สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
บุเรงนองนั้นนับได้ว่าเป็นผู้สร้างจักรวรรดิยุคที่สองของพม่าครับ กว่าจะทำสำเร็จได้นี่เพราะความสามารถและบารมีจริงๆ
บุเรงนองติดตามพระเจ้าตะเบงชเวตี้รบสร้างอาณาจักรมาด้วยกันจนได้เป็นพระมหาอุปราชา ต่อมาออกไปปราบกบฏ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ถูกกบฏมอญลอบปลงพระชนม์แล้วยึดหงสาวดีไป อาณาจักรที่เคยสร้างไว้ถึงขั้นแตกเป็นเสี่ยงๆ อนุชาของบุเรงนองที่ครองเมืองตองอู (คนนี้เป็นปู่ของนัดจินหน่อง) แยกตนเป็นอิสระ บุเรงนองจะไปตองอูก็ถูกน้องชายปิดประตูใส่หน้า เรียกได้ว่าตอนนั้นบุเรงนองกลายเป็นขุนศึกเร่ร่อนไม่มีแม้แต่เมืองเป็นฐานที่มั่น จึงประทับตั้งมั่นอยู่ห่างเมืองเกตุมดีเล็กน้อย แล้วทรงเปลี่ยนชื่อสถานที่ประทับเป็น ไชยวดี (ဇေယျဝတီ) ประกาศพระองค์เป็นกษัตริย์
บุเรงนองค่อยๆรอโอกาส จนมอญแย่งอำนาจกันเองวุ่นวาย หลายคนพากันมาเข้ากับบุเรงนองมากขึ้นจนกล้าแข็งก็สามารถรวมแผ่นดินได้อีกครั้ง นอกจากนี้ความสำเร็จของบุเรงนองที่เหนือกว่าพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้คือการไปตีเมืองอังวะราชธานีโบราณของพม่าที่ถูกไทยใหญ่ชิงไปเป็นเวลานานมากแล้วกลับมาได้สำเร็จ และไล่ตีจนกระทั่งพระองค์สามารถยึดครองรัฐไทยใหญ่ทั้งหมดไว้ในอำนาจได้นับว่าไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน เสร็จไทยใหญ่ก็ตีล้านนา ๕๔ หัวเมืองไว้ในอำนาจได้หมดเหมือนกันก็นับได้ว่ามีความสามารถอยู่มาก ยิ่งการตีอยุทธยาสำเร็จทำให้แสดงถึงความเป็นจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่เหนือรัฐเอกราชอื่นๆได้อย่างสมบูรณ์(แต่จริงๆแล้วถ้าพระยาจักรีไม่เป็นใส้ศึกก็อาจจะถอยหนีน้ำไปก่อน)
บุเรงนองนั้นเป็นผู้ที่รู้จักวางตัวได้หมาะสม พระเจ้าตะเบงชเวตี้หลังๆกลายเป็นขี้เมาจนขุนนางเอือมมายุให้กบฏก็ไม่ยอมยังคงแสดงความจงรักภักดีอยู่ น้องชายที่เคยต่อต้านเมื่อบุเรงนองชนะก็ไม่เอาโทษกลับให้ครองเมืองได้ตามเดิมหรือเจ้าประเทศราชส่วนใหญ่ก็มักจะให้ครองเมืองตามเดิม แต่รู้จักใช้ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมสัมพันธ์เพื่อป้องกันการแข็งเมืองโดยเอาโอรสไปเป็นองค์ประกันแต่ก็เลี้ยงดูอย่างดีหรือเอาธิดามาเป็นสนม
