เรื่องสงครามยุทธหัตถี ความที่มีระบุในพงศาวดารพม่าฉบับอูกาลาจะเล่าว่า “ทัพของพระมหาอุปราชาเคลื่อนมาถึงชานกรุงศรีอยุธยาในวันขึ้น ๘ ค่ำ
เดือน ๓ ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๕๙๒” และเล่าต่อว่า สมเด็จพระมหาอุปราชาทรงคชาธารชื่อ “งะเยโซง” ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากพงศาวดารพม่า
ส่วนพงศาวดารไทยระบุชื่อช้างว่าชื่อ “พลายพัทธกอ” เบื้องขวาของพระองค์ยืนด้วยพระคชาธาร และกำลังไพร่พลของเจ้าเมืองแปรชื่อ “ตะโดธรรมราชา” ส่วนเบื้องซ้ายยืนด้วยพระคชาธาร และไพร่พลของนัดจินหน่อง โอรสของเจ้าเมืองตองอู และถัดไปทางเบื้องขวาไม่ใกล้ไม่ไกล ยืนด้วยคชาธารของเจ้าเมืองชามะโร ไทยเรียกมังจาปโร เป็นพระพี่เลี้ยง
หลักฐานพม่าระบุว่าช้างของชามะโรกำลังตกน้ำมันหนักถึงกลับต้องใช้ผ้าคลุมหน้าช้างเอาไว้ไม่ให้ช้างตื่น ในขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงคชาธารชื่อพระลโปง นำไพร่พลทแกล้วทหารจำนวนมากออกมาจากพระนครหมายจะเผด็จศึก พระองค์ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระมหาอุปราชา
แล้วก็ไสช้างตรงไปยังตำแหน่งที่จอมทัพพม่าประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองชามะโร เมื่อเห็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขับพระคชาธารตรงรี่
หมายชิงชนกับช้างประทับ ชามะโรซึ่งเป็นราชองครักษ์ก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพาหนะของตนออก หมายมุ่งที่จะนำช้างของตนออกสกัดช้างของ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ช้างนั้นเป็นช้างตกน้ำมันหนักยากที่จะบังคับ ช้างที่ไสออกไปแทนที่จะเข้าชิงชนกับช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มันก็หันรีหันขวาง และกลับตัวมาแทงโดนเอาช้างของสมเด็จพระมหาอุปราชาโดยกำลังแรง หลักฐานพม่าอธิบายว่าแรงขนาดช้างของ
สมเด็จพระมหาอุปราชาจามสนั่นด้วยความเจ็บปวด
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_17774
ประวัติศาสตร์ไทยในหลักฐานพม่า พลิกความเข้าใจเรื่อง “สงครามยุทธหัตถี”
เดือน ๓ ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๕๙๒” และเล่าต่อว่า สมเด็จพระมหาอุปราชาทรงคชาธารชื่อ “งะเยโซง” ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากพงศาวดารพม่า
ส่วนพงศาวดารไทยระบุชื่อช้างว่าชื่อ “พลายพัทธกอ” เบื้องขวาของพระองค์ยืนด้วยพระคชาธาร และกำลังไพร่พลของเจ้าเมืองแปรชื่อ “ตะโดธรรมราชา” ส่วนเบื้องซ้ายยืนด้วยพระคชาธาร และไพร่พลของนัดจินหน่อง โอรสของเจ้าเมืองตองอู และถัดไปทางเบื้องขวาไม่ใกล้ไม่ไกล ยืนด้วยคชาธารของเจ้าเมืองชามะโร ไทยเรียกมังจาปโร เป็นพระพี่เลี้ยง
หลักฐานพม่าระบุว่าช้างของชามะโรกำลังตกน้ำมันหนักถึงกลับต้องใช้ผ้าคลุมหน้าช้างเอาไว้ไม่ให้ช้างตื่น ในขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงคชาธารชื่อพระลโปง นำไพร่พลทแกล้วทหารจำนวนมากออกมาจากพระนครหมายจะเผด็จศึก พระองค์ทอดพระเนตรเห็นสมเด็จพระมหาอุปราชา
แล้วก็ไสช้างตรงไปยังตำแหน่งที่จอมทัพพม่าประทับอยู่โดยแรงเร็ว ฝ่ายเจ้าเมืองชามะโร เมื่อเห็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขับพระคชาธารตรงรี่
หมายชิงชนกับช้างประทับ ชามะโรซึ่งเป็นราชองครักษ์ก็เปิดผ้าคลุมหน้าช้างพาหนะของตนออก หมายมุ่งที่จะนำช้างของตนออกสกัดช้างของ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ช้างนั้นเป็นช้างตกน้ำมันหนักยากที่จะบังคับ ช้างที่ไสออกไปแทนที่จะเข้าชิงชนกับช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
มันก็หันรีหันขวาง และกลับตัวมาแทงโดนเอาช้างของสมเด็จพระมหาอุปราชาโดยกำลังแรง หลักฐานพม่าอธิบายว่าแรงขนาดช้างของ
สมเด็จพระมหาอุปราชาจามสนั่นด้วยความเจ็บปวด
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_17774