Bloomberg Economics ได้จัดอันดับดัชนีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ (Vulnerability Index) ในกลุ่มประเทศ ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) 19 ประเทศ คำนวณจากตัวแปรทางเศรษฐกิจ 4 ตัวแปร โดยการเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากัน ได้แก่ ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรองระหว่างประเทศ หนี้ต่างประเทศ และอัตราเงินเฟ้อ โดยพบว่าในบรรดาประเทศที่ทำการศึกษา ประเทศที่มีความเปราะบางมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ ตุรกี ตามมาด้วย อาร์เจนตินา และโคลอมเบีย
.
สำหรับกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน อินโดนีเซียมีความเปราะบางมากที่สุด เนื่องจากมีอัตราเงินเฟ้อสูง และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่ำ
.
ในประเทศที่ทำการศึกษา ไทยมีความเข้มแข็งของเสถียรภาพทางการเงินอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากไต้หวัน และเกาหลีใต้ (ที่ครองอันดับ 1 เท่ากัน) นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา โดยเสถียรภาพภาคการเงินและต่างประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ไทยได้รับผลกระทบจากภายนอกน้อยกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ การเปลี่ยนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ไปเป็นแบบลอยตัว รวมถึงการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตของโลกมากขึ้น จึงได้อานิสงส์จากการขยายตัวของอุปสงค์ต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกือบทุกปี และมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับมีหนี้ต่างประเทศ และอัตราเงินเฟ้อต่ำ ไทยจึงได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ น้อยกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ
.
อันดับความเปราะบางทางเศรษฐกิจ (Vulnerability Index) ในกลุ่มประเทศ Emerging Market (เปราะบางน้อยไปมาก)
อันดับ 1 เกาหลีและไต้หวัน
อันดับ 3 ไทยและจีน
อันดับ 5 ซาอุดีอาระเบีย
อันดับ 6 มาเลเซีย
อันดับ 7 เปรู
อันดับ 8 ชิลี
อันดับ 9 โปแลนด์
อันดับ 10 รัสเซีย
อันดับ 11 อินเดีย และฟิลิปปินส์
อันดับ 13 บราซิล
อันดับ 14 อินโดนีเซีย
อันดับ 15 เม็กซิโก
อันดับ 16 แอฟริกาใต้
อันดับ 17 โคลอมเบีย
อันดับ 18 อาร์เจนตินา
อันดับ 19 ตุรกี
ที่มา :
https://www.bloomberg.com/…/turkey-was-ripe-for-a-currency-…
Bloomberg Economics ได้จัดอันดับดัชนีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ (Vulnerability Index) ในกลุ่มประเทศ ตลาดเกิดใหม่ ไทยอันดับ3
.
สำหรับกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน อินโดนีเซียมีความเปราะบางมากที่สุด เนื่องจากมีอัตราเงินเฟ้อสูง และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่ำ
.
ในประเทศที่ทำการศึกษา ไทยมีความเข้มแข็งของเสถียรภาพทางการเงินอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากไต้หวัน และเกาหลีใต้ (ที่ครองอันดับ 1 เท่ากัน) นับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา โดยเสถียรภาพภาคการเงินและต่างประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ไทยได้รับผลกระทบจากภายนอกน้อยกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ การเปลี่ยนจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ไปเป็นแบบลอยตัว รวมถึงการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตของโลกมากขึ้น จึงได้อานิสงส์จากการขยายตัวของอุปสงค์ต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกือบทุกปี และมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับมีหนี้ต่างประเทศ และอัตราเงินเฟ้อต่ำ ไทยจึงได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ น้อยกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ
.
อันดับความเปราะบางทางเศรษฐกิจ (Vulnerability Index) ในกลุ่มประเทศ Emerging Market (เปราะบางน้อยไปมาก)
อันดับ 1 เกาหลีและไต้หวัน
อันดับ 3 ไทยและจีน
อันดับ 5 ซาอุดีอาระเบีย
อันดับ 6 มาเลเซีย
อันดับ 7 เปรู
อันดับ 8 ชิลี
อันดับ 9 โปแลนด์
อันดับ 10 รัสเซีย
อันดับ 11 อินเดีย และฟิลิปปินส์
อันดับ 13 บราซิล
อันดับ 14 อินโดนีเซีย
อันดับ 15 เม็กซิโก
อันดับ 16 แอฟริกาใต้
อันดับ 17 โคลอมเบีย
อันดับ 18 อาร์เจนตินา
อันดับ 19 ตุรกี
ที่มา : https://www.bloomberg.com/…/turkey-was-ripe-for-a-currency-…