"สะสางปัญหาการจราจร"
🚝🚦"ลุงตู่แจ้งประชาชนที่ต้องทำรถไฟฟ้าหลายสายเพื่ออนาคต"
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พยายามเร่งแก้ปัญหาจราจร โดยการสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ซึ่งการสร้างเพื่อลดการใช้รถส่วนตัว รัฐบาลนี้เร่งสร้าง เร่งทำสัญญา แต่ปัญหาคือที่ดินของประชาชน และต้องมีการแก้กฎหมายผังเมือง เรื่องนี้รัฐบาลจะพยายามทำเต็มที่
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2561 เวลา 20.15 น.
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผมก็ได้มีโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการด้านการจราจร ซึ่งมีปัญหากับการสัญจรไปมาของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ก็จะเน้นในเรื่องของการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร มีการเยี่ยมศูนย์ควบคุมการจราจร บก. 02 แล้วก็ฟังการบรรยายสรุปจากหลายหน่วยงานด้วยกัน ของกระทรวงคมนาคมด้วย และในส่วนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็ได้พูดคุยกันถึงเรื่องการเชื่อมโยง เรื่องล้อ ราง แล้วก็เรือ เป็นเป้าหมายของเราในอนาคต ที่เราจะต้องอาศัยเวลาในการทำงาน หลายปีที่ผ่านมานั้นเราไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ควรจะเป็น วันนี้ก็เลยต้องใช้เวลา หรือทำให้เกิดปัญหาการจราจรเพิ่มขึ้น ด้วยการเร่งสร้าง เร่งโครงการต่าง ๆ มากมายในเวลาเดียวกัน อาจจะส่งผลกระทบต่อการสัญจรไปมาของพี่น้องชาว กทม. และปริมณฑลอยู่ในปัจจุบัน ก็คงต้องช่วยกันครับขอให้อดทนไประยะหนึ่ง อีกไม่นานเราก็จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น วันนี้จะเล่าให้ฟังถึงสภาพปัญหา จนนำไปสู่แนวทางแก้ไขของรัฐบาลในปัจจุบัน ว่าจะเป็นไปได้ได้อย่างไร
ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าปัญหาจราจรติดขัดนี้เป็นปัญหาที่สะสม ทั้งนี้ เนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของเมือง ที่อาจจะไร้ยุทธศาสตร์ ไร้ข้อจำกัด ไม่เป็นไปตามผังเมือง หากว่าผังเมืองที่ว่านั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับประชาชนไปด้วย เพราะฉะนั้นผังเมืองที่ออกมา บางครั้งอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ เพราะว่าประชาชนไม่ยินยอม ในการที่จะจัดทำผังเมืองใหม่ ก็เลยเกิดปัญหาซ้ำซ้อนตามกันมาอีก ในขณะที่มีการเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางเมือง เพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งทำงาน ส่งลูกหลาน ติดต่อธุรกิจ ท่องเที่ยว ของคนกว่า 15 ล้านคน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่จำกัด 1,500 กว่าตารางกิโลเมตร ถ้าคำนวณกันเป็นความหนาแน่นก็จะมากกว่า 9,500 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ก็ถือว่าแออัดมาก และผิวการจราจรก็ไม่สามารถรองรับได้อย่างสมดุล ในปี 2560 นั้นมีจำนวนรถยนต์สะสม กว่า 6.6 ล้านคัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4% ต่อปี ถ้าเราจะมองให้เห็นภาพ ก็คือมีรถจดทะเบียนใหม่ทุกวัน ๆ ละ 700 คัน และรถจักรยานยนต์ 400 คัน ในขณะที่การสัญจรของรถ ต้องอาศัยถนน มีผิวการจราจรที่สร้างเพิ่มขึ้นได้ยาก แพง แล้วก็นาน แล้วก็ติดที่ของเอกชนเกือบทั้งหมด ปัจจุบันนั้น กทม. มีถนนประมาณ 4,300 กิโลเมตร เป็นถนนสายหลักเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น หากเทียบ พื้นที่ถนนเป็นร้อยละแล้ว กรุงเทพฯ มีเพียง 6.8% ในขณะที่มหานคร เมืองใหญ่ ๆ ของโลก เช่น นิวยอร์ก ลอนดอน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มีพื้นที่ถนน 21 - 36% แต่อย่าคิดว่าเขาไม่ติดนะครับ เขาก็ติดคล้าย ๆ เรานี่แหละ ทั้ง ๆ ที่เขามีพื้นที่ถนนมากกว่าเรา อาจจะถึง 2-3 เท่า เพราะฉะนั้นรวมทั้งความต้องการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาก็มากขึ้นอีก สะพานที่เรามีอยู่ในปัจจุบันก็จำนวนจำกัด เราก็มีการวางแผนจะสร้างใหม่เพิ่มขึ้น ก็สร้างไม่ได้ ก็ยังต้องฟังความคิดเห็นประชาชนอีก จากการศึกษาพบว่าในปี 2564 เราจะมีความต้องการข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 480,000 คนต่อวัน และในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 840,000 คนต่อวัน
ปัญหาสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การเชื่อมโยงทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อแนวตะวันตก ตะวันออก ซึ่งมีปัญหาการเชื่อมโยงตรงนี้อยู่เหมือนกัน ตะวันตก - ตะวันออกของเรา แล้วทำอย่างไรจะสอดคล้องรองรับกับทางด่วนและวงแหวนต่าง ๆ ทั้งทางขึ้น - ทางลง เพื่อให้เกิดการไหลเวียน การสัญจรบนถนน ในพื้นที่ชั้นนอก - ชั้นใน ไม่ติดขัด ไม่อย่างนั้นก็ขึ้นทางด่วน ลงมาแล้วขึ้นใหม่ ก็เลยติดกันทั้งข้างบน ข้างล่าง รวมไปถึงจุดตัดรถไฟ วงเวียน และแยกไฟแดง ที่ต้องมีการคำนวณเวลาและปริมาณรถด้วย สำหรับแนวทางแก้ปัญหานั้น ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการก็คือ ส่งเสริมให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะการผลักดันให้ระบบรางเป็นแกนหลักในการเดินทางและขนส่ง สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล นั้น ภายในปี 2575 อีก 15 ปี จะต้องเร่งลงทุนสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร ประกอบกับนโยบาย One Transport ที่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ การเดินทาง ล้อ ราง เรือ แบบไร้รอยต่อให้ได้ ทั้งในเรื่องของการเชื่อมโยง ทั้งในเรื่องของการขนานกันไป เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกให้เข้าถึงบริการระบบขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ทั้งรถ ขสมก. คิวรถตู้ วินมอเตอร์ไซค์ รถไฟฟ้า เรือด่วนเจ้าพระยา เป็นต้น นอกจากนี้ต้องจัดทำที่จอดแล้วจร ให้กระจายตัวในพื้นที่สำคัญ ที่จะเชื่อมโยงต่อการขนส่งด้านต่าง ๆ รวมถึงมีระบบตั๋วร่วม ซึ่งก็ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ควรต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารการจราจร และการขนส่งอย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น วันนี้เราใช้เจ้าหน้าที่ บางครั้งก็ไม่สามารถจะครอบคลุมในพื้นที่กว้าง ๆ ได้ ในพื้นที่ใหญ่ได้ ในต่างประเทศ ผมไปดูไปเยี่ยมเยือนมา ก็เห็นเขาใช้การบริหารโดยการใช้เทคโนโลยี ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมทั้งพื้นที่ไปเลย เช่น เส้นทางนี้ติด ก็สามารถจะเปลี่ยนทิศทางการจราจรไปเส้นอื่นได้ หรือเปลี่ยนในเรื่องของการ เปิด-ปิด สัญญาณไฟแดงไฟเขียวได้ ขณะเดียวกันก็สามารถคำนวณความเร็วในเส้นทางที่เป็นเส้นทางด่วน เหล่านั้นได้ เขาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยคำนวณจากปริมาณรถติด ปริมาณรถสะสม ของเรายังไปไม่ถึงตรงนั้น ก็จะเป็นปัญหาบ้าง