ภิกษุทั้งหลาย !
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้
ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฝึกฝนว่าให้ตน รู้ชัด ลมหายใจ เข้า ออก สั้น ยาว
ฝึกฝนว่าให้ตน รู้พร้อม กาย
ฝึกฝนว่าให้ตน ทำ ความปรุงแต่งทางกาย ให้รำงับ (ให้นิ่งๆ)
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฝึกฝนว่าให้ตน รู้พร้อม ปีติ (ที่ไม่อิงอามิส?)
ฝึกฝนว่าให้ตน รู้พร้อม สุข (ที่ไม่อิงอามิส?)
ฝึกฝนว่าให้ตน รู้พร้อม จิตสังขาร
ฝึกฝนว่าให้ตน ทำ จิตตสังขาร ให้รำงับ
((( จิตตสังขาร = การปรุงแต่งของจิต = เวทนา )))
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฝึกฝนว่าให้ตน รู้พร้อม จิต
ฝึกฝนว่าให้ตน ทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่งอยู่, ทำจิตให้ตั้งมั่น, ทำจิตให้ปล่อยอยู่
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฝึกฝนว่าให้ตน เห็นความไม่เที่ยง จางคลาย ดับไม่เหลือ สลัดคือ ในธรรมที่กล่าวมาข้างต้น
ภิกษุทั้งหลาย !
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล
ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้
ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล 2 ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ ;
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอให้ผู้ศึกษา พึงเปรียบเทียบเอาเองว่า อานาปานสติ มีความต่างจาก สติปัฏฐานสูตรอย่างไร
จากความเข้าใจของเรา อานาปานสติ น่าสนใจตรงที่มีคำว่า ฝึกฝนศึกษา,ฝึกหัดศึกษา ดังนั้นการเจริญอานาปานสติก็คือ การที่เราอยู่ในขั้นฝึกฝนและศึกษาในธรรมทั้งหลาย
เวทนา ในอานาปานสติ มีกิจให้รู้พร้อม 3 อย่างคือ ปีติ สุข และจิตสังขาร
ซึ่งปีติ และสุข เมื่อเทียบเคียงกับ สติปัฏฐานสูตรหมวดเวทนา จขกท.คิดว่า น่าจะเป็นส่วนของ สุขเวทนาที่ไม่อิงอามิส
ดังนั้นการที่พระสตรอานาปานสติระบุเฉพาะ สุขที่ไม่อิงอามิส เป็นเพราะว่าเรากำลังอยู่ในขั้น ฝึกฝนศึกษาอยู่นั่นเอง เราต้องไปทำความรู้จักกับสุขที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ส่วนสุขที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้วก็คือ กามสุข เราฝึกฝนศึกษาที่จะรู้จักสุขตัวอื่นที่ไม่ใช่ กามสุข
แต่ในสติปัฏฐาน จะระบุเวทนาที่มีทั้งหมดอย่างครบถ้วน นั้นคือเมื่อเราเจริญ อานาปานสติได้แล้ว เราย่อมรู้จัก ปีติ และ สุข เมื่อ สุขที่ไม่อิงอามิสดับลงไป สุขที่อิงอามิสเกิดขึ้น เมื่อเรารู้ตรงนี้ ย่อมชื่อว่า เจริญสติปัฏฐาน4
จิต ในอานาปานสติ กำหนดให้เรารู้พร้อมซึ่งจิต พร้อมทำอีก 3 ตัว คือ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง, ทำจิตให้ตั้งมั่น, ทำจิตให้ปล่อยอยู่ แต่ในสติปัฏฐานสูตร จะมีการรู้ชัดซึ่งจิต ใน แปดคู่อาการ ซึ่งเป็นการรู้ชัด ซึ่งจิต หลังจากที่จิตตั้งมั่นดีแล้วนั้นเอง จึงรู้ชัดว่าธรรมอันใดดำรงในจิต ณ ขณะนั้นๆ
ธรรม ในอานาปานสติ ให้เรา " เห็น " 4 อย่าง คือ ไม่เที่ยง, จางคลาย, ดับไม่เหลือ, สลัดคืน ซึ่งเปรียบเทียบกับสติปัฏฐาน หมวดธรรม แล้ว จะเห็นได้ว่า สติปัฏฐาน จะระบุชัดเจนว่า ธรรมอันใดบ้างที่ใช้เป็นฐานของสติ คือ นิวรณ์5, อุปาทานขันธ์5, สังโยชน์, โพชฌงค์, อริยสัจ4 ซึ่งสติปัฏฐานนั้น ใช้อกุศลธรรมคือ นิวรณ์5, อุปาทานขันธ์, สังโยชน์ มาเป็นฐานของสติด้วย หมายความว่า ขั้นอานาปานสติ เราเห็นแค่4 อย่าง แล้วพอไป สติปัฏฐาน เราก็เห็นว่าเป็นธรรมใดบ้าง
สรุปคือ อานาปานสติบริบูรณ์เมื่อใด สติปัฏฐานก็ย่อมบริบูรณ์เมื่อนั้น
และ ทั้งอานาปานสติ ก็มีความเหมือน และความต่าง แต่ว่าเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
หากผู้ใดเจริญอานาปานสติ ชื่อว่าผู้นั้นยังอยู่ในขั้นฝึกฝนศึกษาเพื่อรู้ในธรรมอื่นที่ตนยังไม่เคยรู้จักมาก่อน (เวทนาที่ไม่อิงอามิส, จิต, ไม่เที่ยงในหมวดธรรม เป็นต้น) ส่วนเมื่อมาเจริญสติปัฏฐาน ก็คือการสามารถใช้ได้ทั้งกุศล และอกุศล เป็นฐานของสติ เลย คือก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานได้นั้น เราต้องรู้จักแล้วว่า สุขที่ไม่อิงอามิสเป็นอย่างไร เราต้องทราบชัดซึ่งกุศลต่างๆดีแล้วระดับหนึ่ง และพอกุศลนั้นดับไป พอเรานำอกุศลมาเป็นฐานของสติ ก็ขึ้นชื่อว่ากำลังเจริญสติปัฏฐานอยู่
