วันนี้เรามาคุยกันต่อถึงว่าอะไรที่ทำให้คนเราฆ่าตัวตาย และจิตวิทยาของการฆ่าตัวตายกันนะครับ
\\สาเหตุที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย//
* ในคนอายุน้อยกว่า 30 ปี เชื่อว่าหลายคนเดาได้ นั่นคือสาเหตุที่พบบ่อยสุดคือ ปัญหากับคนใกล้ชิด โดยเฉพาะทะเลาะหรือเลิกกับแฟน อันนี้บ่อยสุด ส่วนกับคนอื่น ๆ เช่น มีปัญหากับพ่อแม่ เป็นต้น
ส่วนสาเหตุรองลงมาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกอายุยี่สิบปลายๆ ใกล้ไปทางสามสิบ ก็จะเป็นเรื่องของตกงานหรือความเครียดจากการทำงาน
** ในคนอายุมากกว่า 30 ปี สาเหตุที่สำคัญคือ เรื่องของการเจ็บป่วยทางกายที่เรื้อรัง กับปัญหาเรื่องฐานะการเงิน เป็นปัญหาหลัก
จิตวิทยาของการฆ่าตัวตาย
ทางจิตวิทยานั้นเชื่อว่าคนที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น มีแรงผลักดันในลักษณะที่ต่าง ๆ กันไปดังนี้
1. การฆ่าตัวตายนั้นนำไปสู่สิ่งชีวิตดีกว่า เช่น มีชาติภพหน้าที่ดีกว่า หรือทำให้เป็นอิสระ เป็นต้น
2. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นการลงโทษตัวเอง เช่น เกิดในคนที่รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรผิด เช่น สามีขับรถไปกับภรรยาแล้วรถชน ภรรยาเสียชีวิตแต่ตัวเองรอด ทำให้รู้สึกผิดจนอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น
3. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นเสมือนการแก้แค้นคนที่รัก เช่น ถ้าเธอไม่รักฉัน ฉันจะตายให้ดู (=ถ้าฉันตายมันเป็นความผิดของเธอ)
4. การฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา เช่น มีปัญหาหนี้สิ้นท่วมตัว ไม่รู้จะแก้ไขจัดการยังไงดี เป็นต้น
5. การฆ่าตัวตายเนื่องจากอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน เช่น ในผู้ป่วยโรคจิตเภทส่วนหนึ่งจะฆ่าตัวตายจากการที่มีหูแว่วมาสั่งให้ฆ่าตัวตาย หรือบางรายอาจมีอาการหวาดระแวงกลัวคนมาทำร้าย ทำให้เครียดมากจนฆ่าตัวตาย เป็นต้น
@ การป้องกันและสังเกตการพยายามฆ่าตัวตาย @
สิ่งสำคัญคือประชาชนทั่วไปควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และการฆ่าตัวตายให้มากขึ้น และไม่มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นตราบาป (Stigma) เช่น คิดว่าเป็นเรื่องของคนสิ้นคิด หรือคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล่น ๆ
ถึงแม้ว่าการฆ่าตัวตายนั้นหลายครั้งจะเป็นการยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ก็มีหลายจุดที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ก่อน และสามารถป้องกันหรือให้การรักษาได้ทันท่วงที โดยสิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรถือเป็นเรื่องจริงจัง และจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
• พฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง
เพราะในชีวิตจริงทุกวันนี้จะพบว่า หลาย ๆ ครั้งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น ไม่ได้มาพบแพทย์ ผมเองมีเด็กวัยรุ่นที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาหลายครั้ง แต่ที่บ้านก็ไม่เคยพามาพบแพทย์เลย จนครั้งหลังสุดรุนแรงมากชนิดเกือบจะได้ตายจริงๆ ต้องนอนรพ.หลายวัน จึงโดนบังคับส่งมาพบแพทย์
• ความเจ็บป่วยทางจิต
ดังที่กล่าวในบทความตอนแรกว่า การฆ่าตัวตายนั้นสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิตอย่างมาก ดังนั้นหากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเกิดความเจ็บป่วยทางจิตใจขึ้นมา ก็อย่ารีรอที่จะมาพบแพทย์
• สัญญาณเตือน (Warning signs) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตและให้ความสนใจ
โดยพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่ฆ่าตัวตายจะมีสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างออกมาให้คนรอบข้าง เช่น พูดเปรย ๆ ว่า “ไม่อยากอยู่” , "ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม" , “ครอบครัวจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีตัวเองอยู่” , “ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว” เป็นต้น
หรือมีพฤติกรรมบางอย่างเช่น ซื้อยามาเก็บไว้มาก ๆ ซื้อสารอันตรายที่ไม่จำเป็นต้องใช้มาเก็บไว้ พูดทำนองสั่งเสีย จัดแจงยกข้าวของของตัวเองให้คนอื่น เขียนจดหมายลาตาย เป็นต้น
กว่าครึ่งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจะเคยส่งสัญญาณเตือนมาก่อน
*** ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ถ้าสังเกตเจอควรถึงเป็นเรื่องจริงจังครับ ***
+ + + สิ่งที่ควรทำเมื่อพบผู้ที่สงสัยว่ามีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย + + +
1. ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ
2. ให้พูดคุย ซักถามว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่แสดงท่าทีตำหนิหรือว่ากล่าว
3. เสนอความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้
4. เก็บ/เอาสิ่งที่อาจจะใช้ทำร้ายตัวเองออกไปให้หมด
5. อย่าปล่อยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายอยู่คนเดียวลำพัง
6. รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากไม่สามารถจัดการได้ หรือสถานการณ์ไม่ดีขึ้น
นนี้เรามาคุยกันต่อถึงว่าอะไรที่ทำให้คนเราฆ่าตัวตาย และจิตวิทยาของการฆ่าตัวตายกันนะครับ
\\สาเหตุที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย//
* ในคนอายุน้อยกว่า 30 ปี เชื่อว่าหลายคนเดาได้ นั่นคือสาเหตุที่พบบ่อยสุดคือ ปัญหากับคนใกล้ชิด โดยเฉพาะทะเลาะหรือเลิกกับแฟน อันนี้บ่อยสุด ส่วนกับคนอื่น ๆ เช่น มีปัญหากับพ่อแม่ เป็นต้น
ส่วนสาเหตุรองลงมาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกอายุยี่สิบปลายๆ ใกล้ไปทางสามสิบ ก็จะเป็นเรื่องของตกงานหรือความเครียดจากการทำงาน
** ในคนอายุมากกว่า 30 ปี สาเหตุที่สำคัญคือ เรื่องของการเจ็บป่วยทางกายที่เรื้อรัง กับปัญหาเรื่องฐานะการเงิน เป็นปัญหาหลัก
จิตวิทยาของการฆ่าตัวตาย
ทางจิตวิทยานั้นเชื่อว่าคนที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น มีแรงผลักดันในลักษณะที่ต่าง ๆ กันไปดังนี้
1. การฆ่าตัวตายนั้นนำไปสู่สิ่งชีวิตดีกว่า เช่น มีชาติภพหน้าที่ดีกว่า หรือทำให้เป็นอิสระ เป็นต้น
2. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นการลงโทษตัวเอง เช่น เกิดในคนที่รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรผิด เช่น สามีขับรถไปกับภรรยาแล้วรถชน ภรรยาเสียชีวิตแต่ตัวเองรอด ทำให้รู้สึกผิดจนอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น
3. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นเสมือนการแก้แค้นคนที่รัก เช่น ถ้าเธอไม่รักฉัน ฉันจะตายให้ดู (=ถ้าฉันตายมันเป็นความผิดของเธอ)
4. การฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา เช่น มีปัญหาหนี้สิ้นท่วมตัว ไม่รู้จะแก้ไขจัดการยังไงดี เป็นต้น
5. การฆ่าตัวตายเนื่องจากอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน เช่น ในผู้ป่วยโรคจิตเภทส่วนหนึ่งจะฆ่าตัวตายจากการที่มีหูแว่วมาสั่งให้ฆ่าตัวตาย หรือบางรายอาจมีอาการหวาดระแวงกลัวคนมาทำร้าย ทำให้เครียดมากจนฆ่าตัวตาย เป็นต้น
@ การป้องกันและสังเกตการพยายามฆ่าตัวตาย @
สิ่งสำคัญคือประชาชนทั่วไปควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และการฆ่าตัวตายให้มากขึ้น และไม่มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นตราบาป (Stigma) เช่น คิดว่าเป็นเรื่องของคนสิ้นคิด หรือคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล่น ๆ
