สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ทหาร นักปกครอง อยู่ในวรรณะกษัตริย์ครับแต่ละวรรณะยังมีวรรณะย่อยๆอีกมากมายหลายชั้นครับ
ดังนั้น ทหารจะอยู่ในวรรณะกษัตริย์เป็นกลุ่มใหญ่ๆ แม้ต้องมีการสอบคัดเลือกอะไรก็ตาม เป็นแต่เพียงรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนให้เปิดกว้างขึ้นเล็กน้อย
เพราะคนกลุ่มเดิมๆนิยมส่งลูกหลานไปสอบเข้าสืบทอดตามสายตระกูลมาแต่เดิม
คนนอกกลุ่มก็ไม่นิยมส่งลูกหลานเข้าไปสายนั้น
การทำความเคารพเรียกใช้งานอะไรตามยศชั้นก็เลยไม่เป็นปัญหาเท่าไร เขารับกันได้ครับ
และมีทหารแขกซิกส์โพกผ้า ซึ่งแยกตัวออกจากศาสนาฮินดูและอิสลามเป็นจำนวนมาก นั่นก็ไม่เป็นปัญหาอีกเช่นกันหละครับ
-------
ในทางปฏิบัติก็ยังมีเรื่องวรรณะ สังคมส่วนตัว ในกลุ่มเพื่อนฝูงสนิท และสัมพันธ์เกี่ยวดองด้านครอบครัว เน้นคบหาคนวรรณะเดียวกัน ตามปกติครับ ถ้าไปเรียนไกลหูไกลตาครอบครัว คนรุ่นหลังๆก็มีผ่อนคลายค่านิยมพวกนี้ลงหน่อย
เพราะคนสังคมอินเดีย โดยเฉพาะคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ยังมีลักษณะครอบครัวใหญ่อยู่มากนะครับ พ่อแม่ปู่ย่าลูกหลานเหลน อยู่ร่วมบ้าน จึงสืบทอดส่งต่อค่านิยมเดิมๆรักษาวัฒนธรรมรากเหง้าใว้ได้ดี โปรแกรมเมอร์สาวอินเดียนี่นุ่งส่าหรีไปโค๊ดโปรแกรมที่ออฟฟิตนะครับ ไม่ค่อยเห็นแต่งตัวแฟชั่นทั่วไป ยังไม่ค่อยนุ่งยีนส์กันเท่าไร
ต่างกับบ้านเราใครใส่เสื้อม่อฮ่อมรัดผ้าขาวม้าไปทำงานถูกมองว่าเชยตายเลย
เป็นพราะโดยคติสังคมเขาแบ่งสัดส่วนการงานอาชีพตามวรรณะไปแล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สัดส่วนประชากรแต่ละวรรณะเลยค่อยๆสอดรับปรับตัวเข้ากับสภาพเศรษฐกิจไปด้วย
โดยมีวรรณะย่อยๆที่คาบเกี่ยว
อาชีพหน้าที่เป็นตัวแปร ปรับเปลี่ยน แต่ก็ไม่ค่อยลงตัวนัก จึงเกิดปัญหาความลักลั่นทางสังคมมากๆ (แต่คนอินเดียเขามักมองว่าไม่ใช่ปัญหา ต้องปรับตัวกันเอาเอง คนวรรณะต่ำก็ต้องขยันออกแรง ในขณะเดียวกันหากตัดสินใจจ้างมาแล้วยังไม่มีงานป้อนเต็มที่ นายจ้างเขาก็ยังกัดฟันจ้างถึงที่สุดเช่นกันครับ อันนี้เหมือนเป็นข้อดีนะ)
เช่น ลูกทหารหลานช่างทำปืนก็ วรรณะกษัตริย์มาเดิมๆ ถ้าทำอาชีพค้าขายอาวุธ ค้าปืน เครื่องมือฉุกเฉิน รถทหาร ก็ไม่แปลกแยกอะไร ยังเกี่ยวพันกับวรรณะของตน สมมุติแต่เดิมรับราชการมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษติดต่อกันสองร้อยปี ถ้าตระกูลไหนเปลี่ยนเป็นค้าขายทำไปสักเจ็ดรุ่นก็ถือเป็นวรรณะที่แตกย่อยไป แต่ยังอยู่ในวรรณะกษัตริย์ ไม่ใช่เปลี่ยนเป็นพ่อค้า
ค้าเสื้อผ้ารองเท้าแฟชั่นก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องค้าชุดฟอร์มทหาร
