การที่จะขอวีซ่าสมรสแล้วย้ายไปอยู่ญี่ปุ่นได้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะมันแค่เยอะ
มันจะเยอะยังไงมาดูกันค่ะ
ขั้นตอนหลักๆ มีอยู่ 3 ขั้นตอนค่ะ
1. จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน และแจ้งอัพเดทสถานะการสมรสที่อำเภอไทย
2. ยื่นขอใบพำนัก COE (Certificate of Eligibility) เตรียมเอกสารให้สามีไปที่นิวกัง Immigration Bureau of Japan
(ใบเบิกทางในการยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่น)
3. ยื่นขอ VISA คู่สมรสที่ไทย
เราเริ่มการเตรียมเอกสารตั้งแต่ ปลาย พ.ย. 2566 และเตรียมกันเอง แปลกันเองทุกขึ้นตอน ตอนนี้เราอยู่ที่ขั้นตอนรอ COE ขั้นตอนที่ 2 ค่ะ
====================================================================================
ต่อมาจะอธิบายเจาะลึกแต่ละขั้นตอนแบบละเอียดนะคะ
ขั้นตอนที่ 1 จดทะเบียนสมรส จดที่ JP ก่อน=>แจ้งTH
1. สอบถามอำเภอที่ญปที่จะไปจดทะเบียนสมรส ว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ในส่วนของเราอำเภอในจังหวัดชิบะ
เจ้าหน้าที่ทางโน้นขอแค่เอกสารจากไทย และแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น (ลงชื่อคนแปล) เท่านั้น ไม่เอาเอกสารแปลภาษาอังกฤษ
เราโชคดีที่ทางอำเภอแฟนไม่ขอเอกสารแปลภาษาอังกฤษ เราแค่นำเอกสารที่ได้จากอำเภอ *ภาษาไทย (TH) ไปขอรับรองประทับรับรองความถูกต้องตามกฎหมายเพื่อใช้ในต่างประเทศ ไม่ต้องยุ่งอยากแปลเป็นภาษาอังกฤษที่แปะๆ เพื่อไปขอรับรองการแปล บางคำเป็นศัพที่เฉพาะ ต้องใช้คำที่ทางสถานกงสุลกำหนดเท่านั้น
*** จุดสำคัญเลยนะคะ แต่ละอำเภอของญี่ปุ่นขอเอกสารไม่เหมือนกัน ย้ำให้แฟนโทรถามที่อำเภอให้ชัดเจนก่อนค่ะ จะไม่ได้เสียเวลา ถ้าเขาไม่เอาภาษาอังกฤษจะได้ไม่ไม่ต้องแปลค่ะ และเสียเวลาแก้ไขเอกสารและเสียเงินค่ารับรองเอกสารค่ะ***
เอกสารภาษาไทยที่ได้จากอำเภอ ต้องไปขอตราประทับรับรองความถูกต้องตามกฎหมายเพื่อใช้ในต่างประเทศ ที่กรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ เราขอใช้คำว่า " ตราประทับนิติกรณ์" ต้องจองคิวก่อนไปขอนะคะ ซึ่งเราใช้เวลาประมาณ 1 วัน นัดรับวันถัดไป จองก่อนไปนะคะ
จองคิวรับรองเอกสาร
เอกสารฝั่งเราที่อำเภอญี่ปุ่นขอ
a. ใบรับรองโสด (*TH ตราประทับนิติกรณ์ และ **แปลJP)
รับรองโสดTH รับรองโสดแปลญี่ปุ่น