ถึงแม้ว่าการฆ่าตัวตายนั้นหลายครั้งจะเป็นการยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ก็มีหลายจุดที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ก่อน และสามารถป้องกันหรือให้การรักษาได้ทันท่วงที โดยสิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรถือเป็นเรื่องจริงจัง และจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
• พฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง
เพราะในชีวิตจริงทุกวันนี้จะพบว่า หลาย ๆ ครั้งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น ไม่ได้มาพบแพทย์ ผมเองมีเด็กวัยรุ่นที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาหลายครั้ง แต่ที่บ้านก็ไม่เคยพามาพบแพทย์เลย จนครั้งหลังสุดรุนแรงมากชนิดเกือบจะได้ตายจริงๆ ต้องนอนรพ.หลายวัน จึงโดนบังคับส่งมาพบแพทย์
• ความเจ็บป่วยทางจิต
ดังที่กล่าวในบทความตอนแรกว่า การฆ่าตัวตายนั้นสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิตอย่างมาก ดังนั้นหากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเกิดความเจ็บป่วยทางจิตใจขึ้นมา ก็อย่ารีรอที่จะมาพบแพทย์
• สัญญาณเตือน (Warning signs) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตและให้ความสนใจ
โดยพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่ฆ่าตัวตายจะมีสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างออกมาให้คนรอบข้าง เช่น พูดเปรย ๆ ว่า “ไม่อยากอยู่” , "ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม" , “ครอบครัวจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีตัวเองอยู่” , “ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว” เป็นต้น
หรือมีพฤติกรรมบางอย่างเช่น ซื้อยามาเก็บไว้มาก ๆ ซื้อสารอันตรายที่ไม่จำเป็นต้องใช้มาเก็บไว้ พูดทำนองสั่งเสีย จัดแจงยกข้าวของของตัวเองให้คนอื่น เขียนจดหมายลาตาย เป็นต้น
กว่าครึ่งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจะเคยส่งสัญญาณเตือนมาก่อน
*** ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ถ้าสังเกตเจอควรถึงเป็นเรื่องจริงจังครับ ***
+ + + สิ่งที่ควรทำเมื่อพบผู้ที่สงสัยว่ามีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย + + +
1. ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ
2. ให้พูดคุย ซักถามว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่แสดงท่าทีตำหนิหรือว่ากล่าว
3. เสนอความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้
4. เก็บ/เอาสิ่งที่อาจจะใช้ทำร้ายตัวเองออกไปให้หมด
5. อย่าปล่อยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายอยู่คนเดียวลำพัง
6. รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากไม่สามารถจัดการได้ หรือสถานการณ์ไม่ดีขึ้น
"หมอครับ ...เราจะแยกยังไงระหว่างคนที่เรียกร้องความสนใจกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆบนโลกโซเชียล?"
... นี่เป็นคำถามที่ผมมักถูกถามบ่อยครั้ง ไม่ใช่แค่เพียงเมื่อวานนี้ที่เกิดเหตุน่าสลดจากการที่เด็กสาวคนหนึ่งส่งสัญญานขอความช่วยเหลือผ่านทางเฟสบุ๊คของเธอ และเรื่องจบลงตรงที่ สัญญาน S.O.S ที่ถูกส่งออกไปนั้น ไม่สามารถส่งความช่วยเหลือกลับมาหาเธอได้ทันเวลา
.
.
.
" ไม่ต้องแยกครับ " ...ผมตอบแบบนี้เสมอ
ไม่ต้องแยกจริงๆ เพราะสุดท้ายคนเหล่านี้ คือ คนที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งหมดนั่นแหละ !!
.
.
.
กลุ่มที่ถูกตราหน้าว่าชอบเรียกร้องความสนใจ (Attention-seeker) มักจะถูกมองด้วยความเหยียดหยามจากคนรอบข้าง มักถูกสั่งสอนด้วยคำต่อว่าที่รุนแรงจากคนใกล้ตัว สุดท้ายมักจบลงด้วยคำพูดที่ว่า...
"อย่าเรียกร้องความสนใจ"
จบ...จบแค่ตรงนี้เสมอ...จบแบบเจ็บๆ
...น่าแปลก กลับไม่ค่อยมีคนตั้งคำถามต่อไปว่า
"บุคลิกภาพแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร?"
