สำหรับ
'หนังนีโอนัวร์' เป็นชื่อที่ใช้เรียก
'หนังฟิล์มนัวร์' หลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนถ่ายหรือราวยุค 70 โดย 'หนังฟิล์มนัวร์' จะไม่ถูกนับเป็นประเภท (genre) แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสไตล์หนัง (style) ที่สามารถผนวกเข้ากับแนวหนังอื่นๆได้ไม่ว่าเป็นดราม่า อาชญากรรม โรแมนซ์ ไซไฟฯ โดยหัวใจสำคัญจะเป็นการสะท้อนมุมซ่อนเร้นของสังคมและมุ่งสำรวจความชั่วร้ายภายในจิตใจมนุษย์ ซึ่งองค์ประกอบเบื้องต้นที่สามารถสังเกตคืองานภาพจะเน้นการใช้โทนสีเข้มทึบ ตัวละครในเรื่องเป็นสีเทา และมักมีตัวละครหญิงแนวฟาม ฟาเทล ที่มีเสน่ห์ดึงดูด คอยหลอกล่อผู้ชายให้ตกเป็นเหยื่อ ส่วนตัวหนังจะเล่าผ่านมุมมองตัวเอกที่มักมีบุคคลแปลกแยก ขี้ระแวง และจะป้อนข้อมูลเพื่อโน้มน้าวให้คนดูอยู่ฝ่ายเดียวกับตัวเอก ก่อนพาไปพัวพันกับเรื่องอันตรายที่ไม่อาจหลีกหนี รวมถึงอาจมีการสร้างโมเม้นท์ให้คนดูเกิดความสับสนถึงเบื้องหลังของตัวเอกว่าแท้จริงแล้วเขาคือฮีโร่ เหยื่อ หรือผู้ร้ายกันแน่...
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. A History of Violence (2005)
การเปลี่ยนบทบาทของตัวเอกด้วยโมเม้นท์ดี-ร้ายสลับกันไป เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์สำคัญของหนังฟิล์มนัวร์ เมื่อโฉมหน้าของฮีโร่ค่อยๆถูกความจริงที่ปกปิดอยู่แปรเปลี่ยนให้เขาเสมือนว่าเป็นผู้ร้าย นั่นเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ในการเล่นกับปมเบื้องหลังของตัวละครที่ส่งผลกระทบต่อปัจจุบัน โดยเฉพาะความไว้เนื้อเชื่อใจจากคนในครอบครัวที่พังทลายไปพร้อมความจริงที่ถูกเปิดเผย กับพล็อตที่ว่าด้วยชายผู้ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขกับครอบครัวในเมืองเล็กๆ กระทั่งเขาได้กลายเป็นฮีโร่ที่กำราบโจรในร้านอาหารของตัวเอง และจุดโฟกัสก็คือเหตุการณ์นี้ที่นำมาซึ่งชื่อเสียงและการเล่าขานในวีรกรรมอันหาญกล้า จนเรื่องราวไปถึงหูของชายลึกลับที่รู้อดีตอันดำมืดของเขา
9. Insomnia (2002)
ถึงแม้เทคนิคการเล่าเรื่อง ลูกเล่นต่างๆ อาจไม่แพรวพราวหรือโดดเด่นน้อยที่สุดในบรรดาหนังทุกเรื่องของ Christopher Nolan รวมถึงส่วนบทหนังที่โครงเรื่องอาจไม่สลับซับซ้อน เกิดโมเม้นท์พลิกผันไปมา แต่มันก็อัดแน่นด้วยประเด็นทางจิตวิทยา การเล่นกับความผิดพลาดของตัวละครที่นำไปสู่ความขัดแย้งภายในจิตใจทั้งด้านศีลธรรม ความถูกต้องและเกียรติภูมิ โดยหนังพูดถึงตำรวจมือเก๋าที่ถูกมอบหมายให้มาสืบคดีฆาตกรรมเด็กสาวคนหนึ่ง ทว่าระหว่างการไล่ล่าผู้ต้องสงสัยท่ามกลางหมอกอันหนาทึบของอลาสก้า เขากลับสร้างความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่กลายเป็นบททดสอบครั้งสำคัญในฐานะคนเป็นตำรวจ ซึ่งหนังเป็นการเชือดเฉือนคมระหว่าง Al Pacino และRobin Williams สองนักแสดงระดับพระกาฬที่ต่างฝ่ายก็ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างไร้ที่ติ
