ความเชื่อเรื่องเพศสภาพและรสนิยมทางเพศนี้เป็นเรื่องปัจเจกที่จะไปบังคับใครไม่ได้ และเมื่อคนสองคนจะรักกันนี่ยิ่งห้ามยากเข้าไปใหญ่
แต่ประเด็นการสมรสเพศเดียวกันแทนที่จะเป็นเรื่องของคนสองคน กลับถูกสกัดด้วยกฎหมายสมรสของแต่ละประเทศ ซึ่งมักถือว่าการสมรสเป็นเรื่องระหว่างคู่หญิง-ชายเท่านั้น
แม้บางประเทศจะให้การยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน ถึงขั้นให้จดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันได้แม้กระทั่งคนต่างชาติที่เดินทางเข้าไป แต่อีกหลายชาติก็ยังมองเรื่องนี้เป็นเรื่องผิดศีลธรรม
บทความนี้จะพาทุกท่านไปดูประวัติศาสตร์การสมรสเพศเดียวกัน, กฎหมายสมรสเพศเดียวกันในประเทศต่างๆ, รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นหลังเกิดกฎหมายเหล่านี้กันครับ
*** ประวัติศาสตร์ของการสมรสเพศเดียวกัน ***
การสมรสของคนเพศเดียวกันมีมาตั้งแต่อดีตกาล ในคัมภีร์เลวีนิติ (Leviticus) ของยิวมีบันทึกว่า ในแผ่นดินอียิปต์และคานาอัน (Canaan) นั้นมีการสมรสแบบ “ชายแต่งกับชาย และหญิงแต่งกับหญิง ชายแต่งกับหญิงและบุตรีของหล่อน และหญิงแต่งกับชายสองคน”
ในกรีกโบราณ มีเรื่องราวว่า กวีหญิงคนหนึ่งชื่อ แซฟโฟ (Sappho) มาจากเกาะเลสบอส (Lesbos) มีรสนิยมทางเพศแบบหญิงรักหญิง เลยกลายเป็นที่มาของคำว่า “เลสเบียน” (Lesbian)
ภาพแนบ: การสมรสของคนเพศเดียวกันแบบแอฟริกันย้อนยุค
หากนับการสมรสของเพศเดียวกันที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของชนเผ่าแอฟริกา จะมีอยู่กว่า 30 เผ่า (เคยมีนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ โรบิน ฟ็อกซ์ เขียนว่า หนึ่งในวัฒนธรรมแอฟริกาที่อยู่มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงศตวรรษที่ 20 คือ การรักเพศเดียวกันและสมรสเพศเดียวกัน)
...ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงทัศนคติของคนโบราณต่อความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเกิดขึ้นหลายพื้นที่ในโลก
ภาพแนบ: ชาวสเปนผู้ล่าอาณานิคมใช้หมาล่าเนื้อกัดชนพื้นเมืองที่ร่วมเพศทางทวารหนัก (sodomy)
อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคต่อมาทำให้การสมรสเพศเดียวกันได้รับการยอมรับน้อยลงเรื่อยๆ
เริ่มตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 4 ที่ทางการโรมันออกกฎว่าการร่วมเพศของคนเพศเดียวกันมีโทษถึงประหารชีวิต และในยุคกลางศาสนจักรคาทอลิกยังออกกฎว่า การสมรสถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ระหว่างชายและหญิง แนวคิดนี้ทำให้เกิดการปราบปรามการรักร่วมเพศอย่างหนัก ในหลายพื้นที่
ภาพแนบ: ภาพจิตรกรรมบรรยายความสัมพันธ์หญิงกับหญิงที่วัดคงคาราม
ส่วนในประเทศไทย ถึงแม้แต่โบราณมาไม่ได้มีกฎหมายหรือบทลงโทษสำหรับความคิดแบบรักร่วมเพศระบุไว้โดยเฉพาะ แต่เรื่องนี้เป็นที่ถูกติฉินนินทาอยู่เสมอ และเคยมีการสั่งลงโทษคนที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยมีการถอดอิสริยยศพระองค์เจ้าไกรสร มูลเหตุหนึ่งเพราะทรงเลี้ยงบ่าวผู้ชายไว้มาก และบรรทมแต่กับบ่าวผู้ชายที่เล่นละคร ไม่ค่อยบรรทมกับเหล่านางห้าม (นางข้าหลวง) รัชกาลที่ 3 มีรับสั่งให้เอาบ่าวเหล่านั้นมาไต่สวน ได้ความว่า
"...ทรงเป็นสวาทกับพวกละคร ไม่ถึงกับชำเรา แต่เอามือพวกละครและมือของพระองค์ท่านกำคุยหฐาน (อวัยวะเพศ) ของทั้งสองฝ่ายจนภาวธาตุเคลื่อน..."
