ปัจจุบันพึ่งทำงานให้สิงค์โปร์
จำได้ไหมว่า ยู 16 เราพึ่งเจอสิงค์โปร์มา เขาแพ้เรา 1 ประตูแต่ไปย้อนดูดีๆ ดูเขาพัฒนาขึ้นนะ ทั้งๆที่เขามีข้อจำกัดด้านประชากร
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=373720.0
https://ppantip.com/topic/36884887
Belgium’s blueprint that gave birth to a golden generation
พิมพ์เขียวของฟุตบอลเบลเยียมอันเป็นแหล่งกำเนิดของ Golden Generation
Stuart James
เขียนบทความโดย สจ๊วต เจมส์
มิเชล ซาบล็อง กับแผนพัฒนาฟุตบอลสิงคโปร์ เขาจะร่ายมนต์ในดินแดนเทมาเส็ก ได้หรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่าความจริงที่ว่า ความสำเร็จในการสร้างเยาวชนเบลเยียมไม่ได้มาจากใครคนใดคนหนึ่ง ทั้งสหพันธ์, ทั้งโค้ชหลายคน,ทั้งโรงเรียนกีฬา และทั้ง อคาเดมี่สโมสร ล้วนคือองค์ประกอบ ที่สำคัญคือองค์ประกอบดังว่าไม่จำเป้นต้องเห็นพ้องกันไปหมด!!!
The team of stars travelling to Brazil as fifth favourites are the result of a coaching revolution that started in 1998
ทีมชาติเบลเยียมที่อัดแน่นด้วยดาวดังเดินทางไปบอลโลก 2014 ด้วยการเป็นเต็ง 5 ซึ่งถือว่าทีมชุดนี้เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติระบบการสอนฟุตบอลของเบลเยียมที่เริ่มในปี 1998
แผนของ มิเชล ซาบล็อง ไม่ใช่จะประสบความสำเร็จทุกอย่างหรอก ตอนบอลโลก 1990 ที่อิตาลี ซาบล็องเป็นสตาฟโค้ชทีมชาติเบลเยียมอยู่ ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่เบลเยียมเสมอกับอังกฤษอยู่ก่อนหน้าจะหมดช่วงต่อเวลาพิเศษนั้น ซาบล็อง มองข้ามช็อตลิสต์รายชื่อนักเตะเบลเยียมที่จะเตะจุดโทษตัดสินใส่กระดาษแล้ว เขาพึ่งจะลิสต์รายชื่อเสร็จพอเงยหน้าขึ้นก็พบว่า เดวิด แพล็ต (กองกลางทีมชาติอังกฤษ) ยิงบอลผ่านมือ นายทวาร มิเชล พรูด้อม ของเบลเยียมเข้าไปเป็นประตูที่สวยงามลูกหนึ่งของบอลโลกหนนั้น ซาบล็องบอกว่า "แพล็ตยิงได้เยี่ยมมาก แต่ผมโคตรเสียใจเลย" ซาบล็องกล่าว "ผมขว้างกระดาษลิสต์รายชื่อยิงจุดโทษทิ้งเลย"
เดวิด แพล็ต ยิงผ่านมือ มิเชล พรูด้อม เป็นประตูชัย ทำเอา มิเชล ซาบล็อง ขว้างรายชื่อเตะจุดโทษทิ้งเลย
อีกสิบกว่าปีถัดมา ซาบล็อง เริ่มร่างอะไรในกระดาษอีกครั้ง คราวนี้ร่างด้วยความตั้งใจที่จะปฏิวัติวงการบอลเบลเยียมในฐานะที่เขาเป็นประธานเทคนิกสหพันธ์ฺฟุตบอลเบลเยียม ที่สำนักงานใหญ่สหพันธ์ฯในกรุงบรัสเซล ซาบล็องส่งงานร่างนั้นในเดือน กันยายน 2006 โดยมีชื่อรายงาน(แผน)ว่า "วิศัยทัศน์พัฒนาบอลเบลเยียม" พอผู้สื่อข่าวถามในปี 2014 ว่าที่เบลเยี่ยมมาบอลโลก 2014 ด้วยการเป็นเต็ง 5 นี้ถือว่าเป็นไปตามที่ซาบล็องคาดไว้ไหม ซาบล็องตอบว่า "ไม่เลย"
การที่เบลเยียมก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในชาติชั้นนำด้านฟุตบอลนั้นถือว่าเหนือความคาดหมาย ประเทศที่มีประชากรเพียง 11 ล้านคน และมีสโมสรบอลอาชีพเพียง 34 ทีมที่กระจายในเพียง 2 ดิวิชั่น ประเทศเล็กๆประเทศนี้ผลิตทีมชาติที่อัดแน่นด้วยดาวดังจนได้ฉายาว่า Golden Generation