8. Sin City (2005)
กลายเป็นชื่อแรกๆของใครหลายคนเวลาพูดถึงหนังฟิล์มนัวร์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยองค์ประกอบที่ครบเครื่องทั้งงานภาพขาวดำที่การตีแผ่ความโสมมของสังคม การเล่าผ่านตัวเอกสีเทาสไตล์แอนตี้ฮีโร่ที่ต้องเผชิญกับเรื่องอันตราย และตัวละครหญิงฟาม ฟาเทล ที่มีความสวย ความเจ้าเล่ห์ ใช้มารยาสาไถยบงการผู้ชายให้ทำตามความต้องการของตน โดยหนังใช้เล่าผ่าน 3 เส้นเรื่องเพื่อสะท้อนเมืองที่ตกอยู่ในอำนาจชั่วร้าย ซึ่งเต็มไปด้วยอาชญากรรม ความรุนแรง และการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในทุกหย่อมหญ้า หนึ่งคือ 'ฮาร์ติเเกน' ตำรวจใกล้เกษียณที่ต้องพัวพันกับคดีฆ่าข่มขืนเด็กสาว สองคือ 'มาร์ฟ' ชายร่างยักษ์ที่พยายามสืบความจริงของการเสียชีวิตหญิงสาวที่ตนรักและตัวเองก็ถูกป้ายสีความผิด และสามคือ 'ดไวท์' ชายผู้ต่อสู้กับกลุ่มผู้ทรงอิทธิผลเพื่อปกป้องหญิงสาวที่ตนรัก
7. The Man Who Wasn't There (2001)
ผลงานฟิล์มนัวร์หลังยุค 90 หลายเรื่อง มักให้ความสำคัญกับแค่เปลือกนอกทั้งงานภาพ บรรยากาศ และคาแรคเตอร์ จนหลายครั้งมองข้ามแก่นแท้ของเนื้อหาที่ต้องการสะท้อนสภาพสังคมตามยุคสมัย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่กับหนังขาวดำเรื่องนี้ของพี่น้อง Coen กับความเป็นจริงของโลกที่สะท้อนผ่านเสียงแห่งความคิดของตัวเอกซึ่งเป็นคนธรรมดาๆที่ต้องเผชิญกับผลกระทบร้ายแรงอันเนื่องจากกิเลสภายในจิตใจ โดยวางปมให้ตัวเอกซึ่งทำงานเป็นช่างตัดผมและเกิดจับได้ว่าภรรยาของตนมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับหัวหน้าที่เป็นคนใกล้ชิด และจุดโฟกัสของหนังคือช่วงเวลาหลังจากที่ตัวเอกส่งจดหมายแบล็คเมล์เรียกเงินหนึ่งหมื่นเหรียญถึงชู้รักภรรยา เพื่อนำเงินไปใช้ลงทุนในธุรกิจซักแห้ง แต่ทว่าเหตุการณ์นั้นได้สร้างผลกระทบที่สืบเนื่องกันเป็นทอดๆถึงคนรอบตัวที่เขารัก
6. Nightcrawler (2014)