"มีปมอะไรถูกซ่อนอยู่?"
"หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาการที่รุนแรงในอนาคต?"
เราไม่มีทางรู้หรอก ว่าเด็กวัยรุ่นที่เอาลิปสติกขีดแขนเป็นปื้นแล้วเขียนสเตตัสว่าอยากตาย ท้ายที่สุดจะไม่พัฒนาเป็นเด็กที่หยิบคัตเตอร์มากรีดข้อมืออย่างเงียบๆจนต้องเข้าไอซียู
... ปัญหาทางสุขภาพจิตระยะแรกๆ มักเป็นแบบนี้แหละครับ ถูกแสดงออกอย่างไม่ตรงไปตรงมาและมักถูกมองข้าม สุดท้ายถูกปัดไว้ไปใต้พรมหรือฝังกลบไว้อยู่ใต้ดิน
รอสะสมพลังจนกลายเป็นระเบิดลูกใหญ่!
.
.
.
และจะแยกไปทำไม ในเมื่อ....
คนที่ต้องการความช่วยเหลือ คือคนที่ "สังคม" ตัดสินว่า "เค้าน่าจะทำจริงๆ"
ส่วนคนที่เรียกร้องความสนใจ ก็คือคนที่ "สังคม" ตัดสินว่า "เค้าไม่ทำจริงๆหรอก"
... เส้นบางๆตรงกลางที่ถูกขีดขึ้นมาโดย "คนอื่นในสังคม"
เราชอบตัดสินเรื่องของคนอื่น บนพื้นฐานชีวิตของตัวเอง ประสบการณ์ของตัวเอง และความเชื่อของตัวเอง ..... ทั้งที่เป็นคนนอกแท้ๆ ไม่ได้อยู่กับเขา 24 ชั่วโมง ไม่ได้อยู่กับเขามาตั้งแต่เกิดซักหน่อยเลย
จะทำจริง หรือ ไม่ทำจริง ... เจ้าตัวต่างหากที่รู้ดีที่สุด
.
.
.
โลกเราเปลี่ยนไป...
ผู้ใหญ่จากยุคสมัยก่อนอาจมองว่าการเขียนหรือโพสท์อะไรไปในเฟสบุ๊คของเด็กสมัยนี้ คือ การโชว์ออฟ การเรียกร้องความสนใจ การเรียกไลค์ การระบายอารมณ์ หรือแม้กระทั่งการอยากเป็นคนโด่งดังแบบเน็ทไอดอล
นั่นเพราะคนเหล่านั้นขาดความเข้าใจในความสัมพันธ์ของสังคมโซเชียลกับชีวิตเด็กยุคดิจิตอลในปัจจุบัน
เด็กรุ่น Generation Me เป็นต้นมา ได้หลอมรวมการสื่อสารในชีวิตประจำวันของตัวเอง ทั้งการรับสื่อมาและการสื่อสารออกไป เข้ากับโลกโซเชียลมีเดียไปหมดแล้ว โซเชียลมีเดียจึงไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือสื่อสารอีกต่อไป แต่มันผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราไปโดยปริยาย
เพราะฉะนั้น การแสดงออกถึงเจตจำนงแห่งความตายผ่านทางโลกโซเชียลในยุคปัจจุบันนี้ จึงมักจะสะท้อนบางอย่างภายใต้จิตใจของคนๆหนึ่งได้เสมอ ไม่ว่าจะตั้งใจทำจริงๆหรือไม่ก็ตาม
.
.
.
เอาเป็นว่า ถ้าเรื่องแบบนี้ผ่านตาเรามา...เข้าไปช่วยเหลือเขาเถอะครับ ตั้งสติให้ดี ลดอคติที่อยู่ในใจ สุดท้ายจะให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง หรือ พิมพ์แค่ "สู้ๆ" "เอาใจช่วยนะ" ก็ดีมากแล้ว
ไอ้แบบพวกนักเลงคีย์บอร์ดรุมกันแกล้ง รุมกันสับ รุมกันยุ นี่ผมขอเลยครับ...นี่มัน "ร่วมด้วย ช่วยกันฆ่า" ชัดๆ
(เอาบทความมากฝาก) การฆ่าตัวตายและการป้องกัน
\\สาเหตุที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย//
* ในคนอายุน้อยกว่า 30 ปี เชื่อว่าหลายคนเดาได้ นั่นคือสาเหตุที่พบบ่อยสุดคือ ปัญหากับคนใกล้ชิด โดยเฉพาะทะเลาะหรือเลิกกับแฟน อันนี้บ่อยสุด ส่วนกับคนอื่น ๆ เช่น มีปัญหากับพ่อแม่ เป็นต้น
ส่วนสาเหตุรองลงมาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกอายุยี่สิบปลายๆ ใกล้ไปทางสามสิบ ก็จะเป็นเรื่องของตกงานหรือความเครียดจากการทำงาน
** ในคนอายุมากกว่า 30 ปี สาเหตุที่สำคัญคือ เรื่องของการเจ็บป่วยทางกายที่เรื้อรัง กับปัญหาเรื่องฐานะการเงิน เป็นปัญหาหลัก
จิตวิทยาของการฆ่าตัวตาย
ทางจิตวิทยานั้นเชื่อว่าคนที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น มีแรงผลักดันในลักษณะที่ต่าง ๆ กันไปดังนี้
1. การฆ่าตัวตายนั้นนำไปสู่สิ่งชีวิตดีกว่า เช่น มีชาติภพหน้าที่ดีกว่า หรือทำให้เป็นอิสระ เป็นต้น
2. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นการลงโทษตัวเอง เช่น เกิดในคนที่รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรผิด เช่น สามีขับรถไปกับภรรยาแล้วรถชน ภรรยาเสียชีวิตแต่ตัวเองรอด ทำให้รู้สึกผิดจนอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น
3. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นเสมือนการแก้แค้นคนที่รัก เช่น ถ้าเธอไม่รักฉัน ฉันจะตายให้ดู (=ถ้าฉันตายมันเป็นความผิดของเธอ)
4. การฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา เช่น มีปัญหาหนี้สิ้นท่วมตัว ไม่รู้จะแก้ไขจัดการยังไงดี เป็นต้น
5. การฆ่าตัวตายเนื่องจากอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน เช่น ในผู้ป่วยโรคจิตเภทส่วนหนึ่งจะฆ่าตัวตายจากการที่มีหูแว่วมาสั่งให้ฆ่าตัวตาย หรือบางรายอาจมีอาการหวาดระแวงกลัวคนมาทำร้าย ทำให้เครียดมากจนฆ่าตัวตาย เป็นต้น
@ การป้องกันและสังเกตการพยายามฆ่าตัวตาย @
สิ่งสำคัญคือประชาชนทั่วไปควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และการฆ่าตัวตายให้มากขึ้น และไม่มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นตราบาป (Stigma) เช่น คิดว่าเป็นเรื่องของคนสิ้นคิด หรือคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล่น ๆ
ถึงแม้ว่าการฆ่าตัวตายนั้นหลายครั้งจะเป็นการยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ก็มีหลายจุดที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ก่อน และสามารถป้องกันหรือให้การรักษาได้ทันท่วงที โดยสิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรถือเป็นเรื่องจริงจัง และจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
• พฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง
เพราะในชีวิตจริงทุกวันนี้จะพบว่า หลาย ๆ ครั้งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น ไม่ได้มาพบแพทย์ ผมเองมีเด็กวัยรุ่นที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาหลายครั้ง แต่ที่บ้านก็ไม่เคยพามาพบแพทย์เลย จนครั้งหลังสุดรุนแรงมากชนิดเกือบจะได้ตายจริงๆ ต้องนอนรพ.หลายวัน จึงโดนบังคับส่งมาพบแพทย์
• ความเจ็บป่วยทางจิต
ดังที่กล่าวในบทความตอนแรกว่า การฆ่าตัวตายนั้นสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิตอย่างมาก ดังนั้นหากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเกิดความเจ็บป่วยทางจิตใจขึ้นมา ก็อย่ารีรอที่จะมาพบแพทย์
