#เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้#
ตอนที่ ๓ ภิกษุรับเงินหรือทอง ผิดวินัยต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑
สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตนครราชคฤห์
ครั้งนั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรคือผู้ไปรับภัตตาหารในครอบครัวหนึ่งอยู่เป็นประจำ กระทั่งวันหนึ่ง ครอบครัวนั้นได้เนื้อมาจึงแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร แต่รุ่งเช้าเด็กน้อยในเรือนกลับตื่นแต่เช้ามืดแล้วร้องขอเนื้อนั้น ผู้เป็นสามีจึงให้ภรรยามอบชิ้นเนื้อซึ่งเตรียมไว้ถวายพระแก่เด็กและเตรียมจะนำเงินกหาปนะ (หน่วยเงินอินเดีย) หนึ่งไปซื้อหาสิ่งอื่นถวายพระภิกษุแทน
เช้ารุ่งขึ้นเมื่อท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปรับภัตตาหารในเรือนนั้น ผู้เป็นเจ้าเรือนจึงเข้ามากราบเรียนว่า
“เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงเอ่ยถามคนผู้นั้นว่าเขาจะจัดซื้อของถวายท่านด้วยเงินหนึ่งกหาปณะใช่หรือไม่
เมื่อชายผู้นั้นรับคำว่า ใช่ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงให้เขามอบเงินจำนวนนั้นแก่ท่านโดยตรง โดยไม่ต้องไม่จัดซื้อสิ่งใด
จึงเป็นที่ติเตียนว่าเหตุใด ภิกษุสงฆ์จึงรับเงินและใช้เงินเหมือนดั่งฆราวาสผู้ครองเรือนเช่นนี้
ภายหลังเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบจึงมีรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า
“ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ?”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
“ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะ(เงิน)เล่า?
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว”
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
จากนั้นทรงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะ(กิเลสอันหมักดองในสันดาน)อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑.”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละทองเงินนั้นเสีย"
จากนั้นทรงบัญญัติขั้นตอนการสละเงินและทองซึ่งจะมีในตอนที่ ๔ ต่อไป
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=2567&Z=2684
ขอเชิญอ่าน "เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้" ตั้งแต่ตอนที่ ๑ ได้ที่
http://toncoon.com/community/index.php?topic=2008.0
ขออนุโมทนาสามารถเผยแผ่เป็นธรรมทานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย
**************************************
ขอให้ทั้งหลายเจริญในธรรม มีธรรมเป็นที่ไป มีธรรมดำเนินไป มีธรรมนำทางไป
บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงขอจงถึงแก่ ท่านอ.พันธุม คีริวัต คุณแม่เสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม ตลอดถึงบิดามารดาครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ผู้ถูกเบียดเบียนของข้าพเจ้าและทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมร่วมกัน ขอพวกเราทั้งหลายจงเจริญแต่กุศลปิดหนทางอบาย ได้เวียนว่ายเพียงในเฉพาะสุคติภูมิ ไม่พบเจอกับทุคติวินิบาตนรกอีกตลอดทุกภพทุกชาติตราบถึงวันแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ
#เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้# ตอนที่ ๓ ภิกษุรับเงินหรือทอง ผิดวินัยต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑
#เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้#
ตอนที่ ๓ ภิกษุรับเงินหรือทอง ผิดวินัยต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑
สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตนครราชคฤห์
ครั้งนั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรคือผู้ไปรับภัตตาหารในครอบครัวหนึ่งอยู่เป็นประจำ กระทั่งวันหนึ่ง ครอบครัวนั้นได้เนื้อมาจึงแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร แต่รุ่งเช้าเด็กน้อยในเรือนกลับตื่นแต่เช้ามืดแล้วร้องขอเนื้อนั้น ผู้เป็นสามีจึงให้ภรรยามอบชิ้นเนื้อซึ่งเตรียมไว้ถวายพระแก่เด็กและเตรียมจะนำเงินกหาปนะ (หน่วยเงินอินเดีย) หนึ่งไปซื้อหาสิ่งอื่นถวายพระภิกษุแทน
เช้ารุ่งขึ้นเมื่อท่านพระอุปนันทศากยบุตรเข้าไปรับภัตตาหารในเรือนนั้น ผู้เป็นเจ้าเรือนจึงเข้ามากราบเรียนว่า
“เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงเอ่ยถามคนผู้นั้นว่าเขาจะจัดซื้อของถวายท่านด้วยเงินหนึ่งกหาปณะใช่หรือไม่
เมื่อชายผู้นั้นรับคำว่า ใช่ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงให้เขามอบเงินจำนวนนั้นแก่ท่านโดยตรง โดยไม่ต้องไม่จัดซื้อสิ่งใด
จึงเป็นที่ติเตียนว่าเหตุใด ภิกษุสงฆ์จึงรับเงินและใช้เงินเหมือนดั่งฆราวาสผู้ครองเรือนเช่นนี้
ภายหลังเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบจึงมีรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า
“ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ?”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
“ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะ(เงิน)เล่า?
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว”
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
จากนั้นทรงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะ(กิเลสอันหมักดองในสันดาน)อันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑.”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละทองเงินนั้นเสีย"
จากนั้นทรงบัญญัติขั้นตอนการสละเงินและทองซึ่งจะมีในตอนที่ ๔ ต่อไป
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
ขอเชิญอ่านพระสูตรบทเต็มได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=2567&Z=2684
ขอเชิญอ่าน "เพลิงนรก ตาสวรรค์ ใต้ผืนไตรงามผู้ใดหยั่งรู้" ตั้งแต่ตอนที่ ๑ ได้ที่ http://toncoon.com/community/index.php?topic=2008.0
ขออนุโมทนาสามารถเผยแผ่เป็นธรรมทานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย
**************************************
ขอให้ทั้งหลายเจริญในธรรม มีธรรมเป็นที่ไป มีธรรมดำเนินไป มีธรรมนำทางไป
บุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงขอจงถึงแก่ ท่านอ.พันธุม คีริวัต คุณแม่เสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม ตลอดถึงบิดามารดาครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ผู้ถูกเบียดเบียนของข้าพเจ้าและทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมร่วมกัน ขอพวกเราทั้งหลายจงเจริญแต่กุศลปิดหนทางอบาย ได้เวียนว่ายเพียงในเฉพาะสุคติภูมิ ไม่พบเจอกับทุคติวินิบาตนรกอีกตลอดทุกภพทุกชาติตราบถึงวันแห่งพระนิพพานด้วยเทอญ