ฉบับที่ ๔๓ วันเข้าพรรษา วันเสาร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
เรื่อง วันเข้าพรรษา อีก 3 นัย เนื่องด้วยพระราชาทูลขอ กรอบของพระเทวทัต และข้อห้ามโยมดื่มสุรา ที่ต้องศึกษา
วันเข้าพรรษา 2561 Buddhist Lent Day
วันเข้าพรรษาปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2561 แรม 1 ค่ำ เดือน 8
ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิ(Meditation)ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกล ๆ ออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง
จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบท เรื่องพระภิกษุต้องอยู่จำพรรษา ซึ่งตามที่อธิบายในหลายๆฉบับ พระวินัยคือกรอบ ไม่ใช่กรง แปรเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ เช่นโดยมีข้อยกเว้นหากจะต้องเดินทางไปไหนในกรณีจำเป็นได้ ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่
1.ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้
2.ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก
3.ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น
4.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้
สิ่งที่น่าพิจารณา 3 เรื่อง ที่สังคมไทยปัจจุบันกำลังวิพากษ์วิจารณ์กัน คือเรื่อง พระจับเงิน พระไม่เคร่งครัด ห้ามขายสุราให้โยมดื่มเหล้าทำไม เงินของฉันจะทำไม ในฐานะผู้เขียนเป็นชาวพุทธ จึงนำเหตุการณ์สำคัญที่หลายท่านอาจไม่รู้
1.การทูลขอกำหนดวันเข้าพรรษา เอาวันไหนนั้น ผู้ทูลขอคือพระราชาพระเจ้าพิมพิสาร ที่เป็นที่มาของพรรษาต้น พรรษาหลัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำอย่างไร เนื่องด้วยพระราชา พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา" ซึ่งความหมาย ก็คือ มิใช่ว่า พระราชาตรัสสั่งอะไร ก็คล้อยตามไปเสียหมด โดยไม่ต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าสอดคล้อง หรือ ขัดแย้งกับพระธรรมคำสอน หรือไม่ และ อย่างไร ? "เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา" นั้นเรื่องราวต่างๆ เท่าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ก็ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า พระพุทธเจ้าทรงหมายถึงการอนุญาต ในเรื่องอะไร ?
ดังนั้น เรื่องพระจับเงินในปัจจุบัน สงฆ์พิจารณาแล้วจึงรับได้เป็นปกติจาก เรื่องนิตยภัต ที่พระมหากษัตริย์มีพระราชศรัทธาถวายเป็นเงินนั่นเอง ส่วนเงินทอนวัด ฟอกเงินที่ไล่ล่าพระอยู่นี้ ถ้าพิจารณาเรื่องศรัทธาถวายแล้ว จำนวนเท่านั้นเท่านี้ เราจะสนใจทำไมว่าท่านจะโกงไหม อีกพระวินัยเรื่องลักทรัพย์มีอยู่ ก็ให้สงฆ์โจทกันเอง เรื่องถวายก็จบไปแล้วเพราะญาติโยมสัมผัสได้ถึงศรัทธา ว่าท่านนำไปทำอะไร ที่ควรสนใจคือ คนที่ดูแลงบจ้องจะงับท่านใช่หรือไม่
2.การทูลของพระเทวทัต ให้พระเคร่งครัดในวัตถุ 5 คือ
2.1ให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าสู่บ้านมีโทษ
2.2ให้ภิกษุถือบิณฑบาตตลอดชีวิต รับนิมนต์มีโทษ
2.3ให้ภิกษุถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต รับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) มีโทษ
2.4ให้ภิกษุอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต เข้าสู่ที่มุงบังมีโทษ
2.5ให้ภิกษุห้ามฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต ฉันเข้ามีโทษ
พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธใน 4 ข้อข้างต้น แต่ภิกษุใดจะปฏิบัติโดยสมัครใจก็ไม่บังคับ และในข้อที่ 4 นั้นทรงอนุญาตให้อยู่โคนไม้ได้ 8 เดือน ช่วงเข้าพรรษาซึ่งตรงกับฤดูฝนให้อยู่จำพรรษาที่มุงบัง ส่วนข้อที่ 5 นั้นทรงอนุญาตให้ฉันเนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข 3 ประการ คือ ไม่ได้เห็น, ไม่ได้ฟังและไม่ได้นึกรังเกียจว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน ดังนั้น เรื่องกรอบของพระชัดเจน ย้ำ!!!ไม่ใช่กรง ยิ่งผู้จ้องจับผิดแบบเทวทัต สุดท้ายคงรู้ชะตากรรม อเวจีมหานรกเป็นที่ไปได้น่ะ กรรมหนัก 5 อย่าง ควรระวัง
3.เรื่องห้ามขายสุราในวันนี้ อ้าว!!! ก็เงินเรานี่ จะกินจะทำไม ขอสรุปสั้น ๆ ว่า สุราเป็นต้นเหตุของปัญหามากมาย เป็นเหตุให้ศีลทั้ง 4 ข้อขาดหมด เมื่อเมาแล้วไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน พร้อมกัด ข่มขืนผู้คนรอบข้าง เป็นมหันตภัยอันร้ายแรง ในฐานะเมืองพุทธจะรณรงค์วันสำคัญของชาวพุทธ ถือว่ายังน้อยไป ต้องเลิกผลิต ปิดโรงงานถึงจะดี ไทยเราคงสงบสุข ทั้งครอบครัว ประเทศชาติที่ถูกมอมเมาโดยนายทุนมายาวนาน ที่ชัดเจนว่ามันไม่ดีมันกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากคำสอนของพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มี 6 ประการ คือ
