ลำดับขั้นการปฏิบัติตามภาวะแห่งธรรม
อุเบกขา (equanimity; neutrality; poise) คือ เป็นภาวะธรรมหนึ่งๆ ที่จะต้องเป็นไปตามเหตุและผลของภาวะธรรมนั้นๆ ฉะนั้น เราจะยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามใจเราอย่างนี้อย่างนั้นไม่ได้ สุดแต่ภาวะเหตุของธรรมนั้นเป็นเช่นใดก็เป็นเช่นนั้น เราต้องยอมรับความจริงแห่งภาวะธรรมนั้นๆ
อุเบกขาเป็นภาวะธรรม ไม่ใช่ภาวะบุคคล มีเหตุมีผลของภาวะธรรมนั้นๆ ภาวะธรรมจะเกิดก็ต้องเกิด เราต้องยอมรับความจริง เราจะไปปฏิเสธภาวะธรรมไม่ได้ เช่น วันนี้ฝนตก พอถึงเวลาที่จะตก มีเหตุที่ทำให้ฝนตก ฝนก็จะตก เราจะไปบังคับไม่ให้ฝนตกไม่ได้ ถ้าเราจะไปบังคับ นี่แหละเราไม่ยอมให้มีอุเบกขา
เช่น ฝนตก จะไม่ให้ฝนตกเป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถบริหารตัวเราเองจะอยู่กับภาวะธรรมนั้นๆ คือ ฝนตกได้ เช่น อยู่ในร่ม กางร่ม ถ้าฝนตกหนักหนาว เราก็ห่มเสื้อกันหนาวได้ เป็นต้น
เราต้องรู้ภาวะธรรม เราถึงจะรู้ภาวะบุคคล
เราบอกว่าจะไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่เราไม่รู้จักภาวะธรรม จะทำยังไงก็อุเบกขาไม่ได้
เราต้องยอมรับภาวะธรรมเป็นเช่นนี้ (principle of nature; natural condition; natural phenomenon) ถ้าเรายอมรับภาวะธรรมได้ อุเบกขาจะมีโดยอัตโนมัติเลย เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยปริยาย
เราต้องรับความจริงก่อน ก่อนที่จะอุเบกขา
เหมือนกับเราออกกฎหมายอะไรมา แต่ถ้าไปขัดกับกฎรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นฟาวทันที เพราะภาวะธรรมใหญ่กว่า พลังเหนือกว่า
อนัตตา (soullessness; not-self) คือ เข้าไปควบคุมไม่ได้ (เป็นกิริยา เป็นรูปธรรม)
สุญญตา (liberation through voidness; void liberation)คือ มีเป็นอยู่ตามธรรมชาติ เรายึดมั่นถือมั่นให้เป็นอยู่ตลอดกาลไม่ได้ ต้องแปรเปลี่ยนไปตามกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (เป็นภาวะนามธรรม)
ตถตา (Suchness) คือ เป็นเช่นนั้นเอง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
ลำดับขั้นการปฏิบัติตามภาวะแห่งธรรม
อุเบกขา (equanimity; neutrality; poise) คือ เป็นภาวะธรรมหนึ่งๆ ที่จะต้องเป็นไปตามเหตุและผลของภาวะธรรมนั้นๆ ฉะนั้น เราจะยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามใจเราอย่างนี้อย่างนั้นไม่ได้ สุดแต่ภาวะเหตุของธรรมนั้นเป็นเช่นใดก็เป็นเช่นนั้น เราต้องยอมรับความจริงแห่งภาวะธรรมนั้นๆ
อุเบกขาเป็นภาวะธรรม ไม่ใช่ภาวะบุคคล มีเหตุมีผลของภาวะธรรมนั้นๆ ภาวะธรรมจะเกิดก็ต้องเกิด เราต้องยอมรับความจริง เราจะไปปฏิเสธภาวะธรรมไม่ได้ เช่น วันนี้ฝนตก พอถึงเวลาที่จะตก มีเหตุที่ทำให้ฝนตก ฝนก็จะตก เราจะไปบังคับไม่ให้ฝนตกไม่ได้ ถ้าเราจะไปบังคับ นี่แหละเราไม่ยอมให้มีอุเบกขา
เช่น ฝนตก จะไม่ให้ฝนตกเป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถบริหารตัวเราเองจะอยู่กับภาวะธรรมนั้นๆ คือ ฝนตกได้ เช่น อยู่ในร่ม กางร่ม ถ้าฝนตกหนักหนาว เราก็ห่มเสื้อกันหนาวได้ เป็นต้น
เราต้องรู้ภาวะธรรม เราถึงจะรู้ภาวะบุคคล
เราบอกว่าจะไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่เราไม่รู้จักภาวะธรรม จะทำยังไงก็อุเบกขาไม่ได้
เราต้องยอมรับภาวะธรรมเป็นเช่นนี้ (principle of nature; natural condition; natural phenomenon) ถ้าเรายอมรับภาวะธรรมได้ อุเบกขาจะมีโดยอัตโนมัติเลย เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยปริยาย
เราต้องรับความจริงก่อน ก่อนที่จะอุเบกขา
เหมือนกับเราออกกฎหมายอะไรมา แต่ถ้าไปขัดกับกฎรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นฟาวทันที เพราะภาวะธรรมใหญ่กว่า พลังเหนือกว่า
อนัตตา (soullessness; not-self) คือ เข้าไปควบคุมไม่ได้ (เป็นกิริยา เป็นรูปธรรม)
สุญญตา (liberation through voidness; void liberation)คือ มีเป็นอยู่ตามธรรมชาติ เรายึดมั่นถือมั่นให้เป็นอยู่ตลอดกาลไม่ได้ ต้องแปรเปลี่ยนไปตามกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (เป็นภาวะนามธรรม)
ตถตา (Suchness) คือ เป็นเช่นนั้นเอง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์