| 11 มิถุนายน 2561 | 12:50
เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางปี หุ้นกลุ่มที่มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสูงมักจะได้รับความน่าสนใจจากนักลงทุนเสมอ ยิ่งในภาวะที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนสูงแบบนี้ หุ้นปันผลซึ่งมีความปลอดภัย (Defensive Stock) จะได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ต
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" จึงสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ว่ามีกลยุทธ์อย่างไรในการเลือกหุ้นปันผล ตลอดจนรวบรวมหุ้นปันผลที่น่าสนใจมานำเสนอ
*** เก็บหุ้นก่อนประกาศ XD 1 เดือน
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ระบุว่า ช่วงนี้สามารถเริ่มสะสมหุ้นกลุ่มที่มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลได้ โดยจากสถิติ 5 ปีย้อนหลังพบว่า หุ้นที่มีอัตราการตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield)ดี ราคาจะได้รับการตอบสนองเชิงบวก และให้ผลตอบแทนดีกว่า SET Index ที่มักจะปรับตัวลดลงเฉลี่ย 2-3% ช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาส 2
แต่หุ้นปันผลราคาจะปรับตัวขึ้นประมาณ 2-3% เพราะจะมีแรงซื้อเพื่อรับเงินปันผลระหว่างกาล โดยให้ซื้อก่อนวันประกาศขึ้นเครื่องหมายผู้ซื้อหุ้นไม่มีสิทธิรับเงินปันผล (XD) ประมาณ 1 เดือน และขายทำกำไรหลังหลังวันขึ้น XD ราว 1 เดือนเช่นกัน
ทั้งนี้ ให้เลือกหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลมากกว่า 4% ต่อปี และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
ด้าน นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง เสริมว่า ข้อสำคัญในการเลือกหุ้นปันผล ต้องเป็นบริษัทที่มีกำไรเติบโต เพราะแม้จะเป็นหุ้นที่มี Dividend Yield ดี แต่หากกำไรลดลง ราคาหุ้นอาจจะตอบสนองเชิงลบได้ โดยให้ดูแนวโน้มกำไรจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองหุ้น
*** เปิดโผ 12 หุ้นปันผลแจ่ม-กำไรโต
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่จ่ายเงินปันผล 2 ครั้งต่อปี รวม 155 บริษัท โดยคัดเลือก บจ.ที่บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ประเมิน Dividend Yield มากกว่า 4% ต่อปี และมีสถิติการจ่ายปันผลต่อเนื่องมาอย่างน้อย 3 ปี รวมทั้งมีกำไรสุทธิไตรมาส 1/61 เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามี 12 บริษัทที่เข้าข่ายน่าลงทุนตามความเห็นของนักวิเคราะห์ ดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น บมจ.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (ASP) มีแนวโน้มการจ่ายเงินปันผลสูงที่สุด โดยบทวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) คาดจ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.32 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 8.3%
รองลงมาคือ บมจ.น้ำมันพืชไทย (TVO) ที่ บทวิเคราะห์ บล.บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดจ่ายปันผลปีนี้ที่ 2.33 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 7.70%
ส่วนที่เหลือประกอบด้วย บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรี คาด บมจ.เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ (SNC) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 1.1 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.96%
บทวิเคราะห์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) คาด บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร (DRT) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.38 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.50%
บทวิเคราะห์ บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คาด บมจ.โกลว์ พลังงาน (GLOW) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 5.50 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.43%
บทวิเคราะห์ บล.เอเชีย เวลท์ คาด บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.70 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.19%
บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.ลานนารีซอร์สเซส (LANNA) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 1.00 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.10%
บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.ทีทีดับบลิว (TTW) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.71 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.92%
บทวิเคราะห์ บล.แซด คอม คาด บมจ.สหมิตรเครื่องกล (SMIT) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.37 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.85%
บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ (LALIN) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.32 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.57%
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 3.02 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.46%
และ บทวิเคราะห์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) คาด บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง (SCCC) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 11.11 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 4.81%
