จากกรณีทีมหมูป่าเตรียมบวช : ลองมาดูประโยชน์ของการทำสมาธิในผู้ป่วยกัน ?!

เเถลงกำหนดการเตรียมบรรพชา อุปสมบททีมหมูป่า

นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าเชียงราย เเถลงถึงเรื่องเตรียมการบรรพชา
อุปสมบททีมหมูป่าอะคาเดมี่ จะมีการบวชเณร 11 รูป นั่นก็คือน้องๆ เเละพระ 1 รูป คือโค้ชเอก
จะการปลงผมนาค ในวันที่ 24 ก.ค. ที่วัดพระธาติดอยเวา ในตอนเช้า จะมีการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อน

วันที่ 25 ก.ค. 61 จัดพิธีบรรพชาอุปสมบทตามประเพณีล้านนา ขบวนตุง การอัญเชิญผ้าไตร 12 นาค
อัญเชิญเป็นขบวนและมีขบวนผ้าไตรโดยนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
และจะแห่นาคจากวัดน้อยพระธาตุดอยตุงไปยังพระธาตุดอยตุง รวมระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
หลังเสร็จพิธีจะจำวัดที่วัดพระธาตุดอยตุง 1 คืน

วันที่ 26 ก.ค.61 จำวัดที่วัดพระธาตุดอยเวา จนถึงวันที่ 3 ส.ค.และเช้าวันที่ 4 ส.ค. ถึงลาสิกขา




และขอเพิ่มเติมจากกระทู้
สื่อนอกยกคุณประโยชน์ ทำสมาธิ ช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง แนะเอาเป็นแบบอย่าง !
https://ppantip.com/topic/37880480
ที่อธิบายการทำ กายคตาสติ ไปแล้ว
ลองมาดูประโยชน์ของการทำสมาธิกันบ้าง ดังนี้

อานาปานะ หมายถึง ลมหายใจเข้า-ออก
สติ หมายถึง ใจระลึกรู้ สมาธิ หมายถึง ใจที่ตั้งมั่น
อานาปานสติ หมายถึง ใจระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออก  
อานาปานสติสมาธิ จึงหมายถึง นั่งรู้ลมหายใจเข้า-ออก จนใจตั้งมั่นอยู่ที่สมหายใจนั้น

ประโยชน์ของการเจริญให้มากซึ่งอานาปานสติ(สมาธิ) ตามที่ศาสดาบัญญัติไว้ เช่น

๑. กายและตาของเราไม่พึงลาบาก ใจก็หลุดพ้นจากความมัวเมาเศร้าหมอง[ฉบับหลวง ๑๙/๑๓๓๐]
๒. อาพาธ(ความเจ็บป่วย)ระงับไปโดยฐานะอันควร (สัญญาที่ ๑๐)[ฉบับหลวง ๒๔/๙๙/๖๐]
๓. ละความฟุ้งซ่านแห่งจิต กาจัดนิสัย ความเคยชิน ที่ทาใจให้เศร้าหมอง[ฉบับหลวง ๒๒/๓๘๖]
๔. เป็นผู้อยู่อุเบกขา (ไม่ยินดียินร้าย) มีสติสัมปชัญญะ[ฉบับหลวง ๑๔/๒๘๒-๒๙๑]
๕. ได้สมาธิ ในระดับ รูปสัญญา ๔ และ อรูปสัญญา ๔[ฉบับหลวง ๑๙/๑๓๓๗-๑๓๔๕]
๖. อยู่ผาสุกมาก เป็นสุขวิหาร ยังอกุศลธรรมให้หาย ระงับตามแก่ฐานะ[ฉบับหลวง ๑๙/๑๓๕๒-๑๓๕๔]
๗. เป็นกองกุศล (กุสลราสิ) โดยนัยแห่งสติปัฏฐาน ๔[ฉบับหลวง ๑๙/๖๙๗, ๑๙/๑๓๘๒]
๘. ก่อนตาย(กายแตกทาลาย) ความรู้สึก(เวทนา)จะเป็นของดับเย็น[ฉบับหลวง ๑๙/๑๓๔๖]
๙. อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือถ้ามีอุปธิ(กิเลส)เหลืออยู่ จักเป็นอานาคามี[ฉบับหลวง ๑๙/๑๓๑๑-๑๓๑๓]
ฯลฯ


อานาปานสติสมาธิ(Anapanasati or anapanasatisamati)





คำภาษาอังกฤษที่ใกล้เคียงกับอานาปานสติ(สมาธิ)ที่สุด คือ สติสมาธิ (Mindfulness meditation)
ซึ่งมีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความเจ็บปวดทางกายอยู่หลายการศึกษา เช่น

วิทยานิพนธ์เรื่อง สติกับกายลำบาก
(Mindfulness and Bodily Distress. Fjarback LO. Dan Med J 2012;59:B4547)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

การเจริญสติเพื่อลดความเครียดในผู้ป่วยเจ็บปวดเรื้อรัง
(Rosenzweig S. Mindfulness-based stress reduction for chronic pain conditions:
Variation in treatment outcomes and role of home meditation practice. J Psychosomat Res 2010;68:29-36)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หรือ

การเจริญสติเพื่อทาความคิดเห็นให้ถูกต้องช่วยป้องกันการเกิดซ้าอีกในผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า.
Piet J. The effect of mindfulness-based cognitive therapy for prevent of relapse
in recurrent major depressive disorder: A systematic review and meta-analysis.
Clin Psychol Rev 2011;31:1032.

การเจริญสติสมาธิช่วยลดน้าหนักและลดการกินอาหารตามอารมณ์ความอยากที่ไม่สิ้นสุด.
Katterman SN. Mindfulness meditation as an intervention for
binge eating emotional eating and weight loss. A systematic review. Eating Behav 2014;15:197.

สรุปว่า อานาปานสติสมาธิ ช่วยแก้โรคทางกายกับทางใจได้ จามสมควรแก่ฐานะ นั้นเอง


ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


อาพาธสูตร



สมัยหนึ่งพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก
พระผู้มีพระภาคตรัสกับพะะอานนท์ ว่า

ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการ แก่คิริมานันทภิกษุไซร้
ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน
เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่า
ก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง (ลมหายใจ) หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า
...
...
...
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า
ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ

ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่คิริมานนทภิกษุไซร้
ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลันเพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์
ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้

ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ ละได้แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ


จบสูตรที่ ๑๐


ปล.เป็นฐานะที่จะมีได้ หรือ สมควรแก่ฐานะ
หมายถึง ผลช่วยบรรเทาที่ได้ ไม่มากก็น้อย แล้วแต่บุคคล
เพราะแต่ละคนมีความรุนแรงของโรค หรือ มีความเข้มแข็งของจิตใจไม่เท่ากันนั้นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่