วิตก คือ
ความตริตรึกในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ โดย
มีจิตดำริถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่
คิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ และมี
ใจฝังลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ(จิต) จิตที่เข้าไปตั้งอาศัยในอารมณ์นั้น
ธรรมชาตินั้นย่อมรู้แจ้งในอารมณ์ใดๆ เรียกว่า วิตก
วิจาร ความใคร่ครวญถึงอารมณ์นั้นอันเป็นสิ่งที่จิตเข้าไปรู้แจ้ง มีลักษณะตามเคล้าซึ่งวิตกอยู่ว่า
รูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งของวิตกนั้นว่า ความมีอยู่ เหตุให้เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ คุณ, โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกซึ่งวิตกนั้น นี้เรียกว่า วิจาร
ใน
ปฐมฌาน เพราะสงัดจากกาม อันไม่มีอกุศลธรรมใด
ย่อม
ละราคะด้วยปฐมฌาน อันมี
วิตก วิจาร ปิติ สุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
วิตกและวิจารที่พึงเกิดขึ้น โดยพระองค์ให้
พิจารณาใคร่ครวญธรรม
โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
เป็นอารมณ์แห่งจิตนั้น เมื่อพิจารณาใคร่ครวญ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เห็นอยู่อย่างนี้แล้ว
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
ปิติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์แล้ว
กายของผู้มีใจปิติแล้ว
ย่อมรำงับ
ผู้มีกายสงบรำงับแล้วย่อม
เสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อม
ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมรู้เห็นได้ตามความที่เป็นจริงซึ่ง
ทุกข์ (ความแปรปรวนไป ตั้งอยู่ไม่ได้)
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
และข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไปแห่งทุกข์
ตัวอย่าง
กรณีเจริญ
อานาปานสติ วิตกและวิจาร ในปฐมฌาน เป็นเรื่องของการตริตรึกและใคร่ครวญ
ในสิ่งที่พระศาสดาทรงตรัสว่า พิ
จารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
หากจะพิจารณาลมหายใจ ก็ให้พิจารณาว่า ลมหายใจ นี้ คือ ธาตุ ดิน
ในปฐมฌาน สมาธิอันเกิดในขั้นนี้ เป็นไปเพื่อ...
๑.
การสงัดจากอกุศลธรรม ที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน ทางกาย วาจา
๒.
การสงัดนิวรณ์ ๕ ทางใจ คือ
ความพอใจในกาม
ใจพยาบาท
ความที่จิตหดหู่
ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
ความสงสัยเนื่องด้วยไม่รู้
๓.
สงัดจากวาจา
๔.
สงัดเสียงที่ไม่เป็นเสี้ยนหนามในฌาน
เมื่อธรรมทั้ง ๔ ข้างต้น ส่งไปถึงแล้ว
อาการของจิตจะมีได้ดังนี้
๑. ย่อมเกิดปราโมทย์
๒. ย่อมเกิดปิติ
๓. ย่อมเกิดกายสงบ
๔. ย่อมเกิดสุข
๕. ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ในขณะทำสมาธิ
วิตก ที่นำมาตริตรึกนั้น อาจจะยกหัวข้อธรรมนั้นขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง เช่นการ
พิจารณาอานาปานสติสมาธิ
วิจารณ์ ที่นำมาใคร่ครวญต่อนั้น คือ
ลมหายใจของเรานั้นเป็น
กายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย
การทำในใจอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและออกนั้นเป็นเวทนาอันหนึ่งๆใน
เวทนาทั้งหลาย
การที่รู้ว่า
จิตของเรานั้นเป็นผู้รู้ลมหายใจเข้าและออกนั้น
การเห็นการเกิดและดับในภายใน (
ธรรม)
เป็นต้น...
