การเล่าแบบไม่ลำดับ (Nonlinear Narrative) คือการเล่าเรื่องที่ตรงข้ามกับ Linear โดย 'การเล่าเเบบลำดับเวลา' เหตุการณ์ที่ถูกเล่าจะสอดคล้อง(สมเหตุสมผล)กับลำดับของเนื้อเรื่องตามช่วงเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งทาง 'ฌอง ลุค โกดาร์ด' เคยพูดถึงรูปแบบการเล่าเรื่องไว้ว่า
“เรื่องราวควรมีจุดเริ่ม จุดกลาง และจุดปลาย แต่ 3 ส่วนนั้นไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ”
.
.
▼ ตัวอย่าง
ตัวเลข (1,2,3,4,…) = เหตุการณ์สำคัญที่แยกออกมาจากเนื้อเรื่อง
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ (A,B,C,D,…) = เหตุการณ์ก่อนจุดเริ่มต้น (จุดเริ่มเส้นเรื่อง = ตัวเลข 1)
.
- - -
การเล่าแบบ Linear โดยปกติอธิบายได้ 3 รูปแบบ
1. ปกติจะเล่าโดยเรียงลำดับเหตุการณ์ 1,2,3,... ไปเรื่อยๆจนถึงจุดปลาย ซึ่งเห็นได้บ่อยตามกลุ่มหนังดราม่าทั่วๆไป
2. หนังบางเรื่องอาจสอดแทรก flashback (ระยะสั้นๆ)ไประหว่างเหตุการณ์ 1,2,3,A,4,B,…ย้อนภาพให้เห็นเรื่องราวในอดีตเพื่อสนับการกระทำของตัวละคร หรือเพื่อคลายปมบางอย่างของเรื่อง จะเห็นได้บ่อยตามพวกหนังสืบสวน
3. หนังที่มีมากกว่า 1 เส้นเรื่องแล้วเล่าขนานกัน แต่ต้องเป็น ณ ช่วงเวลาเดียวกัน อาจเล่าโดยตัดสลับไปกันไปมา หรืออาจแบ่งเฟรมหน้าจอออกเป็นส่วนย่อยตามจำนวนเส้นเรื่องแล้วนำเสนอพร้อมๆกัน
.
.
- - -
การเล่าแบบ Nonlinear ทำได้หลายวิธี ขอยกตัวอย่างเป็น 3 รูปแบบ
1. แบ่งเรื่องราวออกเป็นเหตุการณ์ย่อยๆแล้วเล่าโดยไม่เรียงลำดับ หรืออาจใส่ flashback สอดแทรกมาได้เช่นกัน 5,3,2,A,1,4,B,6 ยกตัวอย่างก็เช่น Following, Memento, Reservoir Dogs หรืออาจย้อนจากหลังไปหน้า 6,5,4,3,2,1 อย่างเช่น Irreversible
2. แบ่งหนังเรื่องหนึ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยแต่ละส่วนมีจุดเริ่มจากพล็อตเดียวกัน เพื่อแสดงถึงการทำซ้ำของเหตุการณ์ อย่างเช่น Run Lola Run ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน (1,2.1,3.1),(1,2.2,3.2),(1,2.3,3.3) โดยตัวเลขที่มีจุดทศนิยม 2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,3.3 จุดเริ่มจากเหตุการณ์เดียวกัน แต่มีผลลัพธ์ที่ต่างออกไป
3. หนังที่มีมากกว่า 1 เส้นเรื่อง แล้วแต่ละเส้นเรื่องถูกเล่าผ่านต่างตัวละคร มีตัดสลับไปมาระหว่างเส้นเรื่องจนกระทั่งหนังจบลง ซึ่งบางครั้งแต่ละเส้นเรื่องอาจมีความเชื่อมโยงกันในทางใดทางหนึ่ง อย่าง Pulp Fiction, Mulholland Dr
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. Irreversible (2002)
