หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการจดทะเบียนสมรสกับชาวญี่ปุ่นที่แสนจะยืดเยื้อยาวนาน เลยพอจะมีเวลาว่างได้มารีวิวขั้นตอนในการจดทะเบียนสมรสกับชาวญี่ปุ่นในปี 2561 โดยวิธีการเตรียมเอกสารและยื่นเองทั้งหมด เพื่อเป็นแนวทางว่าจะวางแผนจัดการอย่างไร จะได้ไม่เคว้งคว้าง, เสียเวลาและเสียความรู้สึกแบบเรา อีกทั้งบางอย่างก็มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนๆเล็กน้อย เลยขออนุญาตแบ่งเป็นขั้นๆเพื่อให้ติดตามอ่านกันได้แบบไม่สับสนนะคะ
ตอนที่ 1 การยื่นขอ 'หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส' และ 'หนังสือรับรองความเป็นโสด'
เนื่องจากเราและสามีตัดสินใจว่าจะจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยก่อน ครั้นจะเดินจูงมือกันดุ่มๆไปจดทะเบียนสมรสที่เขตเลยแบบคนไทยปกติมันก็ไม่ได้ (แหงล่ะ ทางไทยก็ไม่แน่ใจว่าอีตาคนนี้มันโสดจริงๆหรือเปล่า หรือทั้งๆที่มีลูกเมียอยู่ทางนู้นแล้วก็ยังมาจดทะเบียนซ้อนกับคนไทยอีก) ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือ เราต้องไปสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อขอเอกสารรับรองว่าแฟนเราตามกฎหมายญี่ปุ่นโสดจริงๆ และมีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในกฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่นในการที่จะสมรสตามกฎหมายไทยได้ ทั้งนี้ในเว็ปไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
http://www.th.emb-japan.go.jp/th/consular/bmarri.htm ได้แจ้งขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นไว้โดยละเอียดแล้ว (ส่วนตัวคิดว่า การประกาศของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ลงข้อมูลไว้ละเอียดที่สุดในบรรดาการติดต่อประสานงานต่างๆเพื่อจดทะเบียนสมรสทั้งหมดแล้ว โดยมีตัวอย่างประกอบชัดเจน รวมทั้งสามารถโทรศัพท์เพื่อติดต่อปรึกษา หรือแม้กระทั่งการส่ง email เพื่อสอบถามก็ตอบรวดเร็วจริงๆ อยากให้หน่วยงานราชการไทยเอาเป็นเยี่ยงอย่างจริงๆ) ขั้นตอนนี้ชิลล์มาก เตรียมไปครบ เอกสารออกได้แน่นอน
เอกสารที่ต้องเตรียมจะแบ่งออกเป็น
1.) เอกสารของคู่สมรสฝั่งญี่ปุ่น จะต้องมี
1.1 ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น
1.2 ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น
1.3 หนังสือรับรองการทำงาน อันนี้มีเพิ่มเติมว่าหากทำงานเอกชน เอกสารรับรองการทำงานต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานทะเบียนและ Notary services ด้วยถึงจะสามารถนำมาใช้ได้
1.4 หนังสือรับรองรายได้ (เหมือนกับข้อ 1.3 กรณีทำงานเอกชน เอกสารนี้ต้องได้รับการรับรองเพิ่มจากสำนักงานทะเบียนและ Notary services)
1.5 หนังสือเดินทาง : กรณีวันยื่นเอกสารคู่สมรสไม่ได้มายื่นเอกสารเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหนังสือเดินทางคู่สมรสมายื่น แต่ถ้าคู่สมรสชาวญี่ปุ่นมายื่นเอง ก็เตรียมหนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนามาด้วย
1.6 ใบคำร้องในการขอหนังสือรับรอง
1.7 แบบสอบถามคุณสมบัติในการสมรส
2.) เอกสารที่คู่สมรสฝั่งไทย จะต้องมี (วันยื่นเราโก๊ะมาก เอกสารแฟนนี่เช็คแล้วเช็คอีกว่าครบถ้วน ไม่ลืมอะไร แต่เอกสารของเราดันลืมเอาไปทั้งหมด พอไปยื่น เจ้าหน้าที่ขอเอกสารฝั่งเราด้วย เหวอสิคะ ไม่ได้เตรียมมา เลยต้องกลับบ้านไปเอาอีกรอบ โชคดีที่วันนั้นไปยื่นช่วงเช้า เลยรีบกลับไปเอาทันยื่นช่วงเปิดทำการบ่ายพอดี ขอบคุณพี่แท็กซี่จริงๆที่ซิ่งได้ถึงใจมากและชำนาญทาง เราเลยสามารถยื่นเสร็จได้ภายในวันนั้น)
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งตัวจริงและสำเนา
2.2 ทะเบียนบ้าน ทั้งตัวจริงและสำเนา
2.3 หนังสือเดินทาง ทั้งตัวจริงและสำเนา
ยื่นเอกสารทั้งหมดที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น วันจันทร์-ศุกร์ (08.30-12.00 และ 13.30-16.00) ถ้าเอกสารครบถ้วน ยื่นเอกสารขอวันนี้ ชำระค่าธรรมเนียม 820 บาท ก็จะได้รับหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส และหนังสือรับรองความเป็นโสด ในวันถัดไป โดยเจ้าตัวคือ คู่สมรสฝั่งญี่ปุ่นต้องมารับเอกสารด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นมารับแทนได้ จึงต้องเตรียมหนังสือเดินทางตัวจริงของคู่สมรสฝั่งญี่ปุ่นมาในวันรับเอกสารด้วย
!!! สำคัญมากๆ ต้องเก็บใบเสร็จที่สถานเอกอัครราชทูตออกไว้ เพื่อนำมารับเอกสารในวันถัดมา หลังรับเอกสารก็ควรเก็บใบเสร็จไว้ต่อ เพราะบางเขต การจดทะเบียนสมรสจะขอดูใบเสร็จนี้ด้วย !!!
