คิดยังไง กับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2646 ที่ กระทรวงศึกษาธิการเตรียมออกกฎกระทรวงอันใหม่

กระทรวงศึกษาธิการเตรียมออกกฎกระทรวงอันใหม่ บังคับให้นักเรียนและนักศึกษาทั่วประเทศ ห้ามรวมกลุ่มมั่วสุม ห้ามแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวในทุกสถานที่ และห้ามเที่ยวเตร่สร้างความเดือดร้อนทั้งกลางวันและกลางคืน
.
เมื่อวานนี้ (14 ส.ค.) คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา ที่เสนอมาโดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมกฎกระทรวงเดิมเกี่ยวกับการประพฤติตัวของนักเรียนและนักศึกษา 3 ประเด็น ได้แก่
.
1. ห้ามรวมกลุ่ม มั่วสุม ที่อาจทำให้เกิดความไม่สงบ
โดยในร่างฯ ฉบับดังกล่าวระบุว่า “กำหนดเพิ่มเติมห้ามการรวมกลุ่ม มั่วสุม อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”
.
2. ห้ามแสดงพฤติกรรมชู้สาว “ทุกสถานที่”
ในร่างฯ ฉบับดังกล่าวกำหนดให้ “แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสม จากเดิมที่ห้ามเฉพาะการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ เป็นการห้ามไม่จำกัดสถานที่ โดยตัดคำว่า “ในที่สาธารณะ” ออก และกำหนดเพิ่มเติมห้ามกระทำการลามกอนาจารด้วย
.
3. ห้ามเที่ยวเตร่สร้างความเดือดร้อน ทั้งกลางวันและกลางคืน
ในรายละเอียดกำหนดให้ “แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการออกนอกสถานที่พัก เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น จากเดิมห้ามเฉพาะเวลากลางคืน เป็นการห้ามไม่จำกัดเวลา โดยตัดคำว่า “เวลากลางคืน” ออก”

โดยหากนักเรียน-นักศึกษาฝ่าฝืนกฎเหล่านี้ จะต้องถูกลงโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยใน พ.ร.บ.ดังกล่าวระบุไว้ว่า นักเรียนที่ฝ่าฝืนระเบียบ อาจต้องโดนลงโทษดังต่อไปนี้
.

1. โดนคุมตัวกลับโรงเรียน
ในมาตรา 65 ของ พ.ร.บ.ฯ ระบุว่า “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่...มีอำนาจนำตัว (นักเรียน/นักศึกษา) ไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น เพื่อดำนเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ”
.
2. โดนแจ้งผู้ปกครอง
ในมาตรา 66 (2) ของ พ.ร.บ.ฯ ระบุว่า “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่...มีอำนาจ...เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา...มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าวอบรมสั่งสอนต่อไป”
.
3. อาจโดนตรวจสอบ้าน หรือยานพาหนะ
ในมาตรา 67 ของ พ.ร.บ.ฯ ระบุว่า “ในกรณีมีเหตุอันสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนหรือนักศึกษา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่หรือยานพาหนะใดๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก”
.
4. ส่วนผู้ปกครอง อาจโดนว่าตักเตือน หรือทำทัณฑ์บน
ในมาตรา 66 (3) ของ พ.ร.บ.ฯ ระบุว่า “ให้พนักงานเจ้าหน้าที่...มีอำนาจ...เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน หรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืน”




เครติด.#Workpoint News - ข่าวเวิร์คพอยท์
https://workpointnews.com/2018/08/15/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7/

มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ทั้งคนที่ ทำงานแล้ว หรือ กำลังศึกษาอยู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่