(1) ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง
(2) ก่อการทะเลาะวิวาท
(3) เป็นบ่อเกิดแห่งโรค
(4) เป็นเหตุเสียชื่อเสียง
(5) เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย
(6) เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา
สรุป 3 นัย วันเข้าพรรษาที่เพิ่มเติมนี้ ทั้งพระทั้งโยม หาก ทำดี ละชั่ว ทำใจผ่องใส อย่าจ้องทำร้าย ทำลายคนอื่นทั้งเจตนาและไม่เจตนา โลกใบนี้จะสงบสุขได้อย่างแน่นอน
ทุกท่านคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนความความรู้กันใน Comment Facebook, YouTube, Blog, Line, IG, Twitter, pantip ...กันนะครับ ขอบคุณครับ
B.S.
28 ก.ค. 2561
ตอน วันเข้าพรรษา อีก 3 นัย เนื่องด้วยพระราชาทูลขอ กรอบของพระเทวทัต และข้อห้ามโยมดื่มสุรา ที่ต้องศึกษา เวลา 14.00-14.20 น.
https://youtu.be/woiyT-d07WI
วันเข้าพรรษา อีก 3 นัย เนื่องด้วยพระราชาทูลขอ กรอบของพระเทวทัต และข้อห้ามโยมดื่มสุรา ที่ต้องศึกษา เ
เรื่อง วันเข้าพรรษา อีก 3 นัย เนื่องด้วยพระราชาทูลขอ กรอบของพระเทวทัต และข้อห้ามโยมดื่มสุรา ที่ต้องศึกษา
วันเข้าพรรษา 2561 Buddhist Lent Day
วันเข้าพรรษาปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2561 แรม 1 ค่ำ เดือน 8
ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ในยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุมีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอนญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลา ท่านก็จะไป หรือไม่ได้ไปเทศน์ไปสอนใคร ถ้าเห็นว่าที่ไหนมันเงียบสงัดดี เหมาะในการที่จะไปบำเพ็ญภาวนา ทำสมาธิ(Meditation)ท่านก็จะไป ซึ่งแน่นอน ส่วนมากก็จะอยู่ในเขตที่เป็นป่าเป็นเขา ไกล ๆ ออกไปจากตัวเมือง หรือว่าต้องผ่านไปในชนบทนั่นเอง
จากการที่ท่านต้องไปอย่างนี้ เนื่องจากในฤดูฝนที่เขาทำไร่ทำนากันอยู่นั้น บางครั้ง ข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลงไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดูเหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่ามันเป็นดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้าของเขาไป ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน เขาก็มาฟ้องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระไปย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ หว่านเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยังอยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบท เรื่องพระภิกษุต้องอยู่จำพรรษา ซึ่งตามที่อธิบายในหลายๆฉบับ พระวินัยคือกรอบ ไม่ใช่กรง แปรเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ เช่นโดยมีข้อยกเว้นหากจะต้องเดินทางไปไหนในกรณีจำเป็นได้ ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่
1.ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้
2.ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก
3.ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น
4.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้
สิ่งที่น่าพิจารณา 3 เรื่อง ที่สังคมไทยปัจจุบันกำลังวิพากษ์วิจารณ์กัน คือเรื่อง พระจับเงิน พระไม่เคร่งครัด ห้ามขายสุราให้โยมดื่มเหล้าทำไม เงินของฉันจะทำไม ในฐานะผู้เขียนเป็นชาวพุทธ จึงนำเหตุการณ์สำคัญที่หลายท่านอาจไม่รู้
1.การทูลขอกำหนดวันเข้าพรรษา เอาวันไหนนั้น ผู้ทูลขอคือพระราชาพระเจ้าพิมพิสาร ที่เป็นที่มาของพรรษาต้น พรรษาหลัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำอย่างไร เนื่องด้วยพระราชา พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา" ซึ่งความหมาย ก็คือ มิใช่ว่า พระราชาตรัสสั่งอะไร ก็คล้อยตามไปเสียหมด โดยไม่ต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนว่าสอดคล้อง หรือ ขัดแย้งกับพระธรรมคำสอน หรือไม่ และ อย่างไร ? "เราอนุญาตให้คล้อยตามพระราชา" นั้นเรื่องราวต่างๆ เท่าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ก็ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า พระพุทธเจ้าทรงหมายถึงการอนุญาต ในเรื่องอะไร ?