ตอนที่ 2 ประทับรับรองนิติกรณ์เอกสารแปลโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
ขั้นตอนนี้สำหรับเราเป็นขั้นตอนที่ยืดเยื้อและวุ่นวายมากที่สุดในบรรดาขั้นตอนทั้งหมด ตอนนั้นแทบจะอยากล้มเลิกการจดทะเบียนสมรสที่ไทยไปเลย เพราะทั้งเครียด ทั้งเหนื่อยจริงๆ (ของท่านอื่นๆอาจจะผ่านฉลุย แต่ของเราคงพลาดเอง) ขั้นนี้เราไปมา 3 รอบ ใช่ค่ะ...3 รอบ! กว่าจะได้เอกสารประทับรับรองเรียบร้อย
เข้าเรื่องดีกว่านะคะ เอกสารที่ได้มาจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยทั้ง 2 ฉบับจากตอนที่ 1 จะออกมาเป็นเอกสารภาษาอังกฤษ ดังนั้นต้องนำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย แล้วนำไปประทับรับรองคำแปลจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของไทยว่าเอกสารนี้ออกโดยทางการต่างชาติจริง และแปลได้ถูกต้องจริงๆ จึงจะมีผลทางกฎหมายสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานราชการไทยอื่นๆได้
เนื่องจากแฟนเราไม่ได้อยู่ไทย ดังนั้นเอกสารแปลสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยที่เราจะเอาไปประทับรับรองฯต้องมีการมอบอำนาจมาด้วย ตอนนั้นเราเข้าไปหาในเว็ปไซต์ทางการของกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ
http://www.consular.go.th/main/ เพื่อดูเอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นคำร้องขอประทับรับรองฯเอกสาร (ต่อมาเราได้ร้องเรียนไปยังกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไม่แน่ใจว่าหลังจากที่ร้องเรียนไป เว็ปไซต์ได้มีการแก้ไขข้อมูลหรือยัง) ณ ขณะนั้น เอกสารที่ทางเว็ปแจ้งให้เตรียม ได้แก่ ใบมอบอำนาจ(แบบฟอร์มมีในเว็ปไซต์) สำเนาหนังสือเดินทางผู้มอบอำนาจชาวต่างชาติ สำเนาบัตรประชาชนและตัวจริงของผู้รับมอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชนของพยาน 2 คน เราก็เตรียมเอกสารไปตามที่ได้ข้อมูลมาจากเว็ปไซต์กรมการกงสุลฯ วันแรกที่ไปถึง เราไปถึง 09.00 น. ปรากฏว่าหาที่จอดรถไม่ได้ วนหาอยู่เกือบ 2 ชม.ถึงได้ที่จอดที่อยู่นอกกรมการกงสุล เมื่อไปถึง จะมีแถวยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ถ้าเอกสารครบถ้วนจึงจะออกบัตรคิวให้ เอกสารคำร้องเราพิมพ์มาเรียบร้อยแล้ว ใบมอบอำนาจก็เรียบร้อยเช่นกัน เมื่อไปเข้าแถว อ่านประกาศที่ติดตรงหน้าเคาน์เตอร์เช็คเอกสาร ปรากฏว่า ใบมอบอำนาจต้องติดอากรณ์แสตมป์ 10 บาทด้วย ก็ต้องวิ่งไปหาซื้อสิคะ พอยื่นเอกสาร ปรากฏว่า ใบมอบอำนาจไม่ผ่าน เพราะไม่มี
สำเนาหน้าประทับวีซ่าขาเข้าประเทศมาด้วย เจ้าหน้าที่บอกว่าให้แฟนส่งไลน์มาก็ได้ แล้วปริ้นต์ออกมายื่นรวมพร้อมกัน ทีนี้พยายามต่อรอง ขอเอามาวันรับเอกสารได้ไหม เพราะวันนี้แฟนไม่ได้มีพาสปอร์ตอยู่กับตัว (แถมอยู่ต่างจังหวัด อีก 2 วันกลับ) เจ้าหน้าที่บอกไม่ได้ เราพยายามต่อรองเลยได้เข้าไปคุยห้อง supervisor แต่ผลคือจบกันแจ้ ไม่ได้ๆๆๆ ต้องมีลายเซ็นเจ้าตัวของจริงรับรองสำเนาที่ส่งมาด้วย (ไหนเจ้าหน้าที่เช็คเอกสารบอกว่าส่งไลน์มาก็พอ?) ไม่งั้นก็ต้องมอบอำนาจมาจากต่างประเทศ แล้วไปรับรองผ่าน notary service หรือสถานทูตประเทศนั้นๆก่อนถึงจะเอามาใช้ได้ (หนักไปอีก) เราบอกเราเตรียมเอกสารมาตามที่เว็ปไซต์กำหนดแล้วนะ(พร้อมยื่นเอกสารที่ print จากหน้าเว็ปไซต์กรมการกงสุลไปให้ดูด้วย) supervisor ไม่แม้แต่จะมอง พูดแค่ว่าเอกสารไม่ครบก็ยื่นไม่ได้ วันแรกเราก็ต้องหงอยกลับบ้านเพราะยื่นเอกสารไม่ได้
