เจาะลึก 3 แนวทางศาลรธน.ตัดสิน “ก้าวไกล” จะเลือกจาก สส.150 กลายเป็น 300 หรือแช่แข็งในสภา
https://www.matichon.co.th/clips/news_4401668
รายการ The Politics X ใบตองแห้ง ประเมินแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีพรรคก้าวไกล ใช้ ม.112 หาเสียง ล้มล้างการปกครอง หรือไม่ ในวันที่ 31 มกราคม 2567 โดยคาดว่าจะมี 3 แนวทางที่จะมีคำวินิจฉัย เตือนโยงไปถึงยุบ “ก้าวไกล” สส.จาก 150 คน จะพุ่งไปถึง 300 คน
ทนายเดชา ฟันธง! นาย ศ. ไม่รอดแน่ คดีตบทรัพย์ ขอ ตร.ไปดูหน่อยหนีไป ตปท. แล้วหรือยัง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4401497
ทนาย
เดชา กิตติวิทยานันท์ เจ้าของเพจทนายคลายทุกข์ ซัดแรงก็แค่แก๊งตบทรัพย์พื้นๆ 3-4 คนแบ่งรายได้กัน เผยนาย “จ” โทษประหาร ส่วน “ศ” ติดคุกตลอดชีวิต พร้อมตามตำรวจไปดูหน่อย พี่ศรียังอยู่หรือหนีไป ตปท.แล้ว แนะวิธีสังเกตนักร้องตบทรัพย์ ไม่มีอาชีพ ไม่เสียภาษี โพสต์แจ้งหมายข่าวแล้วยกเลิกหมาย ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
แพ็กเกจ EV ดันขาดดุลจีนพุ่ง สินค้าจีนดัมพ์ตลาดทุกช่องทาง
https://www.prachachat.net/motoring/news-1491265
ไทยขาดดุลการค้าจีน 1.2 ล้านล้าน ทุบสถิติ ส.อ.ท.ชี้ แพ็กเกจอีวี 3.0 เป็นเหตุทำยอดนำเข้ารถอีวีพุ่ง 400% เกือบแสนล้าน มองโอกาสขาดดุลจากการนำเข้าอีวีต่อเนื่องถึงปี’68 สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย แนะไทยควรชำแหละตรวจเข้มสินค้านำเข้า วางยุทธศาสตร์ดึงทุนจีนเข้ามาผลิตแทนการนำเข้า เพิ่มตัวเลข FDI พร้อมกำหนดเงื่อนไขใช้วัตถุดิบ-แรงงานไทย ด้านสมาคมผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ไทย ชี้โควิดเป็นเหตุอีคอมเมิร์ชบูม “สินค้าจีนราคาถูก” ท่วมแพลตฟอร์มออนไลน์ แถมเปิดช่อง “คนขายจีน” ทะลักเข้ามาด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพการค้าไทย-จีนในปี 2566 ที่มีมูลค่ากว่า 3.64 ล้านล้านบาท โดยไทยส่งออก 1.17 ล้านล้านบาท และนำเข้าสินค้าจากจีน 2.47 ล้านล้านบาท ทำให้ไทยขาดดุลการค้าให้จีน 1.2 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้ เมื่อเจาะลึกลงไปในกลุ่มสินค้านำเข้าในปี 2566 ที่มีการเติบโตมากที่สุด ประกอบด้วย รถยนต์และส่วนประกอบ มูลค่า 91,289 ล้านบาท เติบโต 472% อันดับสอง คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 22,963 ล้านบาท เติบโต 17.86% ตามมาด้วย สินค้าไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ มูลค่า 64,229 ล้านบาท เติบโต 15.20% เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด 42,210 ล้านบาท เติบโต 7.09% ผักและผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ 45,514 ล้านบาท เติบโต 5.2% และสินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า 229,329 ล้านบาท เติบโต 1%