ทีมชาติเบลเยียมชุดใหญ่ที่ไปบอลโลก 2014 เต็มไปด้วยนักเตะชื่อดัง ค่าตัวหลายรวมกันหลายร้อยล้านปอนด์และเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีกเป็นส่วนใหญ่ นักเตะชุดนี้เล่นด้วยกันมาหลายปีและจะเล่นกันไปอีกหลายปี- นักเตะทีมชาติเบลเยียมชุดบอลโลก 2014 มีอายุต่ำกว่า 27 ปีเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง แดเนียล ฟานบุยเต็นที่อายุเข้าเลข 3 ซาบล็องบอกว่า "กำลังเจ๋งเลย" "แต่การที่เด็กขึ้นกันมาเป็นแผงแบบนี้ ผมว่าเบลเยียมเราก็ถือว่าโชคดีนะ"
Golden Gen. ของเบลเยียม
เริ่มมีการปฏิวัติกันในสหพันธ์ในปี 1998 ตอนเบลเยียมตกรอบแรกบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส บ็อบ บราวเวย์ส ที่เคยเป็นโค้ชทีมเยาวชนเบลเยียมในทุกระดับอายุและถือเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ร่างแผนมากับซาบล็อง บอกว่าตอนนั้น "ไม่มีแผนหลักในการพัฒนาเยาวชน" บ็อบจำได้ว่ามีการเรียกประชุมโค้ชของสหพันธ์ 30 คนที่มาจากทั้งภูมิภาคที่พูดภาษาดัชต์และที่พูดภาษาฝรั่งเศส เพื่อมาประชุมหาทางพลิกเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเยาวชน
"บอกก่อนเลยว่าตอนปลายทศวรรษ 1990 นั้นในเบลเยียมเราเล่นแบบมาร์คตัว man to man บางครั้งก็เล่นแบบมีตัวกวาด ฟอร์เมชันที่เล่นก็ 4-4-2 ไม่ก็ 3-5-2 ซึ่งทำให้ทีมชาติชุดใหญ่มีผลงานดีเพราะเราเล่นกันแบบมีระบบ แต่ว่ามันเป็นการเล่นแบบเน้นรับแล้วโต้กลับ" บ็อบ บราวเวย์ส กล่าว
บ็อบกับพรรคพวกนั้นไปซึมซับปรัชญาและวิธีการฝึกบอลจากฮอลแลนด์และฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือและใต้ของเบลเยียม และเขาก็เคยไปทีม อาแจ็กซ์ และ บาร์เซโลน่า พวกเขาจึงนำเสนอให้ทีมเยาวชนเบลเยียมทุกชุดเล่นระบบ 4-3-3 และเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับ formation นี้ก็ต้องสร้างนักเตะในแบบใหม่ขึ้น
"ถือเป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่แต่เราเชื่อในขณะนั้นนะว่า 4-3-3 ถือเป็นระบบที่แกร่งที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของนักเตะเรา" เขากล่าว "ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราต้องปรับปรุงเรื่องทักษะการเลื้อย เราบอกในแผนวิศัยทัศน์เลยนะว่าหัวใจก็คือการต่อสู้แบบ 1 ต่อ 1 (หมายถึงการฝึกการเลี้ยงกินตัว) เราเขียนไว้เลยว่าเวลาเด็กหัดเตะบอล โค้ชต้องสอนเรื่องการเลื้อยก่อนเลย ให้เด็กเลี้ยงบอลอย่างอิสระ"
4-3-3 เดี๋ยวอ่านต่อไปท่านจะรู้ครับว่าไม่ใช่ทุกอคาเดมี่จะเชื่อตามนี้
1 v1 หรือ เลี้ยงกินตัว ฐานสำคัญในการสร้างทักษะการเลี้ยงและเลื้อยที่จำเป็นต่อการเล่น 4-3-3
พอตอนที่ซาบล็องเข้ามาเป็นประธานเทคนิกนั้น ก็ถือว่าเบลเยียมมีปรัชญาฟุตบอลในระดับหนึ่งแล้วแต่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอยมากนัก ซาบล็องจึงเข้ามาทำให้มันเข้ารูปเข้ารอยและต่อยอด เขามาได้ถูกที่ถูกเวลาคือหลังเบลเยียมเป็นเจ้าภาพร่วมบอลยูโร 2000 ซึ่งแม้ทีมชาติเบลเยียมชุดนั้นเล่นไม่ดีและตกรอบแรกแต่ในฐานะเจ้าภาพทางสหพันธ์ก็ได้เงินมาเยอะ