หลังจากยื่นเอกสารไม่ผ่านในรอบแรก เรากลับมาเตรียมเอกสารใหม่ ได้บอกแฟนให้ส่งเอกสารต่างๆที่ต้องการเพิ่มมาไทยด่วนๆ ซึ่งเอกสารที่เราให้แฟนส่งมาใหม่ มีสำเนาพาสปอร์ตพร้อมลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง สำเนาหน้าประทับวีซ่าขาเข้าไทยล่าสุดพร้อมลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งด่วนจากญี่ปุ่นวันพฤหัส ถึงไทยวันจันทร์ ระหว่างที่เตรียมเอกสาร เราโทรหา call center กรมการกงสุลฯ 2 ครั้งเพื่อยืนยันเอกสารที่ต้องเตรียมว่าครบถ้วน ก่อนจะยื่นในวันอังคาร เจ้าหน้าที่บอก ต้องเป็นตราประทับวีซ่าขาออก ก็โอเค มีพร้อม เจ้าหน้าที่ไม่ได้บอกอะไรหรือเงื่อนไขใดๆเพิ่มเติม เมื่อถึงวันอังคารเราไปถึงกรมการกงสุลตั้งแต่ 06.30 เพราะไม่อยากเครียดเพิ่มเรื่องการหาที่จอด ได้ขึ้นข้างบน 07.30 น. (พร้อมคนที่จะยื่นเอกสารด่วน) รอเจ้าหน้าที่เช็คเอกสาร 08.30 น. คิดว่ารอดแล้ว สุดท้ายก็ไม่ หน้าวีซ่าอ่ะมี แต่เหลือวันที่ก่อนวีซ่านี้ expired น้อยกว่า 10 วัน (เหลือ 8 วัน) เจ้าหน้าที่บอกยื่นไม่ได้ มันเป็นกฎ เกิดคำถามขึ้นในใจ เหย...ทำไมทั้งพนักงานรอบที่แล้ว, call center 2 รอบ, หน้าเว็ปไซต์ไม่บอก ไม่แจ้งเลย ไม่พอๆ มีหน้าม้าบริษัทแปลที่ทำตัวอย่างกับเป็นเจ้าหน้าที่กรมการกงสุลฯเข้ามาพูดกับเราหลังเห็นเรายื่นเอกสารไม่ผ่านว่า ถ้าให้เค้าจัดการตั้งแต่วันที่ได้หนังสือจากสถานทูต ป่านนี้ก็เรียบร้อยแล้ว วันเดียวได้เอกสารเลย ของคุณช่วยไม่ได้เอาไปแปลเอง ยื่นเอง เอกสารไม่ครบมันธรรมดา แล้วมอบอำนาจ ถ้าไม่มอบในประเทศก็ไม่ได้ เจ้าตัวต้องมาเอง (เฮ้ย ถ้าห้ามชาวต่างชาติมอบอำนาจ แล้วจะมีเขียนอธิบายชาวต่างชาติมอบอำนาจไว้ใน official website ทำไม?) แถมยังบอกว่า เอกสารที่ออกจากสถานทูตถ้าไม่เอามารับรองที่กงสุลตามระยะเวลาที่กำหนด กงสุลจะไม่รับทำรับรองให้ โอ้ววว เครียดหนักเข้าไปอีก เราฟังแล้วจิตตก เกือบจะเอาเอกสารไปแปลใหม่ที่ชั้น 2 (ที่หน้าม้าบอกว่าเป็นบริษัทแปลของกรมการกงสุลฯเอง เอกสารที่แปลผ่านแน่นอน ไม่ต้องแก้) แต่เราไม่อยากทิ้งเอกสารตัวจริงของทางการไว้ที่ร้าน และไม่อยากใช้บริการแปลด่วนเพราะราคาสูงเกินไป เลยไม่เอาดีกว่า เรากลับมาแล้วโทรหา call center กรมการกงสุลฯอีกรอบ call center ยืนยันชาวต่างชาติสามารถมอบอำนาจได้ อีกทั้งร้านแปลชั้น 2 ไม่ได้เป็นของกรมการกงสุล ไม่ได้เกี่ยวพันใดๆกับการผ่านหรือไม่ผ่านของเอกสาร เป็นแค่ร้านที่มาเช่าที่กรมการกงสุลดำเนินการเท่านั้น สอบถามเพิ่ม ว่าเอกสารที่ออกโดยสถานทูต กรมการกงสุลมีกำหนดไหมว่าต้องเอามารับรองภายในกี่วัน มิฉะนั้นจะหมดอายุและไม่รับรับรอง? Call center บอกว่าไม่มี ขึ้นกับปลายทางที่จะเอาเอกสารไปใช้ ซึ่งของเราคือ สำนักงานเขต วางสายจากกรมการกงสุลฯ เราต่อสายไปสถานทูตญี่ปุ่น เพื่อสอบถามว่า