*** 5 หุ้นแจก Dividend yield มากกว่า 5%
ส่วนหุ้นที่กำไรไตรมาส 1/61 ลดลง แต่บทวิเคราะห์ยังประเมินว่าจะให้ Dividend yield มากกว่า 5% มีดังนี้
1.บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด บมจ.โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป (MODERN) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.40 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 8.40%
2.บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (AIT) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 1.93 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 7.75%
3.บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 5.25 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 7.61%
4.บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.57 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.94%
5.บทวิเคราะห์ บล. เอเอสแอล คาด บางจาก คอร์ปอเรชั่น(BCP)จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.50 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.63%
*** เน้นเลือกหุ้นที่กำไรโตเท่านั้น
นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง เพิ่มเติมว่า แม้การลงทุนหุ้นปันผล เป็นทางเลือกที่ดีในช่วงนี้ เพราะมีโอกาสได้รับทั้งเงินปันผลและราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้น แต่ให้ระมัดระวังกับดักการลงทุนหุ้นปันผลไว้ด้วย
“ไม่ควรดูแต่ตัวเลขการจ่ายเงินปันผลระดับสูง โดยไม่สนใจแนวโน้มธุรกิจ ทำให้มีหลายครั้งที่เข้าลงทุนเพื่อให้ได้เงินปันผลแต่เลือกหุ้นที่ธุรกิจกำลังเป็นขาลง สุดท้ายกลายเป็นขาดทุนราคาหุ้นแทน"
เช่นเดียวกับ "มงคล พ่วงเภตรา" ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ กลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ที่ระบุว่า แนวโน้มกำไรสำคัญกว่าตัวเลข Dividend Yield เพราะสะท้อนทิศทางธุรกิจมากกว่า ซึ่งหากจะเลือกเก็งกำไรหุ้นปันผลระหว่างกาล ต้องเลือกหุ้นที่มีกำไรเติบโตเท่านั้น เพราะตลาดมักจะตอบรับกับผลประกอบการมากกว่า
"ระวังหุ้นที่โชว์ Dividend Yield สูง เพราะบางครั้งไม่ได้เกิดจากการปันผลอย่างเดียว แต่เกิดจากราคาปรับตัวลดลงตามผลประกอบการ Gap ระหว่างราคาหุ้นและ Yield จึงเพิ่มขึ้น"
นอกจากนี้ช่วงปลายปีควรสลับไปลงทุนหุ้นปันผลที่เน้นจ่ายปันผลงวดเดียวทั้งปี เพราะจะได้รับเงินปันผลที่สูงกว่าบริษัทที่จ่ายปีละหลายงวด
http://efinancethai.com/hottopic/hottopicmain.aspx?release=y&id=N29VVXhub21aSVk9
เปิดโผ 17 หุ้นปันผลครึ่งปีแจ่ม เชียร์ซื้อดักก่อนขึ้น XD 1 เดือน
เมื่อเข้าสู่ช่วงกลางปี หุ้นกลุ่มที่มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสูงมักจะได้รับความน่าสนใจจากนักลงทุนเสมอ ยิ่งในภาวะที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนสูงแบบนี้ หุ้นปันผลซึ่งมีความปลอดภัย (Defensive Stock) จะได้รับการจับตามองเป็นพิเศษ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ต
"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" จึงสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ว่ามีกลยุทธ์อย่างไรในการเลือกหุ้นปันผล ตลอดจนรวบรวมหุ้นปันผลที่น่าสนใจมานำเสนอ
*** เก็บหุ้นก่อนประกาศ XD 1 เดือน
นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ระบุว่า ช่วงนี้สามารถเริ่มสะสมหุ้นกลุ่มที่มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลได้ โดยจากสถิติ 5 ปีย้อนหลังพบว่า หุ้นที่มีอัตราการตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield)ดี ราคาจะได้รับการตอบสนองเชิงบวก และให้ผลตอบแทนดีกว่า SET Index ที่มักจะปรับตัวลดลงเฉลี่ย 2-3% ช่วงประกาศผลประกอบการไตรมาส 2
แต่หุ้นปันผลราคาจะปรับตัวขึ้นประมาณ 2-3% เพราะจะมีแรงซื้อเพื่อรับเงินปันผลระหว่างกาล โดยให้ซื้อก่อนวันประกาศขึ้นเครื่องหมายผู้ซื้อหุ้นไม่มีสิทธิรับเงินปันผล (XD) ประมาณ 1 เดือน และขายทำกำไรหลังหลังวันขึ้น XD ราว 1 เดือนเช่นกัน
ทั้งนี้ ให้เลือกหุ้นที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลมากกว่า 4% ต่อปี และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
ด้าน นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง เสริมว่า ข้อสำคัญในการเลือกหุ้นปันผล ต้องเป็นบริษัทที่มีกำไรเติบโต เพราะแม้จะเป็นหุ้นที่มี Dividend Yield ดี แต่หากกำไรลดลง ราคาหุ้นอาจจะตอบสนองเชิงลบได้ โดยให้ดูแนวโน้มกำไรจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองหุ้น
*** เปิดโผ 12 หุ้นปันผลแจ่ม-กำไรโต
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่จ่ายเงินปันผล 2 ครั้งต่อปี รวม 155 บริษัท โดยคัดเลือก บจ.ที่บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ประเมิน Dividend Yield มากกว่า 4% ต่อปี และมีสถิติการจ่ายปันผลต่อเนื่องมาอย่างน้อย 3 ปี รวมทั้งมีกำไรสุทธิไตรมาส 1/61 เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามี 12 บริษัทที่เข้าข่ายน่าลงทุนตามความเห็นของนักวิเคราะห์ ดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น บมจ.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (ASP) มีแนวโน้มการจ่ายเงินปันผลสูงที่สุด โดยบทวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) คาดจ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.32 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 8.3%