ขอได้ที่อำเภอบ้านเกิดเท่านั้นนะคะ แนะนำให้โทรไปถามทางอำเภอก่อน เพราะอำเภอบ้านเราต้องไปทำเรื่องไว้ก่อนและเขาจะนัดรับอีกที เราให้แม่ ช่วย เอาเอกสารของเรา แม่ พยานที่อำเภอเจาะจงมาว่าต้องเป็นผู้ใหญ่บ้าน ไปยื่นเรื่องไว้ก่อน และในวันที่นัดรับเอกสารทุกคนต้องไปแสดงตัว พร้อมกัน แล้วก็เอามาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น เราใช้วิธีเข้า google translate แปลไทยเป็นญี่ปุ่น ปรับแก้นิดหน่อย แล้วให้แฟนแก้ไข ตรวจสอบอีกทีค่ะ
b. สูติบัตร ขอคัดที่อำเภอมีตราประทับจากอำเภอ [*เอกสารTH+ขอตราประทับนิติกรณ์ + **แปลJP]
สูติบัตรTH + แปลญี่ปุ่น
c. ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) ขอคัดที่อำเภอมีตราประทับจากอำเภอ [*เอกสารTH+ขอตราประทับนิติกรณ์ + **แปลJP]
d. สำเนาพาสปอร์ต [*เอกสารTH+ขอตราประทับนิติกรณ์]
e. หนังสือปฏิญานตน
ดูเอกสารเพิ่มเติมได้
https://www.th.emb-japan.go.jp/th/consular/amarri.htm
2. เช็นลายของเซ็นเราใน Marriage Registration form ค่ะ
กรณีเราเซ็นลายเช็นไว้ตอนไปเที่ยวญป ค่ะ
หรือให้แฟนส่งมาไทยก็ได้ โดยขอformจากอำเภอ หรือถ้าอยากได้แบบสวยๆ ก็ให้แฟนปริ้นจากเครื่องปริ้นใน 7-11 ในญป เลือกแบบที่เขาทำมาขายได้ตาม link ค่ะ
https://anymarry.mwed.jp/konintodoke
3. ส่งเอกสารทั้งหมดไปให้แฟน ใช้บริการไปรษณีย์ EMS ราคา 940 บาท ใช้เวลาประมาณ 3 วันค่ะ
4. จากนั้นนำเอกสารทุกอย่างไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น และรอ Koseki Tohon ทะเบียนบ้านญี่ปุ่นอัพเดทมีชื่อเราประมาณ 1 อาทิตย์
แต่ในกรณีเราแฟนมีความสายมูเลือกวันที่ดีที่สุดที่จะไปจดทะเบียนสมรส ได้วันดีที่สุดเป็นวันก่อนเดินทางมาแต่งงานที่ไทยประมาณอาทิตย์นึง แต่เจ้าหน้าที่ออก Koseki tohon ให้ไม่ทันเพราะติดช่วงวันหยุดด้วย เขาเลยแนะนำให้ใช้เอกสาร Certify Acceptance แทน ซื่งใช้ได้เหมือนกันค่ะ แต่ตอนเอาไปยื่นสถานทูตญปในไทย ต้องแปลไปก่อนและเสียค่าธรรมเนียมแพงกว่าประมาน 3 เท่า
5. แปล Certify Acceptance (Marriage) เป็นภาษาอังกฤษ ก่อนไปขอรับรองการแปลที่สถานทูตญี่ปุ่นในไทย
สถานทูตจะรับรองการแปลให้เอกสารฉนับบนี้ โดยแนบเอกสารรับรองการแปลให้อีก 1 ฉบับ ค่าธรรมเนียม 1,150 บาท
Certify Acceptance แปล ENG และประทับตราสถานทูต
* แต่ถ้าใครได้ Koseki Tohon ไปยื่น ทางสถานทูตจะออกเป็นหนังสือรับรองการสมรสเป็นภาษาอังกฤษมาให้เลย และค่าธรรมเนียมแค่ 350 บาทเท่านั้น!