เอกสารที่ออกโดยสถานทูตญี่ปุ่นมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่? สถานทูตญี่ปุ่นแจ้งว่า 3 เดือนหลังจากออกเอกสาร จากนั้นเราโทรหาสำนักงานเขตเพื่อสอบถามเกี่ยวกับอายุเอกสาร สำนักงานเขตแจ้งว่า จริงๆไม่มีกำหนดหมดอายุ แต่เอกสารที่จะใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรส ควรใช้ภายใน 1 ปีหลังจากที่ออกเอกสารจึงจะดีที่สุด เฮ้อ! โล่งใจไปเปลาะนึง เพราะเอาจริงถ้าต้องเริ่ม process ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ขอเอกสารสถานทูตนี่ ก็อยากจะร้องไห้ละ
เลยบอกแฟน เธอจองตั๋วมาไทยเถอะ จดทะเบียนรอบนี้อาจจะทันถ้าเค้าให้ยื่นประทับรับรองแบบด่วน เราจองคิวจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติที่เขตไว้ เอกสารมาเมื่อไหร่ ไปจดได้ทันที
ก่อนไปยื่นเอกสารรอบที่ 3 เราโทรไป call center กรมการกงสุลฯเพื่อสอบทานและเช็คเอกสารซ้ำอีกรอบ ทีนี้เรา list คำถามเป็นข้อๆเพื่อสอบถาม call center ใบมอบอำนาจเขียนหรือพิมพ์ (cc บอกเขียนเท่านั้น) ต้องมีอะไรประกอบเอกสารมอบอำนาจจากชาวต่างชาติบ้าง (cc บอก ใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท สำเนาพาสปอร์ตผู้มอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจพร้อมพยาน 2 คน) เราถามว่า แค่นี้? (cc บอกใช่) เราเลยถามแล้วสำเนาหน้าวีซ่าเอาไหม? (cc บอกสักครู่ หายไปถามใครบางคนสักพัก กลับมาตอบ เอาค่ะ) ถามต่อหน้าวีซ่าเอาขาเข้าหรือขาออก? (หายไปอีกพักแล้วกลับมาตอบ ขาเข้าค่ะ) ถามต่อ ขาเข้ามีอายุวีซ่าต้องเหลือเท่าไหร่? (คราวนี้หายไปนานมากเกือบ 10 นาทีได้ กลับมาตอบ ต้องเหลือเกิน 14 วัน) แล้วเอกสารอื่น? (ใบคำร้อง เอกสารสถานทูตพร้อมสำเนา 1 ฉบับไม่ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง, เอกสารคำแปลพร้อมสำเนา 1 ฉบับไม่ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง) ยื่นด่วนได้ไหม? (หายไปอีกพักกลับมาตอบ ไม่ได้เพราะไม่อยู่ใน 14 เอกสารที่สามารถยื่นด่วนได้) เลยขอชื่อ-สกุลคนตอบไว้ บอกว่าเรายื่นมา 2 ครั้งแล้ว ไม่ผ่านเพราะข้อมูลคุณบอกเราไม่หมด คราวนี้เราจะได้แจ้งพนักงานตรวจเอกสารว่าเราทราบจากใครละ cc อิดออดไม่ยอมให้ชื่อ จนในที่สุดถึงยอม
รีวิวขั้นตอนการสมรสกับชาวญี่ปุ่น
ตอนที่ 1 การยื่นขอ 'หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส' และ 'หนังสือรับรองความเป็นโสด'
เนื่องจากเราและสามีตัดสินใจว่าจะจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยก่อน ครั้นจะเดินจูงมือกันดุ่มๆไปจดทะเบียนสมรสที่เขตเลยแบบคนไทยปกติมันก็ไม่ได้ (แหงล่ะ ทางไทยก็ไม่แน่ใจว่าอีตาคนนี้มันโสดจริงๆหรือเปล่า หรือทั้งๆที่มีลูกเมียอยู่ทางนู้นแล้วก็ยังมาจดทะเบียนซ้อนกับคนไทยอีก) ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำอย่างแรก คือ เราต้องไปสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อขอเอกสารรับรองว่าแฟนเราตามกฎหมายญี่ปุ่นโสดจริงๆ และมีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งในกฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่นในการที่จะสมรสตามกฎหมายไทยได้ ทั้งนี้ในเว็ปไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น http://www.th.emb-japan.go.jp/th/consular/bmarri.htm ได้แจ้งขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นไว้โดยละเอียดแล้ว (ส่วนตัวคิดว่า การประกาศของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ลงข้อมูลไว้ละเอียดที่สุดในบรรดาการติดต่อประสานงานต่างๆเพื่อจดทะเบียนสมรสทั้งหมดแล้ว โดยมีตัวอย่างประกอบชัดเจน รวมทั้งสามารถโทรศัพท์เพื่อติดต่อปรึกษา หรือแม้กระทั่งการส่ง email เพื่อสอบถามก็ตอบรวดเร็วจริงๆ อยากให้หน่วยงานราชการไทยเอาเป็นเยี่ยงอย่างจริงๆ) ขั้นตอนนี้ชิลล์มาก เตรียมไปครบ เอกสารออกได้แน่นอน
เอกสารที่ต้องเตรียมจะแบ่งออกเป็น
1.) เอกสารของคู่สมรสฝั่งญี่ปุ่น จะต้องมี
1.1 ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น
1.2 ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น
1.3 หนังสือรับรองการทำงาน อันนี้มีเพิ่มเติมว่าหากทำงานเอกชน เอกสารรับรองการทำงานต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานทะเบียนและ Notary services ด้วยถึงจะสามารถนำมาใช้ได้
1.4 หนังสือรับรองรายได้ (เหมือนกับข้อ 1.3 กรณีทำงานเอกชน เอกสารนี้ต้องได้รับการรับรองเพิ่มจากสำนักงานทะเบียนและ Notary services)
1.5 หนังสือเดินทาง : กรณีวันยื่นเอกสารคู่สมรสไม่ได้มายื่นเอกสารเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหนังสือเดินทางคู่สมรสมายื่น แต่ถ้าคู่สมรสชาวญี่ปุ่นมายื่นเอง ก็เตรียมหนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนามาด้วย
1.6 ใบคำร้องในการขอหนังสือรับรอง
1.7 แบบสอบถามคุณสมบัติในการสมรส
2.) เอกสารที่คู่สมรสฝั่งไทย จะต้องมี (วันยื่นเราโก๊ะมาก เอกสารแฟนนี่เช็คแล้วเช็คอีกว่าครบถ้วน ไม่ลืมอะไร แต่เอกสารของเราดันลืมเอาไปทั้งหมด พอไปยื่น เจ้าหน้าที่ขอเอกสารฝั่งเราด้วย เหวอสิคะ ไม่ได้เตรียมมา เลยต้องกลับบ้านไปเอาอีกรอบ โชคดีที่วันนั้นไปยื่นช่วงเช้า เลยรีบกลับไปเอาทันยื่นช่วงเปิดทำการบ่ายพอดี ขอบคุณพี่แท็กซี่จริงๆที่ซิ่งได้ถึงใจมากและชำนาญทาง เราเลยสามารถยื่นเสร็จได้ภายในวันนั้น)
2.1 บัตรประจำตัวประชาชน ทั้งตัวจริงและสำเนา
2.2 ทะเบียนบ้าน ทั้งตัวจริงและสำเนา
2.3 หนังสือเดินทาง ทั้งตัวจริงและสำเนา
ยื่นเอกสารทั้งหมดที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น วันจันทร์-ศุกร์ (08.30-12.00 และ 13.30-16.00) ถ้าเอกสารครบถ้วน ยื่นเอกสารขอวันนี้ ชำระค่าธรรมเนียม 820 บาท ก็จะได้รับหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส และหนังสือรับรองความเป็นโสด ในวันถัดไป โดยเจ้าตัวคือ คู่สมรสฝั่งญี่ปุ่นต้องมารับเอกสารด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นมารับแทนได้ จึงต้องเตรียมหนังสือเดินทางตัวจริงของคู่สมรสฝั่งญี่ปุ่นมาในวันรับเอกสารด้วย
!!! สำคัญมากๆ ต้องเก็บใบเสร็จที่สถานเอกอัครราชทูตออกไว้ เพื่อนำมารับเอกสารในวันถัดมา หลังรับเอกสารก็ควรเก็บใบเสร็จไว้ต่อ เพราะบางเขต การจดทะเบียนสมรสจะขอดูใบเสร็จนี้ด้วย !!!