ผู้กำกับ Gaspar Noé สะท้อนความยึดมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานเชิงศิลปะที่สอดแทรกประเด็นทางสังคมแล้วนำเสนอออกมาโดยเน้นความดิบ ทั้งฉากฆาตกรรมที่ดูสยดสยองและฉากการข่มขืนสุดป่าเถื่อนด้วยลองเทคที่ยาวเกือบสิบนาที เข้าผสมผสานกับการเล่าแบบ nonlinear ไล่เรียงจากหลังไปหน้าอย่างมีลำดับที่ชัดเจน(อย่าง 4,3,2,1) โดยไม่ได้คาดหวังในการสร้างความซับซ้อนต่อการเข้าใจส่วนเนื้อหา เพียงแต่ต้องการพาคนดูไปรู้ถึงที่มา ผลสรุปของชีวิตตัวละครในช่วงต้นเรื่องของชายสองคนที่กำลังนั่งคุยกันด้วยบทสนทนาที่แฝงนัยยะสำคัญบางอย่าง ก่อนจะตัดไปยังเหตุทะเลาะวิวาทในคลับแห่งหนึ่ง
9. Dunkirk (2017)
ที่ผ่านมา Christopher Nolan มีการปรับใช้เทคนิคการเล่า nonlinear ให้เข้ากับผลงานแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ตลอดจน Dunkirk เรื่องล่าสุดเช่นเดียวกัน ที่เป็นการยกระดับหนังสงครามด้วยมุมมองการเล่าที่สดใหม่ กับไอเดียที่ต้องการให้คนดูกลายเป็นผู้สังเกตภาพรวมของสงครามอย่างใกล้ชิด โดยเน้นถ่ายทอดผ่านภาษาภาพและใช้บทสนทนาให้น้อยที่สุด และที่สำคัญเล่าเรื่องผ่าน 3 เส้นเรื่องที่ต่างช่วงเวลากันทั้งบนบก บนน้ำ และบนอากาศ พร้อมทั้งตัดสลับไปมา ก่อนไปบรรจบที่บทสรุปของสงครามในช่วงระยะเวลาเดียวกันได้อย่างชาญฉลาด
8. Run Lola Run (1998)
จากพล็อตที่เรียบง่ายซึ่งว่าด้วยหญิงสาวที่ต้องหาเงินจำนวน 100,000 มาร์คเยอรมัน เพื่อเอาไปให้แฟนหนุ่มที่ทำเงินของแก๊งผู้มีอิทธิพลหายไปภายในเวลาระยะเพียง 20 นาที โดย Tom Tykwer เพิ่มความน่าสนใจด้วยเทคนิคทางภาพยนตร์ อย่างการสอดแทรกอนิเมชั่นเข้ามาในบางโมเม้นท์ หรือลูกเล่นการตัดต่อที่ฉับไวเพื่อให้สอดรับกับอารมณ์ระทึกขวัญ สถานการณ์ที่บีบคั้นของตัวละคร ซึ่งเขายังนำการเล่าแบบ nonlinear มาผสมผสาน โดยแทนที่จะเล่าเป็นเส้นเรื่องเดียว ตัดแฟลชแบ็คเข้ามาเป็นระยะๆแล้วจบไป แต่ใช้การแบ่งเป็น 3 เรื่องย่อย ที่มีจุดเริ่มจากพล็อตเดียวกัน ต่างที่แต่ละเรื่องย่อยจะมีเหตุการณ์ภายนอกและการตัดสินใจบางอย่างของตัวละครที่ไม่เหมือนกัน จนนำไปสู่บทสรุปในหลากหลายรูปแบบ
7. 21 Grams (2003)
ยุคศตวรรษที่ 21 ไม่เพียงแต่ Nolan ที่นำเทคนิค nonlinear มาใช้แล้วเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น Alejandro G. Iñárritu นับเป็นอีกคนที่มักใช้เทคนิคดังกล่าวในหนังของตัวเองได้ชาญฉลาด การันตีได้จากการเข้าชิงและรางวัลที่ได้รับจาก Amores Perros, Babel หรือจะเป็น 21 Grams หนังที่เล่นกับนัยยะน้ำหนัก 21 กรัม ซึ่งเป็นส่วนที่หายไปของมนุษย์หลังสิ้นลมหายใจ โดยหนังพูดถึง 3 ตัวละครที่มีปมบางอย่างของชีวิต เล่าโดยตัดสลับเรื่องราวไปมาก่อนบรรจบกันได้อย่างสวยงาม โดยตัวละครหนึ่งเป็นหญิงสาวที่ทนทุกข์กับความสูญเสียลูกและสามี, สองเป็นชายที่กำลังผ่าตัดหัวใจ และสามเป็นมาเฟียกลับตัวที่หันหน้ารับใช้พระเจ้า