ถ้าจะเปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลของสามี สามีต้องไปขอบันทึกข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุลได้ที่สถานทูตไทยในญี่ปุ่น
6. แปลเอกสารในข้อ 5. ที่ได้จากสถานทูตญี่ปุ่นในไทยแปลภาษาไทย และไปขอรับตรา ประทับ นิติกรณ์จากกรมการกงสุล
Certify Acceptance TH
*เอกสารที่เราแปลเป็นภาษาไทย เราไปยื่นด้วยตัวเองที่สถานกงสุลแจ้งวัตนะ เสียค่ารับรองเอกสารไป 400 บาท (รับรอง 2 แผ่น) และเลือกให้ส่งเอกสารกลับทางไปรษณีย์ มีแก้ไข 1 ครั้ง ก็ส่งไปทางไปรษณีย์แช่นกัน เนื่องจากคำภาษาไทยมีความหลากหลาย อาจจะไม่ถูกต้อง ถูกใจตามที่กรมการกงสุลต้องการ เช่น
เอกสาร =>หนังสือ ส่วนตัาเราคิดว่าใครที่แปลเองอย่างน้อยต้องมีแก้ 1 เป็นอย่างต่ำแน่ๆ ซึ่งกระบวนการนี้เราใช้เวลาตั้งแต่ ยื่นเอกสารรวมแก้และได้ตราประทับมาประมาณ 1 อาทิตย์ เร็วอยู่เหมือนกันนะคะ
7. นำเอกสารข้อ 5, 6 ไปอำเภอเพื่อแจ้งยื่นใบบันทึกฐานะแห่งครอบครัว คร.22 (แจ้งสถานการแต่งงาน)
เราเลือกไปที่เขตหลักสี่ เพราะเราไม่เปลี่ยนชื่อนามสกุล ไม่ต้องกลับไปอำเภอบ้านเกิด
และเราก็โทรถามเจ้าหน้าที่เขตไว้ประมาณ2-3 ที่ เราเลือกเขตหลักสี่เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ขอเอกสารที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องรอยื่นเรื่อง
เอกสารที่ใช้ยื่นที่เขต
i. เอกสารสมรสจากต่างประเทศ พร้อมนำแปลภาษาอังกฤษประทับรับรองจากสถานทูต และแปลไทยรับรองจากกรมการกงสุล (copy เก็บไว้ 1 ชุด)
ii. สำเนา passport ของแฟน ใช้ลายเซ็นเรารับรอง
**หมายเหตุกรณีเราไม่เปลี่ยนคำนำหน้าเป็นนาง ไม่เปลี่ยนนามสกุลตามแฟน ก็จะยื่นเอกสารให้สถานทูตแค่นี้ค่ะ
แต่ถ้าใครเปลี่ยนตามต้องมีบันทึกข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุลไปด้วย
เจ้าหน้าที่เขตดำเนินการให้เราใช้เวลาประมาน 1 ชั่วโมง ก็เรียบร้อยแล้วค่ะ และให้สำเนาคร.22 ที่มีตราประทับของอำเภอมาให้เรา 2 แผ่น เพื่อเอาไปแปลเป็นญี่ปุ่น แล้วยื่นขอ COE ต่อไป ในส่วนของพยานขอเจ้าหน้าที่ช่วยจัดหาให้ เราให้ค่าพยานไป 500 บาท ตามจิตศรัทธา
จบขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสทั้งที่ญป และไทย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นขอใบพำนัก COE
อ้างอิงเอกสารที่ต้องใช้ตามลิ้งค์
Web Immigration JP service
กดแปลเป็นอังกฤษแล้วโหลดเอกสารที่เขา require จาก web นี้เลยค่ะ
เอกสารฝั่งเราTH ที่ต้องส่งไปให้สามี
1. แปลเอกการยื่นทะเบียนสมรสจากไทย
i.) คร.22 บันทึกฐานะแห่งครอบครัว ที่ได้จากอำเภอไทย พร้อมแปลภาษาญี่ปุ่นโดยไม่ต้องประทับตรารับรอง
ตัวอย่างแปล คร.22 TH=>JP
คร.22 แปล JP
ii.) ใบเปลี่ยนชื่อสกุลและคำนำหน้า พร้อมคำแปลญีปุ่น (ถ้ามี)
2. รูปถ่ายหน้าตรง 3x4 cm
3. Application form Certificate of Eligibility เรากรอกเป็นภาษาญี่ปุ่นส่งไปให้แฟนด้วย
ตัวอย่างการกรอก Application form COE
4. หลักฐานยืนยันการคบกัน
i) รูปถ่าย เราใช้รูปถ่ายสมัยเริ่มคุย รูปตอนเขามาไทย ตอนเราไปญป และรูปแต่งงาน