ในการตีกรุงศรีอยุทธยา พระองค์เหมือนจะมีส่วนทำให้ทางหัวเมืองฝ่ายเหนือที่นำโดยพระมหาธรรมราชากับทางอยุทธยาที่มีพระมหินทร์อยู่เริ่มกินแหนงแคลงใจกัน ถ้าเชื่อตามพระวินิจฉัยของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าพระนเรศถูกนำไปเป็นองค์ประกันตั้งแต่พิษณุโลกแตก(เอกสารอื่นๆจะบอกว่าเอาไปตอนพระมหาธรรมราชาครองอยุทธยา)ก็น่าจะทำให้พระมหาธรรมราชาวางองค์ไม่ค่อยถูกเพราะมีชนักติดหลังอยู่ หลังจากนั้นแม้หงสาวดีจะถอยไปแล้วหลังจบสงครามช้างเผือกแต่กลายเป็นว่า มีข้อความในพงศาวดารว่า
"ครั้งนั้นหัวเมืองเหนือเป็นสิทธิแก่พระมหาธรรมราชาเจ้า อนึ่งการแผ่นดินในกรุงพระมหานครศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาลงมาแต่ประการใด สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินต้องทำตามทุกประการ"
ข้อความนี้น่าจะแสดงให้เห็นแล้วว่าอยุทธยาหรือเมืองเหนือตกอยู่ใต้อิทธิพลของหงสาวดีอยู่กลายๆแล้ว ไม่เช่นั้นพระมหาธรรมราชาจะมาสั่งพระมหินทร์ได้อย่างไร (ตรงกับพงศาวดารพม่าที่ว่าอยุทธยาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าแล้ว) เป็นไปได้ว่าบุเรงนองทรงมอบสิทธิในเมืองเหนือทั้งหมดให้พระมหาธรรมราชาแล้ว ทำให้ยิ่งทวีความขัดแย้งไปหลายเรื่องจนถึงที่สุดพระมหาธรรมราชาก็ต้องไปพึ่งพระเจ้าบุเรงนองมากขึ้น ในที่สุดพระเจ้าบุเรงนองก็ตั้งพระมหาธรรมราชาเป็น 'เจ้าฟ้าสองแคว' มาขึ้นกับหงสาวดีโดยตรง กลายเป็นฝ่ายตรงข้ามอยุทธยาอย่างเปิดเผยแก้ไขไม่ได้ แล้วก็ค่อยๆรุกคืบตีอยุทธยาต่อไป อาจนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ในการทำให้เกิดความแตกแยกของพระเจ้าบุเรงนองก็ได้ครับ
ในฐานะที่เป็นจอมทัพ พระเจ้าบุเรงนองได้แสดงความเด็ดขาดหลายหนจนเเหล่าทหารแม่ทัพนายกองพากันเกรงกลัวอาญา ในพงศาวดารไทยเมื่อครั้งที่เป็นพระมหาอุปราชามาตีอยุทธยาในพ.ศ.๒๐๙๒ สามารถตีค่ายเจ้าพระยามหาเสนาบดีที่ตีลำบากให้แตกได้โดยการขู่จะตัดหัวนายทัพนายกองทั้งหมด ตอนมาล้อมกรุงปี ๒๑๑๒ ทรงสั่งให้นายทัพนายกองหาเสบียงให้ครบปีไม่งั้นลงโทษตาย มีแต่หมวดมะโดดซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมไม่ครบพระองค์ก็ไม่ไว้หน้าเอาไปประหาร พงศาวดารพม่ากับไทยมีเรื่องคล้ายๆกันเอามาพระมวลคือพระยาจักรรัตน์แม่ทัพไทยไปเผาค่ายพระยาเกียรติฝ่ายพม่าซึ่งอยู่ใต้บังคับของพระเจ้าแปรพระอนุชา ค่ายถูกเผาไปมาก นายทัพนายกองกลัวความผิดหนีไปหมด พระเจ้าบุเรงนองสั่งให้ประหารพระเจ้าแปรทิ้ง