6. Don't Look Now (1973)
หนังถูกดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Daphne Du Maurier ที่เคยมีผลงานอย่าง Rebecca และ The Birds ที่ทาง Alfred Hitchcock เคยนำไปสร้างเป็นหนังจนกลายเป็นผลงานคลาสสิกขึ้นหิ้ง ซึ่งงานเขียนของเธอมักจะซ่อนมุมมองเชิงจิตวิทยา ปมในใจที่สะท้อนจากเบื้องลึกของตัวละคร แน่นอนว่า Don't Look Now ก็มีสิ่งเหล่านั้น กับเรื่องราวของคู่สามีภรรยาที่สูญเสียลูกสาวจากอุบัติจมน้ำ และจากนั้นไม่นานทั้งคู่ได้พบกับร่างทรงที่อ้างว่ามองเห็นลูกสาวของตน ด้วยปมดังกล่าวผสมกับการเล่นกับเซ้นส์สัมผัสที่หกของตัวละคร ทางผู้กำกับจึงนำเทคนิค nonlinear มาตัดสลับเหตุการณ์ เพื่อนัยยะที่สื่อถึงสภาพจิตใจที่ลึกลับและปั่นป่วนของตัวละคร
5. Reservoir Dogs (1992)
เหล่าคอหนังคงไม่มีใครไม่รู้จัก Quentin Tarantino ผู้กำกับที่มีความชัดเจนในสไตล์งาน กับภาพจำของหนังตลกร้ายที่ขับเรื่องราวด้วยบทสนทนา ที่มักจะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ความยียวน จิกกัดที่สอดแทรกอยู่ในไดอะล็อกอันยาวเหยียดก็ทำให้หลายไม่รู้สึกว่ามันคือส่วนเกินที่ไร้ประโยชน์แต่อย่างใด และนั่นเองก็เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ใน Reservoir Dogs ที่ผสมเทคนิค nonlinear มาใช้สลับเหตุการณ์ก่อนหลังเพื่อให้คนดูจดจ่อกับเรื่องราวและคำตอบของปริศนาที่ซุกซ่อนอยู่ โดยการเปิดเรื่องด้วยเหล่าชายชุดสูทที่กำลังวางแผนปล้นร้านเพชร ก่อนตัดไปยังเหตุการณ์ที่สมาชิกคนหนึ่งถูกยิงอาการสาหัส จึงเกิดข้อสงสัยว่าอาจมีหนอนบ่อนไส้อยู่ในทีม
4. The Killing (1956)
กลุ่มหนังปล้นที่พยายามเข้าใกล้ความหมายของอาชญากรรมสมบูรณ์แบบ มักแสดงให้เห็นว่าทุกระบบรักษาความปลอดภัยย่อมมีช่องโหว่ แล้วใช้จุดๆนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนในการเล่าเรื่องและแสดงกลวิธีการปล้นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งไม่บ่อยนักที่จะมีหนังปล้นสักเรื่องทำได้ดีเทียบเท่า Rififi , Topkapi หรือจะเป็น The Killing ผลงานแจ้งเกิดของ Stanley Kubrick ที่ดูสมบูรณ์แบบทั้งด้านเทคนิคที่ใช้ nonlinear มาตรึงความสนใจและบอกเล่าเรื่องราวของตัวละครที่ซ้อนทับกันมากมายในต่างช่วงเวลา ขณะที่ทางตัวบทก็ทำได้อย่างพิถีพิถันในแง่ของหนังปล้น แสดงถึงขั้นตอนการรวมทีม การวางแผนปล้น และการแบ่งหน้าที่ของตัวละครอย่างเป็นสัดส่วน อีกทั้งบทยังผสมกลิ่นอายฟิล์มนัวร์ของเพศหญิงที่หลอกล่อและปั่นหัวเพศชายได้อย่างร้ายกาจ
3. Mulholland Dr. (2001)