• สัญญาณเตือน (Warning signs) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตและให้ความสนใจ
โดยพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่ฆ่าตัวตายจะมีสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างออกมาให้คนรอบข้าง เช่น พูดเปรย ๆ ว่า “ไม่อยากอยู่” , "ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม" , “ครอบครัวจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีตัวเองอยู่” , “ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว” เป็นต้น
หรือมีพฤติกรรมบางอย่างเช่น ซื้อยามาเก็บไว้มาก ๆ ซื้อสารอันตรายที่ไม่จำเป็นต้องใช้มาเก็บไว้ พูดทำนองสั่งเสีย จัดแจงยกข้าวของของตัวเองให้คนอื่น เขียนจดหมายลาตาย เป็นต้น
กว่าครึ่งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจะเคยส่งสัญญาณเตือนมาก่อน
*** ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ถ้าสังเกตเจอควรถึงเป็นเรื่องจริงจังครับ ***
+ + + สิ่งที่ควรทำเมื่อพบผู้ที่สงสัยว่ามีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย + + +
1. ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ
2. ให้พูดคุย ซักถามว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่แสดงท่าทีตำหนิหรือว่ากล่าว
3. เสนอความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้
4. เก็บ/เอาสิ่งที่อาจจะใช้ทำร้ายตัวเองออกไปให้หมด
5. อย่าปล่อยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายอยู่คนเดียวลำพัง
6. รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากไม่สามารถจัดการได้ หรือสถานการณ์ไม่ดีขึ้น
นนี้เรามาคุยกันต่อถึงว่าอะไรที่ทำให้คนเราฆ่าตัวตาย และจิตวิทยาของการฆ่าตัวตายกันนะครับ
\\สาเหตุที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย//
* ในคนอายุน้อยกว่า 30 ปี เชื่อว่าหลายคนเดาได้ นั่นคือสาเหตุที่พบบ่อยสุดคือ ปัญหากับคนใกล้ชิด โดยเฉพาะทะเลาะหรือเลิกกับแฟน อันนี้บ่อยสุด ส่วนกับคนอื่น ๆ เช่น มีปัญหากับพ่อแม่ เป็นต้น
ส่วนสาเหตุรองลงมาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกอายุยี่สิบปลายๆ ใกล้ไปทางสามสิบ ก็จะเป็นเรื่องของตกงานหรือความเครียดจากการทำงาน
** ในคนอายุมากกว่า 30 ปี สาเหตุที่สำคัญคือ เรื่องของการเจ็บป่วยทางกายที่เรื้อรัง กับปัญหาเรื่องฐานะการเงิน เป็นปัญหาหลัก
จิตวิทยาของการฆ่าตัวตาย
ทางจิตวิทยานั้นเชื่อว่าคนที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น มีแรงผลักดันในลักษณะที่ต่าง ๆ กันไปดังนี้
1. การฆ่าตัวตายนั้นนำไปสู่สิ่งชีวิตดีกว่า เช่น มีชาติภพหน้าที่ดีกว่า หรือทำให้เป็นอิสระ เป็นต้น
2. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นการลงโทษตัวเอง เช่น เกิดในคนที่รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรผิด เช่น สามีขับรถไปกับภรรยาแล้วรถชน ภรรยาเสียชีวิตแต่ตัวเองรอด ทำให้รู้สึกผิดจนอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น
3. การฆ่าตัวตายนั้นเป็นเสมือนการแก้แค้นคนที่รัก เช่น ถ้าเธอไม่รักฉัน ฉันจะตายให้ดู (=ถ้าฉันตายมันเป็นความผิดของเธอ)
4. การฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา เช่น มีปัญหาหนี้สิ้นท่วมตัว ไม่รู้จะแก้ไขจัดการยังไงดี เป็นต้น
5. การฆ่าตัวตายเนื่องจากอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน เช่น ในผู้ป่วยโรคจิตเภทส่วนหนึ่งจะฆ่าตัวตายจากการที่มีหูแว่วมาสั่งให้ฆ่าตัวตาย หรือบางรายอาจมีอาการหวาดระแวงกลัวคนมาทำร้าย ทำให้เครียดมากจนฆ่าตัวตาย เป็นต้น
@ การป้องกันและสังเกตการพยายามฆ่าตัวตาย @
