ข่าวร้อนระอุของคนกรุง ทะลุองศาเดือดบนโลกโซเชียล ช่วงหลายวันมานี้ หนีไม่พ้นกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดเหตุขัดข้อง ทำให้ล่าช้าไปหลายชั่วโมง ชาวออฟฟิศจำนวนมากต้องเข้าทำงานสาย เกิดอาการหงุดหงิดไม่พอใจไปทั่ว จนถึงขั้นมีการขุดประวัติบริการบีทีเอสที่ไม่ได้ดั่งใจชาวประชาออกมาเป็นซีรี่ส์
บีทีเอสเคยภาคภูมิใจมากว่าเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้ารายแรกของไทย ซึ่งถ้าจะเรียกบีทีเอสว่าเป็นกิจการผูกขาด ก็ไม่ผิด เพราะผู้ใช้บริการไม่มีทางเลือกไปใช้บริการแบบเดียวกันของผู้ให้บริการรายอื่น ไม่ว่าบีทีเอสจะปรับปรุงบริการหรือไม่ ผู้ใช้บริการก็ยังจำเป็นต้องใช้บริการของบีทีเอสอยู่ดี
ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้ผู้ใช้บริการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่บีทีเอสก็ยังประสบปัญหาหลักเดิม ๆ อยู่ เช่น ขบวนรถไฟขัดข้องบ่อย ๆ หรือขบวนรถไฟไม่พอรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นทุกวัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการยื้อเวลา ทำให้บัตรแมงมุม ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้ร่วมกับบริการสาธารณะอื่น ๆ ต้องออกมาให้บริการล่าช้า และในที่สุดกลับตัดสินใจไม่เข้าร่วมในโครงการซะงั้น ว่ากันว่าเพราะเห็นว่าไม่คุ้มในเชิงรายได้และต้องการใช้บัตร Rabbit ที่กำลังปั้นอยู่นั่นเอง ก็ยิ่งสร้างความไม่พอใจให้ประชาชนผู้ใช้บริการเข้าไปอีกเรื่องหนึ่ง
แม้ยังไม่เห็นความพยายามของบีทีเอสในการแก้ไขปัญหาเก่าที่หมักหมมมานาน เพื่อให้ได้ใจผู้ใช้บริการมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันกลับมีข่าวว่า บีทีเอสกำลังจะเข้าร่วมประมูลในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขยับจากความเร็วธรรมดา ไปสู่ความเร็วขั้นกว่า แต่ภาพลักษณ์การให้บริการธรรมดายังไม่ได้รับการแก้ไข แล้วจะให้ประชาชนผู้ใช้บริการวางใจสนับสนุนให้กระโดดไปชิงชัยในบริการที่สูงกว่าได้อย่างไร
การที่บีทีเอสเดินเกมผิดปล่อยให้ภาพลักษณ์ด้านการบริการเสียหายไม่เป็นท่าครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้เกิดภาพจำที่ไม่งามในสายตาประชาชนคนกรุงผู้ใช้บริการ ซึ่งภาพจำเหล่านี้ได้กลายเป็นภาพติดตาติดใจ จนยากจะถอดถอน ยิ่งไม่ยอมแก้ ก็จะยิ่งเสียหาย
หากมัวแต่มุ่งเน้นผลกำไร เห็นแต่ความสำคัญของตัวเลข จนไม่ใส่ใจในสิ่งที่ผูกติดกับใจผู้ใช้บริการ อีกไม่นานอาจเหลือไว้แค่ตำนานชื่อบีทีเอส ไม่มีปัจจุบันหรืออนาคตให้จับต้องได้
ไม่เพียงแค่เรื่องการบริการหรือการสร้างแบรนด์ที่บีทีเอสปล่อยเลยตามเลยไม่กระตือรือร้นที่จะแก้ไข แต่ดูเหมือนว่าในเรื่องยุทธศาสตร์การลงสนามสู้ศึกไฮสปีดเทรน ก็พลาดอย่างไม่เป็นท่าตั้งแต่ก้าวแรก เพราะทันทีที่จับกลุ่มพันธมิตรร่วมทุน ก็ออกตัวแรงว่าเป็นทีมไทยแลนด์ ด้วยหวังว่าจะได้ใจคนไทย หรืออาจจะเคยชินกับผลกำไรที่ผ่านมา จนลืมนึกไปว่า โครงการใหญ่มหึมาเสี่ยงต่อขาดทุน แถมต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของบริษัทและประเทศอย่างนี้ จะหวังพึ่งทรัพยากรในประเทศอย่างเดียวนั้น ย่อมเป็นไปได้ยากมาก
ยิ่งหากมองในมุมธุรกิจก็ถือเป็นการไปปิดกั้นโอกาสการลงทุนจากต่างประเทศ เท่ากับเป็นการกีดกันทางการค้าและโอกาสของประเทศ นอกจากนั้นยังทำให้เสน่ห์ของประเทศไทยและของโครงการอีอีซี ที่รัฐบาลพยายามอย่างหนักหน่วงที่จะดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติให้ไหลเข้าประเทศต้องลดลงไปอีกด้วย ถ้ามองกันลึก ๆ ก็จะกระทบไปถึงความหวังของไทยที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคด้วยซ้ำ