วิตกและวิจารณ์ดังกล่าว
เป็นไปเพื่อกุศลธรรม กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม
เป็นไปเพื่อสมาธิ
เป็นไปเพื่อจิตตั้งมั่น
เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
เป็นไปเพื่อโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
อันอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปเพื่อการสละคืน
วิชาและวิมุติ จึงเกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ในปฐมฌาน
ใคร่ครวญว่าเมื่อก่อนเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเช่นไรกับลมหายใจเข้าและ ออก และหลังจากนั้นเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างไรถึงลมหายใจเข้าและออก หากเราวิจารถึงลมหายใจเข้าและออกช่วงแรกไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวยาวเดี๋ยวสั้นไม่เป็นจังหวะ แต่บัดนี้ลมหายใจของเราเป็นจังหวะที่ราบเรียบ สม่ำเสมอ ละเอียดและประณีต
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
https://kitjawattano.blogspot.com/2013/10/blog-post_26.html
วิตก วิจาร คือ
วิจาร ความใคร่ครวญถึงอารมณ์นั้นอันเป็นสิ่งที่จิตเข้าไปรู้แจ้ง มีลักษณะตามเคล้าซึ่งวิตกอยู่ว่า รูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งของวิตกนั้นว่า ความมีอยู่ เหตุให้เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ คุณ, โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกซึ่งวิตกนั้น นี้เรียกว่า วิจาร
ในปฐมฌาน เพราะสงัดจากกาม อันไม่มีอกุศลธรรมใด
ย่อมละราคะด้วยปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร ปิติ สุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
วิตกและวิจารที่พึงเกิดขึ้น โดยพระองค์ให้พิจารณาใคร่ครวญธรรม
โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
เป็นอารมณ์แห่งจิตนั้น เมื่อพิจารณาใคร่ครวญ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เห็นอยู่อย่างนี้แล้ว
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น
ปิติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์แล้ว
กายของผู้มีใจปิติแล้วย่อมรำงับ
ผู้มีกายสงบรำงับแล้วย่อมเสวยสุข
จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
ย่อมรู้เห็นได้ตามความที่เป็นจริงซึ่ง
ทุกข์ (ความแปรปรวนไป ตั้งอยู่ไม่ได้)
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความดับทุกข์
และข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไปแห่งทุกข์
ตัวอย่าง
กรณีเจริญอานาปานสติ วิตกและวิจาร ในปฐมฌาน เป็นเรื่องของการตริตรึกและใคร่ครวญ
ในสิ่งที่พระศาสดาทรงตรัสว่า พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ และโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท
หากจะพิจารณาลมหายใจ ก็ให้พิจารณาว่า ลมหายใจ นี้ คือ ธาตุ ดิน
ในปฐมฌาน สมาธิอันเกิดในขั้นนี้ เป็นไปเพื่อ...
๑. การสงัดจากอกุศลธรรม ที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน ทางกาย วาจา
๒. การสงัดนิวรณ์ ๕ ทางใจ คือ
ความพอใจในกาม
ใจพยาบาท
ความที่จิตหดหู่
ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
ความสงสัยเนื่องด้วยไม่รู้
๓. สงัดจากวาจา
๔. สงัดเสียงที่ไม่เป็นเสี้ยนหนามในฌาน
เมื่อธรรมทั้ง ๔ ข้างต้น ส่งไปถึงแล้ว อาการของจิตจะมีได้ดังนี้
๑. ย่อมเกิดปราโมทย์
๒. ย่อมเกิดปิติ
๓. ย่อมเกิดกายสงบ
๔. ย่อมเกิดสุข
๕. ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ในขณะทำสมาธิ
วิตก ที่นำมาตริตรึกนั้น อาจจะยกหัวข้อธรรมนั้นขึ้นมาสักเรื่องหนึ่ง เช่นการพิจารณาอานาปานสติสมาธิ
วิจารณ์ ที่นำมาใคร่ครวญต่อนั้น คือ
ลมหายใจของเรานั้นเป็นกายอันหนึ่งๆในกายทั้งหลาย
การทำในใจอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและออกนั้นเป็นเวทนาอันหนึ่งๆในเวทนาทั้งหลาย
การที่รู้ว่าจิตของเรานั้นเป็นผู้รู้ลมหายใจเข้าและออกนั้น
การเห็นการเกิดและดับในภายใน (ธรรม)
เป็นต้น...
วิตกและวิจารณ์ดังกล่าว
เป็นไปเพื่อกุศลธรรม กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม
เป็นไปเพื่อสมาธิ
เป็นไปเพื่อจิตตั้งมั่น
เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
เป็นไปเพื่อโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
อันอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปเพื่อการสละคืน
วิชาและวิมุติ จึงเกิดขึ้น ได้ตั้งแต่ในปฐมฌาน
ใคร่ครวญว่าเมื่อก่อนเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเช่นไรกับลมหายใจเข้าและ ออก และหลังจากนั้นเรามีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอย่างไรถึงลมหายใจเข้าและออก หากเราวิจารถึงลมหายใจเข้าและออกช่วงแรกไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวยาวเดี๋ยวสั้นไม่เป็นจังหวะ แต่บัดนี้ลมหายใจของเราเป็นจังหวะที่ราบเรียบ สม่ำเสมอ ละเอียดและประณีต
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://kitjawattano.blogspot.com/2013/10/blog-post_26.html