แต่เพราะคนอื่นขอร้องแล้วไปจับตัวนายกองที่หนีมาได้พระเจ้าแปรเลยรอดที่เหลือตายหมด ส่วนพระยาเกียรติจับพระยาจักรรัตน์มาได้ก็กลับถูกประหาร พระมหาอุปราชาชัยสีหะ(นันทบุเรง)ทูลว่าโทษกับความชอบน่าจะหักล้างกันไป กลับถูกพระบิดาไล่ไปให้พ้น ให้เอาไปแต่ช้าง กลางช้าง ควาญเท่านั้น ไม่มีใครกล้าทูลขออภัยจนต้องไปเชิญพระมหาธรรมราชามาพระเจ้าบุเรงนองจึงยกโทษให้
ที่เจ้าของกระทู้บอกว่าพระมหาธรรมราชาเก่ง ตามประวัติศาสตร์ นอกจากผลงานปราบขุนวรวงศาธิราชก็ไม่มีปรากฏผลงานการรบที่โดดเด่นถึงขั้นจะเรียกว่าเก่งอย่างชัดเจน ละครอาจมีการเสริมแต่งไปครับ รบกับบุเรงนองครั้งแรกก็โดนจับตัวไปได้ ที่โดดเด่นคือใช้อุบายแพไฟล่องแม่น้ำน่านไปเผาทัพพระมหินทราธิราชประมาณนี้เท่านั้นครับแล้วก็เป็นที่ปรึกษาให้บุเรงนอง
พระมหาจักรพรรดิก็ใช่ว่าจะอ่อนแอครับ แต่เพราะหงสาวดีเปลี่ยนเส้นทางเดินทัพจากทางด่านพระเจดีย์สามองค์เป็นด่านแม่ละเมาแล้วไล่ตีหัวเมืองฝ่ายเหนือทำให้ทัพอยุธยาโดดเดี่ยวไม่มีทัพจากหัวเมืองฝ่ายเหนือมาช่วยตีกระหนาบ น่าจะเป็นปัจจัยหลักให้อยุทธยาต้องยอมสงบศึก มากกว่าจะกล่าวโทษว่าเกิดจากกษัตริย์องค์เดียวครับ
บุเรงนองติดตามพระเจ้าตะเบงชเวตี้รบสร้างอาณาจักรมาด้วยกันจนได้เป็นพระมหาอุปราชา ต่อมาออกไปปราบกบฏ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ถูกกบฏมอญลอบปลงพระชนม์แล้วยึดหงสาวดีไป อาณาจักรที่เคยสร้างไว้ถึงขั้นแตกเป็นเสี่ยงๆ อนุชาของบุเรงนองที่ครองเมืองตองอู (คนนี้เป็นปู่ของนัดจินหน่อง) แยกตนเป็นอิสระ บุเรงนองจะไปตองอูก็ถูกน้องชายปิดประตูใส่หน้า เรียกได้ว่าตอนนั้นบุเรงนองกลายเป็นขุนศึกเร่ร่อนไม่มีแม้แต่เมืองเป็นฐานที่มั่น จึงประทับตั้งมั่นอยู่ห่างเมืองเกตุมดีเล็กน้อย แล้วทรงเปลี่ยนชื่อสถานที่ประทับเป็น ไชยวดี (ဇေယျဝတီ) ประกาศพระองค์เป็นกษัตริย์
บุเรงนองค่อยๆรอโอกาส จนมอญแย่งอำนาจกันเองวุ่นวาย หลายคนพากันมาเข้ากับบุเรงนองมากขึ้นจนกล้าแข็งก็สามารถรวมแผ่นดินได้อีกครั้ง นอกจากนี้ความสำเร็จของบุเรงนองที่เหนือกว่าพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้คือการไปตีเมืองอังวะราชธานีโบราณของพม่าที่ถูกไทยใหญ่ชิงไปเป็นเวลานานมากแล้วกลับมาได้สำเร็จ และไล่ตีจนกระทั่งพระองค์สามารถยึดครองรัฐไทยใหญ่ทั้งหมดไว้ในอำนาจได้นับว่าไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน เสร็จไทยใหญ่ก็ตีล้านนา ๕๔ หัวเมืองไว้ในอำนาจได้หมดเหมือนกันก็นับได้ว่ามีความสามารถอยู่มาก ยิ่งการตีอยุทธยาสำเร็จทำให้แสดงถึงความเป็นจักรพรรดิราชที่ยิ่งใหญ่เหนือรัฐเอกราชอื่นๆได้อย่างสมบูรณ์(แต่จริงๆแล้วถ้าพระยาจักรีไม่เป็นใส้ศึกก็อาจจะถอยหนีน้ำไปก่อน)