(อกุศลในที่นี้ หมายถึง สุข,ทุกข์,ไม่สุขไม่ทุกข์ที่อิงอามิส
จิตมีราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน จิตไม่เป็นมหรคต จิตไม่ตั้งมั่น
นิวรณ์5, อุปาทานขันธ์5, สังโยชน์
สรุปฝึกสติต้องขั้น อานาปานสติ ก่อน จึงจะสามารถใช้ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นฐานของสติ ได้ ค่ะ
มันยากตรงไหนรู้ไหม ตอนเริ่มทำอานาปานสตินี่แหละ มีตั้ง 16 อย่าง แต่ถ้าพอทำได้ปุ๊บ ธรรมต่างๆย่อมไหลมา สติปัฏฐานย่อมไหลมา
ธรรมย่อมไหลมาสู่ธรรม โดยเริ่มต้นจากอานาปานสติ อย่างนี้
เมื่ออานาปานสติบริบูรณ์ สติปัฏฐาน4 ย่อมบริบูรณ์
เมื่อสติปัฏฐาน4 บริบูรณ์ โพชฌงค์7 ย่อมบริบูรณ์
เมื่อโพชฌงค์7 บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตติย่อมบริบูรณ์
บริบูรณ์ หมายความว่า... เจริญให้เต็มรอบแล้วนะ เจริญมากแล้ว จนเป็นเหตุให้ธรรมอื่นบริบูรณ์ไปด้วย
เปรียบเทียบเองนะว่า อานาปานสติและ สติปัฏฐาน4 เหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ สติปัฏฐานสูตร
หมวดกาย
1. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=4
2. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=5
3. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=6
4. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=7
5. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=8
6. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=9
7. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=10
8. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=11
9. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=12
10. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=13
11. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=14
12. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=15
13. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=16
14. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=17
15. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=18
หมวดเวทนา
16. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=19
หมวดจิต
17. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=20
หมวดธรรม
18. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=21
19. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=22
20. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=23
21. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=24
22. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=25
23. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=26
24. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=27
25. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=28
26. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=29
27. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=30
อานิสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน4
28. https://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=1814836&chapter=31
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
ทำ ความ เข้า ใจ พระ สูตร " อา นา ปาน สติ "
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่?
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้
ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”
เธอย่อมทำการฝึกฝนศึกษา
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภิกษุทั้งหลาย !
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล
ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้
ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล 2 ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ ;
คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เปรียบเทียบเองนะว่า อานาปานสติและ สติปัฏฐาน4 เหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้