ศึกประมูลรถไฟไฮสปีด..กลุ่มทุนยังจับขั้วกันวุ่น

หลังจากที่กลุ่มบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ ต่างให้ความสนใจเข้ามาซื้อซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) กันอย่างคึกคัก ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. ถึง 9 ก.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้เวลาปิดการขายเพื่อนับจำนวนผู้มาซื้อซองซึ่งมีจำนวนมากถึง  31 ราย

           จากจำนวนบริษัทที่เข้ามาซื้อซองทั้ง 31 รายนี้ คงทำเอาการรถไฟ ฯ ยิ้มแก้มปริ เพราะไม่คิดว่าจะมีบริษัทต่างๆให้ความสนใจในการลงทุนระบบรางในไทยมากขนาดนี้ โดยจากรายชื่อทั้ง 31 รายที่เข้ามาซื้อซอง  มีบริษัทจากไทย 16 แห่ง จีน 7 แห่ง ญี่ปุ่น 3 แห่ง มาเลเซีย 2 แห่ง ฝรั่งเศส 2 แห่ง และอิตาลี 1 แห่ง นับเป็นสัดส่วนเกือบเท่ากันอย่างละครึ่ง โดยบริษัทต่างๆมีความหลากสายธุรกิจ เช่น งานด้านรับเหมา, กลุ่มนักลงทุน, ธุรกิจรถไฟฟ้า, พลังงาน, อสังหาฯ,ค้าวัสดุ และธุรกิจหลากหลาย  


           ซึ่งคาดการณ์ว่าสุดท้ายแล้ว เมื่อถึงกำหนดวันยื่นซอง จะเหลือกลุ่มบริษัทที่จะเข้ามายื่นซองประมูลจริงๆเพียงไม่กี่ราย เนื่องจากโครงการประมูลรถไฟความเร็วสูง เป็นการลงทุนที่ใช้เงินทุนจำนวนมาก ระยะเวลาคุ้มทุนนานหลายปี บริษัทต่างๆที่เข้าซื้อซอง บางรายอาจข้ามาซื้อซองเพื่อศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดต่างๆ  เพื่อต้องการเป็นซับคอนแทร็กต์ให้กับผู้ชนะประมูลก็เป็นได้



โดยกลุ่มทุนของไทย ที่น่าจะเป็นผู้เล่นหลักตัวจริง ก็มากันครบทีม  

ซี.พี.- บีทีเอส – อิตาเลียนไทยฯ –ทีพีไอ - ช.การช่าง - เทอดดำริ


        โดยบริษัทที่เป็นตัวเต็งแถวหน้าในเกมส์การประมูลครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นสองเจ้าสัวอย่าง กลุ่มซีพี และบีทีเอส ที่ฝ่ายนึงแม้ไม่มีประสบการณ์ด้านระบบราง แต่ก็มีพันธมิตรต่างชาติที่แข็งแกร่ง ส่วนอีกฝ่ายก็อาศัยว่ามีประสบการณ์ในระบบรางเมืองไทยมานาน บวกกับมีพันธมิตรขั้วเดิมที่จับมือกันเหนียวแน่น อย่างซิโน-ไทย และราชบุรีโฮลดิ้ง


เมื่อต่างฝ่ายต่างมีจุดแข็งกันคนละอย่าง  เรามาย้อนดูวิสัยทัศน์ของสองยักษ์ที่จะร่วมชิงไฮสปีด
ว่าทั้งสองฝั่งมีมุมมองต่อการประมูลขนส่งระบบรางครั้งนี้ว่าอย่างไร



ย้อนคำสัมภาษณ์ของเจ้าสัวธนินท์ แห่งซีพี ที่เคยกล่าวถึงเรื่องการลงสู้ในศึกประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ว่าพันธมิตรต่างชาติที่ทางซีพีจะผนึกกำลังสู้ศึกประมูลในครั้งนี้คือ จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