บุเรงนองนั้นเป็นผู้ที่รู้จักวางตัวได้หมาะสม พระเจ้าตะเบงชเวตี้หลังๆกลายเป็นขี้เมาจนขุนนางเอือมมายุให้กบฏก็ไม่ยอมยังคงแสดงความจงรักภักดีอยู่ น้องชายที่เคยต่อต้านเมื่อบุเรงนองชนะก็ไม่เอาโทษกลับให้ครองเมืองได้ตามเดิมหรือเจ้าประเทศราชส่วนใหญ่ก็มักจะให้ครองเมืองตามเดิม แต่รู้จักใช้ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมสัมพันธ์เพื่อป้องกันการแข็งเมืองโดยเอาโอรสไปเป็นองค์ประกันแต่ก็เลี้ยงดูอย่างดีหรือเอาธิดามาเป็นสนม
ในการตีกรุงศรีอยุทธยา พระองค์เหมือนจะมีส่วนทำให้ทางหัวเมืองฝ่ายเหนือที่นำโดยพระมหาธรรมราชากับทางอยุทธยาที่มีพระมหินทร์อยู่เริ่มกินแหนงแคลงใจกัน ถ้าเชื่อตามพระวินิจฉัยของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าพระนเรศถูกนำไปเป็นองค์ประกันตั้งแต่พิษณุโลกแตก(เอกสารอื่นๆจะบอกว่าเอาไปตอนพระมหาธรรมราชาครองอยุทธยา)ก็น่าจะทำให้พระมหาธรรมราชาวางองค์ไม่ค่อยถูกเพราะมีชนักติดหลังอยู่ หลังจากนั้นแม้หงสาวดีจะถอยไปแล้วหลังจบสงครามช้างเผือกแต่กลายเป็นว่า มีข้อความในพงศาวดารว่า
"ครั้งนั้นหัวเมืองเหนือเป็นสิทธิแก่พระมหาธรรมราชาเจ้า อนึ่งการแผ่นดินในกรุงพระมหานครศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชาบังคับบัญชาลงมาแต่ประการใด สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินต้องทำตามทุกประการ"
ข้อความนี้น่าจะแสดงให้เห็นแล้วว่าอยุทธยาหรือเมืองเหนือตกอยู่ใต้อิทธิพลของหงสาวดีอยู่กลายๆแล้ว ไม่เช่นั้นพระมหาธรรมราชาจะมาสั่งพระมหินทร์ได้อย่างไร (ตรงกับพงศาวดารพม่าที่ว่าอยุทธยาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าแล้ว) เป็นไปได้ว่าบุเรงนองทรงมอบสิทธิในเมืองเหนือทั้งหมดให้พระมหาธรรมราชาแล้ว ทำให้ยิ่งทวีความขัดแย้งไปหลายเรื่องจนถึงที่สุดพระมหาธรรมราชาก็ต้องไปพึ่งพระเจ้าบุเรงนองมากขึ้น ในที่สุดพระเจ้าบุเรงนองก็ตั้งพระมหาธรรมราชาเป็น 'เจ้าฟ้าสองแคว' มาขึ้นกับหงสาวดีโดยตรง กลายเป็นฝ่ายตรงข้ามอยุทธยาอย่างเปิดเผยแก้ไขไม่ได้ แล้วก็ค่อยๆรุกคืบตีอยุทธยาต่อไป อาจนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ในการทำให้เกิดความแตกแยกของพระเจ้าบุเรงนองก็ได้ครับ
