สะสมอัธยาศัยใหญ่ที่จะสละทุกอย่างที่เคยติดข้อง สละหมดไม่เหลือเลย ทั้งครอบครัว วงศาคณาญาติ และทรัพย์สมบัติ ไม่ผูกพันไม่ติดข้องในสิ่งเหล่านั้น เพื่อเข้าใกล้ความสงบจากกิเลส นี้คือจุดประสงค์ของการเป็นภิกษุ ไม่ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น ภิกษุทุกรูปในสมัยพุทธกาล ทุกยุคทุกสมัยต้องเคารพในพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ด้วยพระองค์เอง ฉะนั้น ภิกษุจึงต้องศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความเคารพอย่างละเอียดรอบคอบจึงจะประพฤติตามพระธรรมวินัยได้ แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจในพระธรรมวินัยก็จะประพฤติในสิ่งที่ผิด ล่วงละเมิดสิกขาบทต่างๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อย่างเช่น กรณีภิกษุรับเงินและทอง ยินดีในเงินและทอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทที่ ๘ แห่งโกสิยวรรค ว่า “อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์” แม้จะรับแต่น้อยก็ไม่พ้นจากอาบัติข้อนี้ ต้องสละเงินนั้นให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยจึงจะแสดงอาบัติ (ปลงอาบัติ)ได้ และทำให้เป็นผู้พ้นจากโทษนั้นได้ แต่ถ้าภิกษุรูปใดมีเงินและทอง รับเงินและทอง
ยินดีในเงินและทองแม้ที่เขาเก็บไว้ให้เพื่อตน ไม่เห็นโทษของการล่วงละเมิดพระวินัย ภิกษุนั้นไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย
แม้แต่ภิกษุขอเงินจากชาวบ้านก็ไม่ได้โดยประการทั้งปวง เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะควร เพราะภิกษุจะขอสิ่งของจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ หรือไม่ใช่บุคคลผู้ปวารณาไว้ไม่ได้ ถ้าเป็นญาติหรือเป็นบุคคลผู้ปวารณาไว้ ภิกษุจะขอได้ก็เฉพาะสิ่งของที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตเท่านั้น เช่น จีวร อาหาร เป็นต้น
แต่จะขอเงินไม่ได้โดยประการทั้งปวง เพราะเงินทองเป็นวัตถุที่ไม่ควรแก่เพศบรรพชิต เงินทองเป็นเครื่องเศร้าหมองของบรรพชิต
นำมาซึ่งความไม่สงบอันแสดงถึงชีวิตของคฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต
ภิกษุ คือ ผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยของกิเลส เป็นผู้มีความละอายต่ออกุศลยิ่งกว่าคฤหัสถ์
ยินดีในเงินและทองแม้ที่เขาเก็บไว้ให้เพื่อตน ไม่เห็นโทษของการล่วงละเมิดพระวินัย ภิกษุนั้นไม่ใช่ภิกษุในพระธรรมวินัย
แม้แต่ภิกษุขอเงินจากชาวบ้านก็ไม่ได้โดยประการทั้งปวง เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะควร เพราะภิกษุจะขอสิ่งของจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ หรือไม่ใช่บุคคลผู้ปวารณาไว้ไม่ได้ ถ้าเป็นญาติหรือเป็นบุคคลผู้ปวารณาไว้ ภิกษุจะขอได้ก็เฉพาะสิ่งของที่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตเท่านั้น เช่น จีวร อาหาร เป็นต้น
แต่จะขอเงินไม่ได้โดยประการทั้งปวง เพราะเงินทองเป็นวัตถุที่ไม่ควรแก่เพศบรรพชิต เงินทองเป็นเครื่องเศร้าหมองของบรรพชิต
นำมาซึ่งความไม่สงบอันแสดงถึงชีวิตของคฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต