เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมามีหลายท่านหลังไมค์มาสอบถามหนังลักษณะเดียวกับ 'The Wailing' ซึ่งผมก็คิดว่าน่าสนใจเลยทำลิสต์นี้ขึ้น...
โดย 'The Wailing' ที่เมื่อเจาะไปที่เนื้อหามีการพูดถึงปีศาจ วิญญาณ พิธีกรรม อาถรรพณ์ ความเชื่อและศาสนา ซึ่งตรงกับ 'สืบสวนริลิเจียส' (religious suspense) หรือมองกว้างๆได้ว่าเป็น 'หนังสืบเหนือธรรมชาติ' (supernatural suspense)
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. The Jacket (2005)
ทหารผ่านศึกที่เกิดความผิดปกติทางจิตและกลายเป็นผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม ก่อนถูกส่งตัวไปยังสถานบำบัดแล้วได้พบว่าการที่ตัวเองถูกจับขังไว้ในตู้เก็บศพจะทำให้เกิดกลไกการข้ามเวลา เรียกได้ว่าเป็นความน่าสนใจอย่างยิ่งในการทำหนังสยองขวัญที่ผสมปมทางจิตวิทยา มาเล่าในพล็อตสืบสวนโดยใช้ทฤษฎีการเดินทางข้ามเวลาที่ขยายคำอธิบายด้วยหลักปรัชญาและศาสนาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อกลบความไม่สมเหตุสมผลในสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ผ่านการแบ่งเส้นเรื่องออกเป็น 4 ส่วนต่างช่วงเวลา ที่แต่ละเส้นเรื่องจะซ่อนข้อมูลสำคัญบางอย่างในการนำมาประติดประต่อเพื่อไขข้อคำถามที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสาเหตุการตายที่แท้จริงของตัวเอกที่ดูจะเป็นปมหลักของเรื่อง
9. Sleepy Hollow (1999)
ดาร์กแฟนตาซี เป็นคำจำกัดความสั้นๆถึงยี่ห้อหนังของ Tim Burton ที่หลายคนต่างคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และดูเหมือนว่าเอกลักษณ์ดังกล่าวนั้นจะถูกผสมเข้ากันได้ดีกับหนังแทบทุกประเภทรวมไปถึงหนังที่มีเนื้อหาของการสืบสวนสอบสวนที่ต้องการความซีเรียสอย่าง Sleepy Hollow ที่ดัดแปลงจากผลงานของ Washington Irving โดยใช้ปมความแค้นผูกเข้ากับศาสตร์มนต์ดําเพื่อสร้างเรื่องราวสยองขวัญเหนือธรรมชาติที่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร โดยพล็อตว่าด้วยตำรวจมือปราบอาชญากรรมที่ได้รับมอบหมายให้มาสืบคดีฆ่าตัดหัว ที่ผู้คนในเมืองต่างเชื่อกันว่าเป็นฝีมือของผีหัวขาด
8. Stir of Echoes (1999)
เห็นได้ชัดว่าช่วงยุค 90 มักจะมีหนังแนวสืบสวนที่เล่นไอเดียการติดต่อกับสิ่งลี้ลับภูติปีศาจอยู่มากมาย ซึ่งแต่ละเรื่องก็มีการปรับแต่งรายละเอียดเล็กๆน้อยเพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างหนังเรื่องนี้ที่เล่าเกี่ยวกับหนุ่มที่เกิดซิกเซ้นส์หลังถูกพี่สาวของแฟนสะกดจิตในคืนสังสรรค์ โดยหนังใช้การติดต่อระหว่างคนกับผีเป็นตัวแก้ไขปมลี้ลับ และใช้ซิกเซ้นส์เชื่อมโยงประเด็นทางจิตวิทยาได้น่าสนใจให้คนดูเกิดความสับสนว่าบางสิ่งบางอย่างมันเกิดขึ้นจริงหรือเป็นเพียงมโนภาพจากจิตใต้สำนึก ซึ่งโดยรวมก็นับเป็นหนังคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งของปีนั้น แต่ทว่าไอเดียดังกล่าวเกิดไปทับซ้อนกับ The Sixth Sense ที่ฉายก่อนไม่นานแล้วได้รับกระแสชื่นชมอย่างล้นหลามจนกลายเป็นกลบกระแสหนังเรื่องนี้ไปโดยปริยาย
7. Fallen (1998)
สูตรสำเร็จของหนังสืบสวนที่เกี่ยวข้องกับปีศาจ ความเชื่อ หรือศาสนา ฝั่งผู้เขียนบทมักแทนตัวเองเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้ายแล้วเซ็ทแผนการบางอย่างไว้และให้คนดูกลายเป็นผู้เฝ้ามองว่าแผนการดังกล่าวว่าจะเสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยใช้ตัวเอกที่เข้าไปพัวพันกับเรื่องร้ายๆเพื่อเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดทิศทางของหนัง ซึ่งวิธีดำเนินเรื่องดังกล่าวก็มีหนังหลายเรื่องที่ใช้แล้วประสบความสำเร็จอย่างสูงอาทิเช่น Se7en, Rosemary's Baby, The Wailing หรือหนังยุค 90 ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพแต่ไม่ถูกยกย่องเท่าที่ควรอย่าง Fallen โดยพล็อตพูดถึงตำรวจที่เข้าไปสืบคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง ที่แต่ละศพจะมีคำใบ้ถึงปริศนาบางอย่าง และเมื่อยิ่งขุดคุ้ยไปก็พบปมเหนือธรรมชาติที่เชื่อมโยงถึงคดีเก่าที่เคยเกิดขึ้นกับอดีตนายตำรวจ
6. Jacob's Ladder (1990)
อีกหนึ่งเครดิตการแสดงคุณภาพของ Tim Robbins ที่ดำดิ่งสู่ความบ้าคลั่ง ความปั่นป่วนในจิตใจกับบทบาทของชายที่พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับความผิดปกติของตัวเอง หลังกลับจากสงครามแล้วเกิดความฝันแปลกๆ มองเห็นภาพหลอน ภูตผีปีศาจอยู่ทุกหนแห่ง โดยจุดเด่นในแง่ของหนังสยองขวัญคือการเน้นโทนภาพหม่นมัว ใช้ความมืดเพื่อขับบรรยากาศลี้ลับ อบอวนด้วยความไม่แน่นอน พร้อมเทคนิคตุ้งแช่เข้ามาสอดแทรกได้อย่างพอเหมาะ และยังมีส่วนผสมทางจิตวิทยาที่ช่วยเพิ่มความซับซ้อนและหลอกล่อคนดูไปกระทั่งหนังเฉลยมัน กับข้อเท็จจริงของสิ่งที่ตัวเอกกำลังเผชิญอยู่
5. Frailty (2001)
เปิดด้วยกระบวนการเล่าที่กระตุ้นต่อมความอยากรู้อยากเห็นด้วยปมสำคัญของเรื่อง กับข้อสงสัยที่สั่นคลอนความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า เมื่อหัวหน้าเอฟบีไอต้องเจอกับชายผู้อ้างตนว่ารู้จักฆาตกรที่มีฉายาว่า “หัตถ์พระเจ้า” ก่อนหนังจะตัดกลับไปเล่าเรื่องราวในวัยเด็กของตัวฆาตกรรายนี้ ที่ผู้เป็นพ่อยอมขายวิญญาณให้กับพระเจ้าเพื่อชำระบาปให้กับโลกมนุษย์ โดยตลอดความยาวหนังจะพาไปล้วงลึกถึงรากเหง้าและสืบเสาะถึงปมเบื้องหลังภายใต้บรรยากาศตึงเครียด ฉากฆาตกรรมอันน่าสยดสยอง และการเล่นกับความเชื่อของคนดู
4. Angel Heart (1987)
คุณลักษณะเบื้องต้นเป็นไปตามหนังฟิล์มนัวร์คลาสสิกคือเล่าผ่านมุมมองตัวเอก ตัวละครในเรื่องเป็นสีเทา เน้นบรรยากาศอันมืดหม่น ลึกลับ สะท้อนความหมิ่นเหม่จริยธรรม แต่สำหรับ Angel Heart ปรุงแต่งเพิ่มด้วยองค์ประกอบทางจิตวิทยา ความเชื่อและศาสนา จนเกิดความซับซ้อนของเส้นเรื่องและตัวละคร ทั้งยังไร้ความปรานีต่อเหล่าคนดูขวัญอ่อน ด้วยการจัดเต็มความรุนแรง ฉากฆาตกรรมอันสยดสยอง ทำให้บรรยากาศลึกลับถูกเสริมด้วยความยะเยือก ชวนขนหัวลุกที่คลุกเคล้าด้วยเลือด ซึ่งลักษณะการสร้างดังกล่าวได้กลายเป็นแบบอย่างของหนัง religious suspense ที่พบเห็นได้บ่อยในยุคปัจจุบัน โดยพล็อตว่าด้วยหนุ่มนักสืบที่ถูกว่าจ้างจากบริษัทกฎหมายตามความต้องการของบุรุษลึกลับให้ตามหาชายคนหนึ่ง และนั่นก็ทำให้เขาต้องไปพัวพันเรื่องราวลี้ลับมากมาย