ผลงานฟิล์มนัวร์ตีแผ่สภาพสังคมชั้นเยี่ยมของผู้กำกับหน้าใหม่อย่าง Dan Gilroy บรรยากาศลอสแอนเจลิสยามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม การปล้นฆ่า กระทำชำเราอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย เป็นจุดสำคัญที่ช่วยสะท้อนจิตใจอันต่ำช้าและสิ้นหวังของผู้คนได้เป็นอย่างดี แต่คงไม่ชัดเจนเท่าตัวเอกที่นำแสดงโดย Jake Gyllenhaal หนุ่มหัวขโมยที่ผันตัวไปเป็นช่างภาพอิสระที่คอยเก็บภาพฟุตเทจมาเสนอขายให้กับสำนักข่าวชื่อดัง โดยเฉพาะข่าวอาชญากรรมสะเทือนขวัญที่กลายเป็นจุดสนใจของสังคมและเสนอขายได้ราคาดี หนังก็ค่อยๆแสดงความหมกมุ่น กิเลสที่เพิ่มมากขึ้นของตัวละคร จนกลายเป็นการมองข้ามคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
5. Watchmen (2009)
อาจเรียกได้ว่าเป็นหนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีเนื้อหามืดหม่นและดูเข้มข้นมากที่สุดของโลกภาพยนตร์ ณ เวลานี้ โดยการใช้ปมหลักของเรื่องที่เกี่ยวกับการตายปริศนาของอดีตสมาชิกทีมวอทช์เมนอย่าง 'เดอะ คอมเมเดียน' โยงเข้ากับประเด็นทางการเมืองที่เต็มด้วยสภาวะตึงเครียด ความคุกรุ่นของสงครามเย็นระหว่างสหภาพโซเวียตและอเมริกา ซึ่งเป็นลักษณะหนังฟิล์มนัวร์ที่นิยมใช้กันในยุค 40-50 เพื่อสะท้อนผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสภาพบ้านเมืองที่สกปรกและอันตราย เต็มไปด้วยอาชญากรรม และจุดสำคัญคือการสำรวจสภาพจิตใจผู้คน การเล่นประเด็นทางจริยธรรม ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ การทรยศหักหลัง และประเด็นเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่หนังเรื่องนี้นำเสนอได้อย่างครบถ้วน
4. Gone Baby Gone (2007)
สถานภาพของนักแสดง Ben Affleck เป็นที่คุ้นชินในบทบาทของตัวละครมาดขรึม คิ้วขมวด เน้นการสื่ออารมณ์ผ่านใบหน้า โดยรวมอาจไม่ดูโดดเด่นหรือมีความพิเศษอะไรมากนัก แต่ทว่าในฐานะของผู้กำกับเขาได้แสดงถึงลีลาและสัญชาตญาณในการเล่าเรื่องที่ชาญฉลาดตั้งแต่ผลงานเดบิวท์อย่าง Gone Baby Gone หนังที่พูดถึงสองนักสืบคู่รักที่ถูกว่าจ้างให้สืบหาเด็กสาววัยสี่ขวบที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งหนังดัดแปลงจากนิยายอาชญากรรมนัวร์เรื่องเยี่ยมของ Dennis Lehane ที่ยังคงแก่นสารสำคัญอย่างครบถ้วน ภายใต้โครงเรื่องที่สลับซับซ้อน หนังค่อยๆพาไปสำรวจความจริง ก่อนปมบางอย่างถูกคลายออกอย่างละเมียดละไม และถูกทดแทนด้วยปมปริศนาใหม่ที่ซ้อนทับขึ้นมา และท้ายที่สุดก็สามารถดึงคนดูให้เข้ามามีส่วนร่วมในสถานการณ์เดียวกับตัวละคร กับคำถามที่คาบเกี่ยวระหว่างความถูกต้องและศีลธรรมความเป็นมนุษย์
3. Mulholland Dr. (2001)
