ถามสนุกๆครับ คลายเครียด ว่าท่านชอบรูปแบบแผนการเล่น หรือ Formation แบบไหน โดยความชอบส่วนตัวนะครับ
อย่างแผนพัฒนาเยาวชนที่สร้าง Golden Gen. ให้เบลเยี่ยม ของ ซาบล็อง ประธานพัฒนาฝ่ายเทคนิคเบลเยียม
เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติระบบการสอนฟุตบอลของเบลเยียมที่เริ่มในสมัยตกรอบฟุตบอลโลกปี 1998
จากแผนดังกล่าว ก็พึ่งเริ่มผลิดอกออกผลเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
ประเทศที่มีประชากรเพียง 11.3 ล้านคน และมีสโมสรบอลอาชีพเพียง 34 ทีมที่กระจายในเพียง 2 ดิวิชั่น
Golden generation เบลเยี่ยม ผลิดอกออกผล ในปี 2013 ถึง ปัจจุบัน
ใช้ระยะเวลา 15 ปี ในการรอคอย นับแต่ปี 1998 (ซึ่งต้องมีความอดทนมากพอสมควร ของไทยเริ่มปี 2017)
ซาบล็อง ปัจจุบัน เป็นประธานพัฒนาฝ่ายเทคนิค ร่างแผนการพัฒนาเยาวชนให้กับสิงค์โปร์
ในปี 1998 บ็อบ บราวเวย์ส ที่เคยเป็นโค้ชทีมเยาวชนเบลเยียม บอกว่าตอนนั้น
"เบลเยียมไม่มีแผนหลักในการพัฒนาเยาวชน"
มีการเรียกประชุมโค้ชของสหพันธ์ 30 คนที่มาจากทั้งภูมิภาคที่พูดภาษาดัชต์และที่พูดภาษาฝรั่งเศส
เพื่อมาประชุมหาทางพลิกเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเยาวชน
"ปลายทศวรรษ 1990 นั้นในเบลเยียมเราเล่นแบบมาร์คตัว man to man บางครั้งก็เล่นแบบมีตัวกวาด ฟอร์เมชันที่เล่นก็ 4-4-2
ไม่ก็
3-5-2(แผนการเล่นทีมชาติไทยยุคราเยวัช) ซึ่ง
ทำให้ทีมชาติชุดใหญ่มีผลงานดีเพราะเราเล่นกันแบบมีระบบ แต่ว่ามันเป็นการเล่นแบบเน้นรับแล้วโต้กลับ" บ็อบ บราวเวย์ส
บ็อบกับพรรคพวกนั้นไปซึมซับปรัชญาและวิธีการฝึกบอลจากฮอลแลนด์และฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือและใต้ของเบลเยียม
และเขาก็เคยไปทีม อาแจ็กซ์ และ บาร์เซโลน่า พวกเขาจึงนำเสนอให้ทีมเยาวชนเบลเยียมทุกชุดเล่นระบบ 4-3-3
และเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับ formation นี้ก็ต้องสร้างนักเตะในแบบใหม่ขึ้น
"ถือเป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่แต่เราเชื่อในขณะนั้นนะว่า 4-3-3 ถือเป็นระบบที่แกร่งที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของนักเตะเรา" เขากล่าว "
ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราต้องปรับปรุงเรื่องทักษะการเลื้อย เราบอกในแผนวิศัยทัศน์เลยนะว่าหัวใจก็คือการต่อสู้แบบ 1 ต่อ 1
(หมายถึงการฝึกการเลี้ยงกินตัว) เราเขียนไว้เลยว่าเวลาเด็กหัดเตะบอล โค้ชต้องสอนเรื่องการเลื้อยก่อนเลย ให้เด็กเลี้ยงบอลอย่างอิสระ" บ็อบ บราวเวย์ส
ทฤษฎีของสหพันธ์ฯที่ให้เด็กเล่นแบบ 2v2, 5v5 และ 8v8 นั้นถือเป็นบอลโต๊ะเล็กที่ดีที่สุดที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเลื้อย