ตอนนี้ผมก็ได้สั่งการให้ไปทำการศึกษาเพิ่มเติม มีการหารือกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย หรือองค์กรต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งจากต่างประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ควบคุมการจราจร ให้มากยิ่งขึ้น จะเร่งดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ถึงจุดนั้น รัฐบาลก็ได้จัดทำมาตรการรองรับเพื่อจะแก้ปัญหาการจราจร เป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้
แผนระยะสั้น ได้แก่ การบริหารจัดการกระแสการจราจรบนท้องถนน เช่น ไฟจราจร จุดกลับรถ จุดตัดรถไฟ เหล่านี้ เป็นต้น การเข้มงวดกวดขันวินัยจราจร ถ้ารถติดแล้วทุกคนไม่มีการละเมิดก็พอจะอดทนกันได้บ้างครับ แต่หลายอย่างก็ไม่อดทนกัน บางคนก็แซงซ้าย แซงขวา รถช้าก็วิ่งเลนกลาง วิ่งเลนขวา อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องเคารพกฎจราจร แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม ผมก็ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเร่งดำเนินการให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพิ่มมาตรฐานเรือโดยสาร เพื่อให้การสัญจรทางน้ำเป็นทางเลือกให้กับประชาชน ปัญหาก็คือว่าเราจะต้องหาเส้นทางที่คู่ขนานกันให้ได้ ทางบก กับทางน้ำ ถ้าทางบกแน่น เราสามารถให้บริการทางน้ำคู่ขนานกันไปได้ไหม ก็ต้องไปดูคูคลอง แม่น้ำ อะไรต่าง ๆ ที่คู่ขนานไป เพื่อจะลดเวลาในการเดินทาง ปัญหาของเราอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครอบครัวของเรานี่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ต้องใช้รถ เพราะต้องดูแลครอบครัวของเขา สามีทำงาน ภรรยาทำงาน ลูกไปเรียนหนังสือ คนละที่กันหมด เพราะฉะนั้นการใช้การบริการขนส่งภาครัฐบางทีอาจจะไม่ตอบสนองครอบครัวของเขาได้โดยสมบูรณ์ เขาก็เลยต้องมาขับรถเอง แล้วก็ส่งลูก ส่งหลาน กว่าจะไปถึงที่ทำงานได้ เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางเลือกให้ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ปรับหรือเพิ่มเส้นทางรถ ขสมก. ทำรถที่จะเชื่อมต่อให้มีการที่เรียกว่าฟีดเดอร์ เพื่อจะเอาคนจากตรงนี้ไปขึ้นรถไฟฟ้าให้ได้ ไม่อย่างนั้นระยะทางก็ไกลเกินไป รถไฟฟ้าก็ต้องเชื่อมต่อกับเส้นทางรถ ขสมก. ที่เราต้องปรับ หรือเพิ่มเส้นทางให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มรถโดยสารรับส่งระยะสั้น ในรอบเขตพื้นที่วิกฤต และมีมาตรการเคลื่อนย้ายรถเสีย รถจอดข้างทางผิดกฎหมาย รถที่เกิดอุบัติเหตุให้ได้เร็วที่สุดเป็นต้น
แผนระยะกลาง 1 - 3 ปี นอกจากเราต้องเร่งลงทุนสร้างระบบขนส่งสาธารณะให้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เราต้องกำหนดสิทธิการผ่านในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ เพื่อลดปริมาณการจราจร ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงข่ายการจราจร และการขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกัน เช่น การทำช่องทางบัสเลน ซึ่งบางทีก็มีปัญหาเพราะถนนเราแคบ ที่ผ่านมาก็ทำหลายเส้น ก็ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลกวดขันการปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัดด้วย และ