ในฐานะที่เป็นจอมทัพ พระเจ้าบุเรงนองได้แสดงความเด็ดขาดหลายหนจนเเหล่าทหารแม่ทัพนายกองพากันเกรงกลัวอาญา ในพงศาวดารไทยเมื่อครั้งที่เป็นพระมหาอุปราชามาตีอยุทธยาในพ.ศ.๒๐๙๒ สามารถตีค่ายเจ้าพระยามหาเสนาบดีที่ตีลำบากให้แตกได้โดยการขู่จะตัดหัวนายทัพนายกองทั้งหมด ตอนมาล้อมกรุงปี ๒๑๑๒ ทรงสั่งให้นายทัพนายกองหาเสบียงให้ครบปีไม่งั้นลงโทษตาย มีแต่หมวดมะโดดซึ่งเป็นข้าหลวงเดิมไม่ครบพระองค์ก็ไม่ไว้หน้าเอาไปประหาร พงศาวดารพม่ากับไทยมีเรื่องคล้ายๆกันเอามาพระมวลคือพระยาจักรรัตน์แม่ทัพไทยไปเผาค่ายพระยาเกียรติฝ่ายพม่าซึ่งอยู่ใต้บังคับของพระเจ้าแปรพระอนุชา ค่ายถูกเผาไปมาก นายทัพนายกองกลัวความผิดหนีไปหมด พระเจ้าบุเรงนองสั่งให้ประหารพระเจ้าแปรทิ้ง แต่เพราะคนอื่นขอร้องแล้วไปจับตัวนายกองที่หนีมาได้พระเจ้าแปรเลยรอดที่เหลือตายหมด ส่วนพระยาเกียรติจับพระยาจักรรัตน์มาได้ก็กลับถูกประหาร พระมหาอุปราชาชัยสีหะ(นันทบุเรง)ทูลว่าโทษกับความชอบน่าจะหักล้างกันไป กลับถูกพระบิดาไล่ไปให้พ้น ให้เอาไปแต่ช้าง กลางช้าง ควาญเท่านั้น ไม่มีใครกล้าทูลขออภัยจนต้องไปเชิญพระมหาธรรมราชามาพระเจ้าบุเรงนองจึงยกโทษให้
ที่เจ้าของกระทู้บอกว่าพระมหาธรรมราชาเก่ง ตามประวัติศาสตร์ นอกจากผลงานปราบขุนวรวงศาธิราชก็ไม่มีปรากฏผลงานการรบที่โดดเด่นถึงขั้นจะเรียกว่าเก่งอย่างชัดเจน ละครอาจมีการเสริมแต่งไปครับ รบกับบุเรงนองครั้งแรกก็โดนจับตัวไปได้ ที่โดดเด่นคือใช้อุบายแพไฟล่องแม่น้ำน่านไปเผาทัพพระมหินทราธิราชประมาณนี้เท่านั้นครับแล้วก็เป็นที่ปรึกษาให้บุเรงนอง
พระมหาจักรพรรดิก็ใช่ว่าจะอ่อนแอครับ แต่เพราะหงสาวดีเปลี่ยนเส้นทางเดินทัพจากทางด่านพระเจดีย์สามองค์เป็นด่านแม่ละเมาแล้วไล่ตีหัวเมืองฝ่ายเหนือทำให้ทัพอยุธยาโดดเดี่ยวไม่มีทัพจากหัวเมืองฝ่ายเหนือมาช่วยตีกระหนาบ น่าจะเป็นปัจจัยหลักให้อยุทธยาต้องยอมสงบศึก มากกว่าจะกล่าวโทษว่าเกิดจากกษัตริย์องค์เดียวครับ
แสดงความคิดเห็น
บุเรงนอง สมัยก่อนเก่งสุดๆเลยหรอครับ
ปล แต่ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกือบเป็นเมืองขึ้นตั้ง2ครั้งเลยและมาเป็นเอาตอนบุเรงนองตอนนั้นหวังพึงแต่ขุนพิเรนทรเทพอย่างเดียว