ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 4
1. ในอดีตก็มีเจ้านายฝ่ายในที่ขึ้นมามีอิทธิพลทางการเมืองครับ ที่โดยเด่นที่สุดก็คือท้าวศรีสุดาจันทร์ที่ได้เป็นถึง "นางพระยาแม่อยู่หัว" ขึ้นสำเร็จราชการแผ่นดินแทนสมเด็จพระยอดฟ้าที่เป็นพระราชโอรส
อีกพระองค์คือเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสระบุว่าทรงศักดิ์เสมอด้วยพระอัครมเหสี และทรงเป็นอธิบดีในราชสำนักฝ่ายใน ดังที่ซิมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) ราชทูตฝรั่งเศส ก็ได้บันทึกถึงพระราชอำนาจของพระนางไว้ว่า
"พระราชธิดาพระองค์นั้น ทรงพระเกียรติยศและเสด็จประทับ ณ พระมนทิราลัยเยี่ยงพระอัครมเหสี พระชายาของพระมหากษัตริย์นางอื่นๆ โดยทั่วๆ ไปเรียกกันว่า เจ้าวัง (Tcháou Vang) เพราะคำว่า เจ้า แปลว่า เจ้านาย ยังแปลว่าพระสนม (Dame) หรือ ราชบาทบริจาริกา (Maitresse) ก็ยังได้อีก ล้วนยำเกรงพระราชธิดาทั้งสิ้น และนับถือพระราชธิดาเสมอว่าเป็นแม่เจ้าชีวิตของตน เมื่อมีคดีอย่างไรเกิดขึ้น พระสนมเหล่านี้ก็ตกอยู่ในการพิจารณาทางยุติธรรม โดยทำนองเดียวกันกับพวกนางพระกำนัลและขันทีทั้งปวง ด้วยบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถจะออกมาข้างหน้าเพื่อร้องเรียนยังโรงศาลได้ พระราชธิดาจึงจำเป็นต้องทรงเป็นผุ้ชำระตัดสินและลงพระอาญาเพื่อป้องกันมิให้วิวาทต่อกันอันเป็นการทำลายความสงบเรียบร้อยในพระราชนิเวศน์"
ลาลูแบร์ยังบันทึกว่าพระนางซึ่งมีศักดิ์เสมอพระอัครมเหสีนั้นยังทรงมีพระคลัง เรือกำปั่นและระราชทรัพย์อีกจำนวนมาก พระนางยังทรงทำการค้าขายกับต่างประเทศด้วยพระองค์เอง แต่เมื่อภายหลังสมเด็จพระนารายณ์ทรงผูกขาดการค้าต่างประเทศไว้กับพระองค์เพียงผู้เดียว (ตามคำแนะนำของฟอลคอน) ทำให้พระนางไม่ทรงพอพระทัย
นิโกลาส์ แชร์แวส (Nicolas Gervaise) มิชชันนารีฝฝรั่งเศสก็ได้บันทึกไว้ว่า
"ในฐานะที่เธอทรงเป้นรัชทายาทโดยธรรมแห่งราชบัลลังก์ วันหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงสำราญพระราชหฤทัยด้วยการพระราชทานพระมหามงกุฎ มอบให้เธอปกครองแผ่นดินสองเวลาคราละ ๒๔ ชั่วนาฬิกาเท่านั้น (deux fois vingt-quarte heures seulement) เธอก็ทรงกระทำได้ดีอย่างเกินความคาดหมาย โดยทรงวินิจฉัยอรรถคดีที่ยากๆ ในที่ประชุมขุนนางได้ ประดุจว่าเธอได้ถือสมภพมาเพื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินตลอดพระชนม์ชีพทีเดียว"
ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ก็ยังปรากฏว่าพระนางซึ่งเป็นอัครมเหสีฝ่ายซ้ายทรงมีอิทธิพลสูงมาก จากรายงานของกิเดโยน ตันต์ (Gideon Tant) ผู้ดำรงตำแหน่ง Opperhoofd หรือหัวหน้าสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) ประจำกรุงศรีอยุทธยา ใน พ.ศ. ๒๒๔๖ ระบุว่า ารปกครองกรุงศรีอยุทธยาถูกแบ่งออกเป็น ๓ ขั้ว ตามที่ตันต์ใช้คำว่า “รัฐบาลสามเศียร (three-headed goverment)” คือขั้ววังหลวงของสมเด็จพระเพทราชา ขั้ววังหน้าของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระเจ้าเสือ) และขั้วของเจ้าพระขวัญซึ่งมีเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพพระมารดาทรงใช้อำนาจแทน ทั้ง ๓ ขั้วต่างมีราชสำนักในปกครองของตนเอง และมีสิทธิในการทำการค้าและการเก็บภาษีอากรอย่างเป็นอิสระต่อกัน และต่างฝ่ายต่างก็แข็งขันในการแสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง ตันต์ยังตั้งสมมติฐานว่าพระนางอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์กบฏเมืองนครราชสีมา โดยมีจุดประสงค์ให้เจ้าพระขวัญได้เป็นกษัตริย์แทน
จนเมื่อพระเพทราชาสวรรคตแล้ว ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของ อาร์เนาต์ เคลอร์ (Aernout Cleur) Opperhoofd คนต่อมาระบุว่า พระนางได้ดึงขุนนางผู้ใหญ่จำนวนมากมาเป็นพรรคพวกเพื่อจะสนับสนุนเจ้าพระขวัญให้ก่อกบฏ แต่ถูกพระเจ้าเสือจับได้และกวาดล้างขุนนางกลุ่มนี้จนหมดสิ้น เจ้าพระขวัญถูกสำเร็จโทษ พระนางต้องเสด็จนี้ไปประทับอยู่ในวัด และหมดอำนาจทางการเมืองลงไป
