เว็บเพจ บูรพาไม่แพ้ ได้รายงานว่า ญี่ปุ่น และ จีน มีปมประวัติศาสตร์ที่บาดหมางตั้งแต่ช่วงสงครามโลก และต่อมายังเป็นคู่แข่งกันทั้งในด้านเศรษฐกิจและอิทธิพลระหว่างประเทศ หลายประเทศต้องรักษาสมดุลระหว่างสองมหาอำนาจ บางครั้งต้องลำบากใจที่จะเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แต่นิมิตหมายใหม่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองชาติตกลงจะจับมือกันลงทุนในประเทศที่สามเป็นครั้งแรก โครงการแรกที่จีนและญี่ปุ่นจะสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกันคือ การพัฒนาในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ของ ไทย
ความริเริ่มนี้มีขึ้นเมื่อนายกฯ หลี่เค่อเฉียงของจีนเดินทางเยือนญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเยือนญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 8 ปีของผู้นำจีน นายกฯ หลี่เค่อเฉียงได้เขียนบทความเผยแพร่ในหนรังสือพิมพ์ของญี่ปุ่น เรียกร้องให้ญี่ปุ่นและจีนร่วมมือกันในโครงการ OneBeltOneRoad ของจีน ซี่งรวมทั้งการร่วมลงทุนในประเทศที่สาม
หลังจากนั้นไม่นาน สถานทูตจีน สถานทูตญี่ปุ่น และสำนักงานนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ของไทยได้จัดแถลงข่าวร่วมกันที่กรุงเทพฯ ระบุว่า จีนและ ญี่ปุ่นสนใจจะร่วมกันลงทุนในโครงการ EEC โดยเฉพาะการเชื่อมโยงรถไฟระหว่าง 3 สนามบิน คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา นี่เป็นครั้งแรกที่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและผู้กำหนดนโยบายระดับสูงของทางการจีนขึ้นเวทีร่วมกัน
ผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นและจีนเตรียมจัดประชุมที่กรุงปักกิ่งในเดือนสิงหาคม เพื่อบุกเบิกการลงทุนร่วมกันในประเทศที่ 3 เป็นครั้งแรก ผู้นำฝ่ายจีนคือนายหนิง จี๋เจ่อ รองประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนผู้นำฝ่ายญี่ปุ่นคือ นายฮิโรโตะ อิซูมิ ที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรี หลังจากการประชุม จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อประสานงานและสนับสนุนการลงทุนร่วมกันของจีนและญี่ปุ่น
นอกจากนี้ นายกฯ ชินโซ อะเบะ ก็จะเดินทางเยือนจีนเป็นครั้งแรกเช่นกัน โดยฝ่ายญี่ปุ่นวางกำหนดไว้ในช่วงเดือนตุลาคม แต่ฝ่ายจีนคาดให้เลื่อนมาอยู่ในเดือนกันยายน หลังจากการเลือกตั้งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย ซึ่งคาดว่านายอะเบะจะการันตีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของญี่ปุ่น
ความร่วมมือระหว่างจีนและญี่ปุ่นในประเทศที่สามถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ที่เกิดขึ้นได้เพราะสมประโยชน์กันทุกฝ่าย ฝ่ายจีนต้องการผลักดันนโยบาย One Belt One Road และเพิ่มความร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อรับมือนโยบายกีดกันทางการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ
ขณะที่ญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบจากนโยบายของทรัมป์เช่นกัน แต่ “น้ำท่วมปาก”เพราะความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ นอกจากนี้ต้องการให้จีนสนับสนุนการพบปะครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำญี่ปุ่นและเกาหลีเหนือ
ส่วนประเทศไทย หากความร่วมมือครั้งนี้สำเร็จ ไม่เพียงแต่เป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก แต่ยังเป็นความสำเร็จของโครงการ EEC และการลงทุนที่ในอดีตเคยต้องเบ่งเค้กให้กับจีนและญี่ปุ่นอย่างเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง จนเกิดความกังวลว่าระบบที่แตกต่างกันของจีนและญี่ปุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเมื่อใช้งาน
ความร่วมมือระหว่างสองมหาอำนาจจะเป็นคุณูปการอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจไทย และแน่นอนว่าจะค้ำจุนอำนาจของรัฐบาลทหารที่จะแปลงรูปเป็นรัฐบาลต่อไปหลังการเลือกตั้งด้วย.
credit:
https://mgronline.com/japan/detail/9610000076040
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง เป็นประโยชน์กับ ไทย มหาศาล วิศกรรม ของทั้งสองประเทศ รวมมาเป็นหนึ่งสร้าง platform ใหม่ในไทยได้เลย
ญี่ปุ่นจับมือจีน สร้างประวัติศาสตร์ร่วมลงทุนในไทย ถ้าจริงไทยยิ้มเลย
เว็บเพจ บูรพาไม่แพ้ ได้รายงานว่า ญี่ปุ่น และ จีน มีปมประวัติศาสตร์ที่บาดหมางตั้งแต่ช่วงสงครามโลก และต่อมายังเป็นคู่แข่งกันทั้งในด้านเศรษฐกิจและอิทธิพลระหว่างประเทศ หลายประเทศต้องรักษาสมดุลระหว่างสองมหาอำนาจ บางครั้งต้องลำบากใจที่จะเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แต่นิมิตหมายใหม่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อทั้งสองชาติตกลงจะจับมือกันลงทุนในประเทศที่สามเป็นครั้งแรก โครงการแรกที่จีนและญี่ปุ่นจะสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกันคือ การพัฒนาในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ของ ไทย
ความริเริ่มนี้มีขึ้นเมื่อนายกฯ หลี่เค่อเฉียงของจีนเดินทางเยือนญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเยือนญี่ปุ่นครั้งแรกในรอบ 8 ปีของผู้นำจีน นายกฯ หลี่เค่อเฉียงได้เขียนบทความเผยแพร่ในหนรังสือพิมพ์ของญี่ปุ่น เรียกร้องให้ญี่ปุ่นและจีนร่วมมือกันในโครงการ OneBeltOneRoad ของจีน ซี่งรวมทั้งการร่วมลงทุนในประเทศที่สาม
หลังจากนั้นไม่นาน สถานทูตจีน สถานทูตญี่ปุ่น และสำนักงานนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ของไทยได้จัดแถลงข่าวร่วมกันที่กรุงเทพฯ ระบุว่า จีนและ ญี่ปุ่นสนใจจะร่วมกันลงทุนในโครงการ EEC โดยเฉพาะการเชื่อมโยงรถไฟระหว่าง 3 สนามบิน คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา นี่เป็นครั้งแรกที่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและผู้กำหนดนโยบายระดับสูงของทางการจีนขึ้นเวทีร่วมกัน
ผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นและจีนเตรียมจัดประชุมที่กรุงปักกิ่งในเดือนสิงหาคม เพื่อบุกเบิกการลงทุนร่วมกันในประเทศที่ 3 เป็นครั้งแรก ผู้นำฝ่ายจีนคือนายหนิง จี๋เจ่อ รองประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนผู้นำฝ่ายญี่ปุ่นคือ นายฮิโรโตะ อิซูมิ ที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรี หลังจากการประชุม จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อประสานงานและสนับสนุนการลงทุนร่วมกันของจีนและญี่ปุ่น
นอกจากนี้ นายกฯ ชินโซ อะเบะ ก็จะเดินทางเยือนจีนเป็นครั้งแรกเช่นกัน โดยฝ่ายญี่ปุ่นวางกำหนดไว้ในช่วงเดือนตุลาคม แต่ฝ่ายจีนคาดให้เลื่อนมาอยู่ในเดือนกันยายน หลังจากการเลือกตั้งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย ซึ่งคาดว่านายอะเบะจะการันตีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของญี่ปุ่น
ความร่วมมือระหว่างจีนและญี่ปุ่นในประเทศที่สามถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ที่เกิดขึ้นได้เพราะสมประโยชน์กันทุกฝ่าย ฝ่ายจีนต้องการผลักดันนโยบาย One Belt One Road และเพิ่มความร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อรับมือนโยบายกีดกันทางการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ
ขณะที่ญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบจากนโยบายของทรัมป์เช่นกัน แต่ “น้ำท่วมปาก”เพราะความเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ นอกจากนี้ต้องการให้จีนสนับสนุนการพบปะครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำญี่ปุ่นและเกาหลีเหนือ
ส่วนประเทศไทย หากความร่วมมือครั้งนี้สำเร็จ ไม่เพียงแต่เป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก แต่ยังเป็นความสำเร็จของโครงการ EEC และการลงทุนที่ในอดีตเคยต้องเบ่งเค้กให้กับจีนและญี่ปุ่นอย่างเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง จนเกิดความกังวลว่าระบบที่แตกต่างกันของจีนและญี่ปุ่นจะทำให้เกิดปัญหาเมื่อใช้งาน
ความร่วมมือระหว่างสองมหาอำนาจจะเป็นคุณูปการอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจไทย และแน่นอนว่าจะค้ำจุนอำนาจของรัฐบาลทหารที่จะแปลงรูปเป็นรัฐบาลต่อไปหลังการเลือกตั้งด้วย.
credit: https://mgronline.com/japan/detail/9610000076040
ถ้าข่าวนี้เป็นจริง เป็นประโยชน์กับ ไทย มหาศาล วิศกรรม ของทั้งสองประเทศ รวมมาเป็นหนึ่งสร้าง platform ใหม่ในไทยได้เลย