ตอนที่ 2 ประทับรับรองนิติกรณ์เอกสารแปลโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
ขั้นตอนนี้สำหรับเราเป็นขั้นตอนที่ยืดเยื้อและวุ่นวายมากที่สุดในบรรดาขั้นตอนทั้งหมด ตอนนั้นแทบจะอยากล้มเลิกการจดทะเบียนสมรสที่ไทยไปเลย เพราะทั้งเครียด ทั้งเหนื่อยจริงๆ (ของท่านอื่นๆอาจจะผ่านฉลุย แต่ของเราคงพลาดเอง) ขั้นนี้เราไปมา 3 รอบ ใช่ค่ะ...3 รอบ! กว่าจะได้เอกสารประทับรับรองเรียบร้อย
เข้าเรื่องดีกว่านะคะ เอกสารที่ได้มาจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยทั้ง 2 ฉบับจากตอนที่ 1 จะออกมาเป็นเอกสารภาษาอังกฤษ ดังนั้นต้องนำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย แล้วนำไปประทับรับรองคำแปลจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของไทยว่าเอกสารนี้ออกโดยทางการต่างชาติจริง และแปลได้ถูกต้องจริงๆ จึงจะมีผลทางกฎหมายสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานราชการไทยอื่นๆได้
เนื่องจากแฟนเราไม่ได้อยู่ไทย ดังนั้นเอกสารแปลสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยที่เราจะเอาไปประทับรับรองฯต้องมีการมอบอำนาจมาด้วย ตอนนั้นเราเข้าไปหาในเว็ปไซต์ทางการของกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ http://www.consular.go.th/main/ เพื่อดูเอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นคำร้องขอประทับรับรองฯเอกสาร (ต่อมาเราได้ร้องเรียนไปยังกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไม่แน่ใจว่าหลังจากที่ร้องเรียนไป เว็ปไซต์ได้มีการแก้ไขข้อมูลหรือยัง) ณ ขณะนั้น เอกสารที่ทางเว็ปแจ้งให้เตรียม ได้แก่ ใบมอบอำนาจ(แบบฟอร์มมีในเว็ปไซต์) สำเนาหนังสือเดินทางผู้มอบอำนาจชาวต่างชาติ สำเนาบัตรประชาชนและตัวจริงของผู้รับมอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชนของพยาน 2 คน เราก็เตรียมเอกสารไปตามที่ได้ข้อมูลมาจากเว็ปไซต์กรมการกงสุลฯ วันแรกที่ไปถึง เราไปถึง 09.00 น. ปรากฏว่าหาที่จอดรถไม่ได้ วนหาอยู่เกือบ 2 ชม.ถึงได้ที่จอดที่อยู่นอกกรมการกงสุล เมื่อไปถึง จะมีแถวยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ถ้าเอกสารครบถ้วนจึงจะออกบัตรคิวให้ เอกสารคำร้องเราพิมพ์มาเรียบร้อยแล้ว ใบมอบอำนาจก็เรียบร้อยเช่นกัน เมื่อไปเข้าแถว อ่านประกาศที่ติดตรงหน้าเคาน์เตอร์เช็คเอกสาร ปรากฏว่า ใบมอบอำนาจต้องติดอากรณ์แสตมป์ 10 บาทด้วย ก็ต้องวิ่งไปหาซื้อสิคะ พอยื่นเอกสาร ปรากฏว่า ใบมอบอำนาจไม่ผ่าน เพราะไม่มีสำเนาหน้าประทับวีซ่าขาเข้าประเทศมาด้วย เจ้าหน้าที่บอกว่าให้แฟนส่งไลน์มาก็ได้ แล้วปริ้นต์ออกมายื่นรวมพร้อมกัน ทีนี้พยายามต่อรอง ขอเอามาวันรับเอกสารได้ไหม เพราะวันนี้แฟนไม่ได้มีพาสปอร์ตอยู่กับตัว (แถมอยู่ต่างจังหวัด อีก 2 วันกลับ) เจ้าหน้าที่บอกไม่ได้ เราพยายามต่อรองเลยได้เข้าไปคุยห้อง supervisor แต่ผลคือจบกันแจ้ ไม่ได้ๆๆๆ ต้องมีลายเซ็นเจ้าตัวของจริงรับรองสำเนาที่ส่งมาด้วย (ไหนเจ้าหน้าที่เช็คเอกสารบอกว่าส่งไลน์มาก็พอ?) ไม่งั้นก็ต้องมอบอำนาจมาจากต่างประเทศ แล้วไปรับรองผ่าน notary service หรือสถานทูตประเทศนั้นๆก่อนถึงจะเอามาใช้ได้ (หนักไปอีก) เราบอกเราเตรียมเอกสารมาตามที่เว็ปไซต์กำหนดแล้วนะ(พร้อมยื่นเอกสารที่ print จากหน้าเว็ปไซต์กรมการกงสุลไปให้ดูด้วย) supervisor ไม่แม้แต่จะมอง พูดแค่ว่าเอกสารไม่ครบก็ยื่นไม่ได้ วันแรกเราก็ต้องหงอยกลับบ้านเพราะยื่นเอกสารไม่ได้
หลังจากยื่นเอกสารไม่ผ่านในรอบแรก เรากลับมาเตรียมเอกสารใหม่ ได้บอกแฟนให้ส่งเอกสารต่างๆที่ต้องการเพิ่มมาไทยด่วนๆ ซึ่งเอกสารที่เราให้แฟนส่งมาใหม่ มีสำเนาพาสปอร์ตพร้อมลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง สำเนาหน้าประทับวีซ่าขาเข้าไทยล่าสุดพร้อมลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งด่วนจากญี่ปุ่นวันพฤหัส ถึงไทยวันจันทร์ ระหว่างที่เตรียมเอกสาร เราโทรหา call center กรมการกงสุลฯ 2 ครั้งเพื่อยืนยันเอกสารที่ต้องเตรียมว่าครบถ้วน ก่อนจะยื่นในวันอังคาร เจ้าหน้าที่บอก ต้องเป็นตราประทับวีซ่าขาออก ก็โอเค มีพร้อม เจ้าหน้าที่ไม่ได้บอกอะไรหรือเงื่อนไขใดๆเพิ่มเติม เมื่อถึงวันอังคารเราไปถึงกรมการกงสุลตั้งแต่ 06.30 เพราะไม่อยากเครียดเพิ่มเรื่องการหาที่จอด ได้ขึ้นข้างบน 07.30 น. (พร้อมคนที่จะยื่นเอกสารด่วน) รอเจ้าหน้าที่เช็คเอกสาร 08.30 น. คิดว่ารอดแล้ว สุดท้ายก็ไม่ หน้าวีซ่าอ่ะมี แต่เหลือวันที่ก่อนวีซ่านี้ expired น้อยกว่า 10 วัน (เหลือ 8 วัน) เจ้าหน้าที่บอกยื่นไม่ได้ มันเป็นกฎ เกิดคำถามขึ้นในใจ เหย...ทำไมทั้งพนักงานรอบที่แล้ว, call center 2 รอบ, หน้าเว็ปไซต์ไม่บอก ไม่แจ้งเลย ไม่พอๆ มีหน้าม้าบริษัทแปลที่ทำตัวอย่างกับเป็นเจ้าหน้าที่กรมการกงสุลฯเข้ามาพูดกับเราหลังเห็นเรายื่นเอกสารไม่ผ่านว่า ถ้าให้เค้าจัดการตั้งแต่วันที่ได้หนังสือจากสถานทูต ป่านนี้ก็เรียบร้อยแล้ว วันเดียวได้เอกสารเลย ของคุณช่วยไม่ได้เอาไปแปลเอง ยื่นเอง เอกสารไม่ครบมันธรรมดา แล้วมอบอำนาจ ถ้าไม่มอบในประเทศก็ไม่ได้ เจ้าตัวต้องมาเอง (เฮ้ย ถ้าห้ามชาวต่างชาติมอบอำนาจ แล้วจะมีเขียนอธิบายชาวต่างชาติมอบอำนาจไว้ใน official website ทำไม?) แถมยังบอกว่า เอกสารที่ออกจากสถานทูตถ้าไม่เอามารับรองที่กงสุลตามระยะเวลาที่กำหนด กงสุลจะไม่รับทำรับรองให้ โอ้ววว เครียดหนักเข้าไปอีก เราฟังแล้วจิตตก เกือบจะเอาเอกสารไปแปลใหม่ที่ชั้น 2 (ที่หน้าม้าบอกว่าเป็นบริษัทแปลของกรมการกงสุลฯเอง เอกสารที่แปลผ่านแน่นอน ไม่ต้องแก้) แต่เราไม่อยากทิ้งเอกสารตัวจริงของทางการไว้ที่ร้าน และไม่อยากใช้บริการแปลด่วนเพราะราคาสูงเกินไป เลยไม่เอาดีกว่า