ผู้กำกับอย่าง David Lynch เป็นที่ขึ้นชื่อในการทำหนังฟิล์มนัวร์ ที่โดดเด่นด้วยบรรยากาศอึมครึมและดูลึกลับ รวมถึงรูปลักษณ์ตัวละครที่มีความชัดเจนต่อสไตล์หนังทั้งความแปลกแยกต่อสังคม ความขี้ระแวง ไม่เชื่อใจใคร และหลายเรื่องยังสร้างตัวละครสาวฟาม ฟาเทล ที่มีความเจ้าเล่ห์และมีเบื้องหลังดำมืด ใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางของหนังได้อย่างยอดเยี่ยมทั้ง Blue Velvet, Lost Highway รวมถึง Mulholland Dr. ก็เช่นเดียวกัน ทว่าแก่นแท้ของเนื้อหาส่วนใหญ่ค่อนข้างดูเป็นนามธรรม สอดแทรกสัญญะต่างๆที่ยากต่อการถอดรหัสได้อย่างสมบูรณ์ และอย่างหนังเรื่องนี้ยังมีการผสมเทคนิค nonlinear ที่เพิ่มความสลับซับซ้อน โดยการเล่า 2 เส้นเรื่องที่ตัดสลับไปมาระหว่างความจริงและความฝันของตัวนักแสดงสาวที่พยายามช่วยฟื้นฟูความทรงจำของหญิงสาวคนหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
2. Drive (2011)
หนังที่สื่ออิทธิพลของผู้กำกับได้ชัดเจนมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของยุค ด้วยเอกลักษณ์การกำกับของ Nicolas Winding Refn ที่ช่วยดึงศักยภาพของพล็อตหนังรักน้ำเน่า เรียบๆเชยๆมาสร้างความสดใหม่ในรูปโฉมที่เท่ห์ ดิบเดือด โดยเฉพาะองค์ประกอบงานภาพ การจัดแสงเงาที่มีความมืดหม่น โทนสีฉูดฉาด พร้อมกับใช้ดนตรีอิเล็กโทรนิกส์ป๊อปสไตล์ยุค 80 มาผสมผสานได้อย่างลงตัว และความยอดเยี่ยมของ Ryan Gosling เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม กับบทหนุ่มสตั๊นท์แมนที่ยอมเข้าไปพัวพันกับเรื่องราวสุดอันตรายของสาวข้างห้องที่เขาแอบรัก ซึ่งบุคลิกของตัวละครที่เป็นคนเงียบๆ ดูสุขุม เน้นการสื่ออารมณ์ผ่านทางใบหน้า แน่นอนว่าเขาสามารถทำสิ่งเหล่านั้นออกมาได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง พร้อมกับเสน่ห์ดึงดูดบางอย่างที่เสริมให้ตัวละครดูเท่ห์และน่าสนใจในแบบที่คุณไม่อาจละสายตาจากเขาได้เลย
1. Brick (2005)
อาจเปรียบได้กับ Chinatown แห่งศตวรรษที่ 21 ที่เน้นบริบทเกี่ยวกับกลุ่มวัยรุ่นเพื่อสะท้อนปัญหาอบายมุขและต่อยอดไปถึงเหตุฆาตกรรมซ่อนเงื่อน หนังเปิดปมด้วยหนุ่มไฮสคูลที่ได้รับแผ่นโน๊ตในช่องล็อคเกอร์ที่ระบุวัน เวลา สถานที่นัดพบ และเมื่อไปถึงเขาก็ได้ยินเสียงโทรจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ทว่าปลายสายนั้นกลับเป็นอดีตแฟนสาวที่มีน้ำเสียงสั่นเครือ ดูหวาดกลัวบางสิ่ง ก่อนสายจะถูกตัดโดยฉับพลัน ซึ่งหนังจะมีการนำเสนอแบบหนังฟิล์มนัวร์สืบสวนยุคก่อน ที่เน้นบรรยากาศอึมครึม ตัวละครสีเทา และเล่าโดยไม่เร่งเร้าจังหวะ ค่อยๆเปิดเผยความจริงไปตามลำดับ ก่อนตัวเอกผู้ทำหน้าที่เป็นนักสืบต้องไปพัวพันกับเรื่องอันตรายที่เขาไม่อาจหลีกหนีได้
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน
10 หนังนีโอนัวร์ (Neo-Noir) ยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษที่ 21