ดังนั้น เรื่องพระจับเงินในปัจจุบัน สงฆ์พิจารณาแล้วจึงรับได้เป็นปกติจาก เรื่องนิตยภัต ที่พระมหากษัตริย์มีพระราชศรัทธาถวายเป็นเงินนั่นเอง ส่วนเงินทอนวัด ฟอกเงินที่ไล่ล่าพระอยู่นี้ ถ้าพิจารณาเรื่องศรัทธาถวายแล้ว จำนวนเท่านั้นเท่านี้ เราจะสนใจทำไมว่าท่านจะโกงไหม อีกพระวินัยเรื่องลักทรัพย์มีอยู่ ก็ให้สงฆ์โจทกันเอง เรื่องถวายก็จบไปแล้วเพราะญาติโยมสัมผัสได้ถึงศรัทธา ว่าท่านนำไปทำอะไร ที่ควรสนใจคือ คนที่ดูแลงบจ้องจะงับท่านใช่หรือไม่
2.การทูลของพระเทวทัต ให้พระเคร่งครัดในวัตถุ 5 คือ
2.1ให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าสู่บ้านมีโทษ
2.2ให้ภิกษุถือบิณฑบาตตลอดชีวิต รับนิมนต์มีโทษ
2.3ให้ภิกษุถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต รับคฤหบดีจีวร (ผ้าที่เขาถวาย) มีโทษ
2.4ให้ภิกษุอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต เข้าสู่ที่มุงบังมีโทษ
2.5ให้ภิกษุห้ามฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต ฉันเข้ามีโทษ
พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธใน 4 ข้อข้างต้น แต่ภิกษุใดจะปฏิบัติโดยสมัครใจก็ไม่บังคับ และในข้อที่ 4 นั้นทรงอนุญาตให้อยู่โคนไม้ได้ 8 เดือน ช่วงเข้าพรรษาซึ่งตรงกับฤดูฝนให้อยู่จำพรรษาที่มุงบัง ส่วนข้อที่ 5 นั้นทรงอนุญาตให้ฉันเนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข 3 ประการ คือ ไม่ได้เห็น, ไม่ได้ฟังและไม่ได้นึกรังเกียจว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน ดังนั้น เรื่องกรอบของพระชัดเจน ย้ำ!!!ไม่ใช่กรง ยิ่งผู้จ้องจับผิดแบบเทวทัต สุดท้ายคงรู้ชะตากรรม อเวจีมหานรกเป็นที่ไปได้น่ะ กรรมหนัก 5 อย่าง ควรระวัง
3.เรื่องห้ามขายสุราในวันนี้ อ้าว!!! ก็เงินเรานี่ จะกินจะทำไม ขอสรุปสั้น ๆ ว่า สุราเป็นต้นเหตุของปัญหามากมาย เป็นเหตุให้ศีลทั้ง 4 ข้อขาดหมด เมื่อเมาแล้วไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน พร้อมกัด ข่มขืนผู้คนรอบข้าง เป็นมหันตภัยอันร้ายแรง ในฐานะเมืองพุทธจะรณรงค์วันสำคัญของชาวพุทธ ถือว่ายังน้อยไป ต้องเลิกผลิต ปิดโรงงานถึงจะดี ไทยเราคงสงบสุข ทั้งครอบครัว ประเทศชาติที่ถูกมอมเมาโดยนายทุนมายาวนาน ที่ชัดเจนว่ามันไม่ดีมันกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากคำสอนของพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มี 6 ประการ คือ
(1) ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง (2) ก่อการทะเลาะวิวาท (3) เป็นบ่อเกิดแห่งโรค (4) เป็นเหตุเสียชื่อเสียง (5) เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย (6) เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา
สรุป 3 นัย วันเข้าพรรษาที่เพิ่มเติมนี้ ทั้งพระทั้งโยม หาก ทำดี ละชั่ว ทำใจผ่องใส อย่าจ้องทำร้าย ทำลายคนอื่นทั้งเจตนาและไม่เจตนา โลกใบนี้จะสงบสุขได้อย่างแน่นอน
ทุกท่านคิดเห็นอย่างไร แลกเปลี่ยนความความรู้กันใน Comment Facebook, YouTube, Blog, Line, IG, Twitter, pantip ...กันนะครับ ขอบคุณครับ
B.S.
28 ก.ค. 2561
ตอน วันเข้าพรรษา อีก 3 นัย เนื่องด้วยพระราชาทูลขอ กรอบของพระเทวทัต และข้อห้ามโยมดื่มสุรา ที่ต้องศึกษา เวลา 14.00-14.20 น. https://youtu.be/woiyT-d07WI