3. The Wicker Man (1973)
ระดับการทะลุทะลวงเนื้อหาทางศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรมสุดแปลก การกระทำที่ดูเกรี้ยวกราดที่ของตัวละครได้สร้างบรรยากาศอันน่าหวาดหวั่น ชวนขนหัวลุกซึ่งเป็นที่มาของการพูดถึงในแง่หนังสยองขวัญ ทั้งยังกลายเป็นที่ถกเถียง วิพากษ์ วิจารณ์อย่างหนักหน่วงต่อเนื้อหาของหนัง ส่วนในฐานะหนังสืบสวนก็ยอดเยี่ยมในการวางลำดับเรื่องราวและการเปิดเผยทั้งปมหลักที่ตัวเอกต้องสืบหาการหายตัวไปของเด็กสาว รวมถึงปมปริศนาของคำว่า Wicker Man ที่ทิ้งลอยๆให้เกิดข้อสงสัยก่อนไปผูกกับไคลแม็กซ์ของเรื่องที่เฉลยออกมาได้อย่างทรงพลัง
2. The Wailing (2016)
ความพิเศษกว่า 3 ทศวรรษของหนังเรื่องนี้ที่ฉีกออกจากกลุ่มหนังสืบสวนชื่อดังที่ตั้งข้อสงสัยกับสิ่งๆหนึ่งแล้วโยกหลอกความคิดคนดูอย่าง Primal Fear, Mystic River, Mother, Gone Girl คือการขยายขอบเขตจากปมฆาตกรรมใกล้ตัว โดยยังยึดพื้นฐานความเป็นทริลเลอร์แล้วผสมด้วยความเป็นหนังสยองขวัญ ดราม่า ลึกลับ และแฟนตาซีเพื่อเล่นกับปมเหนือธรรมชาติ ภูตผีปีศาจ ที่ยากต่อการสร้างโมเม้นท์ให้คนดูเกิดความก้ำกึ่งระหว่างความจริงกับภาพที่สะท้อนจากความเชื่อที่มาจากจิตใต้สำนึก และที่สำคัญหนังทำได้สำเร็จในการโยกหลอกชักใยความคิดคนดูจนกระทั่งความจริงถูกเปิดออก กับข้อสงสัยของชายแก่ชาวญี่ปุ่นที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกับฆาตกรรมยกครัวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
1. The Sixth Sense (1999)
จากความคลั่งไคล้ในผลงานระทึกขวัญของผู้กำกับตำนานหลายคนที่รวมไปถึง Alfred Hitchcock กระทั่งพยายามศึกษา เรียนรู้เทคนิคและทฤษฎีต่างๆจนนำไปใช้และเกิดผลสำเร็จใน The Sixth Sense ที่มาพร้อมประโยคฮิตติดปากอย่าง “I see dead people.” โดยหนังเล่นไอเดียยอดฮิตในยุค 90 คือการติดต่อระหว่างคนกับผีเพื่อไขปมลี้ลับ และด้วยการเขียนบทที่ยอดเยี่ยมจนเกิดกลไกการล่อหลอกที่เหนือชั้น จากการวางปมทางจิตวิทยาให้กับตัวละครและการเล่นกับเรื่องเหนือธรรมชาติ จนนำไปสู่การหักมุมที่น่าจดจำที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่ง กับพล็อตที่เล่าถึงจิตแพทย์ที่ได้พบกับเด็กที่เชื่อว่าตนสามารถสื่อสารกับวิญญาณได้ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่ปมสำคัญของเรื่อง
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังเเละซีรีส์
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน
10 หนังสืบสวนปมลี้ลับเหนือธรรมชาติ ยอดเยี่ยมตลอดกาล
เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมามีหลายท่านหลังไมค์มาสอบถามหนังลักษณะเดียวกับ 'The Wailing' ซึ่งผมก็คิดว่าน่าสนใจเลยทำลิสต์นี้ขึ้น...
