รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ชูหลักสิทธิความเท่าเทียมของคนหลากหลายทางเพศ เผยเตรียมเสนอกฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิตเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเดือน ธ.ค.นี้ เชื่อไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มี ก.ม.การจดทะเบียนคู่ชีวิต
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเปิดงาน Gender Matters ที่จัดขึ้นโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ว่า กลุ่มประชากรของประเทศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิงเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอีกจำนวนมาก แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดทำการสำรวจสถิติประชากรกลุ่มดังกล่าวทั่วประเทศ จึงทำให้ไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่ชัดได้
อย่างไรก็ดี ในมิติของการส่งเสริม คุ้มครอง และปกป้องสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น เราทุกคนควรพึงตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรี มีความเสมอภาค และต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใด
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยที่ผ่านมาได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักถึงสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเรื่องสิทธิในการแต่งงานและการมีชีวิตครอบครัว (Right to marriage and family life) เป็นหนึ่งในประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับรองไว้ในหลักการสิทธิมนุษยชนสากลหลายฉบับ เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ที่ไทยได้เข้าเป็นภาคี และหลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการปรับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ค.ศ.2006 ทั้งยังสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ในส่วนของแผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต 98 มาตรา ที่อยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองสิทธิและความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกันตามกฎหมาย และเป็นจุดเริ่มต้นในการรับรองสิทธิต่างๆ ที่บุคคลสองคนในฐานะคู่ชีวิตพึงได้รับตามกฎหมาย
โดย พลอากาศเอก ประจิน เปิดเผยว่า ทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะยกร่างแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้ และกระทรวงจะนำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบหลักการให้เดือน ธ.ค. 2561 หากประสบความสำเร็จในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ประเทศไทยจะถือเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกๆ ของเอเชียที่รับรองความสัมพันธ์ของบุคคลเพศเดียวกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ การผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ และแรงขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ตลอดจนการบูรณาการทางความรู้และความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา
ปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับรองกฎหมายในทำนองเดียวกันแล้ว เช่น การรับรองความสัมพันธ์ในฐานะคู่ชีวิต ได้แก่ ออสเตรีย ชิลี กรีซ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงญี่ปุ่นในบางเมือง หรือการรับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันในลักษณะที่เทียบเท่าคู่รักชายหญิง ได้แก่ แคนาดา ฟินแลนด์ สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมี เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย, ศาสตราจารย์กิตติคุณอมรา พงศาพิชญ์, ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์, นายกสมาคมฟ้าสีรุ้ง และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ สถานทูต และภาคประชาสังคม มาร่วมกิจกรรมฯ
https://voicetv.co.th/read/HJs4M36MX
ส่วนตัวคิดว่า ไต้หวัน เอง ก็กำลังร่างกฏหมายตัวนี้อยู่ ยังไม่เสร็จ ส่วนประเทศอื่นๆ ก็ยังไม่ได้ สิทธิหรือประโยชน์ทางกฏหมาย จึงเรียกว่าไม่มีผลทางกฏหมายทั้งสิ้น
ถ้าได้ประกาศ กฏหมาย จดทะเบียนคู่ชีวิต ได้ปลายปีนี้ ต้นปีหน้า ก็น่าจะเป็นประเทศแรกเอเซีย ที่ถูกกฏหมายและสิทธิ รับรอง
รมว.ยุติธรรมเตรียมเสนอกฎหมายคู่ชีวิต เข้า ครม. ธันวาคมนี้
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเปิดงาน Gender Matters ที่จัดขึ้นโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ว่า กลุ่มประชากรของประเทศไม่ได้จำกัดแค่ชายและหญิงเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอีกจำนวนมาก แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดทำการสำรวจสถิติประชากรกลุ่มดังกล่าวทั่วประเทศ จึงทำให้ไม่สามารถระบุจำนวนที่แน่ชัดได้
อย่างไรก็ดี ในมิติของการส่งเสริม คุ้มครอง และปกป้องสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น เราทุกคนควรพึงตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรี มีความเสมอภาค และต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใด
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยที่ผ่านมาได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักถึงสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเรื่องสิทธิในการแต่งงานและการมีชีวิตครอบครัว (Right to marriage and family life) เป็นหนึ่งในประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับรองไว้ในหลักการสิทธิมนุษยชนสากลหลายฉบับ เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ที่ไทยได้เข้าเป็นภาคี และหลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการปรับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ค.ศ.2006 ทั้งยังสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ในส่วนของแผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต 98 มาตรา ที่อยู่ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองสิทธิและความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกันตามกฎหมาย และเป็นจุดเริ่มต้นในการรับรองสิทธิต่างๆ ที่บุคคลสองคนในฐานะคู่ชีวิตพึงได้รับตามกฎหมาย
โดย พลอากาศเอก ประจิน เปิดเผยว่า ทางกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะยกร่างแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้ และกระทรวงจะนำร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบหลักการให้เดือน ธ.ค. 2561 หากประสบความสำเร็จในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ประเทศไทยจะถือเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกๆ ของเอเชียที่รับรองความสัมพันธ์ของบุคคลเพศเดียวกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ การผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ และแรงขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ตลอดจนการบูรณาการทางความรู้และความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา
ปัจจุบัน ประเทศที่ได้รับรองกฎหมายในทำนองเดียวกันแล้ว เช่น การรับรองความสัมพันธ์ในฐานะคู่ชีวิต ได้แก่ ออสเตรีย ชิลี กรีซ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงญี่ปุ่นในบางเมือง หรือการรับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันในลักษณะที่เทียบเท่าคู่รักชายหญิง ได้แก่ แคนาดา ฟินแลนด์ สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมี เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย, ศาสตราจารย์กิตติคุณอมรา พงศาพิชญ์, ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์, นายกสมาคมฟ้าสีรุ้ง และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ สถานทูต และภาคประชาสังคม มาร่วมกิจกรรมฯ
https://voicetv.co.th/read/HJs4M36MX
ส่วนตัวคิดว่า ไต้หวัน เอง ก็กำลังร่างกฏหมายตัวนี้อยู่ ยังไม่เสร็จ ส่วนประเทศอื่นๆ ก็ยังไม่ได้ สิทธิหรือประโยชน์ทางกฏหมาย จึงเรียกว่าไม่มีผลทางกฏหมายทั้งสิ้น
ถ้าได้ประกาศ กฏหมาย จดทะเบียนคู่ชีวิต ได้ปลายปีนี้ ต้นปีหน้า ก็น่าจะเป็นประเทศแรกเอเซีย ที่ถูกกฏหมายและสิทธิ รับรอง