ตัวของ David Lynch ขึ้นชื่อในการทำหนังที่เต็มไปด้วยความลึกลับ ความเซอร์เรียลที่ดูน่าค้นหา แต่ขณะเดียวกันตัวทางเนื้อหาค่อนข้างมีความเป็นนามธรรม สอดแทรกสัญญะต่างๆที่ยากต่อการตีความ ถอดรหัสได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหากเทียบแล้ว Mulholland Dr. คงดูมีความเจนจัดที่สุดด้วยองค์ประกอบที่ได้กล่าวมา กับเรื่องราวของสาวนักแสดงที่พยายามฟื้นฟูความทรงจำของหญิงสาวที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ นอกจากความซับซ้อนที่ดูเข้าใจยากของเนื้อหา ยังมีการผสมเทคนิค nonlinear โดยการเล่า 2 เส้นเรื่องที่ตัดสลับไปมาระหว่างความจริงและความฝัน
2. Memento (2000)
สิ่งที่ทำให้หลายๆคนต่างยกย่องในผลงานของ Christopher Nolan หนึ่งคือไอเดียการเขียนบทที่สร้างสรรค์ ทั้งในแง่การริเริ่มและการนำของเก่ามาดัดแปลงให้เกิดความสดใหม่อย่างที่เห็นได้จาก Inception สองคือการสรรหาวิธีการเล่าเรื่องที่สอดรับกับตัวบท นับตั้งแต่ Following จนกระทั่งเรื่องล่าสุด Dunkirk เรียกว่าแทบจะทุกเรื่องมีการนำเทคนิค nonlinear มาปรับใช้ ซึ่งทาง Memento ดูมีการพลิกแพลงได้โดดเด่น กลายเป็นกิมมิคที่สะท้อนนัยยะความสับสน ความปั่นป่วนทางจิตใจของตัวละครที่กลายเป็นโรคความจำระสั้น ที่พยายามสืบหาฆาตกรที่ฆ่าภรรยา ซึ่งหนังเล่าออกมาด้วยการตัดสลับเหตุการณ์ก่อน-หลังไปมา(5,2,3,1,4) ที่คนดูไม่อาจละสายตาไปจากมันได้แม้แต่วินาทีเดียว
1. Citizen Kane (1941)
เชื่อว่าทุกคนคงตระหนักถึงความสำคัญของหนังเรื่องนี้เป็นอย่างดี หนังที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา และแรงบันดาลใจอีกหลายๆอย่างของวงการโลกภาพยนตร์ โดยฝีมือของหนุ่มวัย 26 ปีในตอนนั้นนามว่า Orson Welles ที่เรียกได้ว่าเป็นคนแรกๆที่ใช้การเล่าเรื่องด้วยเทคนิค nonlinear แล้วประสบความสำเร็จ โดย Citizen Kane มีการวางเส้นเรื่องหลักที่เกี่ยวกับการสืบหาปริศนาคำสั่งลาจากชายผู้ทรงอิทธิพล ซึ่งคนดูจะได้รับรู้ความจริงผ่านแฟลชแบ็คที่สอดแทรกไปในเส้นเรื่องหลักเพื่ออธิบายปมและแรงจูงใจของตัวละครที่หนังพยายามตั้งคำถาม
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังเเละซีรีส์
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @puneak_b
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน
10 หนังระทึกขวัญ "เล่าเรื่องไม่ลำดับเวลา" ยอดเยี่ยมตลอดกาล
การเล่าแบบไม่ลำดับ (Nonlinear Narrative) คือการเล่าเรื่องที่ตรงข้ามกับ Linear โดย 'การเล่าเเบบลำดับเวลา' เหตุการณ์ที่ถูกเล่าจะสอดคล้อง(สมเหตุสมผล)กับลำดับของเนื้อเรื่องตามช่วงเวลาของเหตุการณ์ ซึ่งทาง 'ฌอง ลุค โกดาร์ด' เคยพูดถึงรูปแบบการเล่าเรื่องไว้ว่า
“เรื่องราวควรมีจุดเริ่ม จุดกลาง และจุดปลาย แต่ 3 ส่วนนั้นไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ”
.