สำหรับ 'หนังนีโอนัวร์' เป็นชื่อที่ใช้เรียก 'หนังฟิล์มนัวร์' หลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนถ่ายหรือราวยุค 70 โดย 'หนังฟิล์มนัวร์' จะไม่ถูกนับเป็นประเภท (genre) แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสไตล์หนัง (style) ที่สามารถผนวกเข้ากับแนวหนังอื่นๆได้ไม่ว่าเป็นดราม่า อาชญากรรม โรแมนซ์ ไซไฟฯ โดยหัวใจสำคัญจะเป็นการสะท้อนมุมซ่อนเร้นของสังคมและมุ่งสำรวจความชั่วร้ายภายในจิตใจมนุษย์ ซึ่งองค์ประกอบเบื้องต้นที่สามารถสังเกตคืองานภาพจะเน้นการใช้โทนสีเข้มทึบ ตัวละครในเรื่องเป็นสีเทา และมักมีตัวละครหญิงแนวฟาม ฟาเทล ที่มีเสน่ห์ดึงดูด คอยหลอกล่อผู้ชายให้ตกเป็นเหยื่อ ส่วนตัวหนังจะเล่าผ่านมุมมองตัวเอกที่มักมีบุคคลแปลกแยก ขี้ระแวง และจะป้อนข้อมูลเพื่อโน้มน้าวให้คนดูอยู่ฝ่ายเดียวกับตัวเอก ก่อนพาไปพัวพันกับเรื่องอันตรายที่ไม่อาจหลีกหนี รวมถึงอาจมีการสร้างโมเม้นท์ให้คนดูเกิดความสับสนถึงเบื้องหลังของตัวเอกว่าแท้จริงแล้วเขาคือฮีโร่ เหยื่อ หรือผู้ร้ายกันแน่...
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. A History of Violence (2005)
การเปลี่ยนบทบาทของตัวเอกด้วยโมเม้นท์ดี-ร้ายสลับกันไป เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์สำคัญของหนังฟิล์มนัวร์ เมื่อโฉมหน้าของฮีโร่ค่อยๆถูกความจริงที่ปกปิดอยู่แปรเปลี่ยนให้เขาเสมือนว่าเป็นผู้ร้าย นั่นเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ในการเล่นกับปมเบื้องหลังของตัวละครที่ส่งผลกระทบต่อปัจจุบัน โดยเฉพาะความไว้เนื้อเชื่อใจจากคนในครอบครัวที่พังทลายไปพร้อมความจริงที่ถูกเปิดเผย กับพล็อตที่ว่าด้วยชายผู้ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขกับครอบครัวในเมืองเล็กๆ กระทั่งเขาได้กลายเป็นฮีโร่ที่กำราบโจรในร้านอาหารของตัวเอง และจุดโฟกัสก็คือเหตุการณ์นี้ที่นำมาซึ่งชื่อเสียงและการเล่าขานในวีรกรรมอันหาญกล้า จนเรื่องราวไปถึงหูของชายลึกลับที่รู้อดีตอันดำมืดของเขา
9. Insomnia (2002)
ถึงแม้เทคนิคการเล่าเรื่อง ลูกเล่นต่างๆ อาจไม่แพรวพราวหรือโดดเด่นน้อยที่สุดในบรรดาหนังทุกเรื่องของ Christopher Nolan รวมถึงส่วนบทหนังที่โครงเรื่องอาจไม่สลับซับซ้อน เกิดโมเม้นท์พลิกผันไปมา แต่มันก็อัดแน่นด้วยประเด็นทางจิตวิทยา การเล่นกับความผิดพลาดของตัวละครที่นำไปสู่ความขัดแย้งภายในจิตใจทั้งด้านศีลธรรม ความถูกต้องและเกียรติภูมิ โดยหนังพูดถึงตำรวจมือเก๋าที่ถูกมอบหมายให้มาสืบคดีฆาตกรรมเด็กสาวคนหนึ่ง ทว่าระหว่างการไล่ล่าผู้ต้องสงสัยท่ามกลางหมอกอันหนาทึบของอลาสก้า เขากลับสร้างความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่กลายเป็นบททดสอบครั้งสำคัญในฐานะคนเป็นตำรวจ ซึ่งหนังเป็นการเชือดเฉือนคมระหว่าง Al Pacino และRobin Williams สองนักแสดงระดับพระกาฬที่ต่างฝ่ายก็ทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างไร้ที่ติ
