในสมัย War of the Grand Alliance (ค.ศ. 1688 – 1697) หรือสงคราม 9 ปี อันเป็นสงครามรุมยำตรีนฝรั่งเศส ที่ต้องปะทะกับมหาพันธมิตร ทั้ง อังกฤษ ดัชต์ สเปน และ จักรวรรดิโรมันอันศักสิทธิ์ โดยผู้ที่คิดคำๆคือ Arthur Herbert ท่าน Lord แห่ง Torrington แม่ทัพเรืออังกฤษในช่วงปี ค.ศ.1690 โดยท่าน Lord Torrington เห็นว่า กองเรือฝรั่งเศสเข้มแข็งกว่ากองเรือของอังกฤษมากจึงต้องการสงวนกองเรืออังกฤษไว้ที่ช่องแคบอังกฤษเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กองเรือฝรั่งเศสเที่ยวไประรานที่อื่น แต่ดูเหมือนสภาจะไม่เข้าใจความหมายของ Torrington เท่าไหร่ พวกเขาคิดว่า Torrington ขี้ขลาดไม่กล้ารบกับฝรั่งเศสตรงๆและบังคับให้เขารบ และนำมาซึ่งความพ่ายแพ้ต่อกองเรือฝรั่งเศสที่ Beachy Head ในปี ค.ศ.1690

ยุทธศาสตร์ Fleet-in-being ยังคงถูกใช้เรื่อยมาจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 โดย สงครามโลกครั้งที่ กองเรือ High Seas Fleet ของ จักรวรรดิเยอรมันก็ได้ใช้ยุทธศาสตร์นี้กับอังกฤษเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับกองเรือที่มีจำนวนมากกว่า ส่วนในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพเรืออิตาลีก็ได้ใช้ยุทธศาสตร์นี้กับอังกฤาหลังความพ่ายแพ้ที่ Toranto ในปี ค.ศ.1941 ทำให้ราชนาวีอังกฤษไม่สามารถเอาชนะทัพเรืออิตาลีได้อย่างเด็ดขาด ส่วนฝั่งเยอรมันก็ได้สงวนเรือประจัญบานคู่แฝดของบิสมาร์คอย่าง เรือ Tirpitz ไว้ ไม่ได้ออกปฎิบัติการณ์ไปไหนไกล แต่ก็ทำให้กองเรืออังกฤาต้องทุ่มเรือขนาดมโหฬารเพื่อป้องกันคอนวอยในระยะปฎิบัติการณ์ของมัน!!




Arthur Herbert ท่าน Earl ที่ 1 แห่ง Torrington ผู้จำกัดความว่า Fleet-in-being
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่