ซาบล็องจึงเอาเงินนั้นมาลงกับการพัฒนาเยาวชน มีการสร้างอคาเดมี่แห่งชาติที่ ทูบิซ ชานกรุงบรัสเซล และพอสหพันธ์ประกาศว่าจะเปิดอบรมโค้ชบอลแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายคนก็มาสมัครคอร์สโค้ชบอลระดับเบื้องต้นเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว มีการจ้างบริษัทชื่อ Double PASS ซึ่งทำงานภายใต้มหาวิทยาลัยบรัสเซล มาเป็นตัวกลางคอยตรวจสอบการทำงานของอคาเดมี่ในระดับสโมสรและให้คำแนะนำ (พรีเมียร์อังกฤษก็เริ่มจ้างบริษัทนี้เมื่อ 9 ปีก่อน)
จะสร้างนักเตะดีได้ ต้องสร้างโค้ชให้ดีซะก่อน ให้เข้าใจปรัชญาการเล่นซะก่อน ไม่ต้องถึงขนาดอบรมฟรีเหมือนเบลเยียมก้ได้ครับ
ในขณะเดียวกันซาบล็องก็แต่งตั้งให้มหาวิทยาลัย ลูแวง ทำการศึกาาเพิ่มเติมเรื่องบอลเยาวชนเบลเยียม ซึ่งเป็นการศึกษาจากบอลเยาวชนทุกระดับอายุ 1,500 นัด ซาบล็องทำงานใกล้ชิดกับบรรดาสโมสรเป็นระยะเวลาหนึ่ง มีการจัดประชุมกันเป็นประจำกับหัวหน้าอคาเดมี่เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและกระตุ้นให้อคาเดมี่ให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงบอลเบลเยียม แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยหรอก
ซาบล็องบอกว่าผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย ลูแวง ถือเป็นจุดเปลี่ยน "นั่นเป็นเหตุว่าทำไมเราจึงเริ่มด้วยการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ ถ้าเราแสดงตัวเลขให้อคาเดมี่สโมสรเห็นว่าเด็กในระดับ U8 และ U9 แตะบอล 2 ครั้งในเวลาครึ่งชั่วโมง ไม่มีใครหริกที่จะพอใจกับตัวเลขนี้ การมีตัวเลขทำให้มีหลักฐานชัด และคนวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้แหละคือตัวจักรสำคัญ ดังเช่น แวร์เนอร์ เฮลเซ่น ที่เคยเป็นนักเตะและโค้ชในระดับ D2 มาก่อน ในเวลาต่อมาเขาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยและเป็นฮาร์ดคอร์บอลตัวจริง"
การวิเคราะห์หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ สถิติจากการวิเคราะห์คือสิ่งที่จะชี้ว่าจะแก้ถูกจุดไหม?
หนึ่งในสิ่งที่รายงานของมหาวิทยาลัยบ่งบอกไว้ก็คือตอนนั้นมีการเน้นไปที่ผลการแข่งขันมากไปแต่เน้นไปที่การปรับปรุงพัฒนาน้อยไป และก็มีหลักฐานที่สนับสนุนว่าทฤษฎีของสหพันธ์ฯที่ให้เด็กเล่นแบบ 2v2, 5v5 และ 8v8 นั้นถือเป็นบอลโต๊ะเล็กที่ดีที่สุดที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเลื้อยและการผ่านบอลทแยง ซึ่งการเลื้อยและการผ่านบอลทแยงสนามถือเป็นหัวใจของระบบ 4-3-3
เรามีฟุตซอลแนวหน้าเอเซีย เล่นเกมรุกเป็นหลักซะด้วย แม้วันนี้ฟุตซอลเริ่มแยกชัดเจนออกจากฟุตบอล แต่มันเป้นตัวบอกอย่างหนึ่งว่าคนไทยเรานั้นเรื่องทักษะส่วนตัวในแบบโต๊ะเล็กนั้นไปได้ครับ แต่ทำไมฟุตบอลไทยแทบไม่เห็นการเลี้ยงกินตัว?