สิ่งสำคัญคือประชาชนทั่วไปควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และการฆ่าตัวตายให้มากขึ้น และไม่มองว่าการฆ่าตัวตายเป็นตราบาป (Stigma) เช่น คิดว่าเป็นเรื่องของคนสิ้นคิด หรือคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล่น ๆ
ถึงแม้ว่าการฆ่าตัวตายนั้นหลายครั้งจะเป็นการยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ก็มีหลายจุดที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ก่อน และสามารถป้องกันหรือให้การรักษาได้ทันท่วงที โดยสิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรถือเป็นเรื่องจริงจัง และจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
• พฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง
เพราะในชีวิตจริงทุกวันนี้จะพบว่า หลาย ๆ ครั้งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายนั้น ไม่ได้มาพบแพทย์ ผมเองมีเด็กวัยรุ่นที่เคยพยายามฆ่าตัวตายมาหลายครั้ง แต่ที่บ้านก็ไม่เคยพามาพบแพทย์เลย จนครั้งหลังสุดรุนแรงมากชนิดเกือบจะได้ตายจริงๆ ต้องนอนรพ.หลายวัน จึงโดนบังคับส่งมาพบแพทย์
• ความเจ็บป่วยทางจิต
ดังที่กล่าวในบทความตอนแรกว่า การฆ่าตัวตายนั้นสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางจิตอย่างมาก ดังนั้นหากพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเกิดความเจ็บป่วยทางจิตใจขึ้นมา ก็อย่ารีรอที่จะมาพบแพทย์
• สัญญาณเตือน (Warning signs) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตและให้ความสนใจ
โดยพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่ฆ่าตัวตายจะมีสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างออกมาให้คนรอบข้าง เช่น พูดเปรย ๆ ว่า “ไม่อยากอยู่” , "ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม" , “ครอบครัวจะดีกว่านี้ถ้าไม่มีตัวเองอยู่” , “ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว” เป็นต้น
หรือมีพฤติกรรมบางอย่างเช่น ซื้อยามาเก็บไว้มาก ๆ ซื้อสารอันตรายที่ไม่จำเป็นต้องใช้มาเก็บไว้ พูดทำนองสั่งเสีย จัดแจงยกข้าวของของตัวเองให้คนอื่น เขียนจดหมายลาตาย เป็นต้น
กว่าครึ่งของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจะเคยส่งสัญญาณเตือนมาก่อน
*** ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ถ้าสังเกตเจอควรถึงเป็นเรื่องจริงจังครับ ***
+ + + สิ่งที่ควรทำเมื่อพบผู้ที่สงสัยว่ามีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย + + +
1. ต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ
2. ให้พูดคุย ซักถามว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่แสดงท่าทีตำหนิหรือว่ากล่าว
3. เสนอความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้
4. เก็บ/เอาสิ่งที่อาจจะใช้ทำร้ายตัวเองออกไปให้หมด
5. อย่าปล่อยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายอยู่คนเดียวลำพัง
6. รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากไม่สามารถจัดการได้ หรือสถานการณ์ไม่ดีขึ้น
"หมอครับ ...เราจะแยกยังไงระหว่างคนที่เรียกร้องความสนใจกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆบนโลกโซเชียล?"
... นี่เป็นคำถามที่ผมมักถูกถามบ่อยครั้ง ไม่ใช่แค่เพียงเมื่อวานนี้ที่เกิดเหตุน่าสลดจากการที่เด็กสาวคนหนึ่งส่งสัญญานขอความช่วยเหลือผ่านทางเฟสบุ๊คของเธอ และเรื่องจบลงตรงที่ สัญญาน S.O.S ที่ถูกส่งออกไปนั้น ไม่สามารถส่งความช่วยเหลือกลับมาหาเธอได้ทันเวลา
.
.
.
" ไม่ต้องแยกครับ " ...ผมตอบแบบนี้เสมอ
ไม่ต้องแยกจริงๆ เพราะสุดท้ายคนเหล่านี้ คือ คนที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งหมดนั่นแหละ !!
.
.
.
กลุ่มที่ถูกตราหน้าว่าชอบเรียกร้องความสนใจ (Attention-seeker) มักจะถูกมองด้วยความเหยียดหยามจากคนรอบข้าง มักถูกสั่งสอนด้วยคำต่อว่าที่รุนแรงจากคนใกล้ตัว สุดท้ายมักจบลงด้วยคำพูดที่ว่า...