โดย 'The Wailing' ที่เมื่อเจาะไปที่เนื้อหามีการพูดถึงปีศาจ วิญญาณ พิธีกรรม อาถรรพณ์ ความเชื่อและศาสนา ซึ่งตรงกับ 'สืบสวนริลิเจียส' (religious suspense) หรือมองกว้างๆได้ว่าเป็น 'หนังสืบเหนือธรรมชาติ' (supernatural suspense)
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. The Jacket (2005)
ทหารผ่านศึกที่เกิดความผิดปกติทางจิตและกลายเป็นผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม ก่อนถูกส่งตัวไปยังสถานบำบัดแล้วได้พบว่าการที่ตัวเองถูกจับขังไว้ในตู้เก็บศพจะทำให้เกิดกลไกการข้ามเวลา เรียกได้ว่าเป็นความน่าสนใจอย่างยิ่งในการทำหนังสยองขวัญที่ผสมปมทางจิตวิทยา มาเล่าในพล็อตสืบสวนโดยใช้ทฤษฎีการเดินทางข้ามเวลาที่ขยายคำอธิบายด้วยหลักปรัชญาและศาสนาเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อกลบความไม่สมเหตุสมผลในสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ผ่านการแบ่งเส้นเรื่องออกเป็น 4 ส่วนต่างช่วงเวลา ที่แต่ละเส้นเรื่องจะซ่อนข้อมูลสำคัญบางอย่างในการนำมาประติดประต่อเพื่อไขข้อคำถามที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสาเหตุการตายที่แท้จริงของตัวเอกที่ดูจะเป็นปมหลักของเรื่อง
9. Sleepy Hollow (1999)
ดาร์กแฟนตาซี เป็นคำจำกัดความสั้นๆถึงยี่ห้อหนังของ Tim Burton ที่หลายคนต่างคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และดูเหมือนว่าเอกลักษณ์ดังกล่าวนั้นจะถูกผสมเข้ากันได้ดีกับหนังแทบทุกประเภทรวมไปถึงหนังที่มีเนื้อหาของการสืบสวนสอบสวนที่ต้องการความซีเรียสอย่าง Sleepy Hollow ที่ดัดแปลงจากผลงานของ Washington Irving โดยใช้ปมความแค้นผูกเข้ากับศาสตร์มนต์ดําเพื่อสร้างเรื่องราวสยองขวัญเหนือธรรมชาติที่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร โดยพล็อตว่าด้วยตำรวจมือปราบอาชญากรรมที่ได้รับมอบหมายให้มาสืบคดีฆ่าตัดหัว ที่ผู้คนในเมืองต่างเชื่อกันว่าเป็นฝีมือของผีหัวขาด
8. Stir of Echoes (1999)
เห็นได้ชัดว่าช่วงยุค 90 มักจะมีหนังแนวสืบสวนที่เล่นไอเดียการติดต่อกับสิ่งลี้ลับภูติปีศาจอยู่มากมาย ซึ่งแต่ละเรื่องก็มีการปรับแต่งรายละเอียดเล็กๆน้อยเพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างหนังเรื่องนี้ที่เล่าเกี่ยวกับหนุ่มที่เกิดซิกเซ้นส์หลังถูกพี่สาวของแฟนสะกดจิตในคืนสังสรรค์ โดยหนังใช้การติดต่อระหว่างคนกับผีเป็นตัวแก้ไขปมลี้ลับ และใช้ซิกเซ้นส์เชื่อมโยงประเด็นทางจิตวิทยาได้น่าสนใจให้คนดูเกิดความสับสนว่าบางสิ่งบางอย่างมันเกิดขึ้นจริงหรือเป็นเพียงมโนภาพจากจิตใต้สำนึก ซึ่งโดยรวมก็นับเป็นหนังคุณภาพอีกเรื่องหนึ่งของปีนั้น แต่ทว่าไอเดียดังกล่าวเกิดไปทับซ้อนกับ The Sixth Sense ที่ฉายก่อนไม่นานแล้วได้รับกระแสชื่นชมอย่างล้นหลามจนกลายเป็นกลบกระแสหนังเรื่องนี้ไปโดยปริยาย
7. Fallen (1998)