แต่ก็ยังดีที่ตอนนี้บีทีเอสกลับตัวทัน หลังจากได้ศึกษาทีโออาร์ คงเห็นแล้วว่าด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทีมไทยแลนด์อย่างเดียวไม่อาจต้านทานกระแสโลกได้ จึงมีข่าวว่าบีทีเอสเปิดทางเจรจากับบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อหาพันธมิตรเพิ่ม
ในโลกไร้พรมแดน ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร ไม่ควรไปกะเกณฑ์แบ่งเขาแบ่งเรา แต่ควรร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ยอมเสียสละประโยชน์หรือความอยากได้บางอย่างลงบ้าง แล้วผ่อนสั้นผ่อนยาว หาพันธมิตรดีกว่าสร้างศัตรู เพราะไม่รู้ว่าอนาคตสายธุรกิจของเราจะสั้นหรือยาว มีเพื่อนไว้ช่วยกันหนุนจับมือเดินหน้าไปด้วยกันดีกว่าไปตั้งธงกีดกั้นคนนั้นคนนี้
บทเรียนทุกเรื่องที่เกิดขึ้นกับบีทีเอสถือว่ามีค่ามหาศาลสำหรับบีทีเอสเอง และเป็นกรณีศึกษาชั้นดีสำหรับผู้ให้บริการรายอื่น รวมถึงผู้เข้าชิงชัยในการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่จะก้าวเข้ามาบริหารจัดการ ว่าต้องเตรียมพร้อมรับกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะมีเข้ามา ที่สำคัญคือต้องแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดและฉับพลัน ไม่ปล่อยให้หมักหมมยาวนาน ต้องสร้างแบรนด์ที่สวยงาม เพื่อให้มีภาพจำที่ประทับอยู่ในใจผู้ใช้บริการ เพราะมันไม่ได้หมายถึงแค่องค์กรของเรา แต่หมายถึงภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศด้วย
-----------------------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
Thailand Only! รถใต้ดินเดี้ยงซ้ำรอย BTS คลื่นกวน คือ ปมลึก https://positioningmag.com/1176115
บีทีเอสเล็งจีบต่างชาติผนึกกำลัง BSR ลุยรถไฟไฮสปีดอีอีซี 2.15 แสนล้าน https://www.posttoday.com/economy/555855
ทำไมบัตรแมงมุมไม่เกิด หรือเหตุผล BTS ยอมเป็นผู้ร้าย ไม่เข้าร่วมด้วยเพราะ Rabbit LINE Pay?
https://brandinside.asia/why-mangmoom-card-will-not-work/
เจาะธุรกิจบีทีเอส รายได้-กำไร เติบโตทุกปี แต่สวนทางการให้บริการ
https://www.marketingoops.com/news/biz-news/bts/?utm_source=LINE%20Today&utm_medium=sourceUrl&utm_campaign=LINE%20Today
ภาพจากไลน์
รถไฟฟ้าขัดข้อง บทเรียนราคาแพงของบีทีเอส ก่อนสู้ศึกไฮสปีดเทรน
บีทีเอสเคยภาคภูมิใจมากว่าเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้ารายแรกของไทย ซึ่งถ้าจะเรียกบีทีเอสว่าเป็นกิจการผูกขาด ก็ไม่ผิด เพราะผู้ใช้บริการไม่มีทางเลือกไปใช้บริการแบบเดียวกันของผู้ให้บริการรายอื่น ไม่ว่าบีทีเอสจะปรับปรุงบริการหรือไม่ ผู้ใช้บริการก็ยังจำเป็นต้องใช้บริการของบีทีเอสอยู่ดี
ตลอดเวลาที่ผ่านมา แม้ผู้ใช้บริการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่บีทีเอสก็ยังประสบปัญหาหลักเดิม ๆ อยู่ เช่น ขบวนรถไฟขัดข้องบ่อย ๆ หรือขบวนรถไฟไม่พอรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นทุกวัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการยื้อเวลา ทำให้บัตรแมงมุม ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้ร่วมกับบริการสาธารณะอื่น ๆ ต้องออกมาให้บริการล่าช้า และในที่สุดกลับตัดสินใจไม่เข้าร่วมในโครงการซะงั้น ว่ากันว่าเพราะเห็นว่าไม่คุ้มในเชิงรายได้และต้องการใช้บัตร Rabbit ที่กำลังปั้นอยู่นั่นเอง ก็ยิ่งสร้างความไม่พอใจให้ประชาชนผู้ใช้บริการเข้าไปอีกเรื่องหนึ่ง