นอกจากการค้าระหว่างประเทศผ่านระบบศุลกากรทางตรง แล้วยังมีการค้าขายผ่านระบบออนไลน์อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าผ่านแดนจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศจีน ซึ่งตัวเลขการค้าทุกช่องทางเพิ่มขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขการค้าข้ามพรมแดนไทย-จีน ปี 2566 รวม 423,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% ไทยส่งออก 213,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% นำเข้า 209,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% โดยไทยได้ดุลการค้า 4,513 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกสินค้าเป็นคนละกลุ่ม กับการค้าขายผ่านระบบการค้าระหว่างประเทศทางตรง โดยสินค้าการส่งออกผ่านแดนของไทยไปจีนที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ทุเรียน ฮาร์ดิสก์ไดรฟ์ และไม้แปรรูป
รถอีวีนำเข้าพุ่ง
นาย
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยอดนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นรถยนต์นั่ง เป็นผลจากมาตรการอีวี 3.0 ที่ค่ายรถต้องนำเข้ารถสำเร็จรูปจากจีน มาจำหน่ายก่อนที่จะมาตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยสะท้อนจากตัวเลขจดทะเบียนอีวีโตพุ่ง จากปี 2565 แค่ 9,500 คัน ปี 2566 ยอดจดทะเบียนอยู่ที่ 75,690 คัน ซึ่งตัวเลขที่จดทะเบียนจะน้อยกว่าตัวเลขนำเข้าจริง เพราะยังมีบางส่วนที่เป็นสต๊อกหรืออยู่ระหว่างการซื้อขาย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน
สำหรับค่ายที่มียอดซื้อที่ต้องนำเข้าสูงสุดมีหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น BYD, MG, ORA, NETA หรือแม้แต่ TESLA ซึ่งก็มีโรงงานผลิตที่จีนด้วย
“
แนวโน้มการนำเข้ารถอีวีจะยังมีต่อเนื่อง 4 ปี (ปี 2565-2568) เพราะยังมีมาตรการแพ็กเกจอีวี 3.5 อีก ต้องนำเข้ารถยนต์อีวีมาก่อนในปี 2567-2568 ก่อนที่จะเริ่มการผลิตโรงงานในประเทศไทยในปี 2569-2570 จึงจะได้รับเงินอุดหนุนการซื้อรถ 50,000-100,000 บาท โดยปัจจุบันจีนส่งออกทั้งรถยนต์สันดาปและรถยนต์ไฟฟ้า แซงญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกแล้ว”
นอกจากตัวเลขนำเข้ารถอีวีแล้ว ยังมีตัวเลขเครื่องจักรกลชิ้นส่วนอะไหล่ที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ เพราะจะต้องเริ่มผลิตสำหรับโรงงานที่ใช้สิทธิจากมาตรการอีวี 3.0 และต้องมีการนำเข้าชิ้นส่วนมาผลิตด้วย รวมถึงที่จะมาตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งก็ต้องนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญ ๆ เข้ามา ทั้งนี้ขึ้นกับซัพพลายเชนของแต่ละยี่ห้อ
“
การแก้ปัญหาการขาดดุลการค้านั้นมองว่า ในแง่การนำเข้าเพิ่มมาก แล้วเม็ดเงินลงทุนเอาเข้ามาเท่าไร ต้องมาเทียบยอดเงินนำเข้ารถอีวี และยอดเงินที่เอามาตั้งโรงงานผลิตรถอีวี รวมถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ว่ารายหนึ่งนำเม็ดเงินมาหลายหมื่นล้าน เทียบกับมูลค่าการนำเข้ารถยนต์ 3 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ คุ้มค่าหรือไม่”
สำแดงเท็จ “เสียดุล-รายได้ภาษี”
นาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไทยขาดดุลการค้าจีนมาทุกปีในช่วง 10 ปีผ่านมา แต่ปีนี้เป็นปีที่เราขาดดุลมากที่สุด 1.2 ล้านล้าน จากปกติที่ขาดดุลปีละ 900,000 กว่าล้านบาท มาตรการที่ทางภาครัฐควรดูแลสินค้าเลี่ยงภาษีจากการใช้แบบฟอร์มอี ในการนำเข้าโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเอฟทีเอกับจีน ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่จริง ๆ อาจจะเป็นสินค้าอื่น ๆ (สำแดงเท็จ) ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้ไทยเสียประโยชน์เรื่องขาดดุลการค้า แล้วยังเสียผลประโยชน์ทางด้านภาษีในการจัดเก็บรายได้ของประเทศด้วย ดังนั้นจะต้องมีกระบวนการตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องปราม ตลอดจนต้องมีการวางกระบวนการในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) การตรวจความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าลดปัญหาสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ
ดึงลงทุนแก้เกม
นายแสงชัยกล่าวว่า ในรายละเอียดยังพบว่า สินค้าเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสาร รถยนต์-รถโดยสาร เครื่องนุ่งห่ม ที่เป็นสินค้าที่ไทยนำเข้ามามาก เพราะสินค้าจากจีนราคาถูก ไทยไม่สามารถสู้ต้นทุนผลิตได้ เช่น เครื่องจักรกล หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือรายใหญ่ที่นำเข้ามาใช้
ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการขาดดุลการค้ากับประเทศจีน ต้องดูว่าสินค้าอะไรที่เราสามารถดึงให้จีนมาผลิตในไทยได้หรือไม่ เช่น รถโดยสารรถไฟฟ้า ถ้าสามารถดึงเข้ามาในประเทศไทยจะช่วยลดภาวะการขาดดุลการค้าดีขึ้น และยังทำให้ตัวเลขลงทุนเอฟดีไอของไทยดีขึ้นด้วย
“
สินค้าทุนที่เป็นพวกเครื่องจักรต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เราเองสู้จีนไม่ได้ จีนผลิตได้ถูกมาก ขณะที่อีกด้านต้องผลักดันนักลงทุนไทยทั้งรายใหญ่และเอสเอ็มอี เข้าไปทำการค้าในจีนให้มากขึ้น โดยต้องใช้ G to G เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจคนไทยสามารถที่จะไปลงทุน แล้วเอาเงินกลับมาบ้านเราเพิ่มขึ้น ลดการขาดดุลการค้าได้”
วางยุทธศาสตร์ส่งออกเชิงรุก
นาย
แสงชัยกล่าวว่า ที่สำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งทูตพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ต้องร่วมกันหารือกับภาคเอกชน วางยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการลงทุนระยะยาว ทั้งการเจรจา การเปิดตลาดให้ครอบคลุมในสินค้า บริการ หรือธุรกิจแฟรนไชส์ หรือแม้แต่ซอฟต์พาวเวอร์เรื่องอาหารไทย แพทย์แผนไทย สิ่งทอเสื้อผ้าไทยเข้าไปสร้างกระแสในเมืองจีน
“
อย่างวันนี้ไทยกำลังเป็นทาสหม่าล่า จะพบมีร้านอยู่ทุกหัวถนน และใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงที่มาจากจีนหมดเลย เป็นกลยุทธ์ซอฟต์พาวเวอร์ของจีนที่จะมาแทรกซึม ดังนั้นต้องทำทั้งฝั่งดูดเข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมกับข้อกำหนดในการให้ใช้วัตถุดิบสินค้าในประเทศไทย เราจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในรูปแบบต่าง ๆ และให้ใช้แรงงานไทยอย่างน้อยกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องมีกระบวนการ ไม่ใช่ดึงดูดนักลงทุนจีนมาเสร็จแล้วแต่มาพร้อมกับแรงงานจีน ไทยไม่ได้อะไร แล้วสิ่งสำคัญคือการที่สินค้านำเข้า ต้องผ่านมาตรฐานเดียวกับผู้ประกอบการไทย เพราะเทียบกับสินค้าจีนที่เข้ามาในไทยมีคุณภาพบ้าง ไม่ได้คุณภาพบ้าง ภาครัฐไม่ได้เข้าไปตรวจ ไม่มีกำแพง ในมุมกลับกัน สินค้าไทยไปขายที่จีน ถ้าผิดมาตรฐานเขาจับทั้งตู้ ไม่เอาคืนคือเททิ้ง”
สินค้าจีนทะลักผ่านอีคอมเมิร์ซ
ด้านนางสาว
กุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจัยที่ทำให้การนำเข้าสินค้าจีนสะดวกขึ้น คือความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งมีผลประโยชน์กับ 11 ประเทศที่เข้าร่วม เพราะมีการยกเลิกภาษีนำเข้าในสินค้ากว่า 8,000 รายการ คิดเป็น 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด
“
ถ้ามีการขอ Form E หรือหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดของสินค้าใช้เอฟทีเอจะได้รับการเว้นภาษีนำเข้าเป็น 0% ในสินค้าบางประเภท จากความตกลงดังกล่าวช่วยให้การค้าขายระหว่างไทยกับจีนมีความคล่องตัวขึ้น ส่วนตัวคิดว่ามี ดีกว่าไม่มี”
นางสาว
กุลธิรัตน์กล่าวด้วยว่า ปัจจัยที่ทำให้คนรู้สึกว่าใน 1-2 ปีที่ผ่านมา สินค้าจีนราคาถูกทะลักเข้าไทยมากกว่าปกติ และเริ่มส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย คือการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ช่วงที่โควิด-19 ระบาด เป็นช่วงที่ทุกคนทําการค้าอะไรไม่ได้เลย มีคนตกงานจำนวนมาก
“
ช่วงนั้นการค้าขายที่ง่ายที่สุด คือการเอาสินค้าราคาถูกมาขายบนช่องทางออนไลน์ ซึ่งซัพพลายเออร์รายใหญ่ของไทยคือจีนอยู่แล้ว คนขายหน้าใหม่นำสินค้ามาทดลองขายได้ง่าย ทำให้สินค้าราคาถูกเต็มแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไปหมด อีกทั้งยังเป็นการเปิดช่องให้คนจีนเข้ามาขายสินค้าในไทยง่ายขึ้นด้วย ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่ทะลักเข้าไทย คือคนขายจากจีนมากกว่า”
รวมถึงการไลฟ์ขายสินค้า (Live Commerce) ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการบริโภคสินค้าจีนมากขึ้น เพราะคงไม่มีใครเอาสินค้าราคาแพงมาไลฟ์ขาย ของส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้าหรือสินค้าราคาถูกตั้งแต่ 19 บาท ไปจนถึงหลักร้อยต้น ๆ ซึ่งโรงงานไทยที่ใช้แรงงานฝีมือและมีค่าแรงขั้นต่ำในการผลิตคงให้ต้นทุนในราคานี้ไม่ได้ แต่โรงงานจีนที่ผลิตสินค้าส่งคนทั่วโลกทำได้
อย่างไรก็ตาม ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาเกือบ 50 ปีแล้ว มีการนำเข้าและส่งออกสินค้ากันเป็นปกติ รายชื่อผู้นําเข้า-ส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์บันทึกไว้มีหลายพันราย ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี หรืออย่างสมาชิกของหอการค้าไทย-จีน ก็มีเกือบหมื่นราย
“
การนําเข้าสมัยก่อนมีทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบนำเข้าผ่านรถบรรทุกขนาดใหญ่ ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากกรมศุลกากร แต่ปัจจุบันการนำเข้าส่วนใหญ่ของ GDP ประเทศไทยถูกกฎหมายหมดแล้ว แต่พออีคอมเมิร์ซเข้ามา สินค้าจีนก็ไปขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ มากขึ้นแทน”