8. Sin City (2005)
กลายเป็นชื่อแรกๆของใครหลายคนเวลาพูดถึงหนังฟิล์มนัวร์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยองค์ประกอบที่ครบเครื่องทั้งงานภาพขาวดำที่การตีแผ่ความโสมมของสังคม การเล่าผ่านตัวเอกสีเทาสไตล์แอนตี้ฮีโร่ที่ต้องเผชิญกับเรื่องอันตราย และตัวละครหญิงฟาม ฟาเทล ที่มีความสวย ความเจ้าเล่ห์ ใช้มารยาสาไถยบงการผู้ชายให้ทำตามความต้องการของตน โดยหนังใช้เล่าผ่าน 3 เส้นเรื่องเพื่อสะท้อนเมืองที่ตกอยู่ในอำนาจชั่วร้าย ซึ่งเต็มไปด้วยอาชญากรรม ความรุนแรง และการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในทุกหย่อมหญ้า หนึ่งคือ 'ฮาร์ติเเกน' ตำรวจใกล้เกษียณที่ต้องพัวพันกับคดีฆ่าข่มขืนเด็กสาว สองคือ 'มาร์ฟ' ชายร่างยักษ์ที่พยายามสืบความจริงของการเสียชีวิตหญิงสาวที่ตนรักและตัวเองก็ถูกป้ายสีความผิด และสามคือ 'ดไวท์' ชายผู้ต่อสู้กับกลุ่มผู้ทรงอิทธิผลเพื่อปกป้องหญิงสาวที่ตนรัก
7. The Man Who Wasn't There (2001)
ผลงานฟิล์มนัวร์หลังยุค 90 หลายเรื่อง มักให้ความสำคัญกับแค่เปลือกนอกทั้งงานภาพ บรรยากาศ และคาแรคเตอร์ จนหลายครั้งมองข้ามแก่นแท้ของเนื้อหาที่ต้องการสะท้อนสภาพสังคมตามยุคสมัย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่กับหนังขาวดำเรื่องนี้ของพี่น้อง Coen กับความเป็นจริงของโลกที่สะท้อนผ่านเสียงแห่งความคิดของตัวเอกซึ่งเป็นคนธรรมดาๆที่ต้องเผชิญกับผลกระทบร้ายแรงอันเนื่องจากกิเลสภายในจิตใจ โดยวางปมให้ตัวเอกซึ่งทำงานเป็นช่างตัดผมและเกิดจับได้ว่าภรรยาของตนมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับหัวหน้าที่เป็นคนใกล้ชิด และจุดโฟกัสของหนังคือช่วงเวลาหลังจากที่ตัวเอกส่งจดหมายแบล็คเมล์เรียกเงินหนึ่งหมื่นเหรียญถึงชู้รักภรรยา เพื่อนำเงินไปใช้ลงทุนในธุรกิจซักแห้ง แต่ทว่าเหตุการณ์นั้นได้สร้างผลกระทบที่สืบเนื่องกันเป็นทอดๆถึงคนรอบตัวที่เขารัก
6. Nightcrawler (2014)
ผลงานฟิล์มนัวร์ตีแผ่สภาพสังคมชั้นเยี่ยมของผู้กำกับหน้าใหม่อย่าง Dan Gilroy บรรยากาศลอสแอนเจลิสยามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม การปล้นฆ่า กระทำชำเราอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย เป็นจุดสำคัญที่ช่วยสะท้อนจิตใจอันต่ำช้าและสิ้นหวังของผู้คนได้เป็นอย่างดี แต่คงไม่ชัดเจนเท่าตัวเอกที่นำแสดงโดย Jake Gyllenhaal หนุ่มหัวขโมยที่ผันตัวไปเป็นช่างภาพอิสระที่คอยเก็บภาพฟุตเทจมาเสนอขายให้กับสำนักข่าวชื่อดัง โดยเฉพาะข่าวอาชญากรรมสะเทือนขวัญที่กลายเป็นจุดสนใจของสังคมและเสนอขายได้ราคาดี หนังก็ค่อยๆแสดงความหมกมุ่น กิเลสที่เพิ่มมากขึ้นของตัวละคร จนกลายเป็นการมองข้ามคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น
5. Watchmen (2009)
อาจเรียกได้ว่าเป็นหนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่มีเนื้อหามืดหม่นและดูเข้มข้นมากที่สุดของโลกภาพยนตร์ ณ เวลานี้ โดยการใช้ปมหลักของเรื่องที่เกี่ยวกับการตายปริศนาของอดีตสมาชิกทีมวอทช์เมนอย่าง 'เดอะ คอมเมเดียน' โยงเข้ากับประเด็นทางการเมืองที่เต็มด้วยสภาวะตึงเครียด ความคุกรุ่นของสงครามเย็นระหว่างสหภาพโซเวียตและอเมริกา ซึ่งเป็นลักษณะหนังฟิล์มนัวร์ที่นิยมใช้กันในยุค 40-50 เพื่อสะท้อนผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งสภาพบ้านเมืองที่สกปรกและอันตราย เต็มไปด้วยอาชญากรรม และจุดสำคัญคือการสำรวจสภาพจิตใจผู้คน การเล่นประเด็นทางจริยธรรม ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ การทรยศหักหลัง และประเด็นเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่หนังเรื่องนี้นำเสนอได้อย่างครบถ้วน
4. Gone Baby Gone (2007)
สถานภาพของนักแสดง Ben Affleck เป็นที่คุ้นชินในบทบาทของตัวละครมาดขรึม คิ้วขมวด เน้นการสื่ออารมณ์ผ่านใบหน้า โดยรวมอาจไม่ดูโดดเด่นหรือมีความพิเศษอะไรมากนัก แต่ทว่าในฐานะของผู้กำกับเขาได้แสดงถึงลีลาและสัญชาตญาณในการเล่าเรื่องที่ชาญฉลาดตั้งแต่ผลงานเดบิวท์อย่าง Gone Baby Gone หนังที่พูดถึงสองนักสืบคู่รักที่ถูกว่าจ้างให้สืบหาเด็กสาววัยสี่ขวบที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งหนังดัดแปลงจากนิยายอาชญากรรมนัวร์เรื่องเยี่ยมของ Dennis Lehane ที่ยังคงแก่นสารสำคัญอย่างครบถ้วน ภายใต้โครงเรื่องที่สลับซับซ้อน หนังค่อยๆพาไปสำรวจความจริง ก่อนปมบางอย่างถูกคลายออกอย่างละเมียดละไม และถูกทดแทนด้วยปมปริศนาใหม่ที่ซ้อนทับขึ้นมา และท้ายที่สุดก็สามารถดึงคนดูให้เข้ามามีส่วนร่วมในสถานการณ์เดียวกับตัวละคร กับคำถามที่คาบเกี่ยวระหว่างความถูกต้องและศีลธรรมความเป็นมนุษย์
3. Mulholland Dr. (2001)
