รองปลัดยุติธรรม ชี้ผู้ปกครองหมูป่า ระวังเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงดู-สั่งแยกเด็กออกมาได้

ใครไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร  แต่โดยส่วนตัว  ผมว่าข้าราชการไทยเริ่ม "เยอะ" กับเด็กๆไปแล้วนะครับ
ค่อนข้างออกคำสั่งห้ามนั่นนี่เยอะเกิน
มาเจอข่าวนี้เข้าผมถึงกับอึ้งไปเลย  สตันไป 3 วิ  
นี่คิดจะพรากลูกเต้าเขาเลยหรือ?  เกินไปไหม

ผมอยากวิงวอนผู้หลักผู้ใหญ่ไทย ..ปรากฏการณ์นี้แสนงดงามที่สุด
ขอให้จบแบบธรรมชาติ ผ่อนคลาย ไม่ต้องไปควบคุมบงการอะไรมากมายให้มันเกิดดราม่า  ได้ไหมครับ?


https://hilight.kapook.com/view/175549#cxrecs_s
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เผยหลังสื่อต่างประเทศสัมภาษณ์ทีมหมูป่า ชี้หากผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่มีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวได้โดยเร็วที่สุด

วันที่ 22 กรกฎาคม 2561 นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ธวัชชัย ไทยเขียว ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับทีมหมูป่าที่มีสื่อต่างประเทศเข้าสัมภาษณ์ โดยระบุว่า ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุดได้...!!! 6 สัปดาห์แรกหลังประสบภัยร้ายแรงแบบตื่นกลัวสุดขีดมา ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรังมีระยะเวลาพัฒนาประมาณ 1-2 ปี

         และที่สำคัญสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังต่อไปนี้ เด็กกลุ่มนี้อาจป่วยโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า "ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ" หรือ Post-traumatic Stress Disorder ซึ่งในวงการหรือสากลจะเรียกโรคนี้ว่า PTSD เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล สึนามิ ดินโคลนถล่ม บ้านพัง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกโจรปล้น พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ถูกขังเป็นเวลานาน ฯลฯ หรือรวมถึงบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย จนทำให้เกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา

         ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา ที่สำคัญ PTSD ภาวะเครียดหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนใจจะส่งผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต และบางรายกลัวความมืดถึงขั้นกลัวแม้กระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน กรณีนี้ถ้าทางการแพทย์วินิจฉัยว่า เด็กมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และ PTSD แล้ว การถูกกระตุ้นจากคำถามที่ไม่เหมาะสม หรือไปกวนภาวะจิตใจของเด็ก อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 27 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ได้

         ขณะที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองรู้ทั้งรู้จากการบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ให้ระมัดระวัง แต่ยังกระทำอาจถือว่าผู้ปกครองฯ อยู่ในภาวะเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงดู และถ้าจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เห็นว่าพฤติการณ์นั้นน่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ก็ให้มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็ก เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุดได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แต่หากผู้ปกครองไม่เห็นด้วยให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันรับทราบคำสั่งได้ตามมาตรา 46

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่