แผนระยะยาว 3 ปีขึ้นไป อาทิ ใช้มาตรการจำกัดสิทธิ์ มาตรการด้านการเงินในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นโครงข่ายรถไฟฟ้า ไม่ต่ำกว่า 0.2 กิโลเมตร ต่อตารางกิโลเมตร เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางที่ไม่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และการปลูกฝังจิตสำนึก วินัย น้ำใจการใช้รถใช้ถนน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาจราจรได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ผมก็ได้สั่งการให้เพิ่มเส้นทางคมนาคมทางน้ำในการเดินทาง คู่ขนานไปกับถนนสายหลัก เพื่อให้ประชาชนเลือกใช้บริการได้สะดวกขึ้น บรรเทาจราจรติดขัดทางถนน ซึ่งทั้งกรมเจ้าท่า กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ต้องร่วมกันดำเนินการอย่างเร่งด่วนในระยะแรก ควบคู่กันไปกับการก่อสร้าง และในเรื่องของการเตรียมการจัดหาการใช้ระบบดิจิทัลมาควบคุมการจราจรในเขตเมือง ทางด่วน เส้นทางที่แออัด ไฟเขียวไฟแดง เส้นทางอ้อมผ่านในชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ก่อสร้างให้ได้โดยเร็ว ขอทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยว่า บางครั้งการอ้อมผ่านบ้างจะดีกว่ารถติดนาน ๆ บนเส้นทางเดิม ๆ ที่เสียเวลา เสียเชื้อเพลิง เป็นต้น
นอกจากนี้ ผมอยากจะขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ก่อสร้างถนน ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการลดช่องทางจราจร ให้มีการตั้งป้าย ให้สัญญาณล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อก่อสร้างไปแล้ว ตรงไหนสร้างเสร็จแล้ว ก็บีบให้เล็กลง ไม่ใช่รักษาพื้นที่ก่อสร้างมากไปตลอด จนกว่าจะสร้างเสร็จ อย่างนี้ไม่ได้ ก็ต้องค่อย ๆ ลดพื้นที่ลงไปให้ได้ตลอดระยะเวลาที่มีการก่อสร้าง ตรงไหนเสร็จ ก็รีบแก้ไขตรงนั้น เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุด้วย ขอให้ทุกคนทำหน้าที่ในส่วนของตนในการเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต้องมีวินัย คิดถึงเพื่อนร่วมทางให้มากยิ่งขึ้น ผมยกตัวอย่าง เช่น เวลาติดไฟแดงนี่ ควรจะติดตรงไหนก็ติดตรงนั้น ไม่ใช่ว่าถึงเวลามอเตอร์ไซค์ก็แทรกไป แทรกมา ก็เกิดกระทบกระทั่งกันขึ้นมา แล้วเพื่อจะไปถึงข้างหน้าให้มากที่สุด ถึงไฟเขียว ไฟแดง ให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้นการออกตัวต่าง ๆ ช้าไปหมด เมื่อเวลาเปิดไฟแดง เวลากำหนดไว้แล้ว ถ้าทั้งรถมอเตอร์ไซค์ พอไฟแดงข้างหน้า ตัวเองก็หยุดตรงนี้ก็ได้ ทำไมจะต้องขึ้นไปถึงข้างหน้า ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน ก็ไม่ได้เร็วไปกว่าเดิมเท่าไร แต่ทำให้การจราจรมีปัญหา ต้องคิดถึงเพื่อนร่วมทางให้มากขึ้น รวมถึงคนเดินถนน ให้ใช้ทางข้ามที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ถ้าทุกคนช่วยกันปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ก็อาจจะทำให้การจราจรลื่นไหลได้ดีขึ้น สื่อมวลชนเองนะครับ ก็ขอให้ช่วยกันในการนำเสนอข้อมูลการจราจรที่ถูกต้อง นอกจากนี้ หากภาคเอกชนเห็นว่าพื้นที่ใดควรสร้างเป็นพื้นที่จอดรถ เช่น พื้นที่ใกล้กับสถานที่ที่สำคัญ ก็สามารถเสนอมายังรัฐบาล เพื่อจะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ได้มากขึ้น และช่วยบรรเทาการจราจรติดขัดบนท้องถนนได้อีกทางหนึ่ง คือมีการลงทุนเรื่องที่จอดรถ ที่จอดรถใต้ดิน อะไรทำนองนี้ให้มากยิ่งขึ้น การที่จะสร้างศูนย์การค้าใหม่ ๆ ก็ต้องคำนึงถึงที่จอดรถด้วย อันนี้ก็คงต้องกำหนดไปให้ชัดเจนขึ้นต่อไป
วิศัยทัศน์ของลุงตู่เพื่อความสะดวกสบายของประชาชนในอนาคต บอกคำเดียวว่าเยี่ยม!