ii) Line Chat ที่คุยกัน
5. สำเนาพาสปอร์ต
เอกสารฝั่งสามีญี่ปุ่น ที่ต้องเตรียม
1. ใบแสดงถิ่นที่อยู่อาศัย
2. สำเนาทะเบียนบ้านญี่ปุ่น (โคเซคิโทฮ่ง) ที่มีชื่อเราด้วย
3. เอกสารการงานการเงินของสามี
i) หลักฐานการเสียภาษีของสามี
ii) หนังสือรับรองการทำงาน
4. Letter of guarantee จดหมายรับรอง (ให้สามีการันตี)
https://www.moj.go.jp/isa/content/001373950.pdf
5. แบบสอบถามข้อมูลของสามี และ ในนั้นจะมีหัวข้อนึงที่ต้องเเขียนเรื่องราวขอเราว่า เราเจอกันกับสามีเมื่อไหร่ยังไง เจอกันบ่อยแค่ไหนตั้งแต่เริ่มไปจนแต่งงาน และแผนการในอนาคตหลังแต่ง แฟนเราเขียนแยกออกมาอีก1กระดาษ A4
https://www.moj.go.jp/isa/content/930003288.pdf
6. แสตมป์อาการ เพื่อให้เขาส่งเอกสารกลับ
เตรียมเอกสารครบแล้วก็ไปยื่นที่นิวกัง Immigration Bureau of Japan สามีเราไปที่ชิบะ ไปตั้งแต่ก่อนเขาเปิดเก้าโมงยังได้คิวยี่สิบกว่า
แต่ก็รันคิวเร็วอยู่ไม่ถึงชั่วโมงก็เรียบร้อยแล้ว สามีพึ่งยื่นช่วงปลายเดือน มค 2024 ตอนนี้ก็ได้แต่รอว่าจะได้ COE มาทันเดือน 4 ไหม เพราะเรากะแฟนอยากย้ายเข้าอพารต์เม้นใหม่ด้วยกันในเดือน 4
ระหว่างที่รอก็ลองทำข้อมูลทางสถิติ อ้างอิงข้อมูลจากนิวกัง
ข้อมุลอ้างอิงจากนิวกัง
ในส่วนของคู่สมรส โดยเฉลี่ยระยะเวลาเฉลี่ยในการพิจารณา ให้เวลาประมาณ1- 2 เดือน และช่วงหลังๆเหมือนจะ มีแนวโน้มเพิ่มใช้เวลานานขึ้นเรื่อยๆ T^T มาดูกันว่าเคสเราใช้เวลานานแค่ไหน แล้วจะมาอัพเดทอีกทีในขั้นตอนต่อไปค่ะ
รีวิวขั้นตอนการย้ายไปอยู่กะผู้ชาวญี่ปุ่น (ขอวีซ่าสมรสญี่ปุ่น)
มันจะเยอะยังไงมาดูกันค่ะ
ขั้นตอนหลักๆ มีอยู่ 3 ขั้นตอนค่ะ
1. จดทะเบียนสมรสที่ญี่ปุ่นก่อน และแจ้งอัพเดทสถานะการสมรสที่อำเภอไทย
2. ยื่นขอใบพำนัก COE (Certificate of Eligibility) เตรียมเอกสารให้สามีไปที่นิวกัง Immigration Bureau of Japan
(ใบเบิกทางในการยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่น)
3. ยื่นขอ VISA คู่สมรสที่ไทย
เราเริ่มการเตรียมเอกสารตั้งแต่ ปลาย พ.ย. 2566 และเตรียมกันเอง แปลกันเองทุกขึ้นตอน ตอนนี้เราอยู่ที่ขั้นตอนรอ COE ขั้นตอนที่ 2 ค่ะ
====================================================================================
ต่อมาจะอธิบายเจาะลึกแต่ละขั้นตอนแบบละเอียดนะคะ
เจ้าหน้าที่ทางโน้นขอแค่เอกสารจากไทย และแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น (ลงชื่อคนแปล) เท่านั้น ไม่เอาเอกสารแปลภาษาอังกฤษ
เราโชคดีที่ทางอำเภอแฟนไม่ขอเอกสารแปลภาษาอังกฤษ เราแค่นำเอกสารที่ได้จากอำเภอ *ภาษาไทย (TH) ไปขอรับรองประทับรับรองความถูกต้องตามกฎหมายเพื่อใช้ในต่างประเทศ ไม่ต้องยุ่งอยากแปลเป็นภาษาอังกฤษที่แปะๆ เพื่อไปขอรับรองการแปล บางคำเป็นศัพที่เฉพาะ ต้องใช้คำที่ทางสถานกงสุลกำหนดเท่านั้น
*** จุดสำคัญเลยนะคะ แต่ละอำเภอของญี่ปุ่นขอเอกสารไม่เหมือนกัน ย้ำให้แฟนโทรถามที่อำเภอให้ชัดเจนก่อนค่ะ จะไม่ได้เสียเวลา ถ้าเขาไม่เอาภาษาอังกฤษจะได้ไม่ไม่ต้องแปลค่ะ และเสียเวลาแก้ไขเอกสารและเสียเงินค่ารับรองเอกสารค่ะ***
เอกสารภาษาไทยที่ได้จากอำเภอ ต้องไปขอตราประทับรับรองความถูกต้องตามกฎหมายเพื่อใช้ในต่างประเทศ ที่กรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ เราขอใช้คำว่า " ตราประทับนิติกรณ์" ต้องจองคิวก่อนไปขอนะคะ ซึ่งเราใช้เวลาประมาณ 1 วัน นัดรับวันถัดไป จองก่อนไปนะคะ จองคิวรับรองเอกสาร
เอกสารฝั่งเราที่อำเภอญี่ปุ่นขอ
a. ใบรับรองโสด (*TH ตราประทับนิติกรณ์ และ **แปลJP) รับรองโสดTH รับรองโสดแปลญี่ปุ่น
ขอได้ที่อำเภอบ้านเกิดเท่านั้นนะคะ แนะนำให้โทรไปถามทางอำเภอก่อน เพราะอำเภอบ้านเราต้องไปทำเรื่องไว้ก่อนและเขาจะนัดรับอีกที เราให้แม่ ช่วย เอาเอกสารของเรา แม่ พยานที่อำเภอเจาะจงมาว่าต้องเป็นผู้ใหญ่บ้าน ไปยื่นเรื่องไว้ก่อน และในวันที่นัดรับเอกสารทุกคนต้องไปแสดงตัว พร้อมกัน แล้วก็เอามาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น เราใช้วิธีเข้า google translate แปลไทยเป็นญี่ปุ่น ปรับแก้นิดหน่อย แล้วให้แฟนแก้ไข ตรวจสอบอีกทีค่ะ
b. สูติบัตร ขอคัดที่อำเภอมีตราประทับจากอำเภอ [*เอกสารTH+ขอตราประทับนิติกรณ์ + **แปลJP]สูติบัตรTH + แปลญี่ปุ่น
c. ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) ขอคัดที่อำเภอมีตราประทับจากอำเภอ [*เอกสารTH+ขอตราประทับนิติกรณ์ + **แปลJP]
d. สำเนาพาสปอร์ต [*เอกสารTH+ขอตราประทับนิติกรณ์]
e. หนังสือปฏิญานตน
ดูเอกสารเพิ่มเติมได้https://www.th.emb-japan.go.jp/th/consular/amarri.htm
2. เช็นลายของเซ็นเราใน Marriage Registration form ค่ะ
กรณีเราเซ็นลายเช็นไว้ตอนไปเที่ยวญป ค่ะ
หรือให้แฟนส่งมาไทยก็ได้ โดยขอformจากอำเภอ หรือถ้าอยากได้แบบสวยๆ ก็ให้แฟนปริ้นจากเครื่องปริ้นใน 7-11 ในญป เลือกแบบที่เขาทำมาขายได้ตาม link ค่ะ https://anymarry.mwed.jp/konintodoke
3. ส่งเอกสารทั้งหมดไปให้แฟน ใช้บริการไปรษณีย์ EMS ราคา 940 บาท ใช้เวลาประมาณ 3 วันค่ะ
4. จากนั้นนำเอกสารทุกอย่างไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น และรอ Koseki Tohon ทะเบียนบ้านญี่ปุ่นอัพเดทมีชื่อเราประมาณ 1 อาทิตย์
แต่ในกรณีเราแฟนมีความสายมูเลือกวันที่ดีที่สุดที่จะไปจดทะเบียนสมรส ได้วันดีที่สุดเป็นวันก่อนเดินทางมาแต่งงานที่ไทยประมาณอาทิตย์นึง แต่เจ้าหน้าที่ออก Koseki tohon ให้ไม่ทันเพราะติดช่วงวันหยุดด้วย เขาเลยแนะนำให้ใช้เอกสาร Certify Acceptance แทน ซื่งใช้ได้เหมือนกันค่ะ แต่ตอนเอาไปยื่นสถานทูตญปในไทย ต้องแปลไปก่อนและเสียค่าธรรมเนียมแพงกว่าประมาน 3 เท่า
5. แปล Certify Acceptance (Marriage) เป็นภาษาอังกฤษ ก่อนไปขอรับรองการแปลที่สถานทูตญี่ปุ่นในไทย
สถานทูตจะรับรองการแปลให้เอกสารฉนับบนี้ โดยแนบเอกสารรับรองการแปลให้อีก 1 ฉบับ ค่าธรรมเนียม 1,150 บาท
Certify Acceptance แปล ENG และประทับตราสถานทูต
* แต่ถ้าใครได้ Koseki Tohon ไปยื่น ทางสถานทูตจะออกเป็นหนังสือรับรองการสมรสเป็นภาษาอังกฤษมาให้เลย และค่าธรรมเนียมแค่ 350 บาทเท่านั้น!