.
▼ ตัวอย่าง
ตัวเลข (1,2,3,4,…) = เหตุการณ์สำคัญที่แยกออกมาจากเนื้อเรื่อง
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ (A,B,C,D,…) = เหตุการณ์ก่อนจุดเริ่มต้น (จุดเริ่มเส้นเรื่อง = ตัวเลข 1)
.
- - -การเล่าแบบ Linear โดยปกติอธิบายได้ 3 รูปแบบ
1. ปกติจะเล่าโดยเรียงลำดับเหตุการณ์ 1,2,3,... ไปเรื่อยๆจนถึงจุดปลาย ซึ่งเห็นได้บ่อยตามกลุ่มหนังดราม่าทั่วๆไป
2. หนังบางเรื่องอาจสอดแทรก flashback (ระยะสั้นๆ)ไประหว่างเหตุการณ์ 1,2,3,A,4,B,…ย้อนภาพให้เห็นเรื่องราวในอดีตเพื่อสนับการกระทำของตัวละคร หรือเพื่อคลายปมบางอย่างของเรื่อง จะเห็นได้บ่อยตามพวกหนังสืบสวน
3. หนังที่มีมากกว่า 1 เส้นเรื่องแล้วเล่าขนานกัน แต่ต้องเป็น ณ ช่วงเวลาเดียวกัน อาจเล่าโดยตัดสลับไปกันไปมา หรืออาจแบ่งเฟรมหน้าจอออกเป็นส่วนย่อยตามจำนวนเส้นเรื่องแล้วนำเสนอพร้อมๆกัน
.
.
- - - การเล่าแบบ Nonlinear ทำได้หลายวิธี ขอยกตัวอย่างเป็น 3 รูปแบบ
1. แบ่งเรื่องราวออกเป็นเหตุการณ์ย่อยๆแล้วเล่าโดยไม่เรียงลำดับ หรืออาจใส่ flashback สอดแทรกมาได้เช่นกัน 5,3,2,A,1,4,B,6 ยกตัวอย่างก็เช่น Following, Memento, Reservoir Dogs หรืออาจย้อนจากหลังไปหน้า 6,5,4,3,2,1 อย่างเช่น Irreversible
2. แบ่งหนังเรื่องหนึ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ โดยแต่ละส่วนมีจุดเริ่มจากพล็อตเดียวกัน เพื่อแสดงถึงการทำซ้ำของเหตุการณ์ อย่างเช่น Run Lola Run ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน (1,2.1,3.1),(1,2.2,3.2),(1,2.3,3.3) โดยตัวเลขที่มีจุดทศนิยม 2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,3.3 จุดเริ่มจากเหตุการณ์เดียวกัน แต่มีผลลัพธ์ที่ต่างออกไป
3. หนังที่มีมากกว่า 1 เส้นเรื่อง แล้วแต่ละเส้นเรื่องถูกเล่าผ่านต่างตัวละคร มีตัดสลับไปมาระหว่างเส้นเรื่องจนกระทั่งหนังจบลง ซึ่งบางครั้งแต่ละเส้นเรื่องอาจมีความเชื่อมโยงกันในทางใดทางหนึ่ง อย่าง Pulp Fiction, Mulholland Dr
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
10. Irreversible (2002)
ผู้กำกับ Gaspar Noé สะท้อนความยึดมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานเชิงศิลปะที่สอดแทรกประเด็นทางสังคมแล้วนำเสนอออกมาโดยเน้นความดิบ ทั้งฉากฆาตกรรมที่ดูสยดสยองและฉากการข่มขืนสุดป่าเถื่อนด้วยลองเทคที่ยาวเกือบสิบนาที เข้าผสมผสานกับการเล่าแบบ nonlinear ไล่เรียงจากหลังไปหน้าอย่างมีลำดับที่ชัดเจน(อย่าง 4,3,2,1) โดยไม่ได้คาดหวังในการสร้างความซับซ้อนต่อการเข้าใจส่วนเนื้อหา เพียงแต่ต้องการพาคนดูไปรู้ถึงที่มา ผลสรุปของชีวิตตัวละครในช่วงต้นเรื่องของชายสองคนที่กำลังนั่งคุยกันด้วยบทสนทนาที่แฝงนัยยะสำคัญบางอย่าง ก่อนจะตัดไปยังเหตุทะเลาะวิวาทในคลับแห่งหนึ่ง
9. Dunkirk (2017)
ที่ผ่านมา Christopher Nolan มีการปรับใช้เทคนิคการเล่า nonlinear ให้เข้ากับผลงานแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม ตลอดจน Dunkirk เรื่องล่าสุดเช่นเดียวกัน ที่เป็นการยกระดับหนังสงครามด้วยมุมมองการเล่าที่สดใหม่ กับไอเดียที่ต้องการให้คนดูกลายเป็นผู้สังเกตภาพรวมของสงครามอย่างใกล้ชิด โดยเน้นถ่ายทอดผ่านภาษาภาพและใช้บทสนทนาให้น้อยที่สุด และที่สำคัญเล่าเรื่องผ่าน 3 เส้นเรื่องที่ต่างช่วงเวลากันทั้งบนบก บนน้ำ และบนอากาศ พร้อมทั้งตัดสลับไปมา ก่อนไปบรรจบที่บทสรุปของสงครามในช่วงระยะเวลาเดียวกันได้อย่างชาญฉลาด
8. Run Lola Run (1998)
จากพล็อตที่เรียบง่ายซึ่งว่าด้วยหญิงสาวที่ต้องหาเงินจำนวน 100,000 มาร์คเยอรมัน เพื่อเอาไปให้แฟนหนุ่มที่ทำเงินของแก๊งผู้มีอิทธิพลหายไปภายในเวลาระยะเพียง 20 นาที โดย Tom Tykwer เพิ่มความน่าสนใจด้วยเทคนิคทางภาพยนตร์ อย่างการสอดแทรกอนิเมชั่นเข้ามาในบางโมเม้นท์ หรือลูกเล่นการตัดต่อที่ฉับไวเพื่อให้สอดรับกับอารมณ์ระทึกขวัญ สถานการณ์ที่บีบคั้นของตัวละคร ซึ่งเขายังนำการเล่าแบบ nonlinear มาผสมผสาน โดยแทนที่จะเล่าเป็นเส้นเรื่องเดียว ตัดแฟลชแบ็คเข้ามาเป็นระยะๆแล้วจบไป แต่ใช้การแบ่งเป็น 3 เรื่องย่อย ที่มีจุดเริ่มจากพล็อตเดียวกัน ต่างที่แต่ละเรื่องย่อยจะมีเหตุการณ์ภายนอกและการตัดสินใจบางอย่างของตัวละครที่ไม่เหมือนกัน จนนำไปสู่บทสรุปในหลากหลายรูปแบบ
7. 21 Grams (2003)
ยุคศตวรรษที่ 21 ไม่เพียงแต่ Nolan ที่นำเทคนิค nonlinear มาใช้แล้วเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น Alejandro G. Iñárritu นับเป็นอีกคนที่มักใช้เทคนิคดังกล่าวในหนังของตัวเองได้ชาญฉลาด การันตีได้จากการเข้าชิงและรางวัลที่ได้รับจาก Amores Perros, Babel หรือจะเป็น 21 Grams หนังที่เล่นกับนัยยะน้ำหนัก 21 กรัม ซึ่งเป็นส่วนที่หายไปของมนุษย์หลังสิ้นลมหายใจ โดยหนังพูดถึง 3 ตัวละครที่มีปมบางอย่างของชีวิต เล่าโดยตัดสลับเรื่องราวไปมาก่อนบรรจบกันได้อย่างสวยงาม โดยตัวละครหนึ่งเป็นหญิงสาวที่ทนทุกข์กับความสูญเสียลูกและสามี, สองเป็นชายที่กำลังผ่าตัดหัวใจ และสามเป็นมาเฟียกลับตัวที่หันหน้ารับใช้พระเจ้า
6. Don't Look Now (1973)
หนังถูกดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Daphne Du Maurier ที่เคยมีผลงานอย่าง Rebecca และ The Birds ที่ทาง Alfred Hitchcock เคยนำไปสร้างเป็นหนังจนกลายเป็นผลงานคลาสสิกขึ้นหิ้ง ซึ่งงานเขียนของเธอมักจะซ่อนมุมมองเชิงจิตวิทยา ปมในใจที่สะท้อนจากเบื้องลึกของตัวละคร แน่นอนว่า Don't Look Now ก็มีสิ่งเหล่านั้น กับเรื่องราวของคู่สามีภรรยาที่สูญเสียลูกสาวจากอุบัติจมน้ำ และจากนั้นไม่นานทั้งคู่ได้พบกับร่างทรงที่อ้างว่ามองเห็นลูกสาวของตน ด้วยปมดังกล่าวผสมกับการเล่นกับเซ้นส์สัมผัสที่หกของตัวละคร ทางผู้กำกับจึงนำเทคนิค nonlinear มาตัดสลับเหตุการณ์ เพื่อนัยยะที่สื่อถึงสภาพจิตใจที่ลึกลับและปั่นป่วนของตัวละคร
5. Reservoir Dogs (1992)
เหล่าคอหนังคงไม่มีใครไม่รู้จัก Quentin Tarantino ผู้กำกับที่มีความชัดเจนในสไตล์งาน กับภาพจำของหนังตลกร้ายที่ขับเรื่องราวด้วยบทสนทนา ที่มักจะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ความยียวน จิกกัดที่สอดแทรกอยู่ในไดอะล็อกอันยาวเหยียดก็ทำให้หลายไม่รู้สึกว่ามันคือส่วนเกินที่ไร้ประโยชน์แต่อย่างใด และนั่นเองก็เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ใน Reservoir Dogs ที่ผสมเทคนิค nonlinear มาใช้สลับเหตุการณ์ก่อนหลังเพื่อให้คนดูจดจ่อกับเรื่องราวและคำตอบของปริศนาที่ซุกซ่อนอยู่ โดยการเปิดเรื่องด้วยเหล่าชายชุดสูทที่กำลังวางแผนปล้นร้านเพชร ก่อนตัดไปยังเหตุการณ์ที่สมาชิกคนหนึ่งถูกยิงอาการสาหัส จึงเกิดข้อสงสัยว่าอาจมีหนอนบ่อนไส้อยู่ในทีม
4. The Killing (1956)
กลุ่มหนังปล้นที่พยายามเข้าใกล้ความหมายของอาชญากรรมสมบูรณ์แบบ มักแสดงให้เห็นว่าทุกระบบรักษาความปลอดภัยย่อมมีช่องโหว่ แล้วใช้จุดๆนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนในการเล่าเรื่องและแสดงกลวิธีการปล้นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งไม่บ่อยนักที่จะมีหนังปล้นสักเรื่องทำได้ดีเทียบเท่า Rififi , Topkapi หรือจะเป็น The Killing ผลงานแจ้งเกิดของ Stanley Kubrick ที่ดูสมบูรณ์แบบทั้งด้านเทคนิคที่ใช้ nonlinear มาตรึงความสนใจและบอกเล่าเรื่องราวของตัวละครที่ซ้อนทับกันมากมายในต่างช่วงเวลา ขณะที่ทางตัวบทก็ทำได้อย่างพิถีพิถันในแง่ของหนังปล้น แสดงถึงขั้นตอนการรวมทีม การวางแผนปล้น และการแบ่งหน้าที่ของตัวละครอย่างเป็นสัดส่วน อีกทั้งบทยังผสมกลิ่นอายฟิล์มนัวร์ของเพศหญิงที่หลอกล่อและปั่นหัวเพศชายได้อย่างร้ายกาจ