JJNY : เจาะลึก 3 แนวทางศาล│ทนายเดชาฟันธง! ศ.ไม่รอดแน่│แพ็กเกจ EV ดันขาดดุลจีนพุ่ง│ผู้นำฝรั่งเศสเรียกร้องอียูช่วยเกษตรกร
https://www.matichon.co.th/clips/news_4401668
รายการ The Politics X ใบตองแห้ง ประเมินแนวทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีพรรคก้าวไกล ใช้ ม.112 หาเสียง ล้มล้างการปกครอง หรือไม่ ในวันที่ 31 มกราคม 2567 โดยคาดว่าจะมี 3 แนวทางที่จะมีคำวินิจฉัย เตือนโยงไปถึงยุบ “ก้าวไกล” สส.จาก 150 คน จะพุ่งไปถึง 300 คน
ทนายเดชา ฟันธง! นาย ศ. ไม่รอดแน่ คดีตบทรัพย์ ขอ ตร.ไปดูหน่อยหนีไป ตปท. แล้วหรือยัง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4401497
ทนายเดชา กิตติวิทยานันท์ เจ้าของเพจทนายคลายทุกข์ ซัดแรงก็แค่แก๊งตบทรัพย์พื้นๆ 3-4 คนแบ่งรายได้กัน เผยนาย “จ” โทษประหาร ส่วน “ศ” ติดคุกตลอดชีวิต พร้อมตามตำรวจไปดูหน่อย พี่ศรียังอยู่หรือหนีไป ตปท.แล้ว แนะวิธีสังเกตนักร้องตบทรัพย์ ไม่มีอาชีพ ไม่เสียภาษี โพสต์แจ้งหมายข่าวแล้วยกเลิกหมาย ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
แพ็กเกจ EV ดันขาดดุลจีนพุ่ง สินค้าจีนดัมพ์ตลาดทุกช่องทาง
https://www.prachachat.net/motoring/news-1491265
ไทยขาดดุลการค้าจีน 1.2 ล้านล้าน ทุบสถิติ ส.อ.ท.ชี้ แพ็กเกจอีวี 3.0 เป็นเหตุทำยอดนำเข้ารถอีวีพุ่ง 400% เกือบแสนล้าน มองโอกาสขาดดุลจากการนำเข้าอีวีต่อเนื่องถึงปี’68 สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย แนะไทยควรชำแหละตรวจเข้มสินค้านำเข้า วางยุทธศาสตร์ดึงทุนจีนเข้ามาผลิตแทนการนำเข้า เพิ่มตัวเลข FDI พร้อมกำหนดเงื่อนไขใช้วัตถุดิบ-แรงงานไทย ด้านสมาคมผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ไทย ชี้โควิดเป็นเหตุอีคอมเมิร์ชบูม “สินค้าจีนราคาถูก” ท่วมแพลตฟอร์มออนไลน์ แถมเปิดช่อง “คนขายจีน” ทะลักเข้ามาด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพการค้าไทย-จีนในปี 2566 ที่มีมูลค่ากว่า 3.64 ล้านล้านบาท โดยไทยส่งออก 1.17 ล้านล้านบาท และนำเข้าสินค้าจากจีน 2.47 ล้านล้านบาท ทำให้ไทยขาดดุลการค้าให้จีน 1.2 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ทั้งนี้ เมื่อเจาะลึกลงไปในกลุ่มสินค้านำเข้าในปี 2566 ที่มีการเติบโตมากที่สุด ประกอบด้วย รถยนต์และส่วนประกอบ มูลค่า 91,289 ล้านบาท เติบโต 472% อันดับสอง คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 22,963 ล้านบาท เติบโต 17.86% ตามมาด้วย สินค้าไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ มูลค่า 64,229 ล้านบาท เติบโต 15.20% เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด 42,210 ล้านบาท เติบโต 7.09% ผักและผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ 45,514 ล้านบาท เติบโต 5.2% และสินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า 229,329 ล้านบาท เติบโต 1%