สูตรสำเร็จของหนังสืบสวนที่เกี่ยวข้องกับปีศาจ ความเชื่อ หรือศาสนา ฝั่งผู้เขียนบทมักแทนตัวเองเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้ายแล้วเซ็ทแผนการบางอย่างไว้และให้คนดูกลายเป็นผู้เฝ้ามองว่าแผนการดังกล่าวว่าจะเสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยใช้ตัวเอกที่เข้าไปพัวพันกับเรื่องร้ายๆเพื่อเป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดทิศทางของหนัง ซึ่งวิธีดำเนินเรื่องดังกล่าวก็มีหนังหลายเรื่องที่ใช้แล้วประสบความสำเร็จอย่างสูงอาทิเช่น Se7en, Rosemary's Baby, The Wailing หรือหนังยุค 90 ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพแต่ไม่ถูกยกย่องเท่าที่ควรอย่าง Fallen โดยพล็อตพูดถึงตำรวจที่เข้าไปสืบคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง ที่แต่ละศพจะมีคำใบ้ถึงปริศนาบางอย่าง และเมื่อยิ่งขุดคุ้ยไปก็พบปมเหนือธรรมชาติที่เชื่อมโยงถึงคดีเก่าที่เคยเกิดขึ้นกับอดีตนายตำรวจ
6. Jacob's Ladder (1990)
อีกหนึ่งเครดิตการแสดงคุณภาพของ Tim Robbins ที่ดำดิ่งสู่ความบ้าคลั่ง ความปั่นป่วนในจิตใจกับบทบาทของชายที่พยายามหาคำตอบเกี่ยวกับความผิดปกติของตัวเอง หลังกลับจากสงครามแล้วเกิดความฝันแปลกๆ มองเห็นภาพหลอน ภูตผีปีศาจอยู่ทุกหนแห่ง โดยจุดเด่นในแง่ของหนังสยองขวัญคือการเน้นโทนภาพหม่นมัว ใช้ความมืดเพื่อขับบรรยากาศลี้ลับ อบอวนด้วยความไม่แน่นอน พร้อมเทคนิคตุ้งแช่เข้ามาสอดแทรกได้อย่างพอเหมาะ และยังมีส่วนผสมทางจิตวิทยาที่ช่วยเพิ่มความซับซ้อนและหลอกล่อคนดูไปกระทั่งหนังเฉลยมัน กับข้อเท็จจริงของสิ่งที่ตัวเอกกำลังเผชิญอยู่
5. Frailty (2001)
เปิดด้วยกระบวนการเล่าที่กระตุ้นต่อมความอยากรู้อยากเห็นด้วยปมสำคัญของเรื่อง กับข้อสงสัยที่สั่นคลอนความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า เมื่อหัวหน้าเอฟบีไอต้องเจอกับชายผู้อ้างตนว่ารู้จักฆาตกรที่มีฉายาว่า “หัตถ์พระเจ้า” ก่อนหนังจะตัดกลับไปเล่าเรื่องราวในวัยเด็กของตัวฆาตกรรายนี้ ที่ผู้เป็นพ่อยอมขายวิญญาณให้กับพระเจ้าเพื่อชำระบาปให้กับโลกมนุษย์ โดยตลอดความยาวหนังจะพาไปล้วงลึกถึงรากเหง้าและสืบเสาะถึงปมเบื้องหลังภายใต้บรรยากาศตึงเครียด ฉากฆาตกรรมอันน่าสยดสยอง และการเล่นกับความเชื่อของคนดู
4. Angel Heart (1987)
คุณลักษณะเบื้องต้นเป็นไปตามหนังฟิล์มนัวร์คลาสสิกคือเล่าผ่านมุมมองตัวเอก ตัวละครในเรื่องเป็นสีเทา เน้นบรรยากาศอันมืดหม่น ลึกลับ สะท้อนความหมิ่นเหม่จริยธรรม แต่สำหรับ Angel Heart ปรุงแต่งเพิ่มด้วยองค์ประกอบทางจิตวิทยา ความเชื่อและศาสนา จนเกิดความซับซ้อนของเส้นเรื่องและตัวละคร ทั้งยังไร้ความปรานีต่อเหล่าคนดูขวัญอ่อน ด้วยการจัดเต็มความรุนแรง ฉากฆาตกรรมอันสยดสยอง ทำให้บรรยากาศลึกลับถูกเสริมด้วยความยะเยือก ชวนขนหัวลุกที่คลุกเคล้าด้วยเลือด ซึ่งลักษณะการสร้างดังกล่าวได้กลายเป็นแบบอย่างของหนัง religious suspense ที่พบเห็นได้บ่อยในยุคปัจจุบัน โดยพล็อตว่าด้วยหนุ่มนักสืบที่ถูกว่าจ้างจากบริษัทกฎหมายตามความต้องการของบุรุษลึกลับให้ตามหาชายคนหนึ่ง และนั่นก็ทำให้เขาต้องไปพัวพันเรื่องราวลี้ลับมากมาย