“ผมต้องการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ร่วมกับบริษัทจีนและญี่ปุ่น
ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งจีนและญี่ปุ่นได้นำเสนอเทคโนโลยีด้านรางรถไฟไฮสปีดจากประเทศตัวเอง
ทั้ง 2 ประเทศจึงแข่งขันกันหนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการลงทุนโครงการนี้ในอีอีซี
การแข่งขันของประเทศทั้งสองก็จะลดลง และมีสปิริตในการร่วมมือกัน อย่างอิโตชู
ดูเรื่องการพัฒนาที่ดินและรัฐวิสาหกิจจากจีน จะดูเรื่องเงินลงทุนและการผลิตรถ
ส่วนระบบจะใช้ “อัลสตรอม” ประเทศฝรั่งเศส "

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



    ส่วนฝั่งเจ้าพ่อระบบรางเมืองไทย อย่างเจ้าสัวคีรี บีทีเอสนั้น ก่อนหน้านี้ประกาศชัดว่าจะขอท้าชิงประมูลไฮสปีดและจะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับเจ้าสัวซีพี  แต่ท่าทีล่าสุดเมื่อวันที่ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเหตุการณ์บีทีเอสขัดข้องเมื่อวันที่ 5 ก.ค. ที่ผ่านมานั้น  กลับเปลี่ยนทีท่าเป็นยินดีผนึกกับทุกขั้ว พร้อมเปิดทางยินดีร่วมกับทุกฝ่ายหากผลประโยชน์ลงตัว !!!  

“ปตท.เป็นบริษัทใหญ่ ต้องรอเสนอเข้าบอร์ดก่อน หากตัดสินใจร่วมกับเราก็ยินดี
ส่วนซีพีคุยกันตลอด ผมกับเจ้าสัว (ธนินท์ เจียรวนนท์) กินข้าวคุยกันบ่อย
คุยทุกเรื่องทั้งบ้านเมือง รถไฟความเร็วสูง ส่วนจะจับมือกันมั้ย
ต้องดูความจำเป็นกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วผมจับมือได้กับทุกคน
ใครที่เป็นพาร์ตเนอร์ที่มีศักยภาพและจริงใจก็ร่วมทุนได้หมด
ส่วนสัดส่วนการถือหุ้น ต้องดูความสามารถทางการเงิน การทำงาน ใครเก่งด้านไหน”

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


              
นอกจากสองกลุ่มขั้วตัวเต็งข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มย่อย ที่คาดว่าน่าจะตบเท้าเข้ายื่นซองประมูลในวันที่ 12 พ.ย นี้เช่นกัน


- กลุ่มช.การช่าง และ BEM กำลังหาพันธมิตรเพิ่มจากยุโรป ญี่ปุ่น และจีน
- กลุ่มอิตาเลียนไทย  ร่วมกับบริษัทยุโรป อาทิ บจ.Salini Impregio S.p.A. จากอิตาลี และ บจ.ทรานเดฟ กรุ๊ป จากฝรั่งเศส
- กลุ่มเทอดดำริ และ บจ.WANNASSERINTERNATIONAL GREEN HUB BERHAD จากมาเลเซีย


           ข้อมูลข้างต้นเป็นแค่เพียงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่กลุ่มทุนต่างๆจะร่วมมือกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่จะตกลงกันได้ลงตัวหรือไม่ ซึ่งต่อจากนี้ ทางผู้ซื้อซองทุกรายก็จะศึกษารายละเอียด รวมถึงทำเอกสารข้อเสนอต่างๆ เช่น รายละเอียดว่าจะพัฒนาโครงการอย่างไร โครงสร้าง งบประมาณ การเงิน และที่สำคัญคือ จะของบสนับสนุนจากรัฐเท่าไหร่ โดยจะมีกำหนดยื่นซองประมูลวันที่ 12 พ.ย. นี้และจะเปิดซองการประมูลในวันที่ 13 พ.ย. ซึ่งจะมีการประกาศผลผู้ชนะประมูลในเดือน ธ.ค.นี้ เกมส์การประมูลนี้ไม่ว่าสุดท้ายแล้วฝ่ายใดจะเป็นผู้ชนะ แต่สาธารณะประโยชน์เหล่านี้ เมื่อครบระยะเวลาการครอบครอง ก็ต้องตกเป็นของรัฐบาล เป็นสมบัติของชาติบ้านเมืองเราต่อไปไม่ใช่หรือ?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่