ถ้าจะเปลี่ยนนามสกุลไปใช้นามสกุลของสามี สามีต้องไปขอบันทึกข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุลได้ที่สถานทูตไทยในญี่ปุ่น
6. แปลเอกสารในข้อ 5. ที่ได้จากสถานทูตญี่ปุ่นในไทยแปลภาษาไทย และไปขอรับตรา ประทับ นิติกรณ์จากกรมการกงสุล
Certify Acceptance TH
*เอกสารที่เราแปลเป็นภาษาไทย เราไปยื่นด้วยตัวเองที่สถานกงสุลแจ้งวัตนะ เสียค่ารับรองเอกสารไป 400 บาท (รับรอง 2 แผ่น) และเลือกให้ส่งเอกสารกลับทางไปรษณีย์ มีแก้ไข 1 ครั้ง ก็ส่งไปทางไปรษณีย์แช่นกัน เนื่องจากคำภาษาไทยมีความหลากหลาย อาจจะไม่ถูกต้อง ถูกใจตามที่กรมการกงสุลต้องการ เช่น
เอกสาร=>หนังสือ ส่วนตัาเราคิดว่าใครที่แปลเองอย่างน้อยต้องมีแก้ 1 เป็นอย่างต่ำแน่ๆ ซึ่งกระบวนการนี้เราใช้เวลาตั้งแต่ ยื่นเอกสารรวมแก้และได้ตราประทับมาประมาณ 1 อาทิตย์ เร็วอยู่เหมือนกันนะคะ7. นำเอกสารข้อ 5, 6 ไปอำเภอเพื่อแจ้งยื่นใบบันทึกฐานะแห่งครอบครัว คร.22 (แจ้งสถานการแต่งงาน)
เราเลือกไปที่เขตหลักสี่ เพราะเราไม่เปลี่ยนชื่อนามสกุล ไม่ต้องกลับไปอำเภอบ้านเกิด
และเราก็โทรถามเจ้าหน้าที่เขตไว้ประมาณ2-3 ที่ เราเลือกเขตหลักสี่เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ขอเอกสารที่ไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องรอยื่นเรื่อง
เอกสารที่ใช้ยื่นที่เขต
i. เอกสารสมรสจากต่างประเทศ พร้อมนำแปลภาษาอังกฤษประทับรับรองจากสถานทูต และแปลไทยรับรองจากกรมการกงสุล (copy เก็บไว้ 1 ชุด)
ii. สำเนา passport ของแฟน ใช้ลายเซ็นเรารับรอง
**หมายเหตุกรณีเราไม่เปลี่ยนคำนำหน้าเป็นนาง ไม่เปลี่ยนนามสกุลตามแฟน ก็จะยื่นเอกสารให้สถานทูตแค่นี้ค่ะ
แต่ถ้าใครเปลี่ยนตามต้องมีบันทึกข้อตกลงในการใช้ชื่อสกุลไปด้วย
เจ้าหน้าที่เขตดำเนินการให้เราใช้เวลาประมาน 1 ชั่วโมง ก็เรียบร้อยแล้วค่ะ และให้สำเนาคร.22 ที่มีตราประทับของอำเภอมาให้เรา 2 แผ่น เพื่อเอาไปแปลเป็นญี่ปุ่น แล้วยื่นขอ COE ต่อไป ในส่วนของพยานขอเจ้าหน้าที่ช่วยจัดหาให้ เราให้ค่าพยานไป 500 บาท ตามจิตศรัทธา
จบขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสทั้งที่ญป และไทย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กดแปลเป็นอังกฤษแล้วโหลดเอกสารที่เขา require จาก web นี้เลยค่ะ
เอกสารฝั่งเราTH ที่ต้องส่งไปให้สามี
1. แปลเอกการยื่นทะเบียนสมรสจากไทย
i.) คร.22 บันทึกฐานะแห่งครอบครัว ที่ได้จากอำเภอไทย พร้อมแปลภาษาญี่ปุ่นโดยไม่ต้องประทับตรารับรอง
ตัวอย่างแปล คร.22 TH=>JP คร.22 แปล JP
ii.) ใบเปลี่ยนชื่อสกุลและคำนำหน้า พร้อมคำแปลญีปุ่น (ถ้ามี)
2. รูปถ่ายหน้าตรง 3x4 cm
3. Application form Certificate of Eligibility เรากรอกเป็นภาษาญี่ปุ่นส่งไปให้แฟนด้วย ตัวอย่างการกรอก Application form COE
4. หลักฐานยืนยันการคบกัน
i) รูปถ่าย เราใช้รูปถ่ายสมัยเริ่มคุย รูปตอนเขามาไทย ตอนเราไปญป และรูปแต่งงาน
ii) Line Chat ที่คุยกัน
5. สำเนาพาสปอร์ต
เอกสารฝั่งสามีญี่ปุ่น ที่ต้องเตรียม
1. ใบแสดงถิ่นที่อยู่อาศัย
2. สำเนาทะเบียนบ้านญี่ปุ่น (โคเซคิโทฮ่ง) ที่มีชื่อเราด้วย
3. เอกสารการงานการเงินของสามี
i) หลักฐานการเสียภาษีของสามี
ii) หนังสือรับรองการทำงาน
4. Letter of guarantee จดหมายรับรอง (ให้สามีการันตี) https://www.moj.go.jp/isa/content/001373950.pdf
5. แบบสอบถามข้อมูลของสามี และ ในนั้นจะมีหัวข้อนึงที่ต้องเเขียนเรื่องราวขอเราว่า เราเจอกันกับสามีเมื่อไหร่ยังไง เจอกันบ่อยแค่ไหนตั้งแต่เริ่มไปจนแต่งงาน และแผนการในอนาคตหลังแต่ง แฟนเราเขียนแยกออกมาอีก1กระดาษ A4 https://www.moj.go.jp/isa/content/930003288.pdf
6. แสตมป์อาการ เพื่อให้เขาส่งเอกสารกลับ
เตรียมเอกสารครบแล้วก็ไปยื่นที่นิวกัง Immigration Bureau of Japan สามีเราไปที่ชิบะ ไปตั้งแต่ก่อนเขาเปิดเก้าโมงยังได้คิวยี่สิบกว่า
แต่ก็รันคิวเร็วอยู่ไม่ถึงชั่วโมงก็เรียบร้อยแล้ว สามีพึ่งยื่นช่วงปลายเดือน มค 2024 ตอนนี้ก็ได้แต่รอว่าจะได้ COE มาทันเดือน 4 ไหม เพราะเรากะแฟนอยากย้ายเข้าอพารต์เม้นใหม่ด้วยกันในเดือน 4
ระหว่างที่รอก็ลองทำข้อมูลทางสถิติ อ้างอิงข้อมูลจากนิวกัง ข้อมุลอ้างอิงจากนิวกัง
ในส่วนของคู่สมรส โดยเฉลี่ยระยะเวลาเฉลี่ยในการพิจารณา ให้เวลาประมาณ1- 2 เดือน และช่วงหลังๆเหมือนจะ มีแนวโน้มเพิ่มใช้เวลานานขึ้นเรื่อยๆ T^T มาดูกันว่าเคสเราใช้เวลานานแค่ไหน แล้วจะมาอัพเดทอีกทีในขั้นตอนต่อไปค่ะ