ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
พระนาม "พระเจ้าชนะสิบทิศ" นี้ปรากฏในหลักฐานหลายชิ้นครับ
สันนิษฐานว่าชาวมอญคงจะเริ่มเรียกก่อน เนื่องจากไม่พบในหลักฐานพม่า คำนี้ในภาษามอญจะเรียกว่า "ตะละนอห์จอมแนฺยะห์เทห์จอห์" (Tala Nah Jamnah Duih Cah)
ในพงศาวดารมอญพม่าที่แปลเป็นภาษาไทยเรียกว่า "ตะละพะเนียเธอเจาะ"
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ได้สอบถามไปยัง Dr. Nai Pan Hla (นายพานละ) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและประวัติศาสตร์มอญโบราณ ได้รับอรรถาธิบายมาว่า ตะละพะเนียเธอเจาะ (Tala Nah Jamnah Duih Cah) เป็นชื่อของพระเจ้าบุเรงนองที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มอญ
Tala Nah มีความหมายว่า เจ้า (His Majesty - Tala = lord ; owner ; Nah = people ; he ; his)
Jamnah มีความหมายว่า ผู้ชนะ (Jamnah = conquer ; win ; invade)
Duih มีความหมายว่า ทิศ แผลงมาจากคำว่า เทศะ ในภาษาบาลี ซึ่งมีความหมายถึงแว่นแคว้นหรือประเทศ (Duih = direction - Pali desa : Skt. desa ef Skt. disa ; Pali disa = cardinal point, direction outwards from the center, quarter ; regent ; side)
Cah มีความหมายว่า สิบ
นายพานละจึงถอดคำตะละพะเนียเธอเจาะออกเป็นภาษาอังกฤษว่า "His Majesty the conqueror of the ten directions" ส่วนคำว่า Duih Cah นายพานละอธิบายว่ามีพบเห็นเก่าสุดในจารึกพุกาม ถอดเป็นตัวโรมันแล้วจะเป็น dis cas (modern Mon-duit cah) มีความหมายตรงตามตัวว่า ทิศทั้ง ๑๐ คือ ๘ ในสิบทิศนั้นได้แก่ทิศทั้ง ๘ ตามปกติ ทิศสำคัญที่เกิดขึ้นมามาคืออีก ๒ ทิศที่เหลือคือ ทิศเบื้องบน (the point of the heaven) และ ทิศเบื้องล่าง (the point of below) ซึ่งเป็นอรรถาธิบายในทำนองเดียวกับที่ Saya U Aye Kyaw และ Saya San Nyein ได้ให้ไว้
ในพงศาวดารของไทยก็เรียกว่า "สมเด็จพระเจ้าชนะสิบทิศ" บ้าง ระบุว่าพระองค์ "มีกฤษฎาธิการผ่านแผ่พระเดชาไปทั้งสิบทิศ" บ้าง ซึ่งเข้าใจว่าจะรับมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง
ส่วนในพระราชกฤษฎีกาในพระไอยการกระบดศึกระบุจุลศักราช ๙๕๕ (พ.ศ. ๒๑๓๖) รัชสมัยสมเด็จพระนเรศ ได้กล่าวถึงสงครามยุทธหัตถีและได้กล่าวถึงพระมหาอุปราชาว่า "มหาอุปราชา หน่อพระเจ้าไชยทศทิศเมืองหงษาวดี" จึงเข้าใจว่าในสมัยอยุทธยาจะเรียกขานพระเจ้าบุเรงนองว่า "พระเจ้าไชยทศทิศ" ด้วย
ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงคณะราชทูตสยามที่ถูกส่งไปอังกฤษ ทรงเรียกพระเจ้าบุเรงนองในภาษาสันสกฤตว่า "พระเจ้าทศทิศวิไชย" ตรงกับในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปให้เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง ทรงเรียกว่า "Dusadi sawijay" ครับ
สันนิษฐานว่าชาวมอญคงจะเริ่มเรียกก่อน เนื่องจากไม่พบในหลักฐานพม่า คำนี้ในภาษามอญจะเรียกว่า "ตะละนอห์จอมแนฺยะห์เทห์จอห์" (Tala Nah Jamnah Duih Cah)
ในพงศาวดารมอญพม่าที่แปลเป็นภาษาไทยเรียกว่า "ตะละพะเนียเธอเจาะ"
รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ได้สอบถามไปยัง Dr. Nai Pan Hla (นายพานละ) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและประวัติศาสตร์มอญโบราณ ได้รับอรรถาธิบายมาว่า ตะละพะเนียเธอเจาะ (Tala Nah Jamnah Duih Cah) เป็นชื่อของพระเจ้าบุเรงนองที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มอญ
Tala Nah มีความหมายว่า เจ้า (His Majesty - Tala = lord ; owner ; Nah = people ; he ; his)
Jamnah มีความหมายว่า ผู้ชนะ (Jamnah = conquer ; win ; invade)
Duih มีความหมายว่า ทิศ แผลงมาจากคำว่า เทศะ ในภาษาบาลี ซึ่งมีความหมายถึงแว่นแคว้นหรือประเทศ (Duih = direction - Pali desa : Skt. desa ef Skt. disa ; Pali disa = cardinal point, direction outwards from the center, quarter ; regent ; side)
Cah มีความหมายว่า สิบ
นายพานละจึงถอดคำตะละพะเนียเธอเจาะออกเป็นภาษาอังกฤษว่า "His Majesty the conqueror of the ten directions" ส่วนคำว่า Duih Cah นายพานละอธิบายว่ามีพบเห็นเก่าสุดในจารึกพุกาม ถอดเป็นตัวโรมันแล้วจะเป็น dis cas (modern Mon-duit cah) มีความหมายตรงตามตัวว่า ทิศทั้ง ๑๐ คือ ๘ ในสิบทิศนั้นได้แก่ทิศทั้ง ๘ ตามปกติ ทิศสำคัญที่เกิดขึ้นมามาคืออีก ๒ ทิศที่เหลือคือ ทิศเบื้องบน (the point of the heaven) และ ทิศเบื้องล่าง (the point of below) ซึ่งเป็นอรรถาธิบายในทำนองเดียวกับที่ Saya U Aye Kyaw และ Saya San Nyein ได้ให้ไว้
ในพงศาวดารของไทยก็เรียกว่า "สมเด็จพระเจ้าชนะสิบทิศ" บ้าง ระบุว่าพระองค์ "มีกฤษฎาธิการผ่านแผ่พระเดชาไปทั้งสิบทิศ" บ้าง ซึ่งเข้าใจว่าจะรับมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง
ส่วนในพระราชกฤษฎีกาในพระไอยการกระบดศึกระบุจุลศักราช ๙๕๕ (พ.ศ. ๒๑๓๖) รัชสมัยสมเด็จพระนเรศ ได้กล่าวถึงสงครามยุทธหัตถีและได้กล่าวถึงพระมหาอุปราชาว่า "มหาอุปราชา หน่อพระเจ้าไชยทศทิศเมืองหงษาวดี" จึงเข้าใจว่าในสมัยอยุทธยาจะเรียกขานพระเจ้าบุเรงนองว่า "พระเจ้าไชยทศทิศ" ด้วย
ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงคณะราชทูตสยามที่ถูกส่งไปอังกฤษ ทรงเรียกพระเจ้าบุเรงนองในภาษาสันสกฤตว่า "พระเจ้าทศทิศวิไชย" ตรงกับในพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานไปให้เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง ทรงเรียกว่า "Dusadi sawijay" ครับ
แสดงความคิดเห็น
สมยานาม "พระเจ้าชนะสิบทิศ" ของบุเรงนองนี่เป็นคนไทยหรือคนพม่าตั้งให้คับ