เพื่อที่จะกระจายความรู้ให้ทั่วประเทศ ซาบล็อง จัด พรีเซ็นเตชั่นมากกว่า 100 ครั้ง "ผมไปอธิบายให้เขาดูด้วยวีดีโอและทุกอย่างที่มี แล้วก็ผมก็ลงสนามไปกับเหล่าโค้ชที่กำลังซ้อมเด็ก ใช้เวลาแต่ละครั้งร่วม 4 ชั่วโมงเลย" ซาบล็องกล่าว
"มีครั้งหนึ่งผมกล่าวกับนายกสหพันธ์ว่า: ผมไม่ยอมเริ่มการพรีเซ็นต์" ท่านนายกฯถามว่า "เกิดอะไรขึ้นล่ะ?" ผมบอกว่า "ผมขอให้บรรดาอคาเดมี่จัดอันดับนักเตะ U7 และ U8" "คุณลองคิดดูสิว่ามันจะมั่วขนาดไหนที่เอารายชื่อเด็ก 300 คนขึ้นชาร์ต? พวกเขาจัดอันดับโดยใช้ค้อนตอกตะปูติดฝาเอา หลังจากนั้นผมก็บอกพวกเขาว่า: นี่หละเป็นตัวบอกว่าการจัดอันดับ(หมายถึงการเน้นผลการแข่งขันมากไปในระดับเยาวชน)มันไม่ถูกทาง ต้องพัฒนาทักษะนักเตะก่อน"
บอลเด็ก เน้นพัฒนา อย่าเน้นผล เวลาเด็กมันแพ้มาต่อให้ U16 U19 วิจารณ์ได้ครับ แต่อย่าถึงขั้นด่าจนทีมงานเบื่อชีวิต
ฝากถึง ท่านสมยศ ฝ่ายพัฒนาเทคนิคที่สร้าง Golden gen ให้เบลเยียม เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน
จำได้ไหมว่า ยู 16 เราพึ่งเจอสิงค์โปร์มา เขาแพ้เรา 1 ประตูแต่ไปย้อนดูดีๆ ดูเขาพัฒนาขึ้นนะ ทั้งๆที่เขามีข้อจำกัดด้านประชากร
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=373720.0
https://ppantip.com/topic/36884887
Belgium’s blueprint that gave birth to a golden generation
พิมพ์เขียวของฟุตบอลเบลเยียมอันเป็นแหล่งกำเนิดของ Golden Generation
Stuart James
เขียนบทความโดย สจ๊วต เจมส์
มิเชล ซาบล็อง กับแผนพัฒนาฟุตบอลสิงคโปร์ เขาจะร่ายมนต์ในดินแดนเทมาเส็ก ได้หรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่าความจริงที่ว่า ความสำเร็จในการสร้างเยาวชนเบลเยียมไม่ได้มาจากใครคนใดคนหนึ่ง ทั้งสหพันธ์, ทั้งโค้ชหลายคน,ทั้งโรงเรียนกีฬา และทั้ง อคาเดมี่สโมสร ล้วนคือองค์ประกอบ ที่สำคัญคือองค์ประกอบดังว่าไม่จำเป้นต้องเห็นพ้องกันไปหมด!!!
The team of stars travelling to Brazil as fifth favourites are the result of a coaching revolution that started in 1998
ทีมชาติเบลเยียมที่อัดแน่นด้วยดาวดังเดินทางไปบอลโลก 2014 ด้วยการเป็นเต็ง 5 ซึ่งถือว่าทีมชุดนี้เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติระบบการสอนฟุตบอลของเบลเยียมที่เริ่มในปี 1998
แผนของ มิเชล ซาบล็อง ไม่ใช่จะประสบความสำเร็จทุกอย่างหรอก ตอนบอลโลก 1990 ที่อิตาลี ซาบล็องเป็นสตาฟโค้ชทีมชาติเบลเยียมอยู่ ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่เบลเยียมเสมอกับอังกฤษอยู่ก่อนหน้าจะหมดช่วงต่อเวลาพิเศษนั้น ซาบล็อง มองข้ามช็อตลิสต์รายชื่อนักเตะเบลเยียมที่จะเตะจุดโทษตัดสินใส่กระดาษแล้ว เขาพึ่งจะลิสต์รายชื่อเสร็จพอเงยหน้าขึ้นก็พบว่า เดวิด แพล็ต (กองกลางทีมชาติอังกฤษ) ยิงบอลผ่านมือ นายทวาร มิเชล พรูด้อม ของเบลเยียมเข้าไปเป็นประตูที่สวยงามลูกหนึ่งของบอลโลกหนนั้น ซาบล็องบอกว่า "แพล็ตยิงได้เยี่ยมมาก แต่ผมโคตรเสียใจเลย" ซาบล็องกล่าว "ผมขว้างกระดาษลิสต์รายชื่อยิงจุดโทษทิ้งเลย"
เดวิด แพล็ต ยิงผ่านมือ มิเชล พรูด้อม เป็นประตูชัย ทำเอา มิเชล ซาบล็อง ขว้างรายชื่อเตะจุดโทษทิ้งเลย
อีกสิบกว่าปีถัดมา ซาบล็อง เริ่มร่างอะไรในกระดาษอีกครั้ง คราวนี้ร่างด้วยความตั้งใจที่จะปฏิวัติวงการบอลเบลเยียมในฐานะที่เขาเป็นประธานเทคนิกสหพันธ์ฺฟุตบอลเบลเยียม ที่สำนักงานใหญ่สหพันธ์ฯในกรุงบรัสเซล ซาบล็องส่งงานร่างนั้นในเดือน กันยายน 2006 โดยมีชื่อรายงาน(แผน)ว่า "วิศัยทัศน์พัฒนาบอลเบลเยียม" พอผู้สื่อข่าวถามในปี 2014 ว่าที่เบลเยี่ยมมาบอลโลก 2014 ด้วยการเป็นเต็ง 5 นี้ถือว่าเป็นไปตามที่ซาบล็องคาดไว้ไหม ซาบล็องตอบว่า "ไม่เลย"
การที่เบลเยียมก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในชาติชั้นนำด้านฟุตบอลนั้นถือว่าเหนือความคาดหมาย ประเทศที่มีประชากรเพียง 11 ล้านคน และมีสโมสรบอลอาชีพเพียง 34 ทีมที่กระจายในเพียง 2 ดิวิชั่น ประเทศเล็กๆประเทศนี้ผลิตทีมชาติที่อัดแน่นด้วยดาวดังจนได้ฉายาว่า Golden Generation
ทีมชาติเบลเยียมชุดใหญ่ที่ไปบอลโลก 2014 เต็มไปด้วยนักเตะชื่อดัง ค่าตัวหลายรวมกันหลายร้อยล้านปอนด์และเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีกเป็นส่วนใหญ่ นักเตะชุดนี้เล่นด้วยกันมาหลายปีและจะเล่นกันไปอีกหลายปี- นักเตะทีมชาติเบลเยียมชุดบอลโลก 2014 มีอายุต่ำกว่า 27 ปีเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง แดเนียล ฟานบุยเต็นที่อายุเข้าเลข 3 ซาบล็องบอกว่า "กำลังเจ๋งเลย" "แต่การที่เด็กขึ้นกันมาเป็นแผงแบบนี้ ผมว่าเบลเยียมเราก็ถือว่าโชคดีนะ"
Golden Gen. ของเบลเยียม
เริ่มมีการปฏิวัติกันในสหพันธ์ในปี 1998 ตอนเบลเยียมตกรอบแรกบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส บ็อบ บราวเวย์ส ที่เคยเป็นโค้ชทีมเยาวชนเบลเยียมในทุกระดับอายุและถือเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ร่างแผนมากับซาบล็อง บอกว่าตอนนั้น "ไม่มีแผนหลักในการพัฒนาเยาวชน" บ็อบจำได้ว่ามีการเรียกประชุมโค้ชของสหพันธ์ 30 คนที่มาจากทั้งภูมิภาคที่พูดภาษาดัชต์และที่พูดภาษาฝรั่งเศส เพื่อมาประชุมหาทางพลิกเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเยาวชน
"บอกก่อนเลยว่าตอนปลายทศวรรษ 1990 นั้นในเบลเยียมเราเล่นแบบมาร์คตัว man to man บางครั้งก็เล่นแบบมีตัวกวาด ฟอร์เมชันที่เล่นก็ 4-4-2 ไม่ก็ 3-5-2 ซึ่งทำให้ทีมชาติชุดใหญ่มีผลงานดีเพราะเราเล่นกันแบบมีระบบ แต่ว่ามันเป็นการเล่นแบบเน้นรับแล้วโต้กลับ" บ็อบ บราวเวย์ส กล่าว
บ็อบกับพรรคพวกนั้นไปซึมซับปรัชญาและวิธีการฝึกบอลจากฮอลแลนด์และฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือและใต้ของเบลเยียม และเขาก็เคยไปทีม อาแจ็กซ์ และ บาร์เซโลน่า พวกเขาจึงนำเสนอให้ทีมเยาวชนเบลเยียมทุกชุดเล่นระบบ 4-3-3 และเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับ formation นี้ก็ต้องสร้างนักเตะในแบบใหม่ขึ้น
"ถือเป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่แต่เราเชื่อในขณะนั้นนะว่า 4-3-3 ถือเป็นระบบที่แกร่งที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของนักเตะเรา" เขากล่าว "ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราต้องปรับปรุงเรื่องทักษะการเลื้อย เราบอกในแผนวิศัยทัศน์เลยนะว่าหัวใจก็คือการต่อสู้แบบ 1 ต่อ 1 (หมายถึงการฝึกการเลี้ยงกินตัว) เราเขียนไว้เลยว่าเวลาเด็กหัดเตะบอล โค้ชต้องสอนเรื่องการเลื้อยก่อนเลย ให้เด็กเลี้ยงบอลอย่างอิสระ"
4-3-3 เดี๋ยวอ่านต่อไปท่านจะรู้ครับว่าไม่ใช่ทุกอคาเดมี่จะเชื่อตามนี้
1 v1 หรือ เลี้ยงกินตัว ฐานสำคัญในการสร้างทักษะการเลี้ยงและเลื้อยที่จำเป็นต่อการเล่น 4-3-3
พอตอนที่ซาบล็องเข้ามาเป็นประธานเทคนิกนั้น ก็ถือว่าเบลเยียมมีปรัชญาฟุตบอลในระดับหนึ่งแล้วแต่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอยมากนัก ซาบล็องจึงเข้ามาทำให้มันเข้ารูปเข้ารอยและต่อยอด เขามาได้ถูกที่ถูกเวลาคือหลังเบลเยียมเป็นเจ้าภาพร่วมบอลยูโร 2000 ซึ่งแม้ทีมชาติเบลเยียมชุดนั้นเล่นไม่ดีและตกรอบแรกแต่ในฐานะเจ้าภาพทางสหพันธ์ก็ได้เงินมาเยอะ
ซาบล็องจึงเอาเงินนั้นมาลงกับการพัฒนาเยาวชน มีการสร้างอคาเดมี่แห่งชาติที่ ทูบิซ ชานกรุงบรัสเซล และพอสหพันธ์ประกาศว่าจะเปิดอบรมโค้ชบอลแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายคนก็มาสมัครคอร์สโค้ชบอลระดับเบื้องต้นเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว มีการจ้างบริษัทชื่อ Double PASS ซึ่งทำงานภายใต้มหาวิทยาลัยบรัสเซล มาเป็นตัวกลางคอยตรวจสอบการทำงานของอคาเดมี่ในระดับสโมสรและให้คำแนะนำ (พรีเมียร์อังกฤษก็เริ่มจ้างบริษัทนี้เมื่อ 9 ปีก่อน)
จะสร้างนักเตะดีได้ ต้องสร้างโค้ชให้ดีซะก่อน ให้เข้าใจปรัชญาการเล่นซะก่อน ไม่ต้องถึงขนาดอบรมฟรีเหมือนเบลเยียมก้ได้ครับ