แต่ถ้าไม่จำเป็น เขาแทบไม่แบกหาม ยกน้ำชงชาเสริฟขนม เก็บกวาดปัดถูอะไรต่างๆเอง ยังไงก็ต้องจ้างคนวรรณะต่ำกว่ามาทำ
สมมุติบริษัทมีพนักงานขาย ยี่สิบคน จ้างคนชงชาคนเดียว ทำให้ไม่ทันหรอกครับ เขาก็ชงกันเองบ้างสะดวกดี เสริฟส่งต่อมือกันได้เลย
แต่เวลามีแขกมา ต้องรับรอง เจรจา เขาก็ไม่ทำเองนะครับ เป็นเรื่องหน้าตา ต้องนั่งรอคนชงชานั่นหละ จะส่งของขนของก็รอกุลีแบกหาม บางครั้งของหนักสิบกิโล รอเด็กมายกเป็นครึ่งชั่วโมง เด็กไปกินข้าวไปเข้าห้องน้ำเดินไปตามสองสามรอบ ไม่เป็นอันได้ออกรถ ทั้งที่ยกเองไม่ถึงนาทีเสร็จ คนไทยเราเจอเรื่องพวกนี้ก็หงายหลังกันไป
ยุคสามสี่สิบปีที่ผ่านมา ต่อให้ประหยัดขนาดไหนก็ไม่ทำเองครับ เหมือนมีระบบวรรณะเป็นเครื่องมือสำรองตำแหน่งงานใว้ให้วรรณะต่ำไปในตัวครับ
มาถึงยุคนี้ก็ผ่อนคลายความถือตัวเรื่องสายตระกูลกันไปอีกหน่อย แต่ไม่หมดง่ายๆหรอกครับ เพราะไม่ใช่แค่ฮินดูแค่อินเดียนะ แม้คนบางสัญชาติบางประเทศตั้งกันขึ้นมาโดยเงื่อนไขทางสังคมอื่นๆ ไม่ได้ก่อตั้งบนเงื่อนไขความหยิ่งทะนงที่จะดำรงเผ่าพันธ์แทบจะเดี่ยวๆเหมือนยุคโบราณ
แต่ความมานะถือดีในสายพันธ์ตนเองและกดข่มชนเผ่าอื่นก็มีกันแทบทุกเชื้อชาติหละครับ
ดังนั้น ไม่ว่าปุถุชนศาสนาไหนๆ ต่อให้คำสอนบอกว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันในทุกด้าน หากยังมีลักษณะสังคมที่หยิ่งในเชื้อสายเผ่าพันธ์. ระบบวรรณะหรือคล้ายๆกันก็ไม่หายไปไหนง่ายๆหรอกครับ
ดังนั้น ทหารจะอยู่ในวรรณะกษัตริย์เป็นกลุ่มใหญ่ๆ แม้ต้องมีการสอบคัดเลือกอะไรก็ตาม เป็นแต่เพียงรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนให้เปิดกว้างขึ้นเล็กน้อย
เพราะคนกลุ่มเดิมๆนิยมส่งลูกหลานไปสอบเข้าสืบทอดตามสายตระกูลมาแต่เดิม
คนนอกกลุ่มก็ไม่นิยมส่งลูกหลานเข้าไปสายนั้น
การทำความเคารพเรียกใช้งานอะไรตามยศชั้นก็เลยไม่เป็นปัญหาเท่าไร เขารับกันได้ครับ
และมีทหารแขกซิกส์โพกผ้า ซึ่งแยกตัวออกจากศาสนาฮินดูและอิสลามเป็นจำนวนมาก นั่นก็ไม่เป็นปัญหาอีกเช่นกันหละครับ
-------
ในทางปฏิบัติก็ยังมีเรื่องวรรณะ สังคมส่วนตัว ในกลุ่มเพื่อนฝูงสนิท และสัมพันธ์เกี่ยวดองด้านครอบครัว เน้นคบหาคนวรรณะเดียวกัน ตามปกติครับ ถ้าไปเรียนไกลหูไกลตาครอบครัว คนรุ่นหลังๆก็มีผ่อนคลายค่านิยมพวกนี้ลงหน่อย
เพราะคนสังคมอินเดีย โดยเฉพาะคนมีฐานะ ชนชั้นกลาง ยังมีลักษณะครอบครัวใหญ่อยู่มากนะครับ พ่อแม่ปู่ย่าลูกหลานเหลน อยู่ร่วมบ้าน จึงสืบทอดส่งต่อค่านิยมเดิมๆรักษาวัฒนธรรมรากเหง้าใว้ได้ดี โปรแกรมเมอร์สาวอินเดียนี่นุ่งส่าหรีไปโค๊ดโปรแกรมที่ออฟฟิตนะครับ ไม่ค่อยเห็นแต่งตัวแฟชั่นทั่วไป ยังไม่ค่อยนุ่งยีนส์กันเท่าไร
ต่างกับบ้านเราใครใส่เสื้อม่อฮ่อมรัดผ้าขาวม้าไปทำงานถูกมองว่าเชยตายเลย
เป็นพราะโดยคติสังคมเขาแบ่งสัดส่วนการงานอาชีพตามวรรณะไปแล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สัดส่วนประชากรแต่ละวรรณะเลยค่อยๆสอดรับปรับตัวเข้ากับสภาพเศรษฐกิจไปด้วย
โดยมีวรรณะย่อยๆที่คาบเกี่ยว
อาชีพหน้าที่เป็นตัวแปร ปรับเปลี่ยน แต่ก็ไม่ค่อยลงตัวนัก จึงเกิดปัญหาความลักลั่นทางสังคมมากๆ (แต่คนอินเดียเขามักมองว่าไม่ใช่ปัญหา ต้องปรับตัวกันเอาเอง คนวรรณะต่ำก็ต้องขยันออกแรง ในขณะเดียวกันหากตัดสินใจจ้างมาแล้วยังไม่มีงานป้อนเต็มที่ นายจ้างเขาก็ยังกัดฟันจ้างถึงที่สุดเช่นกันครับ อันนี้เหมือนเป็นข้อดีนะ)
เช่น ลูกทหารหลานช่างทำปืนก็ วรรณะกษัตริย์มาเดิมๆ ถ้าทำอาชีพค้าขายอาวุธ ค้าปืน เครื่องมือฉุกเฉิน รถทหาร ก็ไม่แปลกแยกอะไร ยังเกี่ยวพันกับวรรณะของตน สมมุติแต่เดิมรับราชการมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษติดต่อกันสองร้อยปี ถ้าตระกูลไหนเปลี่ยนเป็นค้าขายทำไปสักเจ็ดรุ่นก็ถือเป็นวรรณะที่แตกย่อยไป แต่ยังอยู่ในวรรณะกษัตริย์ ไม่ใช่เปลี่ยนเป็นพ่อค้า
ค้าเสื้อผ้ารองเท้าแฟชั่นก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องค้าชุดฟอร์มทหาร
แต่ถ้าไม่จำเป็น เขาแทบไม่แบกหาม ยกน้ำชงชาเสริฟขนม เก็บกวาดปัดถูอะไรต่างๆเอง ยังไงก็ต้องจ้างคนวรรณะต่ำกว่ามาทำ
สมมุติบริษัทมีพนักงานขาย ยี่สิบคน จ้างคนชงชาคนเดียว ทำให้ไม่ทันหรอกครับ เขาก็ชงกันเองบ้างสะดวกดี เสริฟส่งต่อมือกันได้เลย
แต่เวลามีแขกมา ต้องรับรอง เจรจา เขาก็ไม่ทำเองนะครับ เป็นเรื่องหน้าตา ต้องนั่งรอคนชงชานั่นหละ จะส่งของขนของก็รอกุลีแบกหาม บางครั้งของหนักสิบกิโล รอเด็กมายกเป็นครึ่งชั่วโมง เด็กไปกินข้าวไปเข้าห้องน้ำเดินไปตามสองสามรอบ ไม่เป็นอันได้ออกรถ ทั้งที่ยกเองไม่ถึงนาทีเสร็จ คนไทยเราเจอเรื่องพวกนี้ก็หงายหลังกันไป
ยุคสามสี่สิบปีที่ผ่านมา ต่อให้ประหยัดขนาดไหนก็ไม่ทำเองครับ เหมือนมีระบบวรรณะเป็นเครื่องมือสำรองตำแหน่งงานใว้ให้วรรณะต่ำไปในตัวครับ
มาถึงยุคนี้ก็ผ่อนคลายความถือตัวเรื่องสายตระกูลกันไปอีกหน่อย แต่ไม่หมดง่ายๆหรอกครับ เพราะไม่ใช่แค่ฮินดูแค่อินเดียนะ แม้คนบางสัญชาติบางประเทศตั้งกันขึ้นมาโดยเงื่อนไขทางสังคมอื่นๆ ไม่ได้ก่อตั้งบนเงื่อนไขความหยิ่งทะนงที่จะดำรงเผ่าพันธ์แทบจะเดี่ยวๆเหมือนยุคโบราณ
แต่ความมานะถือดีในสายพันธ์ตนเองและกดข่มชนเผ่าอื่นก็มีกันแทบทุกเชื้อชาติหละครับ
ดังนั้น ไม่ว่าปุถุชนศาสนาไหนๆ ต่อให้คำสอนบอกว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันในทุกด้าน หากยังมีลักษณะสังคมที่หยิ่งในเชื้อสายเผ่าพันธ์. ระบบวรรณะหรือคล้ายๆกันก็ไม่หายไปไหนง่ายๆหรอกครับ
แสดงความคิดเห็น
ระบบชนชั้นวรรณะของอินเดียกับยศทหารอินเดีย