และการผ่านบอลทแยง ซึ่งการเลื้อยและการผ่านบอลทแยงสนามถือเป็นหัวใจของระบบ 4-3-3
คินเดอมันส์ยกตัวอย่างประกอบว่า อันเดอเลชท์เล่น formation 3-4-3 ตั้งแต่ระดับ U14 ขึ้นมาแทนที่จะเล่น 4-3-3
ตามแผนของซาบล็อง เขาอธิบายว่าทำไมจึงตัดสินใจเช่นนั้น
"ทุกครั้งที่เล่นเราพยายามจะครองบอลให้ได้ 70% ก็หมายความว่า
ถ้าเล่นหลัง 4 ตัวตังแต่เด็ก เด็กๆก็จะเล่นง่าย เราจึงให้เด็กเล่นหลัง 3 ตัวตั้งแต่เด็กเพื่อให้พวกเขาต้องกดดัน"
ปรัชญาการสร้างบอลของคินเดอมันส์นั้นชัดเจนมาก "ผมจะบอกให้ว่าที่อันเดอเลชท์นั้นเราห้ามเด็กเข้าปะทะเพื่อแย่งบอลบอลเด็ดขาด
เราให้เด็กแค่ดักทางหรือฉกบอลเท่านั้น เราทำแบบนี้จนเด็กเข้าสู่ระดับ U21 เป็นทีมสำรองของอันเดอเลชท์"
"จุดประสงค์ก็คือว่าเราต้องการสร้างสรรค์ทักษะเทคนิกให้นักบอลเยาวชน ดังนั้นถ้ากองหลังเราพยายามหยุดคู่ต่อสู้ด้วยการเข้าปะทะเพื่อแย่ง
ผมไม่ชอบ ผมอยากสอนให้ดีที่สุด: นั้นคือ เมื่อไรจะดักทางบอล? เมื่อไรควรถอยออกจากคู่ต่อสู้? ผมต้องการสร้างนักบอลที่มีสมอง ไม่ใช่นักฆ่า"
http://www.theguardian.com/football/blog/2014/jun/06/belgium-blueprint-gave-birth-golden-generation-world-cup-
http://en.wikipedia.org/wiki/Golden_generation
http://en.wikipedia.org/wiki/Formation_(association_football)
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=373720.0
ท่านอยากให้ทีมชาติไทยในระดับเยาวชนเล่น เล่นในรูปแบบ Formation ใด ผ่านแผนพัฒนาเยาวชนที่สร้าง Golden Gen เบลเยียม
อย่างแผนพัฒนาเยาวชนที่สร้าง Golden Gen. ให้เบลเยี่ยม ของ ซาบล็อง ประธานพัฒนาฝ่ายเทคนิคเบลเยียม
เป็นผลผลิตจากการปฏิวัติระบบการสอนฟุตบอลของเบลเยียมที่เริ่มในสมัยตกรอบฟุตบอลโลกปี 1998
จากแผนดังกล่าว ก็พึ่งเริ่มผลิดอกออกผลเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
ประเทศที่มีประชากรเพียง 11.3 ล้านคน และมีสโมสรบอลอาชีพเพียง 34 ทีมที่กระจายในเพียง 2 ดิวิชั่น
Golden generation เบลเยี่ยม ผลิดอกออกผล ในปี 2013 ถึง ปัจจุบัน
ใช้ระยะเวลา 15 ปี ในการรอคอย นับแต่ปี 1998 (ซึ่งต้องมีความอดทนมากพอสมควร ของไทยเริ่มปี 2017)
ซาบล็อง ปัจจุบัน เป็นประธานพัฒนาฝ่ายเทคนิค ร่างแผนการพัฒนาเยาวชนให้กับสิงค์โปร์
ในปี 1998 บ็อบ บราวเวย์ส ที่เคยเป็นโค้ชทีมเยาวชนเบลเยียม บอกว่าตอนนั้น "เบลเยียมไม่มีแผนหลักในการพัฒนาเยาวชน"
มีการเรียกประชุมโค้ชของสหพันธ์ 30 คนที่มาจากทั้งภูมิภาคที่พูดภาษาดัชต์และที่พูดภาษาฝรั่งเศส
เพื่อมาประชุมหาทางพลิกเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเยาวชน
"ปลายทศวรรษ 1990 นั้นในเบลเยียมเราเล่นแบบมาร์คตัว man to man บางครั้งก็เล่นแบบมีตัวกวาด ฟอร์เมชันที่เล่นก็ 4-4-2