นอกจากการค้าระหว่างประเทศผ่านระบบศุลกากรทางตรง แล้วยังมีการค้าขายผ่านระบบออนไลน์อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าผ่านแดนจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศจีน ซึ่งตัวเลขการค้าทุกช่องทางเพิ่มขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขการค้าข้ามพรมแดนไทย-จีน ปี 2566 รวม 423,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44% ไทยส่งออก 213,815 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% นำเข้า 209,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% โดยไทยได้ดุลการค้า 4,513 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกสินค้าเป็นคนละกลุ่ม กับการค้าขายผ่านระบบการค้าระหว่างประเทศทางตรง โดยสินค้าการส่งออกผ่านแดนของไทยไปจีนที่มีมูลค่าสูง ได้แก่ ทุเรียน ฮาร์ดิสก์ไดรฟ์ และไม้แปรรูป
รถอีวีนำเข้าพุ่ง
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยอดนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเป็นรถยนต์นั่ง เป็นผลจากมาตรการอีวี 3.0 ที่ค่ายรถต้องนำเข้ารถสำเร็จรูปจากจีน มาจำหน่ายก่อนที่จะมาตั้งโรงงานในประเทศไทย โดยสะท้อนจากตัวเลขจดทะเบียนอีวีโตพุ่ง จากปี 2565 แค่ 9,500 คัน ปี 2566 ยอดจดทะเบียนอยู่ที่ 75,690 คัน ซึ่งตัวเลขที่จดทะเบียนจะน้อยกว่าตัวเลขนำเข้าจริง เพราะยังมีบางส่วนที่เป็นสต๊อกหรืออยู่ระหว่างการซื้อขาย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน
สำหรับค่ายที่มียอดซื้อที่ต้องนำเข้าสูงสุดมีหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น BYD, MG, ORA, NETA หรือแม้แต่ TESLA ซึ่งก็มีโรงงานผลิตที่จีนด้วย
“แนวโน้มการนำเข้ารถอีวีจะยังมีต่อเนื่อง 4 ปี (ปี 2565-2568) เพราะยังมีมาตรการแพ็กเกจอีวี 3.5 อีก ต้องนำเข้ารถยนต์อีวีมาก่อนในปี 2567-2568 ก่อนที่จะเริ่มการผลิตโรงงานในประเทศไทยในปี 2569-2570 จึงจะได้รับเงินอุดหนุนการซื้อรถ 50,000-100,000 บาท โดยปัจจุบันจีนส่งออกทั้งรถยนต์สันดาปและรถยนต์ไฟฟ้า แซงญี่ปุ่นขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกแล้ว”
นอกจากตัวเลขนำเข้ารถอีวีแล้ว ยังมีตัวเลขเครื่องจักรกลชิ้นส่วนอะไหล่ที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ เพราะจะต้องเริ่มผลิตสำหรับโรงงานที่ใช้สิทธิจากมาตรการอีวี 3.0 และต้องมีการนำเข้าชิ้นส่วนมาผลิตด้วย รวมถึงที่จะมาตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งก็ต้องนำเข้าชิ้นส่วนสำคัญ ๆ เข้ามา ทั้งนี้ขึ้นกับซัพพลายเชนของแต่ละยี่ห้อ
“การแก้ปัญหาการขาดดุลการค้านั้นมองว่า ในแง่การนำเข้าเพิ่มมาก แล้วเม็ดเงินลงทุนเอาเข้ามาเท่าไร ต้องมาเทียบยอดเงินนำเข้ารถอีวี และยอดเงินที่เอามาตั้งโรงงานผลิตรถอีวี รวมถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ว่ารายหนึ่งนำเม็ดเงินมาหลายหมื่นล้าน เทียบกับมูลค่าการนำเข้ารถยนต์ 3 หมื่นกว่าล้านเหรียญสหรัฐ คุ้มค่าหรือไม่”
สำแดงเท็จ “เสียดุล-รายได้ภาษี”
นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไทยขาดดุลการค้าจีนมาทุกปีในช่วง 10 ปีผ่านมา แต่ปีนี้เป็นปีที่เราขาดดุลมากที่สุด 1.2 ล้านล้าน จากปกติที่ขาดดุลปีละ 900,000 กว่าล้านบาท มาตรการที่ทางภาครัฐควรดูแลสินค้าเลี่ยงภาษีจากการใช้แบบฟอร์มอี ในการนำเข้าโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเอฟทีเอกับจีน ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่จริง ๆ อาจจะเป็นสินค้าอื่น ๆ (สำแดงเท็จ) ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้ไทยเสียประโยชน์เรื่องขาดดุลการค้า แล้วยังเสียผลประโยชน์ทางด้านภาษีในการจัดเก็บรายได้ของประเทศด้วย ดังนั้นจะต้องมีกระบวนการตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องปราม ตลอดจนต้องมีการวางกระบวนการในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) การตรวจความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าลดปัญหาสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ
ดึงลงทุนแก้เกม
นายแสงชัยกล่าวว่า ในรายละเอียดยังพบว่า สินค้าเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสาร รถยนต์-รถโดยสาร เครื่องนุ่งห่ม ที่เป็นสินค้าที่ไทยนำเข้ามามาก เพราะสินค้าจากจีนราคาถูก ไทยไม่สามารถสู้ต้นทุนผลิตได้ เช่น เครื่องจักรกล หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือรายใหญ่ที่นำเข้ามาใช้
ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการขาดดุลการค้ากับประเทศจีน ต้องดูว่าสินค้าอะไรที่เราสามารถดึงให้จีนมาผลิตในไทยได้หรือไม่ เช่น รถโดยสารรถไฟฟ้า ถ้าสามารถดึงเข้ามาในประเทศไทยจะช่วยลดภาวะการขาดดุลการค้าดีขึ้น และยังทำให้ตัวเลขลงทุนเอฟดีไอของไทยดีขึ้นด้วย
“สินค้าทุนที่เป็นพวกเครื่องจักรต้องยอมรับความเป็นจริงว่า เราเองสู้จีนไม่ได้ จีนผลิตได้ถูกมาก ขณะที่อีกด้านต้องผลักดันนักลงทุนไทยทั้งรายใหญ่และเอสเอ็มอี เข้าไปทำการค้าในจีนให้มากขึ้น โดยต้องใช้ G to G เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจคนไทยสามารถที่จะไปลงทุน แล้วเอาเงินกลับมาบ้านเราเพิ่มขึ้น ลดการขาดดุลการค้าได้”
วางยุทธศาสตร์ส่งออกเชิงรุก
นายแสงชัยกล่าวว่า ที่สำคัญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งทูตพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ ต้องร่วมกันหารือกับภาคเอกชน วางยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการลงทุนระยะยาว ทั้งการเจรจา การเปิดตลาดให้ครอบคลุมในสินค้า บริการ หรือธุรกิจแฟรนไชส์ หรือแม้แต่ซอฟต์พาวเวอร์เรื่องอาหารไทย แพทย์แผนไทย สิ่งทอเสื้อผ้าไทยเข้าไปสร้างกระแสในเมืองจีน
“อย่างวันนี้ไทยกำลังเป็นทาสหม่าล่า จะพบมีร้านอยู่ทุกหัวถนน และใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงที่มาจากจีนหมดเลย เป็นกลยุทธ์ซอฟต์พาวเวอร์ของจีนที่จะมาแทรกซึม ดังนั้นต้องทำทั้งฝั่งดูดเข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมกับข้อกำหนดในการให้ใช้วัตถุดิบสินค้าในประเทศไทย เราจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในรูปแบบต่าง ๆ และให้ใช้แรงงานไทยอย่างน้อยกี่เปอร์เซ็นต์ ต้องมีกระบวนการ ไม่ใช่ดึงดูดนักลงทุนจีนมาเสร็จแล้วแต่มาพร้อมกับแรงงานจีน ไทยไม่ได้อะไร แล้วสิ่งสำคัญคือการที่สินค้านำเข้า ต้องผ่านมาตรฐานเดียวกับผู้ประกอบการไทย เพราะเทียบกับสินค้าจีนที่เข้ามาในไทยมีคุณภาพบ้าง ไม่ได้คุณภาพบ้าง ภาครัฐไม่ได้เข้าไปตรวจ ไม่มีกำแพง ในมุมกลับกัน สินค้าไทยไปขายที่จีน ถ้าผิดมาตรฐานเขาจับทั้งตู้ ไม่เอาคืนคือเททิ้ง”