แม้ยังไม่เห็นความพยายามของบีทีเอสในการแก้ไขปัญหาเก่าที่หมักหมมมานาน เพื่อให้ได้ใจผู้ใช้บริการมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันกลับมีข่าวว่า บีทีเอสกำลังจะเข้าร่วมประมูลในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ขยับจากความเร็วธรรมดา ไปสู่ความเร็วขั้นกว่า แต่ภาพลักษณ์การให้บริการธรรมดายังไม่ได้รับการแก้ไข แล้วจะให้ประชาชนผู้ใช้บริการวางใจสนับสนุนให้กระโดดไปชิงชัยในบริการที่สูงกว่าได้อย่างไร
การที่บีทีเอสเดินเกมผิดปล่อยให้ภาพลักษณ์ด้านการบริการเสียหายไม่เป็นท่าครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้เกิดภาพจำที่ไม่งามในสายตาประชาชนคนกรุงผู้ใช้บริการ ซึ่งภาพจำเหล่านี้ได้กลายเป็นภาพติดตาติดใจ จนยากจะถอดถอน ยิ่งไม่ยอมแก้ ก็จะยิ่งเสียหาย
หากมัวแต่มุ่งเน้นผลกำไร เห็นแต่ความสำคัญของตัวเลข จนไม่ใส่ใจในสิ่งที่ผูกติดกับใจผู้ใช้บริการ อีกไม่นานอาจเหลือไว้แค่ตำนานชื่อบีทีเอส ไม่มีปัจจุบันหรืออนาคตให้จับต้องได้
ไม่เพียงแค่เรื่องการบริการหรือการสร้างแบรนด์ที่บีทีเอสปล่อยเลยตามเลยไม่กระตือรือร้นที่จะแก้ไข แต่ดูเหมือนว่าในเรื่องยุทธศาสตร์การลงสนามสู้ศึกไฮสปีดเทรน ก็พลาดอย่างไม่เป็นท่าตั้งแต่ก้าวแรก เพราะทันทีที่จับกลุ่มพันธมิตรร่วมทุน ก็ออกตัวแรงว่าเป็นทีมไทยแลนด์ ด้วยหวังว่าจะได้ใจคนไทย หรืออาจจะเคยชินกับผลกำไรที่ผ่านมา จนลืมนึกไปว่า โครงการใหญ่มหึมาเสี่ยงต่อขาดทุน แถมต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ของบริษัทและประเทศอย่างนี้ จะหวังพึ่งทรัพยากรในประเทศอย่างเดียวนั้น ย่อมเป็นไปได้ยากมาก
ยิ่งหากมองในมุมธุรกิจก็ถือเป็นการไปปิดกั้นโอกาสการลงทุนจากต่างประเทศ เท่ากับเป็นการกีดกันทางการค้าและโอกาสของประเทศ นอกจากนั้นยังทำให้เสน่ห์ของประเทศไทยและของโครงการอีอีซี ที่รัฐบาลพยายามอย่างหนักหน่วงที่จะดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติให้ไหลเข้าประเทศต้องลดลงไปอีกด้วย ถ้ามองกันลึก ๆ ก็จะกระทบไปถึงความหวังของไทยที่จะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคด้วยซ้ำ
แต่ก็ยังดีที่ตอนนี้บีทีเอสกลับตัวทัน หลังจากได้ศึกษาทีโออาร์ คงเห็นแล้วว่าด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทีมไทยแลนด์อย่างเดียวไม่อาจต้านทานกระแสโลกได้ จึงมีข่าวว่าบีทีเอสเปิดทางเจรจากับบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อหาพันธมิตรเพิ่ม
ในโลกไร้พรมแดน ไม่มีมิตรแท้หรือศัตรูถาวร ไม่ควรไปกะเกณฑ์แบ่งเขาแบ่งเรา แต่ควรร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ยอมเสียสละประโยชน์หรือความอยากได้บางอย่างลงบ้าง แล้วผ่อนสั้นผ่อนยาว หาพันธมิตรดีกว่าสร้างศัตรู เพราะไม่รู้ว่าอนาคตสายธุรกิจของเราจะสั้นหรือยาว มีเพื่อนไว้ช่วยกันหนุนจับมือเดินหน้าไปด้วยกันดีกว่าไปตั้งธงกีดกั้นคนนั้นคนนี้
บทเรียนทุกเรื่องที่เกิดขึ้นกับบีทีเอสถือว่ามีค่ามหาศาลสำหรับบีทีเอสเอง และเป็นกรณีศึกษาชั้นดีสำหรับผู้ให้บริการรายอื่น รวมถึงผู้เข้าชิงชัยในการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่จะก้าวเข้ามาบริหารจัดการ ว่าต้องเตรียมพร้อมรับกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะมีเข้ามา ที่สำคัญคือต้องแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดและฉับพลัน ไม่ปล่อยให้หมักหมมยาวนาน ต้องสร้างแบรนด์ที่สวยงาม เพื่อให้มีภาพจำที่ประทับอยู่ในใจผู้ใช้บริการ เพราะมันไม่ได้หมายถึงแค่องค์กรของเรา แต่หมายถึงภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศด้วย
-----------------------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้