ภาพแนบ: เอเซล อัสกิล (ขวา) กับ ไอกิล เอสคิลด์เซน (ซ้าย) ชาวเดนมาร์ก คู่ชีวิตเพศเดียวกันคู่แรกในโลก
สำหรับกระแสเรียกร้องสิทธิของคนรักเพศเดียวกันในสมัยใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนชี้ว่าเริ่มมาจากขบวนการสิทธิเกย์และเลสเบียนตั้งแต่ทศวรรษ 1980s
โดยในปี 1989 เดนมาร์กได้เป็นประเทศแรกที่รับรองความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตแก่คู่รักร่วมเพศ (ยังไม่ใช่สิทธิการสมรส) ให้มีสิทธิเกือบเท่าคู่สมรสต่างเพศ เพียงแต่ไม่มีสิทธิรับบุตรบุญธรรม
ภาพแนบ: การเดินขบวนของกลุ่มเกย์และเลสเบียนในสหรัฐ ปี 1987
ส่วนในปี 2001 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่รับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันเท่ากับคนต่างเพศ หลังจากนั้นประเทศต่างๆ ได้ทยอยออกกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันมากขึ้น
จนปัจจุบันมีกฎหมายนี้อยู่ในถึง 28 ประเทศ แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในแอฟริกา และไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชีย

*** เปรียบเทียบกฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน ***
[เนเธอร์แลนด์]
เนเธอร์แลนด์เป็นชาติแรกของโลกที่อนุญาตการสมรสเพศเดียวกันตามกฎหมายในปี 2001 โดยมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 1:30 เป็น “การสมรสสามารถทำได้ระหว่างบุคคลสองคนที่ต่างเพศหรือเพศเดียวกัน”
ข้อแตกต่างระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกันและต่างเพศ คือ คู่สมรสเพศเดียวกันจะไม่ได้เป็นบิดามารดาของบุตรโดยอัตโนมัติ

กฎหมายถือว่ามารดาตามกฎหมายคือมารดาที่คลอดบุตร และบิดาตามกฎหมายคือคู่สมรสหรือคู่อาศัย ...ทั้งนี้ในช่วงแรกกฎหมายยังกำหนดให้บิดาเป็นชายเท่านั้น ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายให้คู่สมรสเลสเบียนเป็นมารดาของบุตรโดยอัตโนมัติ
ส่วนกรณีที่บุตรเกิดขึ้นจากผู้บริจาคอสุจิ มารดาตามกฎหมายมีสิทธิเลือกว่าจะใส่ชื่อผู้บริจาคอสุจิหรือคู่สมรสเลสเบียนเป็นผู้ปกครองคนที่สอง
ในปี 2021 รัฐบาลยังออกมาประกาศว่า ถ้าเชื้อพระวงศ์อภิเษกเพศเดียวกัน จะไม่เสียสิทธิในการสืบราชสมบัติ
อย่างไรก็ตาม ทางการเนเธอร์แลนด์ยังไม่อนุญาตให้คนสัญชาติอื่นเดินทางเข้าไปจดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันในแผ่นดินของพวกเขา
<img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor">

[สหรัฐ]
การรับรองสิทธิการสมรสของคนเพศเดียวกันตามกฎหมายได้เพิ่มขึ้นจาก 1 รัฐในปี 2004 จนครบ 50 รัฐในปี 2015 ผ่านคำตัดสินของศาลรัฐ, กฎหมายรัฐ, การออกเสียงประชามติและเสนอร่างกฎหมายของประชาชน, และคำตัดสินของศาลกลาง
การต่อสู้เพื่อสิทธิการสมรสเท่าเทียมในสหรัฐมีชื่อเสียงจากเรื่องการยกเลิกรัฐบัญญัติการป้องกันการสมรสปี 1996 ซึ่งกำหนดว่ารัฐไม่จำเป็นต้องรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสเพศเดียวกันในรัฐอื่น และการสมรสจะต้องทำระหว่างชายและหญิงเท่านั้น ซึ่งเป็นการปิดกั้นการเข้าถึงสวัสดิการของคู่รักเพศเดียวกัน
ภาพแนบ: ทำเนียบขาวฉายไฟสีรุ้งเพื่อฉลองคำพิพากษา