รองลงมาคือ บมจ.น้ำมันพืชไทย (TVO) ที่ บทวิเคราะห์ บล.บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดจ่ายปันผลปีนี้ที่ 2.33 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 7.70%
ส่วนที่เหลือประกอบด้วย บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรี คาด บมจ.เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ (SNC) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 1.1 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.96%
บทวิเคราะห์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) คาด บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร (DRT) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.38 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.50%
บทวิเคราะห์ บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คาด บมจ.โกลว์ พลังงาน (GLOW) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 5.50 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.43%
บทวิเคราะห์ บล.เอเชีย เวลท์ คาด บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.70 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.19%
บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.ลานนารีซอร์สเซส (LANNA) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 1.00 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 6.10%
บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.ทีทีดับบลิว (TTW) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.71 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.92%
บทวิเคราะห์ บล.แซด คอม คาด บมจ.สหมิตรเครื่องกล (SMIT) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.37 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.85%
บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ (LALIN) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.32 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.57%
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTUCH) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 3.02 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.46%
และ บทวิเคราะห์ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) คาด บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง (SCCC) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 11.11 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 4.81%
*** 5 หุ้นแจก Dividend yield มากกว่า 5%
ส่วนหุ้นที่กำไรไตรมาส 1/61 ลดลง แต่บทวิเคราะห์ยังประเมินว่าจะให้ Dividend yield มากกว่า 5% มีดังนี้
1.บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด บมจ.โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป (MODERN) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.40 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 8.40%
2.บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (AIT) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 1.93 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 7.75%
3.บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาด ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 5.25 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 7.61%
4.บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาด บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.57 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.94%
5.บทวิเคราะห์ บล. เอเอสแอล คาด บางจาก คอร์ปอเรชั่น(BCP)จ่ายปันผลปีนี้ที่ 0.50 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend yield จากราคาปัจจุบันที่ 5.63%
*** เน้นเลือกหุ้นที่กำไรโตเท่านั้น
นักวิเคราะห์ บล.บัวหลวง เพิ่มเติมว่า แม้การลงทุนหุ้นปันผล เป็นทางเลือกที่ดีในช่วงนี้ เพราะมีโอกาสได้รับทั้งเงินปันผลและราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้น แต่ให้ระมัดระวังกับดักการลงทุนหุ้นปันผลไว้ด้วย
“ไม่ควรดูแต่ตัวเลขการจ่ายเงินปันผลระดับสูง โดยไม่สนใจแนวโน้มธุรกิจ ทำให้มีหลายครั้งที่เข้าลงทุนเพื่อให้ได้เงินปันผลแต่เลือกหุ้นที่ธุรกิจกำลังเป็นขาลง สุดท้ายกลายเป็นขาดทุนราคาหุ้นแทน"
เช่นเดียวกับ "มงคล พ่วงเภตรา" ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ กลยุทธ์การลงทุน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) ที่ระบุว่า แนวโน้มกำไรสำคัญกว่าตัวเลข Dividend Yield เพราะสะท้อนทิศทางธุรกิจมากกว่า ซึ่งหากจะเลือกเก็งกำไรหุ้นปันผลระหว่างกาล ต้องเลือกหุ้นที่มีกำไรเติบโตเท่านั้น เพราะตลาดมักจะตอบรับกับผลประกอบการมากกว่า
"ระวังหุ้นที่โชว์ Dividend Yield สูง เพราะบางครั้งไม่ได้เกิดจากการปันผลอย่างเดียว แต่เกิดจากราคาปรับตัวลดลงตามผลประกอบการ Gap ระหว่างราคาหุ้นและ Yield จึงเพิ่มขึ้น"
นอกจากนี้ช่วงปลายปีควรสลับไปลงทุนหุ้นปันผลที่เน้นจ่ายปันผลงวดเดียวทั้งปี เพราะจะได้รับเงินปันผลที่สูงกว่าบริษัทที่จ่ายปีละหลายงวด
http://efinancethai.com/hottopic/hottopicmain.aspx?release=y&id=N29VVXhub21aSVk9