สินค้าจีนทะลักผ่านอีคอมเมิร์ซ
ด้านนางสาวกุลธิรัตน์ ภควัชร์ไกรเลิศ นายกสมาคมผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ไทย (THECA) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจัยที่ทำให้การนำเข้าสินค้าจีนสะดวกขึ้น คือความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งมีผลประโยชน์กับ 11 ประเทศที่เข้าร่วม เพราะมีการยกเลิกภาษีนำเข้าในสินค้ากว่า 8,000 รายการ คิดเป็น 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด
“ถ้ามีการขอ Form E หรือหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดของสินค้าใช้เอฟทีเอจะได้รับการเว้นภาษีนำเข้าเป็น 0% ในสินค้าบางประเภท จากความตกลงดังกล่าวช่วยให้การค้าขายระหว่างไทยกับจีนมีความคล่องตัวขึ้น ส่วนตัวคิดว่ามี ดีกว่าไม่มี”
นางสาวกุลธิรัตน์กล่าวด้วยว่า ปัจจัยที่ทำให้คนรู้สึกว่าใน 1-2 ปีที่ผ่านมา สินค้าจีนราคาถูกทะลักเข้าไทยมากกว่าปกติ และเริ่มส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย คือการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ ช่วงที่โควิด-19 ระบาด เป็นช่วงที่ทุกคนทําการค้าอะไรไม่ได้เลย มีคนตกงานจำนวนมาก
“ช่วงนั้นการค้าขายที่ง่ายที่สุด คือการเอาสินค้าราคาถูกมาขายบนช่องทางออนไลน์ ซึ่งซัพพลายเออร์รายใหญ่ของไทยคือจีนอยู่แล้ว คนขายหน้าใหม่นำสินค้ามาทดลองขายได้ง่าย ทำให้สินค้าราคาถูกเต็มแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไปหมด อีกทั้งยังเป็นการเปิดช่องให้คนจีนเข้ามาขายสินค้าในไทยง่ายขึ้นด้วย ส่วนตัวมองว่าสิ่งที่ทะลักเข้าไทย คือคนขายจากจีนมากกว่า”
รวมถึงการไลฟ์ขายสินค้า (Live Commerce) ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการบริโภคสินค้าจีนมากขึ้น เพราะคงไม่มีใครเอาสินค้าราคาแพงมาไลฟ์ขาย ของส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้าหรือสินค้าราคาถูกตั้งแต่ 19 บาท ไปจนถึงหลักร้อยต้น ๆ ซึ่งโรงงานไทยที่ใช้แรงงานฝีมือและมีค่าแรงขั้นต่ำในการผลิตคงให้ต้นทุนในราคานี้ไม่ได้ แต่โรงงานจีนที่ผลิตสินค้าส่งคนทั่วโลกทำได้
อย่างไรก็ตาม ไทยกับจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาเกือบ 50 ปีแล้ว มีการนำเข้าและส่งออกสินค้ากันเป็นปกติ รายชื่อผู้นําเข้า-ส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์บันทึกไว้มีหลายพันราย ซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี หรืออย่างสมาชิกของหอการค้าไทย-จีน ก็มีเกือบหมื่นราย
“การนําเข้าสมัยก่อนมีทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบนำเข้าผ่านรถบรรทุกขนาดใหญ่ ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากกรมศุลกากร แต่ปัจจุบันการนำเข้าส่วนใหญ่ของ GDP ประเทศไทยถูกกฎหมายหมดแล้ว แต่พออีคอมเมิร์ซเข้ามา สินค้าจีนก็ไปขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ มากขึ้นแทน”