แสงเดินทางเดินทางเป็นหมื่นล้านปีแสง มันไม่เหนื่อยบ้างหรอครับ

กล้องฮับเบิ้ลถ่ายภาพกาแลคซี่ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งห่างจากโลกหมื่นล้านกว่าปีแสง

แสง (โฟตอน?) สามารถเดินทางไกลโพ้นขนาดนั้นโดยไม่สูญเสียพลังงานจนหมดเสียก่อนจะถึงโลกได้ไงครับ
หรือว่าถ้าแสงไม่โดนบิดเบี้ยวกันการเดินทางโดยหลุมดำหรือที่ๆ มีแรงโน้มถ่วงสูง
ก็สามารถเดินทางได้ไกลต่อไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด

ขอบคุณครับ

--แก้ไขเพิ่มเติม--
หลายความเห็นข้องใจกับคำถามที่ว่ามันไม่เหนื่อยบ้างหรอ
ย้อนกลับไปสมัยก่อนอลิสโตเติ้ลสงสัยว่าทำไมวัตถุที่เคลื่อนที่ถึงตกลงบนพื้น คำตอบจากเขาคือ วัตถุมันเหนื่อย
ผมแค่ล้อคำตอบนั้นมาตั้งเป็นคำถาม
ในการศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่อง Law of Motion ของไอแซค ก็จะอ้างอิงไปตั้งแต่ตอนที่อริสโตเติ้ลพยายามหาคำตอบ
ผมทราบดีว่าแสงไม่มีชีวิต
เพื่อทราบครับ

--ขอบคุณความเห็นที่ 5 มากๆ ครับ--
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
แสงเดินทางเดินทางเป็นหมื่นล้านปีแสง มันไม่เหนื่อยบ้างหรอครับ
อมยิ้ม01 สำหรับคำถามนี้  ผมจะบอกความแปลก ความมหัศจรรย์ของแสงให้ 1 อย่าง
คือ  แสงไม่มีเวลาในการเดินทาง  และ  ไม่มีระยะทางในการเดินทางครับ
ที่เป็นเช่นนี้  เพราะว่าตามทฤษฏีสัมพัทธภาพ  แสงจะมีความเร็ว = c  อยู่แล้ว
ตามทฤษฏีสัมพัทธภาพที่กล่าวไว้ว่า  ยิ่งเราเดินทางเร็วใกล้ c เท่าใด  เวลาของเราจะเดินช้าลงมาก  
ดังนั้น  ตัวแสงเองที่มีความเร็ว = c ...... จึงไม่มีเวลาครับ  ในมุมมองของแสงแล้ว  แสงเดินทางข้ามมา
จากแกแลคซี่ที่ไกลนับพันล้านปีแสงโดยใช้เวลา = Zero  ตัวอย่างเช่น  เกิด Supernova ขนาดใหญ่ที่แกแลคซี่ A  
ที่ห่างจากเรา 80 ล้านปีแสง  เมื่อ Photon ได้ emitted จาก Supernova ที่นั่นแล้ว  ในมุมมองของ Photon เหล่านั้น
มันจะ(เดินทาง)ไปถึงทุกที่ในเอกภพใน "ทันที"  ...... แต่เราอย่บนโลก  เราจะต้องรออีกนาน 80 ล้านปี  
กว่า Photon เหล่านั้นจึงจะมาถึงโลก

ดังนั้น  ก็ตอบคำถามแบบเล่น ๆ ได้ว่า  แสงไม่มีวันเหนื่อยแน่นอน  เพราะมันไม่มีเวลาเดินทางเลย
(คล้าย ๆ กับว่าเราหายตัวได้  ไปโผล่อีกดาวดวงหนึ่งภายในพริบตา  แบบนี้ก็ไม่เหนื่อยใช่ใหมครับ)


แสง (โฟตอน?) สามารถเดินทางไกลโพ้นขนาดนั้นโดยไม่สูญเสียพลังงานจนหมดเสียก่อนจะถึงโลกได้ไงครับ
เพราะว่าแสงไม่มีมวลครับ  คือแสงนั้นมีโมเมนตัม  มีพลังงาน  แต่ไม่มีมวล
ดังนั้น  มันจึงเดินทางไปได้เรื่อย ๆ  โดยไม่มีการช้าลง หรือ สูญหายระหว่างทาง

หรือว่าถ้าแสงไม่โดนบิดเบี้ยวกันการเดินทางโดยหลุมดำหรือที่ๆ มีแรงโน้มถ่วงสูง
ก็สามารถเดินทางได้ไกลต่อไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด

ใช่แล้วครับ  มันเป็นแบบนั้นเลย  แสงสามารถเดินทางไปได้เรื่อย ๆ  ไม่มีที่สิ้นสุด
มันจะสิ้นสุดได้ต่อเมื่อ Photon มันไปกระทบวัตถุใด ๆ  และจะถูก absorb ไปครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่