3. The Wicker Man (1973)
ระดับการทะลุทะลวงเนื้อหาทางศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรมสุดแปลก การกระทำที่ดูเกรี้ยวกราดที่ของตัวละครได้สร้างบรรยากาศอันน่าหวาดหวั่น ชวนขนหัวลุกซึ่งเป็นที่มาของการพูดถึงในแง่หนังสยองขวัญ ทั้งยังกลายเป็นที่ถกเถียง วิพากษ์ วิจารณ์อย่างหนักหน่วงต่อเนื้อหาของหนัง ส่วนในฐานะหนังสืบสวนก็ยอดเยี่ยมในการวางลำดับเรื่องราวและการเปิดเผยทั้งปมหลักที่ตัวเอกต้องสืบหาการหายตัวไปของเด็กสาว รวมถึงปมปริศนาของคำว่า Wicker Man ที่ทิ้งลอยๆให้เกิดข้อสงสัยก่อนไปผูกกับไคลแม็กซ์ของเรื่องที่เฉลยออกมาได้อย่างทรงพลัง
2. The Wailing (2016)
ความพิเศษกว่า 3 ทศวรรษของหนังเรื่องนี้ที่ฉีกออกจากกลุ่มหนังสืบสวนชื่อดังที่ตั้งข้อสงสัยกับสิ่งๆหนึ่งแล้วโยกหลอกความคิดคนดูอย่าง Primal Fear, Mystic River, Mother, Gone Girl คือการขยายขอบเขตจากปมฆาตกรรมใกล้ตัว โดยยังยึดพื้นฐานความเป็นทริลเลอร์แล้วผสมด้วยความเป็นหนังสยองขวัญ ดราม่า ลึกลับ และแฟนตาซีเพื่อเล่นกับปมเหนือธรรมชาติ ภูตผีปีศาจ ที่ยากต่อการสร้างโมเม้นท์ให้คนดูเกิดความก้ำกึ่งระหว่างความจริงกับภาพที่สะท้อนจากความเชื่อที่มาจากจิตใต้สำนึก และที่สำคัญหนังทำได้สำเร็จในการโยกหลอกชักใยความคิดคนดูจนกระทั่งความจริงถูกเปิดออก กับข้อสงสัยของชายแก่ชาวญี่ปุ่นที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกับฆาตกรรมยกครัวที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
1. The Sixth Sense (1999)
จากความคลั่งไคล้ในผลงานระทึกขวัญของผู้กำกับตำนานหลายคนที่รวมไปถึง Alfred Hitchcock กระทั่งพยายามศึกษา เรียนรู้เทคนิคและทฤษฎีต่างๆจนนำไปใช้และเกิดผลสำเร็จใน The Sixth Sense ที่มาพร้อมประโยคฮิตติดปากอย่าง “I see dead people.” โดยหนังเล่นไอเดียยอดฮิตในยุค 90 คือการติดต่อระหว่างคนกับผีเพื่อไขปมลี้ลับ และด้วยการเขียนบทที่ยอดเยี่ยมจนเกิดกลไกการล่อหลอกที่เหนือชั้น จากการวางปมทางจิตวิทยาให้กับตัวละครและการเล่นกับเรื่องเหนือธรรมชาติ จนนำไปสู่การหักมุมที่น่าจดจำที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่ง กับพล็อตที่เล่าถึงจิตแพทย์ที่ได้พบกับเด็กที่เชื่อว่าตนสามารถสื่อสารกับวิญญาณได้ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่ปมสำคัญของเรื่อง
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังเเละซีรีส์
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @review_me__
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน