จิตพุทธะเป็นไฉน

จิตพุทธะเป็นไฉน

    จิต แปลว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (อารัมมะณะวิชานะนะลักขะณัง) คือ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอ

    จิต คือ ธรรมชาติรู้อารมณ์ ได้รับอารมณ์อยู่เสมอ (อารัมมะณัง จินเตตีติ)

    จิตเป็นสิ่งธรรมดา

    จิตปภัสสร คือ จิตที่ไม่ผสมกับอะไร เป็นฟองน้ำที่ยังไม่ซับน้ำ จิตดวงนี้ไม่ใช่จิตพุทธะ ถ้าจิตปภัสสรเอามิจฉาเข้าไป ก็กลายเป็นจิตมิจฉาแล้ว

    สมมติว่า จิตอรหันต์ คือ จิตที่เข้าสู่อรหันต์ แต่ไม่ใช่จิตอรหันต์ จิตเราปภัสสร ก็จะมาผสมกันออกมา เรียกว่า จิตดวงหนึ่งที่เป็นพุทธะ ทุกคนในนั้นก็มี

    น้ำเปล่าๆ นี่แหละเป็นปภัสสร พอจิตเคลื่อนออกมาอีกขั้นหนึ่ง สมมติว่า เราใส่ใบชา กลายเป็นน้ำชา อีกถ้วยหนึ่งเราเอากาแฟใส่ลงไปก็กลายเป็นกาแฟ

    จิตพุทธะ คือ อีกแก้วหนึ่ง ที่พร้อมรับสัมมาปัญญาเข้ามาในจิตปภัสสร ก็กลายเป็น จิตพุทธะ

    จิตพุทธะ คือ จิตที่รับรู้ถึงความจริงแห่งธรรมชาติ จิตพุทธะก็เห็นทั้งมิจฉา (สิ่งที่ไม่ถูกต้อง) และสัมมา (สิ่งที่ถูกต้อง) เห็นทั้งหมด เห็นถึงวิถีความจริงแห่งธรรมชาติ คือทั้งหมดของธรรมชาติ ในธรรมชาติก็จะแบ่งเป็นสายมิจฉา สายสัมมา  สายบวก (+) สายลบ (-) สายดำ สายขาว แล้วก็จะแบ่งไปเรื่อยๆ  จิตพุทธะรู้ธรรมชาติว่าเป็นอย่างไหน จิตเค้ารู้ว่าเป็นพุทธะ ส่วนจิตจะเลือกเอาว่ามิจฉาหรือสัมมาอยู่ข้างล่างๆ จะเลือกอะไร คือ เจ้าเรือนของจิตจะไปเลือกอะไร จะบอกกับอะไร พอจิตพุทธะเกิดขึ้นมาปุ๊บ เค้าก็แบ่ง โอ!! มันเป็นธรรมชาติของทั้งดำ ทั้งขาวเป็นเช่นนี้และ จิตก็แบ่งออกมาแล้วเป็น ๔ ตัว

    ๔ ตัวนี้เราไปทำอะไรต่อก็เป็นเรื่องของเรา เพราะว่าจิตจะใหลไป เดินไป มีทั้งสิ่งแวดล้อม ทั้งบุคคล ทั้งวิบากเก่า มาผสมผสานกัน

    จิตจะดำรงเป็นหนึ่ง ออกมาจะมีเลข ๒ แล้ว จะเคลื่อนแล้ว ถ้าจิตเป็นจิตพุทธะ จะออกมาเป็นหมายเลข ๒ แล้ว คือ รู้ถึงธรรมชาติ พอรู้ถึงธรรมชาติต่างๆ ก็จะมีหมายเลข ๓ ล่ะ สัมมา กับมิจฉา ก็จะบวกกันต่อ ก็เดินทางไปก็จะมีสิ่งแวดล้อม มีเหตุปัจจัย มีวิบากเก่า เขาเรียกว่า "วิถีแห่งจิต" ไม่ใช่ดำรงอยู่แล้ว

    ขั้นที่ ๑ ถ้าเป็นจิตปภัสสร จะดำรงไว้เฉยๆ

    ขั้นที่ ๒ จิตเป็นจิตพุทธะแล้ว คือ รู้ถึงธรรม พอรู้ของธรรม ในธรรมก็จะมีส่วนแยกเป็นตัวๆ พอแต่ละตัวก็จะมีวิถีโชคชะตา และว่าด้วยธรรมชาติมีอะไร

    ขั้นที่ ๓ เป็นไปตามชะตา เป็นไปตามวิถีแห่งวิบาก เช่น คนนี้เขามีวิบากเยอะทางมิจฉา เขาก็จะไปทางมิจฉา คนนี้เขามีวิบากสัมมา เขาก็จะไปทางสัมมา และตัวกลางๆ มีทั้งหมด ๓ ตัว พอ ๓ ตัวเริ่มเดินทางขึ้นอยู่กับสติสัมปชัญญะไปควบคุมจะเอาเป็นอะไร

    ขั้นที่ ๔ สติสัมปชัญญะจะไปควบคุมอะไร สมมติว่าเราเดินทางสัมมา เช่น กูจะเป็นพระ เดินไปสัก ๕ ปี กูอยากมีเมีย ก็สึกออกมา ก็มี ๓ ทาง คือ มิจฉา สัมมา และกลางๆ และตัณหาก็มี ๓ อย่าง

    ๑. กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง ๕

    ๒. ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง

    ๓. วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความอยากดับสูญ

    เวลาจิตเดินทางวิบากอะไรก็จะตามมา ของใหม่ ของเก่า ไปเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ

    อย่างเช่น เด็ก ถ้าแม่ทิ้งเขาให้ไปอยู่กับหมาป่า เขาก็จะหอนเหมือนกับหมาป่า คนที่ชอบหมาว้อ (หมายถึงชอบหึงหวง) ก็จะอยู่กับสิ่งแวดล้อมหมาว้อมาก่อน แสดงว่าสิ่งแวดล้อมมีส่วนมาก เหตุปัจจัยวิบาก มีแค่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ สมมติว่า เขามีวิบากตรงนั้น ชะตาเขาจึงออกมาถึงผลัดพรากจากแม่ไปอยู่กับหมาป่า วิบากเป็นตัวนำ ตามด้วยอะไร เช่น อีกคนหนึ่งอยู่ในป่าเหมือนกัน แต่กลายเป็นทาร์ซาน

    พุทธะ อย่าแปลผิดนะว่าเป็นจิตของพระพุทธเจ้า อย่างนี้ไม่ถูก พุทธะ คือ ของธรรม คือว่า รู้ของธรรม พอรู้ของธรรมแล้ว ถึงจะไปแยก สัมมาหรือมิจฉา สัมมาก็จะมีหลายตัว อะไรคือสัมมา ตัวมิจฉาก็จะมีหลายๆ ตัว หลายตัวก็จะใหลไป เดินทางไปก็เก็บผสมไป เหมือนกับน้ำ ใหลไปในลำธาร ก็จะถูกผสมไปด้วยน้ำสายไหนๆ

    จิตพุทธะ คือ รู้ของธรรม รู้ว่าทั้งหมดนี่คือธรรม ธรรมมีอะไรต่างๆ

    จิตดั้งเดิม คือ จิตปภัสสร แล้วก็จะมีพุทธะก็เป็นของธรรมชาติ พอหนึ่งกับสอง มารวมกันก็จะกลายเป็นตัวที่ ๓ มิจฉาหรือสัมมา และกลางๆ เรียกว่าตัวเทา แล้วก็จะเดินทาง ก็จะบวกแล้ว แล้วแต่วิบาก จะบวกกับอะไร จะเป็นมิจฉา จะเป็นมิจฉาที่รุนแรง หรือมีมิจฉาแล้วจะมีวิบากตัวหนึ่งทำให้เกิดมาเป็นสัมมา สำนึกผิดแล้วกลับมาเป็นสัมมา บางคนก็จากตัวนี้เดินไปไปเจอสิ่งแวดล้อมไม่ดี กระโดดเข้ามาเป็นมิจฉา บางคนโดดไปโดดมาอยู่กลางๆ แล้ว เป็นเส้นทางเดิน ลงไปกลายเป็นสัมปชัญญะแล้ว

    ออกมาเป็นตัวสัมปชัญญะแล้ว คือมาผสมกับปัญญาอะไร สติกับปัญญาตัวนี้ เลยได้รับการสั่งสอนจากอุทธาหรณ์

    คำว่า "พุทธะ" นี้ หมายถึง รู้ของธรรม มีกี่ด้านก็รู้หมด มีหมด ดำขาว สว่าง มืด สรุป รู้ทั้ง ๓ ตัวนี้ (มิจฉา สัมมา กลางๆ) ทั้ง ๓ ตัวนี้ก็ได้ความรู้มาจากพุทธะ แต่ตรงกลางก็จะมีสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะก็จะมาดูแล ๓ ตัวนี้ ๓ ตัวนี้เดินทางไปก็จะเป็นวิถีของชะตาแล้ว มีทั้งวิบากเก่ามารวม มีทั้งสิ่งแวดล้อมมา คนนี้ ยิ้ม เกิดมาก็ ยิ้ม ไม่มี พอไปถึง ๕ ปี เหมือนกับองคุลิมาล ไปถึง ณ จุดนั้น ไปเจอสิ่งแวดล้อมที่ดี คือ พระพุทธเจ้ามาโปรด แล้วสำนึก โดดเข้ามาทางสัมมา ทั้ง ๓ เส้นนี้ก็จะโดดไปโดดมา ยังไม่แน่เสมอไปเพราะอยู่ระดับล่างนี้ เพราะทั้งหมดของการโดดไปโดดมาเขาเรียกว่าเป็นตบะ ก็จะเกิดตบะปัญญาบารมี ตบะปัญญาบารมีได้รับสัมมาเยอะก็จะโดดข้ามมาทางสัมมา ทางนี้สัมมาทำไปเริ่มอ่อนไม่เอาแล้วก็จะโดดเข้ามาสู่ตัวมิจฉา พอโดดไปแล้วกูไม่เอาแล้ว กูจะเอากลางๆ ก็ได้

    จิตเจตนา มีเจตนาทางสัมมาก็จะบวกทางสัมมา มีเหตุปัจจัยอะไรต่างๆ ทางสัมมา สมมติว่ามีเจตนาไปทางมิจฉา ก็จะมีสายมิจฉามาบวก ตรงนี้เป็นจุดอยู่ทั้ง ๓ ตัว ว่าเราจะเอาเจตนาอะไรมาบวก

    จิตพุทธะ คือ จิตที่ตัวธรรมชาติสร้างมาให้เรา รู้ถึงธรรมชาติต่างๆ จิตที่มีมิจฉา ไม่ใช่ว่ามิจฉาตายตัวตลอดไปนะ เช่น ติดมิจฉา ๑๐ ปี ปีที่ ๑๑ เขาไปเป็นสัมมา เหมือนกับองคุลิมาล

อ.พรหมสิทธิ์  ทิพย์ธาดาวงศ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่