"สะสางปัญหาการจราจร"
🚝🚦"ลุงตู่แจ้งประชาชนที่ต้องทำรถไฟฟ้าหลายสายเพื่ออนาคต"
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พยายามเร่งแก้ปัญหาจราจร โดยการสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ซึ่งการสร้างเพื่อลดการใช้รถส่วนตัว รัฐบาลนี้เร่งสร้าง เร่งทำสัญญา แต่ปัญหาคือที่ดินของประชาชน และต้องมีการแก้กฎหมายผังเมือง เรื่องนี้รัฐบาลจะพยายามทำเต็มที่
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2561 เวลา 20.15 น.
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ผมก็ได้มีโอกาสลงพื้นที่ตรวจราชการด้านการจราจร ซึ่งมีปัญหากับการสัญจรไปมาของกรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ก็จะเน้นในเรื่องของการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร มีการเยี่ยมศูนย์ควบคุมการจราจร บก. 02 แล้วก็ฟังการบรรยายสรุปจากหลายหน่วยงานด้วยกัน ของกระทรวงคมนาคมด้วย และในส่วนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็ได้พูดคุยกันถึงเรื่องการเชื่อมโยง เรื่องล้อ ราง แล้วก็เรือ เป็นเป้าหมายของเราในอนาคต ที่เราจะต้องอาศัยเวลาในการทำงาน หลายปีที่ผ่านมานั้นเราไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่ควรจะเป็น วันนี้ก็เลยต้องใช้เวลา หรือทำให้เกิดปัญหาการจราจรเพิ่มขึ้น ด้วยการเร่งสร้าง เร่งโครงการต่าง ๆ มากมายในเวลาเดียวกัน อาจจะส่งผลกระทบต่อการสัญจรไปมาของพี่น้องชาว กทม. และปริมณฑลอยู่ในปัจจุบัน ก็คงต้องช่วยกันครับขอให้อดทนไประยะหนึ่ง อีกไม่นานเราก็จะมีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น วันนี้จะเล่าให้ฟังถึงสภาพปัญหา จนนำไปสู่แนวทางแก้ไขของรัฐบาลในปัจจุบัน ว่าจะเป็นไปได้ได้อย่างไร
ทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าปัญหาจราจรติดขัดนี้เป็นปัญหาที่สะสม ทั้งนี้ เนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของเมือง ที่อาจจะไร้ยุทธศาสตร์ ไร้ข้อจำกัด ไม่เป็นไปตามผังเมือง หากว่าผังเมืองที่ว่านั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับประชาชนไปด้วย เพราะฉะนั้นผังเมืองที่ออกมา บางครั้งอาจจะไม่มีประสิทธิภาพ เพราะว่าประชาชนไม่ยินยอม ในการที่จะจัดทำผังเมืองใหม่ ก็เลยเกิดปัญหาซ้ำซ้อนตามกันมาอีก ในขณะที่มีการเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางเมือง เพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งทำงาน ส่งลูกหลาน ติดต่อธุรกิจ ท่องเที่ยว ของคนกว่า 15 ล้านคน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่จำกัด 1,500 กว่าตารางกิโลเมตร ถ้าคำนวณกันเป็นความหนาแน่นก็จะมากกว่า 9,500 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ก็ถือว่าแออัดมาก และผิวการจราจรก็ไม่สามารถรองรับได้อย่างสมดุล ในปี 2560 นั้นมีจำนวนรถยนต์สะสม กว่า 6.6 ล้านคัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4% ต่อปี ถ้าเราจะมองให้เห็นภาพ ก็คือมีรถจดทะเบียนใหม่ทุกวัน ๆ ละ 700 คัน และรถจักรยานยนต์ 400 คัน ในขณะที่การสัญจรของรถ ต้องอาศัยถนน มีผิวการจราจรที่สร้างเพิ่มขึ้นได้ยาก แพง แล้วก็นาน แล้วก็ติดที่ของเอกชนเกือบทั้งหมด ปัจจุบันนั้น กทม. มีถนนประมาณ 4,300 กิโลเมตร เป็นถนนสายหลักเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น หากเทียบ พื้นที่ถนนเป็นร้อยละแล้ว กรุงเทพฯ มีเพียง 6.8% ในขณะที่มหานคร เมืองใหญ่ ๆ ของโลก เช่น นิวยอร์ก ลอนดอน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มีพื้นที่ถนน 21 - 36% แต่อย่าคิดว่าเขาไม่ติดนะครับ เขาก็ติดคล้าย ๆ เรานี่แหละ ทั้ง ๆ ที่เขามีพื้นที่ถนนมากกว่าเรา อาจจะถึง 2-3 เท่า เพราะฉะนั้นรวมทั้งความต้องการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาก็มากขึ้นอีก สะพานที่เรามีอยู่ในปัจจุบันก็จำนวนจำกัด เราก็มีการวางแผนจะสร้างใหม่เพิ่มขึ้น ก็สร้างไม่ได้ ก็ยังต้องฟังความคิดเห็นประชาชนอีก จากการศึกษาพบว่าในปี 2564 เราจะมีความต้องการข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 480,000 คนต่อวัน และในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 840,000 คนต่อวัน
ปัญหาสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การเชื่อมโยงทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมต่อแนวตะวันตก ตะวันออก ซึ่งมีปัญหาการเชื่อมโยงตรงนี้อยู่เหมือนกัน ตะวันตก - ตะวันออกของเรา แล้วทำอย่างไรจะสอดคล้องรองรับกับทางด่วนและวงแหวนต่าง ๆ ทั้งทางขึ้น - ทางลง เพื่อให้เกิดการไหลเวียน การสัญจรบนถนน ในพื้นที่ชั้นนอก - ชั้นใน ไม่ติดขัด ไม่อย่างนั้นก็ขึ้นทางด่วน ลงมาแล้วขึ้นใหม่ ก็เลยติดกันทั้งข้างบน ข้างล่าง รวมไปถึงจุดตัดรถไฟ วงเวียน และแยกไฟแดง ที่ต้องมีการคำนวณเวลาและปริมาณรถด้วย สำหรับแนวทางแก้ปัญหานั้น ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการก็คือ ส่งเสริมให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะการผลักดันให้ระบบรางเป็นแกนหลักในการเดินทางและขนส่ง สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล นั้น ภายในปี 2575 อีก 15 ปี จะต้องเร่งลงทุนสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร ประกอบกับนโยบาย One Transport ที่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ การเดินทาง ล้อ ราง เรือ แบบไร้รอยต่อให้ได้ ทั้งในเรื่องของการเชื่อมโยง ทั้งในเรื่องของการขนานกันไป เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกให้เข้าถึงบริการระบบขนส่งสาธารณะต่าง ๆ ทั้งรถ ขสมก. คิวรถตู้ วินมอเตอร์ไซค์ รถไฟฟ้า เรือด่วนเจ้าพระยา เป็นต้น นอกจากนี้ต้องจัดทำที่จอดแล้วจร ให้กระจายตัวในพื้นที่สำคัญ ที่จะเชื่อมโยงต่อการขนส่งด้านต่าง ๆ รวมถึงมีระบบตั๋วร่วม ซึ่งก็ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ควรต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารการจราจร และการขนส่งอย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น วันนี้เราใช้เจ้าหน้าที่ บางครั้งก็ไม่สามารถจะครอบคลุมในพื้นที่กว้าง ๆ ได้ ในพื้นที่ใหญ่ได้ ในต่างประเทศ ผมไปดูไปเยี่ยมเยือนมา ก็เห็นเขาใช้การบริหารโดยการใช้เทคโนโลยี ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมทั้งพื้นที่ไปเลย เช่น เส้นทางนี้ติด ก็สามารถจะเปลี่ยนทิศทางการจราจรไปเส้นอื่นได้ หรือเปลี่ยนในเรื่องของการ เปิด-ปิด สัญญาณไฟแดงไฟเขียวได้ ขณะเดียวกันก็สามารถคำนวณความเร็วในเส้นทางที่เป็นเส้นทางด่วน เหล่านั้นได้ เขาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยคำนวณจากปริมาณรถติด ปริมาณรถสะสม ของเรายังไปไม่ถึงตรงนั้น ก็จะเป็นปัญหาบ้าง ตอนนี้ผมก็ได้สั่งการให้ไปทำการศึกษาเพิ่มเติม มีการหารือกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย หรือองค์กรต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งจากต่างประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ควบคุมการจราจร ให้มากยิ่งขึ้น จะเร่งดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ถึงจุดนั้น รัฐบาลก็ได้จัดทำมาตรการรองรับเพื่อจะแก้ปัญหาการจราจร เป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้
แผนระยะสั้น ได้แก่ การบริหารจัดการกระแสการจราจรบนท้องถนน เช่น ไฟจราจร จุดกลับรถ จุดตัดรถไฟ เหล่านี้ เป็นต้น การเข้มงวดกวดขันวินัยจราจร ถ้ารถติดแล้วทุกคนไม่มีการละเมิดก็พอจะอดทนกันได้บ้างครับ แต่หลายอย่างก็ไม่อดทนกัน บางคนก็แซงซ้าย แซงขวา รถช้าก็วิ่งเลนกลาง วิ่งเลนขวา อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นทุกคนต้องเคารพกฎจราจร แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม ผมก็ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเร่งดำเนินการให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพิ่มมาตรฐานเรือโดยสาร เพื่อให้การสัญจรทางน้ำเป็นทางเลือกให้กับประชาชน ปัญหาก็คือว่าเราจะต้องหาเส้นทางที่คู่ขนานกันให้ได้ ทางบก กับทางน้ำ ถ้าทางบกแน่น เราสามารถให้บริการทางน้ำคู่ขนานกันไปได้ไหม ก็ต้องไปดูคูคลอง แม่น้ำ อะไรต่าง ๆ ที่คู่ขนานไป เพื่อจะลดเวลาในการเดินทาง ปัญหาของเราอีกอย่างหนึ่งก็คือ ครอบครัวของเรานี่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ต้องใช้รถ เพราะต้องดูแลครอบครัวของเขา สามีทำงาน ภรรยาทำงาน ลูกไปเรียนหนังสือ คนละที่กันหมด เพราะฉะนั้นการใช้การบริการขนส่งภาครัฐบางทีอาจจะไม่ตอบสนองครอบครัวของเขาได้โดยสมบูรณ์ เขาก็เลยต้องมาขับรถเอง แล้วก็ส่งลูก ส่งหลาน กว่าจะไปถึงที่ทำงานได้ เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางเลือกให้ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ปรับหรือเพิ่มเส้นทางรถ ขสมก. ทำรถที่จะเชื่อมต่อให้มีการที่เรียกว่าฟีดเดอร์ เพื่อจะเอาคนจากตรงนี้ไปขึ้นรถไฟฟ้าให้ได้ ไม่อย่างนั้นระยะทางก็ไกลเกินไป รถไฟฟ้าก็ต้องเชื่อมต่อกับเส้นทางรถ ขสมก. ที่เราต้องปรับ หรือเพิ่มเส้นทางให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มรถโดยสารรับส่งระยะสั้น ในรอบเขตพื้นที่วิกฤต และมีมาตรการเคลื่อนย้ายรถเสีย รถจอดข้างทางผิดกฎหมาย รถที่เกิดอุบัติเหตุให้ได้เร็วที่สุดเป็นต้น
แผนระยะกลาง 1 - 3 ปี นอกจากเราต้องเร่งลงทุนสร้างระบบขนส่งสาธารณะให้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เราต้องกำหนดสิทธิการผ่านในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ เพื่อลดปริมาณการจราจร ควบคู่ไปกับการปรับปรุงโครงข่ายการจราจร และการขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกัน เช่น การทำช่องทางบัสเลน ซึ่งบางทีก็มีปัญหาเพราะถนนเราแคบ ที่ผ่านมาก็ทำหลายเส้น ก็ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลกวดขันการปฏิบัติตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัดด้วย และ
แผนระยะยาว 3 ปีขึ้นไป อาทิ ใช้มาตรการจำกัดสิทธิ์ มาตรการด้านการเงินในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นโครงข่ายรถไฟฟ้า ไม่ต่ำกว่า 0.2 กิโลเมตร ต่อตารางกิโลเมตร เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางที่ไม่ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และการปลูกฝังจิตสำนึก วินัย น้ำใจการใช้รถใช้ถนน ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาจราจรได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ผมก็ได้สั่งการให้เพิ่มเส้นทางคมนาคมทางน้ำในการเดินทาง คู่ขนานไปกับถนนสายหลัก เพื่อให้ประชาชนเลือกใช้บริการได้สะดวกขึ้น บรรเทาจราจรติดขัดทางถนน ซึ่งทั้งกรมเจ้าท่า กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ต้องร่วมกันดำเนินการอย่างเร่งด่วนในระยะแรก ควบคู่กันไปกับการก่อสร้าง และในเรื่องของการเตรียมการจัดหาการใช้ระบบดิจิทัลมาควบคุมการจราจรในเขตเมือง ทางด่วน เส้นทางที่แออัด ไฟเขียวไฟแดง เส้นทางอ้อมผ่านในชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ก่อสร้างให้ได้โดยเร็ว ขอทำความเข้าใจกับประชาชนด้วยว่า บางครั้งการอ้อมผ่านบ้างจะดีกว่ารถติดนาน ๆ บนเส้นทางเดิม ๆ ที่เสียเวลา เสียเชื้อเพลิง เป็นต้น
นอกจากนี้ ผมอยากจะขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ก่อสร้างถนน ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการลดช่องทางจราจร ให้มีการตั้งป้าย ให้สัญญาณล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อก่อสร้างไปแล้ว ตรงไหนสร้างเสร็จแล้ว ก็บีบให้เล็กลง ไม่ใช่รักษาพื้นที่ก่อสร้างมากไปตลอด จนกว่าจะสร้างเสร็จ อย่างนี้ไม่ได้ ก็ต้องค่อย ๆ ลดพื้นที่ลงไปให้ได้ตลอดระยะเวลาที่มีการก่อสร้าง ตรงไหนเสร็จ ก็รีบแก้ไขตรงนั้น เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุด้วย ขอให้ทุกคนทำหน้าที่ในส่วนของตนในการเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ต้องมีวินัย คิดถึงเพื่อนร่วมทางให้มากยิ่งขึ้น ผมยกตัวอย่าง เช่น เวลาติดไฟแดงนี่ ควรจะติดตรงไหนก็ติดตรงนั้น ไม่ใช่ว่าถึงเวลามอเตอร์ไซค์ก็แทรกไป แทรกมา ก็เกิดกระทบกระทั่งกันขึ้นมา แล้วเพื่อจะไปถึงข้างหน้าให้มากที่สุด ถึงไฟเขียว ไฟแดง ให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้นการออกตัวต่าง ๆ ช้าไปหมด เมื่อเวลาเปิดไฟแดง เวลากำหนดไว้แล้ว ถ้าทั้งรถมอเตอร์ไซค์ พอไฟแดงข้างหน้า ตัวเองก็หยุดตรงนี้ก็ได้ ทำไมจะต้องขึ้นไปถึงข้างหน้า ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน ก็ไม่ได้เร็วไปกว่าเดิมเท่าไร แต่ทำให้การจราจรมีปัญหา ต้องคิดถึงเพื่อนร่วมทางให้มากขึ้น รวมถึงคนเดินถนน ให้ใช้ทางข้ามที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ถ้าทุกคนช่วยกันปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ก็อาจจะทำให้การจราจรลื่นไหลได้ดีขึ้น สื่อมวลชนเองนะครับ ก็ขอให้ช่วยกันในการนำเสนอข้อมูลการจราจรที่ถูกต้อง นอกจากนี้ หากภาคเอกชนเห็นว่าพื้นที่ใดควรสร้างเป็นพื้นที่จอดรถ เช่น พื้นที่ใกล้กับสถานที่ที่สำคัญ ก็สามารถเสนอมายังรัฐบาล เพื่อจะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ได้มากขึ้น และช่วยบรรเทาการจราจรติดขัดบนท้องถนนได้อีกทางหนึ่ง คือมีการลงทุนเรื่องที่จอดรถ ที่จอดรถใต้ดิน อะไรทำนองนี้ให้มากยิ่งขึ้น การที่จะสร้างศูนย์การค้าใหม่ ๆ ก็ต้องคำนึงถึงที่จอดรถด้วย อันนี้ก็คงต้องกำหนดไปให้ชัดเจนขึ้นต่อไป