วิธีการพิจารณารูปและนาม

วิธีการพิจารณารูปและนาม

    การพิจารณารูป นาม พิจารณายังไงให้เข้าไปสู่พระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา?

    เราจะพิจารณาว่าเกิดเพราะเหตุอะไร? ดับเพราะเหตุอะไร? ทีนี้เกิด สุดท้ายก็ต้องดับ ดับแล้วก็ต้องเกิด นี่แหละเข้าสู่พระไตรลักษณ์

    การพิจารณารูป นาม เกิดดับ แบบชาวบ้านทั่วไป วิธีการง่ายๆ คือ เราหยิกมือตัวเอง เจ็บไหม? ก็เจ็บ ในเมื่อเจ็บเราก็ปล่อยจากการหยิกตัวเอง ก็ดับแล้ว หายจากการเจ็บปวดแล้ว

    เมื่อมีเหตุมาก็ต้องเจ็บ เหตุนั้นถูกแก้เหตุนั้นก็หาย

    ขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งก็คือ การพิสูจน์กับตนเองกับอย่างอื่นเพื่อพิจารณาอย่างแยบยลกว่านี้ เช่น ความคิด เป็นการพิจารณาทางนาม ก็จะขึ้นมาจากรูป ให้ละเอียดขึ้น

    การพิจารณายังไงในความคิด เช่น เราคิดจะนั่งตรงนี้ แล้วอีกหน่อยเราจะเปลี่ยนไหม? เราก็จะเปลี่ยนความคิดแล้วว่าเราจะไปเดิน เห็นไหม?

    นี่แหละการพิจารณารูป และนาม เข้าสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ถ้าสูงกว่านี้ เป็นขั้นที่ ๓ คือ การทำดี หรือทำชั่ว เช่น เราอยากมีเพศสัมพันธ์ เราจะทำบ่อยมากแค่ไหน เท่าไหร่ เริ่มเป็นปริศนาธรรมขึ้นมาแล้ว

    ขั้นที่ ๔ เป็นปริศนาธรรม คือ ธรรมข้อไหน เช่น การกินข้าวอิ่มเกินไป เราก็ต้องมาถามว่า ตนเองกินข้าวอิ่มเกินไปทำไม เพราะอะไร สาเหตุก็เพราะว่าไม่รู้จักพอ นี่แหละเป็นเหตุ พอเหตุนี้ดับ พอเราสร้างเหตุให้กระเพาะสามารถไปย่อยได้ เราก็จะไม่ต้องรู้สึกอึดอัด ฉะนั้น เราไปกินยาที่ช่วยย่อยก็จะหายแล้ว

    ขั้นที่ ๕ เป็นการพิจารณาปรมัตถ์ คือ การพิจารณาเข้าสู่หลักธรรม เป็นอภิธรรมแล้ว ยกตัวอย่าง เรากินเยอะอย่างนั้น เพราะเหตุอะไร ทำไมต้องมากินเยอะ เข้าสู่ตัวเร้าแล้ว มีตัวกิเลส คือ พิจารณาตัวกิเลสที่ทำให้เป็น นี่แหละก็เป็นปรมัตถ์แล้ว ในปรมัตถ์นั้นก็มีเป็นขั้นเช่นเดียวกัน ปรมัตถ์ ๑ ปรมัตถ์ ๒ ปรมัตถ์ ๓ หยาบ กลาง ละเอียด ก็ว่ากันไป

    ยกตัวอย่าง เรามีอารมณ์อยากมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง เราจะพิจารณายังไง

    ขั้นแรก พิจารณาแบบชาวบ้านก็คือ อวัยวะเพศของเราแข็ง เราเกิดมีอารมณ์ เราอยากมีเพศสัมพันธ์แล้วเราผู้หญิงที่เราไปมีเพศสัมพันธ์กันนั้นผิดไหม? ถูกต้องตามประเพณีไหม? ผิดศีลไหม? คนนี้เราควรมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันไหม?