ในขณะเดียวกันซาบล็องก็แต่งตั้งให้มหาวิทยาลัย ลูแวง ทำการศึกาาเพิ่มเติมเรื่องบอลเยาวชนเบลเยียม ซึ่งเป็นการศึกษาจากบอลเยาวชนทุกระดับอายุ 1,500 นัด ซาบล็องทำงานใกล้ชิดกับบรรดาสโมสรเป็นระยะเวลาหนึ่ง มีการจัดประชุมกันเป็นประจำกับหัวหน้าอคาเดมี่เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและกระตุ้นให้อคาเดมี่ให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงบอลเบลเยียม แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยหรอก
ซาบล็องบอกว่าผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย ลูแวง ถือเป็นจุดเปลี่ยน "นั่นเป็นเหตุว่าทำไมเราจึงเริ่มด้วยการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์ ถ้าเราแสดงตัวเลขให้อคาเดมี่สโมสรเห็นว่าเด็กในระดับ U8 และ U9 แตะบอล 2 ครั้งในเวลาครึ่งชั่วโมง ไม่มีใครหริกที่จะพอใจกับตัวเลขนี้ การมีตัวเลขทำให้มีหลักฐานชัด และคนวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้แหละคือตัวจักรสำคัญ ดังเช่น แวร์เนอร์ เฮลเซ่น ที่เคยเป็นนักเตะและโค้ชในระดับ D2 มาก่อน ในเวลาต่อมาเขาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยและเป็นฮาร์ดคอร์บอลตัวจริง"
การวิเคราะห์หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ สถิติจากการวิเคราะห์คือสิ่งที่จะชี้ว่าจะแก้ถูกจุดไหม?
หนึ่งในสิ่งที่รายงานของมหาวิทยาลัยบ่งบอกไว้ก็คือตอนนั้นมีการเน้นไปที่ผลการแข่งขันมากไปแต่เน้นไปที่การปรับปรุงพัฒนาน้อยไป และก็มีหลักฐานที่สนับสนุนว่าทฤษฎีของสหพันธ์ฯที่ให้เด็กเล่นแบบ 2v2, 5v5 และ 8v8 นั้นถือเป็นบอลโต๊ะเล็กที่ดีที่สุดที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเลื้อยและการผ่านบอลทแยง ซึ่งการเลื้อยและการผ่านบอลทแยงสนามถือเป็นหัวใจของระบบ 4-3-3
เรามีฟุตซอลแนวหน้าเอเซีย เล่นเกมรุกเป็นหลักซะด้วย แม้วันนี้ฟุตซอลเริ่มแยกชัดเจนออกจากฟุตบอล แต่มันเป้นตัวบอกอย่างหนึ่งว่าคนไทยเรานั้นเรื่องทักษะส่วนตัวในแบบโต๊ะเล็กนั้นไปได้ครับ แต่ทำไมฟุตบอลไทยแทบไม่เห็นการเลี้ยงกินตัว?
เพื่อที่จะกระจายความรู้ให้ทั่วประเทศ ซาบล็อง จัด พรีเซ็นเตชั่นมากกว่า 100 ครั้ง "ผมไปอธิบายให้เขาดูด้วยวีดีโอและทุกอย่างที่มี แล้วก็ผมก็ลงสนามไปกับเหล่าโค้ชที่กำลังซ้อมเด็ก ใช้เวลาแต่ละครั้งร่วม 4 ชั่วโมงเลย" ซาบล็องกล่าว
"มีครั้งหนึ่งผมกล่าวกับนายกสหพันธ์ว่า: ผมไม่ยอมเริ่มการพรีเซ็นต์" ท่านนายกฯถามว่า "เกิดอะไรขึ้นล่ะ?" ผมบอกว่า "ผมขอให้บรรดาอคาเดมี่จัดอันดับนักเตะ U7 และ U8" "คุณลองคิดดูสิว่ามันจะมั่วขนาดไหนที่เอารายชื่อเด็ก 300 คนขึ้นชาร์ต? พวกเขาจัดอันดับโดยใช้ค้อนตอกตะปูติดฝาเอา หลังจากนั้นผมก็บอกพวกเขาว่า: นี่หละเป็นตัวบอกว่าการจัดอันดับ(หมายถึงการเน้นผลการแข่งขันมากไปในระดับเยาวชน)มันไม่ถูกทาง ต้องพัฒนาทักษะนักเตะก่อน"
บอลเด็ก เน้นพัฒนา อย่าเน้นผล เวลาเด็กมันแพ้มาต่อให้ U16 U19 วิจารณ์ได้ครับ แต่อย่าถึงขั้นด่าจนทีมงานเบื่อชีวิต