เรากลับมาแล้วโทรหา call center กรมการกงสุลฯอีกรอบ call center ยืนยันชาวต่างชาติสามารถมอบอำนาจได้ อีกทั้งร้านแปลชั้น 2 ไม่ได้เป็นของกรมการกงสุล ไม่ได้เกี่ยวพันใดๆกับการผ่านหรือไม่ผ่านของเอกสาร เป็นแค่ร้านที่มาเช่าที่กรมการกงสุลดำเนินการเท่านั้น สอบถามเพิ่ม ว่าเอกสารที่ออกโดยสถานทูต กรมการกงสุลมีกำหนดไหมว่าต้องเอามารับรองภายในกี่วัน มิฉะนั้นจะหมดอายุและไม่รับรับรอง? Call center บอกว่าไม่มี ขึ้นกับปลายทางที่จะเอาเอกสารไปใช้ ซึ่งของเราคือ สำนักงานเขต วางสายจากกรมการกงสุลฯ เราต่อสายไปสถานทูตญี่ปุ่น เพื่อสอบถามว่า เอกสารที่ออกโดยสถานทูตญี่ปุ่นมีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่? สถานทูตญี่ปุ่นแจ้งว่า 3 เดือนหลังจากออกเอกสาร จากนั้นเราโทรหาสำนักงานเขตเพื่อสอบถามเกี่ยวกับอายุเอกสาร สำนักงานเขตแจ้งว่า จริงๆไม่มีกำหนดหมดอายุ แต่เอกสารที่จะใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรส ควรใช้ภายใน 1 ปีหลังจากที่ออกเอกสารจึงจะดีที่สุด เฮ้อ! โล่งใจไปเปลาะนึง เพราะเอาจริงถ้าต้องเริ่ม process ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ขอเอกสารสถานทูตนี่ ก็อยากจะร้องไห้ละ
เลยบอกแฟน เธอจองตั๋วมาไทยเถอะ จดทะเบียนรอบนี้อาจจะทันถ้าเค้าให้ยื่นประทับรับรองแบบด่วน เราจองคิวจดทะเบียนสมรสชาวต่างชาติที่เขตไว้ เอกสารมาเมื่อไหร่ ไปจดได้ทันที
ก่อนไปยื่นเอกสารรอบที่ 3 เราโทรไป call center กรมการกงสุลฯเพื่อสอบทานและเช็คเอกสารซ้ำอีกรอบ ทีนี้เรา list คำถามเป็นข้อๆเพื่อสอบถาม call center ใบมอบอำนาจเขียนหรือพิมพ์ (cc บอกเขียนเท่านั้น) ต้องมีอะไรประกอบเอกสารมอบอำนาจจากชาวต่างชาติบ้าง (cc บอก ใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท สำเนาพาสปอร์ตผู้มอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจพร้อมพยาน 2 คน) เราถามว่า แค่นี้? (cc บอกใช่) เราเลยถามแล้วสำเนาหน้าวีซ่าเอาไหม? (cc บอกสักครู่ หายไปถามใครบางคนสักพัก กลับมาตอบ เอาค่ะ) ถามต่อหน้าวีซ่าเอาขาเข้าหรือขาออก? (หายไปอีกพักแล้วกลับมาตอบ ขาเข้าค่ะ) ถามต่อ ขาเข้ามีอายุวีซ่าต้องเหลือเท่าไหร่? (คราวนี้หายไปนานมากเกือบ 10 นาทีได้ กลับมาตอบ ต้องเหลือเกิน 14 วัน) แล้วเอกสารอื่น? (ใบคำร้อง เอกสารสถานทูตพร้อมสำเนา 1 ฉบับไม่ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง, เอกสารคำแปลพร้อมสำเนา 1 ฉบับไม่ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง) ยื่นด่วนได้ไหม? (หายไปอีกพักกลับมาตอบ ไม่ได้เพราะไม่อยู่ใน 14 เอกสารที่สามารถยื่นด่วนได้) เลยขอชื่อ-สกุลคนตอบไว้ บอกว่าเรายื่นมา 2 ครั้งแล้ว ไม่ผ่านเพราะข้อมูลคุณบอกเราไม่หมด คราวนี้เราจะได้แจ้งพนักงานตรวจเอกสารว่าเราทราบจากใครละ cc อิดออดไม่ยอมให้ชื่อ จนในที่สุดถึงยอม