"อย่าเรียกร้องความสนใจ"
จบ...จบแค่ตรงนี้เสมอ...จบแบบเจ็บๆ
...น่าแปลก กลับไม่ค่อยมีคนตั้งคำถามต่อไปว่า
"บุคลิกภาพแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร?"
"มีปมอะไรถูกซ่อนอยู่?"
"หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของอาการที่รุนแรงในอนาคต?"
เราไม่มีทางรู้หรอก ว่าเด็กวัยรุ่นที่เอาลิปสติกขีดแขนเป็นปื้นแล้วเขียนสเตตัสว่าอยากตาย ท้ายที่สุดจะไม่พัฒนาเป็นเด็กที่หยิบคัตเตอร์มากรีดข้อมืออย่างเงียบๆจนต้องเข้าไอซียู
... ปัญหาทางสุขภาพจิตระยะแรกๆ มักเป็นแบบนี้แหละครับ ถูกแสดงออกอย่างไม่ตรงไปตรงมาและมักถูกมองข้าม สุดท้ายถูกปัดไว้ไปใต้พรมหรือฝังกลบไว้อยู่ใต้ดิน
รอสะสมพลังจนกลายเป็นระเบิดลูกใหญ่!
.
.
.
และจะแยกไปทำไม ในเมื่อ....
คนที่ต้องการความช่วยเหลือ คือคนที่ "สังคม" ตัดสินว่า "เค้าน่าจะทำจริงๆ"
ส่วนคนที่เรียกร้องความสนใจ ก็คือคนที่ "สังคม" ตัดสินว่า "เค้าไม่ทำจริงๆหรอก"
... เส้นบางๆตรงกลางที่ถูกขีดขึ้นมาโดย "คนอื่นในสังคม"
เราชอบตัดสินเรื่องของคนอื่น บนพื้นฐานชีวิตของตัวเอง ประสบการณ์ของตัวเอง และความเชื่อของตัวเอง ..... ทั้งที่เป็นคนนอกแท้ๆ ไม่ได้อยู่กับเขา 24 ชั่วโมง ไม่ได้อยู่กับเขามาตั้งแต่เกิดซักหน่อยเลย
จะทำจริง หรือ ไม่ทำจริง ... เจ้าตัวต่างหากที่รู้ดีที่สุด
.
.
.
โลกเราเปลี่ยนไป...
ผู้ใหญ่จากยุคสมัยก่อนอาจมองว่าการเขียนหรือโพสท์อะไรไปในเฟสบุ๊คของเด็กสมัยนี้ คือ การโชว์ออฟ การเรียกร้องความสนใจ การเรียกไลค์ การระบายอารมณ์ หรือแม้กระทั่งการอยากเป็นคนโด่งดังแบบเน็ทไอดอล
นั่นเพราะคนเหล่านั้นขาดความเข้าใจในความสัมพันธ์ของสังคมโซเชียลกับชีวิตเด็กยุคดิจิตอลในปัจจุบัน
เด็กรุ่น Generation Me เป็นต้นมา ได้หลอมรวมการสื่อสารในชีวิตประจำวันของตัวเอง ทั้งการรับสื่อมาและการสื่อสารออกไป เข้ากับโลกโซเชียลมีเดียไปหมดแล้ว โซเชียลมีเดียจึงไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือสื่อสารอีกต่อไป แต่มันผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเราไปโดยปริยาย
เพราะฉะนั้น การแสดงออกถึงเจตจำนงแห่งความตายผ่านทางโลกโซเชียลในยุคปัจจุบันนี้ จึงมักจะสะท้อนบางอย่างภายใต้จิตใจของคนๆหนึ่งได้เสมอ ไม่ว่าจะตั้งใจทำจริงๆหรือไม่ก็ตาม
.
.
.
เอาเป็นว่า ถ้าเรื่องแบบนี้ผ่านตาเรามา...เข้าไปช่วยเหลือเขาเถอะครับ ตั้งสติให้ดี ลดอคติที่อยู่ในใจ สุดท้ายจะให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง หรือ พิมพ์แค่ "สู้ๆ" "เอาใจช่วยนะ" ก็ดีมากแล้ว
ไอ้แบบพวกนักเลงคีย์บอร์ดรุมกันแกล้ง รุมกันสับ รุมกันยุ นี่ผมขอเลยครับ...นี่มัน "ร่วมด้วย ช่วยกันฆ่า" ชัดๆ