ในปี 2013 ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินว่าบางส่วนของกฎหมายป้องกันการสมรสไม่ชอบนั้นด้วยรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในปี 2015 ศาลยังตัดสินว่าการสมรสของคนเพศเดียวกันได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนให้คู่สมรสเพศเดียวกันมีสิทธิและหน้าที่เท่ากับคู่สมรสต่างเพศ โดยระบุว่า “รัฐต้องจดทะเบียนสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน และรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันแม้จดทะเบียนนอกรัฐ”

[ไต้หวัน]
ไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชียที่รับรองการสมรสเพศเดียวกันตามกฎหมายในปี 2019
สำหรับเส้นทางของกฎหมายนั้น เริ่มตั้งแต่รัฐบาลไต้หวันเสนอร่างกฎหมายสมรสเพศเดียวกันต่อรัฐสภาในปี 2003 แต่ถูกตีตกไป และแม้ว่าไต้หวันจะมีกฎหมายให้จดทะเบียนคู่ (partnership registration) อยู่แล้วในเมืองและเทศบาล 18 แห่ง แต่สิทธิเหล่านี้ยังจำกัดมากเมื่อเทียบกับสิทธิที่สงวนไว้ให้คู่สมรส 498 รายการ

ในช่วงหลังมา นักการเมืองไต้หวันมีจุดยืนสนับสนุนการสมรสเพศเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีไช่อิงเหวินคนปัจจุบัน ได้มีความพยายามผลักดันร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเรื่องสมรส แต่ยังถูกถ่วงเวลาในสภา
จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญไต้หวันมีคำพิพากษาในปี 2017 ว่า การห้ามการสมรสเพศเดียวกันในประมวลกฎหมายแพ่งขัดต่อเสรีภาพในการสมรส (มาตรา 22) และสิทธิได้รับความเท่าเทียมกัน (มาตรา 7) ตามรัฐธรรมนูญ และขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายให้สอดคล้องกับคำสั่งนี้ภายใน 2 ปี ดังนั้นกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันจึงออกมาในปี 2019
สำหรับการสมรสเพศเดียวกันในไต้หวันยังมีข้อจำกัดว่า พลเมืองไต้หวันจะสมรสเพศเดียวกันกับคนต่างด้าวได้เฉพาะจากประเทศที่การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งมีข้อจำกัดในเรื่องการรับบุตรบุญธรรมและการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ภาพแนบ: การประท้วงของกลุ่ม LGBT เมื่อปี 2020 ภาพจาก Khaosod English
[ไทย]
สำหรับประเทศไทย แม้จะขึ้นชื่อว่าเปิดกว้างในเรื่องการแสดงออกของกลุ่ม LGBTQ แต่ประเด็นการสมรสเพศเดียวกันยังคงไม่มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้
ในช่วงไล่เลี่ยกับการประท้วงรัฐบาลที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 มีการเสนอกฎหมายเกี่ยวกับคู่ชีวิตและร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ว่าด้วยการสมรส ซึ่งปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังจำกัดให้แต่งงานได้เฉพาะหญิงและชายเท่านั้น
ภาพแนบ: ตารางเปรียบเทียบเนื้อหาร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตกับร่างแก้ไข ป.พ.พ. เรื่องสมรส โดย iLaw
ตั้งแต่ปี 2013 มีความพยายามเปิดช่องทางกฎหมายให้แก่กลุ่ม LGBTQ เริ่มจากการเสนอร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ซึ่งมีเจตนาค่อยๆ ให้สังคมที่ยังมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมปรับตัวยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกัน (สังเกตว่าใช้คำว่าคู่ชีวิตซึ่งไม่ระบุเพศ)