ผู้กำกับอย่าง David Lynch เป็นที่ขึ้นชื่อในการทำหนังฟิล์มนัวร์ ที่โดดเด่นด้วยบรรยากาศอึมครึมและดูลึกลับ รวมถึงรูปลักษณ์ตัวละครที่มีความชัดเจนต่อสไตล์หนังทั้งความแปลกแยกต่อสังคม ความขี้ระแวง ไม่เชื่อใจใคร และหลายเรื่องยังสร้างตัวละครสาวฟาม ฟาเทล ที่มีความเจ้าเล่ห์และมีเบื้องหลังดำมืด ใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางของหนังได้อย่างยอดเยี่ยมทั้ง Blue Velvet, Lost Highway รวมถึง Mulholland Dr. ก็เช่นเดียวกัน ทว่าแก่นแท้ของเนื้อหาส่วนใหญ่ค่อนข้างดูเป็นนามธรรม สอดแทรกสัญญะต่างๆที่ยากต่อการถอดรหัสได้อย่างสมบูรณ์ และอย่างหนังเรื่องนี้ยังมีการผสมเทคนิค nonlinear ที่เพิ่มความสลับซับซ้อน โดยการเล่า 2 เส้นเรื่องที่ตัดสลับไปมาระหว่างความจริงและความฝันของตัวนักแสดงสาวที่พยายามช่วยฟื้นฟูความทรงจำของหญิงสาวคนหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
2. Drive (2011)
หนังที่สื่ออิทธิพลของผู้กำกับได้ชัดเจนมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของยุค ด้วยเอกลักษณ์การกำกับของ Nicolas Winding Refn ที่ช่วยดึงศักยภาพของพล็อตหนังรักน้ำเน่า เรียบๆเชยๆมาสร้างความสดใหม่ในรูปโฉมที่เท่ห์ ดิบเดือด โดยเฉพาะองค์ประกอบงานภาพ การจัดแสงเงาที่มีความมืดหม่น โทนสีฉูดฉาด พร้อมกับใช้ดนตรีอิเล็กโทรนิกส์ป๊อปสไตล์ยุค 80 มาผสมผสานได้อย่างลงตัว และความยอดเยี่ยมของ Ryan Gosling เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม กับบทหนุ่มสตั๊นท์แมนที่ยอมเข้าไปพัวพันกับเรื่องราวสุดอันตรายของสาวข้างห้องที่เขาแอบรัก ซึ่งบุคลิกของตัวละครที่เป็นคนเงียบๆ ดูสุขุม เน้นการสื่ออารมณ์ผ่านทางใบหน้า แน่นอนว่าเขาสามารถทำสิ่งเหล่านั้นออกมาได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง พร้อมกับเสน่ห์ดึงดูดบางอย่างที่เสริมให้ตัวละครดูเท่ห์และน่าสนใจในแบบที่คุณไม่อาจละสายตาจากเขาได้เลย
1. Brick (2005)
อาจเปรียบได้กับ Chinatown แห่งศตวรรษที่ 21 ที่เน้นบริบทเกี่ยวกับกลุ่มวัยรุ่นเพื่อสะท้อนปัญหาอบายมุขและต่อยอดไปถึงเหตุฆาตกรรมซ่อนเงื่อน หนังเปิดปมด้วยหนุ่มไฮสคูลที่ได้รับแผ่นโน๊ตในช่องล็อคเกอร์ที่ระบุวัน เวลา สถานที่นัดพบ และเมื่อไปถึงเขาก็ได้ยินเสียงโทรจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ทว่าปลายสายนั้นกลับเป็นอดีตแฟนสาวที่มีน้ำเสียงสั่นเครือ ดูหวาดกลัวบางสิ่ง ก่อนสายจะถูกตัดโดยฉับพลัน ซึ่งหนังจะมีการนำเสนอแบบหนังฟิล์มนัวร์สืบสวนยุคก่อน ที่เน้นบรรยากาศอึมครึม ตัวละครสีเทา และเล่าโดยไม่เร่งเร้าจังหวะ ค่อยๆเปิดเผยความจริงไปตามลำดับ ก่อนตัวเอกผู้ทำหน้าที่เป็นนักสืบต้องไปพัวพันกับเรื่องอันตรายที่เขาไม่อาจหลีกหนีได้
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังทั่วไปเเละซีรีส์(โดยเฉพาะฝั่งเกาหลี)
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน