สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
คำว่า "ผู้ชนะสิบทิศ" ไม่มีในประวัติศาสตร์ครับ เป็นชื่อนิยายของยาขอบ
ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์จริงๆ คือ "พระเจ้าชนะสิบทิศ" ซึ่งไม่ปรากฏในหลักฐานพม่า แต่ปรากฏในพงศาวดารของไทย และพงศาวดารมอญที่ระบุว่าชื่อนี้เป็นชื่อที่ชาวมอญเรียกขานพระองค์
"ฝ่ายพระเจ้าฝรั่งมังตรีนั้นมีอานุภาพมาก มีช้างเผือก มีบ่อแก้ว มีบ่อทอง มีบ่อเงิน เกิดขึ้นในแว่นแคว้น แลชนะพระเจ้าแผ่นดินทั้งปวงในประเทศต่าง ๆ ได้เปนใหญ่ในประเทศทั้งสี่ คือรามัญประเทศ ภุกามประเทศ สยามประเทศ มลาวประเทศ เหตุดังนั้นรามัญทั้งหลายเรียกพระเจ้าฝรั่งมังตรีนั้นว่าตะละพะเนียเธอเจาะ แปลว่าพระเจ้าชนะสิบทิศ ได้เปนพระเจ้าช้างเผือก มีพระกลดแก้ว"
ตะละพะเนียเธอเจาะ เพี้ยนมาจากภาษามอญว่า จอมแนยะห์เทห์จอห์ ซึ่งก็แปลตรงตัวว่าพระเจ้าชนะสิบทิศ
พระนามนี้ยังมีการเรียกแบบอื่น เช่นในพระราชกำหนดในพระอัยการกระบดศึกที่ออกใน พ.ศ. ๒๑๓๖ สมัยสมเด็จพระนเรศวรเรียกพระองค์ว่า "พระเจ้าไชยทศทิศ" หรือในพระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่พระราชทานให้เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง เรียกพระองค์ว่า "ทศทิศวิไชย" (Dusadi sawijay)
ทั้งสิบทิศนี้ สันนิษบานว่ามีความหมายตาม คห.2 คือรวมแปดทิศปกติ กับทิศเบื้องบน (สวรรค์) และทิศเบื้องล่าง (นรก) ครับ เเป็นการยกย่องว่าพระเจ้าบุเรงนองสามารถรบชนะได้รอบด้านตามที่พงศาวดารมอญระบุ น่าจะทำนองเดียวกับที่บอกว่ากษัตริย์มีบุญญาธิการปราบได้ทั้งชมพูทวีปครับ
ส่วนเรื่องประตูเมืองหงสาวดีตาม คห.11 ไม่เกี่ยวกันครับ เพราะประตูเมืองทั้งหมดมี ๒๐ ประตู รับผิดชอบสร้างโดยกษัตริย์เมืองประเทศราชต่างๆ โดยใช้เชลยเมืองนั้นเป็นผู้สร้าง สร้างพร้อมกันในขณะที่มีการสร้างเมืองหงสาวดีใหม่ใน พ.ศ. ๒๑๐๘ โดยชื่อนั้นตั้งตามเมืองประเทศราชที่รับผิดชอบสร้าง
ประตูเมือง ๒๐ ประตู แบ่งตามกำแพงเมือง ๔ ด้าน ด้านละ ๕ ประตูครับ ไล่จากซ้ายไปขวาเมื่อมองจากด้านนั้น (อิงตามวิกิ แต่ในหนังสือ โยเดียกับราชวงศ์พม่า ของมิคกี้ ฮาร์ตจะกล่าวต่างไปนิดหน่อยครับ)
ทิศเหนิอ ประตูอยุทธยา ประตูตะนาวศรี ประตูเมาะตะมะ(มอญ) ประตูพุกาม ประตูพะสิม(มอญ)
ทิศตะวันตก ประตูแสนหวี(ไทใหญ่) ประตูสายาวดี(มอญ) ประตูญองห้วย(ไทใหญ่) ประตูเมืองนาย(ไทใหญ่) ประตูกะเล(ชิน)
ทิศตะวันออก ประตูล้านช้าง(ลาว) ประตูทะละ(มอญ) ประตูตองอู(พม่า) ประตูอังวะ(พม่า) ประตูสะเรเขตตรา(แปร-พม่า)
ทิศใต้ ประตูทวาย ประตูเมืองก่อง(ไทใหญ่) ประตูเมืองยาง(ไทใหญ่) ประตูเมืองมีด(ไทใหญ่) ประตูเชียงใหม่
ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์จริงๆ คือ "พระเจ้าชนะสิบทิศ" ซึ่งไม่ปรากฏในหลักฐานพม่า แต่ปรากฏในพงศาวดารของไทย และพงศาวดารมอญที่ระบุว่าชื่อนี้เป็นชื่อที่ชาวมอญเรียกขานพระองค์
"ฝ่ายพระเจ้าฝรั่งมังตรีนั้นมีอานุภาพมาก มีช้างเผือก มีบ่อแก้ว มีบ่อทอง มีบ่อเงิน เกิดขึ้นในแว่นแคว้น แลชนะพระเจ้าแผ่นดินทั้งปวงในประเทศต่าง ๆ ได้เปนใหญ่ในประเทศทั้งสี่ คือรามัญประเทศ ภุกามประเทศ สยามประเทศ มลาวประเทศ เหตุดังนั้นรามัญทั้งหลายเรียกพระเจ้าฝรั่งมังตรีนั้นว่าตะละพะเนียเธอเจาะ แปลว่าพระเจ้าชนะสิบทิศ ได้เปนพระเจ้าช้างเผือก มีพระกลดแก้ว"
ตะละพะเนียเธอเจาะ เพี้ยนมาจากภาษามอญว่า จอมแนยะห์เทห์จอห์ ซึ่งก็แปลตรงตัวว่าพระเจ้าชนะสิบทิศ
พระนามนี้ยังมีการเรียกแบบอื่น เช่นในพระราชกำหนดในพระอัยการกระบดศึกที่ออกใน พ.ศ. ๒๑๓๖ สมัยสมเด็จพระนเรศวรเรียกพระองค์ว่า "พระเจ้าไชยทศทิศ" หรือในพระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่พระราชทานให้เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง เรียกพระองค์ว่า "ทศทิศวิไชย" (Dusadi sawijay)
ทั้งสิบทิศนี้ สันนิษบานว่ามีความหมายตาม คห.2 คือรวมแปดทิศปกติ กับทิศเบื้องบน (สวรรค์) และทิศเบื้องล่าง (นรก) ครับ เเป็นการยกย่องว่าพระเจ้าบุเรงนองสามารถรบชนะได้รอบด้านตามที่พงศาวดารมอญระบุ น่าจะทำนองเดียวกับที่บอกว่ากษัตริย์มีบุญญาธิการปราบได้ทั้งชมพูทวีปครับ
ส่วนเรื่องประตูเมืองหงสาวดีตาม คห.11 ไม่เกี่ยวกันครับ เพราะประตูเมืองทั้งหมดมี ๒๐ ประตู รับผิดชอบสร้างโดยกษัตริย์เมืองประเทศราชต่างๆ โดยใช้เชลยเมืองนั้นเป็นผู้สร้าง สร้างพร้อมกันในขณะที่มีการสร้างเมืองหงสาวดีใหม่ใน พ.ศ. ๒๑๐๘ โดยชื่อนั้นตั้งตามเมืองประเทศราชที่รับผิดชอบสร้าง
ประตูเมือง ๒๐ ประตู แบ่งตามกำแพงเมือง ๔ ด้าน ด้านละ ๕ ประตูครับ ไล่จากซ้ายไปขวาเมื่อมองจากด้านนั้น (อิงตามวิกิ แต่ในหนังสือ โยเดียกับราชวงศ์พม่า ของมิคกี้ ฮาร์ตจะกล่าวต่างไปนิดหน่อยครับ)
ทิศเหนิอ ประตูอยุทธยา ประตูตะนาวศรี ประตูเมาะตะมะ(มอญ) ประตูพุกาม ประตูพะสิม(มอญ)
ทิศตะวันตก ประตูแสนหวี(ไทใหญ่) ประตูสายาวดี(มอญ) ประตูญองห้วย(ไทใหญ่) ประตูเมืองนาย(ไทใหญ่) ประตูกะเล(ชิน)
ทิศตะวันออก ประตูล้านช้าง(ลาว) ประตูทะละ(มอญ) ประตูตองอู(พม่า) ประตูอังวะ(พม่า) ประตูสะเรเขตตรา(แปร-พม่า)
ทิศใต้ ประตูทวาย ประตูเมืองก่อง(ไทใหญ่) ประตูเมืองยาง(ไทใหญ่) ประตูเมืองมีด(ไทใหญ่) ประตูเชียงใหม่
ความคิดเห็นที่ 14
เอาเท่าที่จำได้นะครับ
ผู้ชนะสิบทิศ เป็นเรื่องแต่งจาก พงศาวดารพม่า โดย ยาขอบ อ่านพงศาวดาร พม่า 8 บรรทัด แต่งเป็นหนังสือ 4553หน้า อ่านยากมากๆ ถ้าภาษาไทยไม่เก่งจริงอ่านไม่รู้เรื่อง
และเป็นที่มาของคำว่า "คนไทยอ่านหนังสือแปดบรรทัด"
เดิมที ยาขอบ ไม่ได้ใช้ชื่อเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศครับ ใช้ชื่อเรื่อง "ยอดขุนพล"
แต่อาจารย์ มาลัย ชูพินิจ เปลื่ยนชื่อให้เป็น "ผู้ชนะสิบทิศ"
สรุป คำว่า ผู้ชนะสิบทิศ มาจาก คนไทย ครับ ไม่ใช่พม่า
เอกสารอ้างอิง หนังสือ คุยเฟื่องเรื่องผู้ชนะสิบทิศ โดย โกวิทย์ ตั้งตรงจิตร นักเขียนสารคดีดีเด่นแห่งชาติ
ผู้ชนะสิบทิศ เป็นเรื่องแต่งจาก พงศาวดารพม่า โดย ยาขอบ อ่านพงศาวดาร พม่า 8 บรรทัด แต่งเป็นหนังสือ 4553หน้า อ่านยากมากๆ ถ้าภาษาไทยไม่เก่งจริงอ่านไม่รู้เรื่อง
และเป็นที่มาของคำว่า "คนไทยอ่านหนังสือแปดบรรทัด"
เดิมที ยาขอบ ไม่ได้ใช้ชื่อเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศครับ ใช้ชื่อเรื่อง "ยอดขุนพล"
แต่อาจารย์ มาลัย ชูพินิจ เปลื่ยนชื่อให้เป็น "ผู้ชนะสิบทิศ"
สรุป คำว่า ผู้ชนะสิบทิศ มาจาก คนไทย ครับ ไม่ใช่พม่า
เอกสารอ้างอิง หนังสือ คุยเฟื่องเรื่องผู้ชนะสิบทิศ โดย โกวิทย์ ตั้งตรงจิตร นักเขียนสารคดีดีเด่นแห่งชาติ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมถึงเรียกบุเรงนองว่าผู้ชนะสิบทิศครับ