แต่กฎหมายตัวนี้ก็มีเสียงวิจารณ์ว่ายังให้สิทธิแก่คู่ชีวิตน้อยกว่าคู่สมรสมาก เช่น การลดหย่อนภาษีคู่สมรส และการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐจากคู่สมรส มาถึงปีนี้ก็ปีที่ 8 แล้ว แต่เพิ่งจะได้เข้าสภาผู้แทนราษฎร
ภาพแนบ: ส.ส. พรรคก้าวไกล ประกาศผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม
อย่างไรตามก็อีกด้านหนึ่งก็มีการเสนอให้แก้ไข ป.พ.พ. ว่าด้วยสมรส โดยให้ตัดคำว่า “หญิง” และ “ชาย” ออกจากบทกฎหมาย เปลี่ยนเป็นคำว่า “บุคคล” แทน
หากดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้ไม่ต้องออกกฎหมายฉบับใหม่, และตัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้สวัสดิการต่างๆ ไม่เท่ากัน นอกจากนี้เพื่อลดคำถามที่เกิดตามมาว่า ทำไมถึงไม่นับว่าการสมรสเป็นเรื่องระหว่างคนสองคน โดยไม่ต้องแบ่งแยกด้วยเพศ
ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรสในปัจจุบัน (ที่ยังจำกัดเฉพาะชายหญิง) “ไม่ขัด” ต่อรัฐธรรมนูญในส่วนที่รับรองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล แต่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
...สังเกตว่าคำวินิจฉัยนี้ต่างจากศาลสูงสุดสหรัฐและศาลรัฐธรรมนูญไต้หวันที่วินิจฉัยตรงๆ ว่าบทบัญญัติของกฎหมายลูกในประเทศทั้งสอง “ขัด” ต่อรัฐธรรมนูญในประเด็นการเลือกปฏิบัติ...
*** อ่านต่อใน Comment นะครับ ***
*** ส่องกฎหมายสมรสเพศเดียวกันจากรอบโลก ***
แต่ประเด็นการสมรสเพศเดียวกันแทนที่จะเป็นเรื่องของคนสองคน กลับถูกสกัดด้วยกฎหมายสมรสของแต่ละประเทศ ซึ่งมักถือว่าการสมรสเป็นเรื่องระหว่างคู่หญิง-ชายเท่านั้น
แม้บางประเทศจะให้การยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน ถึงขั้นให้จดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันได้แม้กระทั่งคนต่างชาติที่เดินทางเข้าไป แต่อีกหลายชาติก็ยังมองเรื่องนี้เป็นเรื่องผิดศีลธรรม
บทความนี้จะพาทุกท่านไปดูประวัติศาสตร์การสมรสเพศเดียวกัน, กฎหมายสมรสเพศเดียวกันในประเทศต่างๆ, รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นหลังเกิดกฎหมายเหล่านี้กันครับ
*** ประวัติศาสตร์ของการสมรสเพศเดียวกัน ***
การสมรสของคนเพศเดียวกันมีมาตั้งแต่อดีตกาล ในคัมภีร์เลวีนิติ (Leviticus) ของยิวมีบันทึกว่า ในแผ่นดินอียิปต์และคานาอัน (Canaan) นั้นมีการสมรสแบบ “ชายแต่งกับชาย และหญิงแต่งกับหญิง ชายแต่งกับหญิงและบุตรีของหล่อน และหญิงแต่งกับชายสองคน”
ในกรีกโบราณ มีเรื่องราวว่า กวีหญิงคนหนึ่งชื่อ แซฟโฟ (Sappho) มาจากเกาะเลสบอส (Lesbos) มีรสนิยมทางเพศแบบหญิงรักหญิง เลยกลายเป็นที่มาของคำว่า “เลสเบียน” (Lesbian)
ภาพแนบ: การสมรสของคนเพศเดียวกันแบบแอฟริกันย้อนยุค
หากนับการสมรสของเพศเดียวกันที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของชนเผ่าแอฟริกา จะมีอยู่กว่า 30 เผ่า (เคยมีนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ โรบิน ฟ็อกซ์ เขียนว่า หนึ่งในวัฒนธรรมแอฟริกาที่อยู่มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงศตวรรษที่ 20 คือ การรักเพศเดียวกันและสมรสเพศเดียวกัน)
...ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงทัศนคติของคนโบราณต่อความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเกิดขึ้นหลายพื้นที่ในโลก
ภาพแนบ: ชาวสเปนผู้ล่าอาณานิคมใช้หมาล่าเนื้อกัดชนพื้นเมืองที่ร่วมเพศทางทวารหนัก (sodomy)
อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคต่อมาทำให้การสมรสเพศเดียวกันได้รับการยอมรับน้อยลงเรื่อยๆ
เริ่มตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 4 ที่ทางการโรมันออกกฎว่าการร่วมเพศของคนเพศเดียวกันมีโทษถึงประหารชีวิต และในยุคกลางศาสนจักรคาทอลิกยังออกกฎว่า การสมรสถือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ระหว่างชายและหญิง แนวคิดนี้ทำให้เกิดการปราบปรามการรักร่วมเพศอย่างหนัก ในหลายพื้นที่
ภาพแนบ: ภาพจิตรกรรมบรรยายความสัมพันธ์หญิงกับหญิงที่วัดคงคาราม
ส่วนในประเทศไทย ถึงแม้แต่โบราณมาไม่ได้มีกฎหมายหรือบทลงโทษสำหรับความคิดแบบรักร่วมเพศระบุไว้โดยเฉพาะ แต่เรื่องนี้เป็นที่ถูกติฉินนินทาอยู่เสมอ และเคยมีการสั่งลงโทษคนที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยมีการถอดอิสริยยศพระองค์เจ้าไกรสร มูลเหตุหนึ่งเพราะทรงเลี้ยงบ่าวผู้ชายไว้มาก และบรรทมแต่กับบ่าวผู้ชายที่เล่นละคร ไม่ค่อยบรรทมกับเหล่านางห้าม (นางข้าหลวง) รัชกาลที่ 3 มีรับสั่งให้เอาบ่าวเหล่านั้นมาไต่สวน ได้ความว่า
"...ทรงเป็นสวาทกับพวกละคร ไม่ถึงกับชำเรา แต่เอามือพวกละครและมือของพระองค์ท่านกำคุยหฐาน (อวัยวะเพศ) ของทั้งสองฝ่ายจนภาวธาตุเคลื่อน..."
ภาพแนบ: เอเซล อัสกิล (ขวา) กับ ไอกิล เอสคิลด์เซน (ซ้าย) ชาวเดนมาร์ก คู่ชีวิตเพศเดียวกันคู่แรกในโลก
สำหรับกระแสเรียกร้องสิทธิของคนรักเพศเดียวกันในสมัยใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนชี้ว่าเริ่มมาจากขบวนการสิทธิเกย์และเลสเบียนตั้งแต่ทศวรรษ 1980s
โดยในปี 1989 เดนมาร์กได้เป็นประเทศแรกที่รับรองความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตแก่คู่รักร่วมเพศ (ยังไม่ใช่สิทธิการสมรส) ให้มีสิทธิเกือบเท่าคู่สมรสต่างเพศ เพียงแต่ไม่มีสิทธิรับบุตรบุญธรรม
ภาพแนบ: การเดินขบวนของกลุ่มเกย์และเลสเบียนในสหรัฐ ปี 1987
ส่วนในปี 2001 เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่รับรองการสมรสของคนเพศเดียวกันเท่ากับคนต่างเพศ หลังจากนั้นประเทศต่างๆ ได้ทยอยออกกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันมากขึ้น
จนปัจจุบันมีกฎหมายนี้อยู่ในถึง 28 ประเทศ แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในแอฟริกา และไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชีย
*** เปรียบเทียบกฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน ***
[เนเธอร์แลนด์]
เนเธอร์แลนด์เป็นชาติแรกของโลกที่อนุญาตการสมรสเพศเดียวกันตามกฎหมายในปี 2001 โดยมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 1:30 เป็น “การสมรสสามารถทำได้ระหว่างบุคคลสองคนที่ต่างเพศหรือเพศเดียวกัน”