3. Mulholland Dr. (2001)
ตัวของ David Lynch ขึ้นชื่อในการทำหนังที่เต็มไปด้วยความลึกลับ ความเซอร์เรียลที่ดูน่าค้นหา แต่ขณะเดียวกันตัวทางเนื้อหาค่อนข้างมีความเป็นนามธรรม สอดแทรกสัญญะต่างๆที่ยากต่อการตีความ ถอดรหัสได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งหากเทียบแล้ว Mulholland Dr. คงดูมีความเจนจัดที่สุดด้วยองค์ประกอบที่ได้กล่าวมา กับเรื่องราวของสาวนักแสดงที่พยายามฟื้นฟูความทรงจำของหญิงสาวที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ นอกจากความซับซ้อนที่ดูเข้าใจยากของเนื้อหา ยังมีการผสมเทคนิค nonlinear โดยการเล่า 2 เส้นเรื่องที่ตัดสลับไปมาระหว่างความจริงและความฝัน
2. Memento (2000)
สิ่งที่ทำให้หลายๆคนต่างยกย่องในผลงานของ Christopher Nolan หนึ่งคือไอเดียการเขียนบทที่สร้างสรรค์ ทั้งในแง่การริเริ่มและการนำของเก่ามาดัดแปลงให้เกิดความสดใหม่อย่างที่เห็นได้จาก Inception สองคือการสรรหาวิธีการเล่าเรื่องที่สอดรับกับตัวบท นับตั้งแต่ Following จนกระทั่งเรื่องล่าสุด Dunkirk เรียกว่าแทบจะทุกเรื่องมีการนำเทคนิค nonlinear มาปรับใช้ ซึ่งทาง Memento ดูมีการพลิกแพลงได้โดดเด่น กลายเป็นกิมมิคที่สะท้อนนัยยะความสับสน ความปั่นป่วนทางจิตใจของตัวละครที่กลายเป็นโรคความจำระสั้น ที่พยายามสืบหาฆาตกรที่ฆ่าภรรยา ซึ่งหนังเล่าออกมาด้วยการตัดสลับเหตุการณ์ก่อน-หลังไปมา(5,2,3,1,4) ที่คนดูไม่อาจละสายตาไปจากมันได้แม้แต่วินาทีเดียว
1. Citizen Kane (1941)
เชื่อว่าทุกคนคงตระหนักถึงความสำคัญของหนังเรื่องนี้เป็นอย่างดี หนังที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา และแรงบันดาลใจอีกหลายๆอย่างของวงการโลกภาพยนตร์ โดยฝีมือของหนุ่มวัย 26 ปีในตอนนั้นนามว่า Orson Welles ที่เรียกได้ว่าเป็นคนแรกๆที่ใช้การเล่าเรื่องด้วยเทคนิค nonlinear แล้วประสบความสำเร็จ โดย Citizen Kane มีการวางเส้นเรื่องหลักที่เกี่ยวกับการสืบหาปริศนาคำสั่งลาจากชายผู้ทรงอิทธิพล ซึ่งคนดูจะได้รับรู้ความจริงผ่านแฟลชแบ็คที่สอดแทรกไปในเส้นเรื่องหลักเพื่ออธิบายปมและแรงจูงใจของตัวละครที่หนังพยายามตั้งคำถาม
.
.
.
.
.
.
.
ทวิตเตอร์เพจ @Review_Me_ พูดคุยหนังเเละซีรีส์
ขออนุญาตฝากเพจนะครับ
https://www.facebook.com/Criticalme
เเละขออนุญาตฝากไอจีเพจด้วยนะครับ @puneak_b
เป็นพื้นที่สำหรับรีวิวหนังสือนิยายต่างๆโดยเฉพาะแนวสืบสวน