    ขั้นที่สอง ก็จะมาพิจารณาว่า ทำไมเราต้องมามีเพศสัมพันธ์ด้วย ก็จะคิดเป็นเหตุเป็นผลไปเรื่อยๆ

    ขั้นที่สาม ก็จะมาพิจารณาว่า ถ้าเราไม่มีเพศสัมพันธ์เราจะทำยังไงไม่มีเพศสัมพันธ์ได้ไหม? ดูแลตัวเองได้ไหม? จะต้องทำยังไง? อะไรประมาณนี้

    ขั้นที่สี่ เราก็จะมาพิจารณาว่า เพราะแรงกรรมตัวไหน หรือว่าสิ่งที่เป็นเหตุอะไรที่จะมาทำให้เป็นอย่างนี้ มีวิบากกรรมเช่นนี้

    เอ...เราอยากมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง นี่เป็นแรงกรรมด้วยเหรอ? ก็ต้องเป็นแรงกรรม เพราะว่า ถ้าผู้หญิงคนนี้เราไม่ชอบแล้วเราจะเอาเขาเหรอ

    อย่างเช่น เราเห็นคนสวยๆ คนที่ไม่สวยเราก็จะไม่เอา นี่แหละ เป็นแรงกรรมไหม? เราถึงเห็นเขาสวยๆ อย่างนี้ไม่ใช่เรียกว่าแรงกรรมเหรอ? ก็ต้องเป็นแรงกรรม ถ้าไม่ใช่แรงกรรมเราจะรู้ว่าเขาสวยหรือขี้เหร่ได้ยังไง เราชอบได้ยังไง ก็นี่แหละ เป็นแรงกรรมทำให้เราชอบอย่างนี้ขึ้นมา

    ก็เพราะว่าเราสร้างสมกรรมเช่นนี้ไว้ จึงหล่อหลอมให้เราชื่นชอบผู้หญิงหน้าตาเป็นเช่นนี้ ผิวอย่างนี้ แต่งตัวเช่นนี้ ถ้าผิดจากสเป็กอย่างนี้ไม่ใช่ ไม่เอา นี่แหละเป็นแรงกรรม

    ถ้าหากมีคนถามว่า ก็คนทั่วไปก็ชอบคนสวยอยู่แล้วนี่? ตอบอย่างนี้ไม่ใช่ เพราะว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ คนทั่วไปก็จะรักผู้หญิง สมมติชื่อว่า นางสาวอาภัสสรา คนเดียวนะสิ คนเป็นล้านคนก็ต้องมาชอบนางสาวอาภัสสราคนเดียวอย่างนี้ไม่ใช่ คนทั่วไปก็จะมาฆ่ากันตายเพราะแย่งชิงนางสาวอาภัสสรานะสิ แล้วทำไมบางคนไม่เอาอภัสสรา นี่แหละ ก็เพราะแรงกรรมของแต่ละบุคคล

    อย่างเช่น นางสาวปุ๋ย ถ้าไม่มีแรงกรรม ก็คงไม่ไปแต่งงานกับชาวต่างชาติ คงแต่งงานกับคนในประเทศไทยนี่แหละ นี่แหละต้องมีแรงกรรม

    ขั้นที่ห้า เข้าสู่ปรมัตถ์ คือ ทำไมต้องเป็นอย่างนั้น โดยธรรม ใครทำก็เป็นอย่างนี้ เหตุอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าเราควบคุมยังไง เราจะทำยังไงก็ว่ากันไป

    ถามว่า ทำไมเราต้องไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วย ถ้าเราไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงก็มีความสุขดีนี่ แล้วทำไมต้องปราศจากการมีเพศสัมพันธ์กันด้วย

    การมีเพศสัมพันธ์กันก็ดีอยู่ เพียงแต่ว่าเราจะเลือกทางไหน ถ้าเราจะคิดแบบปรมัตถ์ล่ะ จะต้องคิดพิจารณาเช่นใด?

    เพราะว่าระดับปรมัตถ์ต้องไม่มาทำกิจกรรมทางเพศร่วมกันอยู่แล้ว เพราะอะไร?

    ก็เพราะว่าเป็น"ปรมัตถ์" และคำว่า "อภิ" ก็คือ ยิ่งขึ้นไป

    แล้วเราจะทำให้ยิ่งขึ้นไปไหมล่ะ? ถ้าเราไม่ปฏิบัติยิ่งขึ้นไปอยู่ตรงนั้นก็จบ

    ถ้าเขาให้เรานอนอยู่ใต้ถุนแล้วทำไมเราต้องอยากไปนอนบนบ้านด้วย ก็เพราะว่า มันสบายกว่าไง ก็แค่นี้แหละ

    ถ้าไม่สบายกว่า มันทุกข์ไหม?ล่ะ ถ้าไม่อยากสบายก็ต้องอยู่ใต้ถุนสิ

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่