ข้อแตกต่างระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกันและต่างเพศ คือ คู่สมรสเพศเดียวกันจะไม่ได้เป็นบิดามารดาของบุตรโดยอัตโนมัติ
กฎหมายถือว่ามารดาตามกฎหมายคือมารดาที่คลอดบุตร และบิดาตามกฎหมายคือคู่สมรสหรือคู่อาศัย ...ทั้งนี้ในช่วงแรกกฎหมายยังกำหนดให้บิดาเป็นชายเท่านั้น ต่อมาจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายให้คู่สมรสเลสเบียนเป็นมารดาของบุตรโดยอัตโนมัติ
ส่วนกรณีที่บุตรเกิดขึ้นจากผู้บริจาคอสุจิ มารดาตามกฎหมายมีสิทธิเลือกว่าจะใส่ชื่อผู้บริจาคอสุจิหรือคู่สมรสเลสเบียนเป็นผู้ปกครองคนที่สอง
ในปี 2021 รัฐบาลยังออกมาประกาศว่า ถ้าเชื้อพระวงศ์อภิเษกเพศเดียวกัน จะไม่เสียสิทธิในการสืบราชสมบัติ
อย่างไรก็ตาม ทางการเนเธอร์แลนด์ยังไม่อนุญาตให้คนสัญชาติอื่นเดินทางเข้าไปจดทะเบียนสมรสเพศเดียวกันในแผ่นดินของพวกเขา
<img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor"><img class="img-in-post in-tiny-editor">
[สหรัฐ]
การรับรองสิทธิการสมรสของคนเพศเดียวกันตามกฎหมายได้เพิ่มขึ้นจาก 1 รัฐในปี 2004 จนครบ 50 รัฐในปี 2015 ผ่านคำตัดสินของศาลรัฐ, กฎหมายรัฐ, การออกเสียงประชามติและเสนอร่างกฎหมายของประชาชน, และคำตัดสินของศาลกลาง
การต่อสู้เพื่อสิทธิการสมรสเท่าเทียมในสหรัฐมีชื่อเสียงจากเรื่องการยกเลิกรัฐบัญญัติการป้องกันการสมรสปี 1996 ซึ่งกำหนดว่ารัฐไม่จำเป็นต้องรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสเพศเดียวกันในรัฐอื่น และการสมรสจะต้องทำระหว่างชายและหญิงเท่านั้น ซึ่งเป็นการปิดกั้นการเข้าถึงสวัสดิการของคู่รักเพศเดียวกัน
ภาพแนบ: ทำเนียบขาวฉายไฟสีรุ้งเพื่อฉลองคำพิพากษา
ในปี 2013 ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินว่าบางส่วนของกฎหมายป้องกันการสมรสไม่ชอบนั้นด้วยรัฐธรรมนูญ
ต่อมาในปี 2015 ศาลยังตัดสินว่าการสมรสของคนเพศเดียวกันได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนให้คู่สมรสเพศเดียวกันมีสิทธิและหน้าที่เท่ากับคู่สมรสต่างเพศ โดยระบุว่า “รัฐต้องจดทะเบียนสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน และรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันแม้จดทะเบียนนอกรัฐ”
[ไต้หวัน]
ไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชียที่รับรองการสมรสเพศเดียวกันตามกฎหมายในปี 2019
สำหรับเส้นทางของกฎหมายนั้น เริ่มตั้งแต่รัฐบาลไต้หวันเสนอร่างกฎหมายสมรสเพศเดียวกันต่อรัฐสภาในปี 2003 แต่ถูกตีตกไป และแม้ว่าไต้หวันจะมีกฎหมายให้จดทะเบียนคู่ (partnership registration) อยู่แล้วในเมืองและเทศบาล 18 แห่ง แต่สิทธิเหล่านี้ยังจำกัดมากเมื่อเทียบกับสิทธิที่สงวนไว้ให้คู่สมรส 498 รายการ
ในช่วงหลังมา นักการเมืองไต้หวันมีจุดยืนสนับสนุนการสมรสเพศเดียวกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีไช่อิงเหวินคนปัจจุบัน ได้มีความพยายามผลักดันร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเรื่องสมรส แต่ยังถูกถ่วงเวลาในสภา
จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญไต้หวันมีคำพิพากษาในปี 2017 ว่า การห้ามการสมรสเพศเดียวกันในประมวลกฎหมายแพ่งขัดต่อเสรีภาพในการสมรส (มาตรา 22) และสิทธิได้รับความเท่าเทียมกัน (มาตรา 7) ตามรัฐธรรมนูญ และขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายให้สอดคล้องกับคำสั่งนี้ภายใน 2 ปี ดังนั้นกฎหมายการสมรสเพศเดียวกันจึงออกมาในปี 2019
สำหรับการสมรสเพศเดียวกันในไต้หวันยังมีข้อจำกัดว่า พลเมืองไต้หวันจะสมรสเพศเดียวกันกับคนต่างด้าวได้เฉพาะจากประเทศที่การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งมีข้อจำกัดในเรื่องการรับบุตรบุญธรรมและการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ภาพแนบ: การประท้วงของกลุ่ม LGBT เมื่อปี 2020 ภาพจาก Khaosod English
[ไทย]
สำหรับประเทศไทย แม้จะขึ้นชื่อว่าเปิดกว้างในเรื่องการแสดงออกของกลุ่ม LGBTQ แต่ประเด็นการสมรสเพศเดียวกันยังคงไม่มีทีท่าว่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้
ในช่วงไล่เลี่ยกับการประท้วงรัฐบาลที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 มีการเสนอกฎหมายเกี่ยวกับคู่ชีวิตและร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ว่าด้วยการสมรส ซึ่งปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังจำกัดให้แต่งงานได้เฉพาะหญิงและชายเท่านั้น
ภาพแนบ: ตารางเปรียบเทียบเนื้อหาร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตกับร่างแก้ไข ป.พ.พ. เรื่องสมรส โดย iLaw
ตั้งแต่ปี 2013 มีความพยายามเปิดช่องทางกฎหมายให้แก่กลุ่ม LGBTQ เริ่มจากการเสนอร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ซึ่งมีเจตนาค่อยๆ ให้สังคมที่ยังมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมปรับตัวยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกัน (สังเกตว่าใช้คำว่าคู่ชีวิตซึ่งไม่ระบุเพศ)
แต่กฎหมายตัวนี้ก็มีเสียงวิจารณ์ว่ายังให้สิทธิแก่คู่ชีวิตน้อยกว่าคู่สมรสมาก เช่น การลดหย่อนภาษีคู่สมรส และการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐจากคู่สมรส มาถึงปีนี้ก็ปีที่ 8 แล้ว แต่เพิ่งจะได้เข้าสภาผู้แทนราษฎร
ภาพแนบ: ส.ส. พรรคก้าวไกล ประกาศผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม
อย่างไรตามก็อีกด้านหนึ่งก็มีการเสนอให้แก้ไข ป.พ.พ. ว่าด้วยสมรส โดยให้ตัดคำว่า “หญิง” และ “ชาย” ออกจากบทกฎหมาย เปลี่ยนเป็นคำว่า “บุคคล” แทน
หากดำเนินการเช่นนี้ จะทำให้ไม่ต้องออกกฎหมายฉบับใหม่, และตัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้สวัสดิการต่างๆ ไม่เท่ากัน นอกจากนี้เพื่อลดคำถามที่เกิดตามมาว่า ทำไมถึงไม่นับว่าการสมรสเป็นเรื่องระหว่างคนสองคน โดยไม่ต้องแบ่งแยกด้วยเพศ
ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรสในปัจจุบัน (ที่ยังจำกัดเฉพาะชายหญิง) “ไม่ขัด” ต่อรัฐธรรมนูญในส่วนที่รับรองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล แต่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
...สังเกตว่าคำวินิจฉัยนี้ต่างจากศาลสูงสุดสหรัฐและศาลรัฐธรรมนูญไต้หวันที่วินิจฉัยตรงๆ ว่าบทบัญญัติของกฎหมายลูกในประเทศทั้งสอง “ขัด” ต่อรัฐธรรมนูญในประเด็นการเลือกปฏิบัติ...
*** อ่านต่อใน Comment นะครับ ***