[๑๐๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕
คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้น
มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด
ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่
ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล
ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.
***น เหว โข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปญฺญาย จ อติวิชฺฌ ปสฺสติ / ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
[๑๐๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ
ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕
คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล
มีสิ่งใดเป็นที่สุด
อริยสาวก(จริงๆในบาลีไม่มีคำว่าอริยสาวก มีแต่ภิกษุผู้อเสขะ)
ผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย
ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ
ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.
***กาเยน จ ผุสิตฺวา วิหรติ ปญฺญาย จ อติวิชฺฌ ปสฺสติ / ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
จากการสำรวจพบว่า กาเยน มักแปลว่า นามกาย และมีข้อสังเกตว่า อริยสาวกประเภทหนึ่งคือ กายสักขี
นามกาย ใน มหานิทานสูตร หมายเหตุของ มหาจุฬา ๑ นามกาย หมายถึงนามขันธ์ ๔ คือ (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์ (ที.ม.อ. ๑๑๔/๙๙) แต่ผมคิดว่ามันน่าจะหมายถึง (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์ แต่ไม่รวม (๔) วิญญาณขันธ์
ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา เข้าใจว่าอย่างไรกันบ้าง?
คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้น
มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่
ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล
ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.
***น เหว โข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปญฺญาย จ อติวิชฺฌ ปสฺสติ / ยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
[๑๐๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ
ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕
คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล
มีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวก(จริงๆในบาลีไม่มีคำว่าอริยสาวก มีแต่ภิกษุผู้อเสขะ)
ผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย
ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ
ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.
***กาเยน จ ผุสิตฺวา วิหรติ ปญฺญาย จ อติวิชฺฌ ปสฺสติ / ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
จากการสำรวจพบว่า กาเยน มักแปลว่า นามกาย และมีข้อสังเกตว่า อริยสาวกประเภทหนึ่งคือ กายสักขี
นามกาย ใน มหานิทานสูตร หมายเหตุของ มหาจุฬา ๑ นามกาย หมายถึงนามขันธ์ ๔ คือ (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์ (ที.ม.อ. ๑๑๔/๙๙) แต่ผมคิดว่ามันน่าจะหมายถึง (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์ แต่ไม่รวม (๔) วิญญาณขันธ์