ไม่ก็ 3-5-2(แผนการเล่นทีมชาติไทยยุคราเยวัช) ซึ่งทำให้ทีมชาติชุดใหญ่มีผลงานดีเพราะเราเล่นกันแบบมีระบบ แต่ว่ามันเป็นการเล่นแบบเน้นรับแล้วโต้กลับ" บ็อบ บราวเวย์ส
บ็อบกับพรรคพวกนั้นไปซึมซับปรัชญาและวิธีการฝึกบอลจากฮอลแลนด์และฝรั่งเศสซึ่งถือเป็นเพื่อนบ้านทางตอนเหนือและใต้ของเบลเยียม
และเขาก็เคยไปทีม อาแจ็กซ์ และ บาร์เซโลน่า พวกเขาจึงนำเสนอให้ทีมเยาวชนเบลเยียมทุกชุดเล่นระบบ 4-3-3
และเพื่อที่จะให้สอดคล้องกับ formation นี้ก็ต้องสร้างนักเตะในแบบใหม่ขึ้น
"ถือเป็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่แต่เราเชื่อในขณะนั้นนะว่า 4-3-3 ถือเป็นระบบที่แกร่งที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของนักเตะเรา" เขากล่าว "
ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราต้องปรับปรุงเรื่องทักษะการเลื้อย เราบอกในแผนวิศัยทัศน์เลยนะว่าหัวใจก็คือการต่อสู้แบบ 1 ต่อ 1
(หมายถึงการฝึกการเลี้ยงกินตัว) เราเขียนไว้เลยว่าเวลาเด็กหัดเตะบอล โค้ชต้องสอนเรื่องการเลื้อยก่อนเลย ให้เด็กเลี้ยงบอลอย่างอิสระ" บ็อบ บราวเวย์ส
ทฤษฎีของสหพันธ์ฯที่ให้เด็กเล่นแบบ 2v2, 5v5 และ 8v8 นั้นถือเป็นบอลโต๊ะเล็กที่ดีที่สุดที่ให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเลื้อย
และการผ่านบอลทแยง ซึ่งการเลื้อยและการผ่านบอลทแยงสนามถือเป็นหัวใจของระบบ 4-3-3
คินเดอมันส์ยกตัวอย่างประกอบว่า อันเดอเลชท์เล่น formation 3-4-3 ตั้งแต่ระดับ U14 ขึ้นมาแทนที่จะเล่น 4-3-3
ตามแผนของซาบล็อง เขาอธิบายว่าทำไมจึงตัดสินใจเช่นนั้น "ทุกครั้งที่เล่นเราพยายามจะครองบอลให้ได้ 70% ก็หมายความว่า
ถ้าเล่นหลัง 4 ตัวตังแต่เด็ก เด็กๆก็จะเล่นง่าย เราจึงให้เด็กเล่นหลัง 3 ตัวตั้งแต่เด็กเพื่อให้พวกเขาต้องกดดัน"
ปรัชญาการสร้างบอลของคินเดอมันส์นั้นชัดเจนมาก "ผมจะบอกให้ว่าที่อันเดอเลชท์นั้นเราห้ามเด็กเข้าปะทะเพื่อแย่งบอลบอลเด็ดขาด
เราให้เด็กแค่ดักทางหรือฉกบอลเท่านั้น เราทำแบบนี้จนเด็กเข้าสู่ระดับ U21 เป็นทีมสำรองของอันเดอเลชท์"
"จุดประสงค์ก็คือว่าเราต้องการสร้างสรรค์ทักษะเทคนิกให้นักบอลเยาวชน ดังนั้นถ้ากองหลังเราพยายามหยุดคู่ต่อสู้ด้วยการเข้าปะทะเพื่อแย่ง
ผมไม่ชอบ ผมอยากสอนให้ดีที่สุด: นั้นคือ เมื่อไรจะดักทางบอล? เมื่อไรควรถอยออกจากคู่ต่อสู้? ผมต้องการสร้างนักบอลที่มีสมอง ไม่ใช่นักฆ่า"
http://www.theguardian.com/football/blog/2014/jun/06/belgium-blueprint-gave-birth-golden-generation-world-cup-
http://en.wikipedia.org/wiki/Golden_generation
http://en.wikipedia.org/wiki/Formation_(association_football)
http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=373720.0