2. การที่ฝ่ายในจะขึ้นมามีอำนาจได้ ส่วนใหญ่ก็มักเพราะพระเจ้าแผ่นดินอุดหนุนเป็นหลัก หรือไม่ก็ทรงอยู่ในสถานะที่จะเข้ามามีอำนาจได้ เช่น ท้าวศรีสุดาจันทร์ที่เป็นพระราชมารดาของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์เดียว และคงเป็นด้วยทรงมีบารมีมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์และมีหลักฐานว่าทรงสนับสนุนพระเพทราชาให้ก่อการยึดอำนาจ จึงน่าเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ยังทำให้คงอิทธิพลและรักษาสถานะในอดีตของพระนางอยู่ได้จนถึงสมัยพระเพทราชา นอกจากนี้การจะมีอำนาจก็ต้องเลือกข้างทางการเมืองให้ถูก
การแสวงหาอิทธิพลเพื่อหาผลประโยชน์เข้าตัวเองเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ไม่จำกัดชายหรือหญิง เจ้านายฝ่ายในเองก็เช่นเดียวกัน โดยปรากฏหลักฐานร่วมสมัยหลายชิ้นว่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศเจ้านายฝ่ายในมีอิทธิพลสูง และมีการเลือกข้างทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
เจ้าจอมเพ็ง เจ้าจอมแมนนั้น ในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าเป็นพระสนมเอกอยู่ตำหนักปลายทองทั้งสององค์ แต่ในพงศาวดารได้สะท้อนสถานะที่ไม่ธรรมดาว่าล้วนเป็นพระชายาเดิมของพระเจ้าเอกทัศตั้งแต่ยังทรงเป้นเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พอครองราชย์แล้วก็ปรากฏเรียกในพงศาวดารกับคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "อัครราชชายา" เหมือนกับพระองค์เจ้าแมงเม่าที่เป็นเจ้าบ้าง เรียก "พระมเหสี" บ้าง นอกจากนี้พระเจ้าเอกทัศยังทรงชุบเลี้ยงโอรสธิดาของเจ้าจอมทั้งสองให้มียศศักดิ์และเครื่องสูงเสมอกับเจ้าฟ้าศิริจันทาเทวีที่เป็นพระราชธิดาของพระองค์เจ้าแมงแม่าด้วย จึงเข้าใจว่าพระเจ้าเอกทัศจะทรงยกย่องสนมเอกทั้งสององค์นี้ให้มีศักดิ์เสมอพระมเหสีครับ
พอเจ้านายฝ่ายในมีอำนาจ การจะใช้อำนาจหาผลประโยชน์เข้าตัวก็ทำได้ง่าย ดังที่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของบาทหลวงฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าเอกทัศระบุว่า
"ตั้งแต่ครั้งสมัยก่อน ๆ มา พระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินเท่ากับเปนกฎหมายในเมืองนี้ ครั้นมาในบัดนี้เจ้านายผู้หญิงทุกองค์ก็มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน และข้าราชการก็ต้องเปลี่ยน กันอยู่เสมอ แต่ก่อน ๆ มา ผู้ที่มีความผิดฐานเปนขบถฆ่าคนตาย และเอาไฟเผาบ้านเรือน ต้องรับพระราชอาญาถึงประหารชีวิต แต่มาบัดนี้ความโลภของเจ้านายผู้หญิง ได้เปลี่ยนลงโทษความผิดชนิดนี้พียงแต่ริบทรัพย์ และทรัพย์ที่ริบไว้ได้นั้น ก็ตกเปนสมบัติของเจ้าหญิงเหล่านี้ทั้งสิ้น ฝ่ายพวกข้าราชการเห็นความโลภของเจ้านายผู้หญิงเปนตัวอย่างก็หาหนทางที่จะหาประโยชน์บ้าง ถ้าผู้ใดเปนถ้อยความแล้วข้าราชการเหล่านี้ก็คิดหาประโยชน์จากคู่ความ ให้ได้มากที่สุดจะเอาได้ การที่ทำเช่นนี้ก็ปิดความหาให้พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบไม่ แต่ถ้าห่างพระเนตร์พระกรรณออกไปแล้วข้าราชการ เหล่านี้ก็ลักขะโมยอย่างไม่กลัวทีเดียว"
เรื่องนี้ยังสอดคล้องกับหลักฐานของพ่อค้าของ VOC ที่ระบุว่า เจ้าหญิงฝ่ายในที่เป็นพี่น้องกับพระเจ้าเอกทัศล้วนแต่เปลี่ยนข้างไปมาขึ้นอยู่กับว่าพระเจ้าเอกทัศหรือพระเจ้าอุทุมพรขึ้นมามีอำนาจเพื่อรักษาสถานะและผลประโยชน์ส่วนตนและยังทำการค้าอย่างเอารัดเอาเปรียบด้วย ดัตช์ระบุว่าในเวลานั้นขุนนางส่วนใหญ่สนใจแต่ผลประโยชน์ไม่สนใจกฎหมาย แต่เจ้าหญิงเหล่านี้เลวร้ายกว่าขุนนางเพราะล้วนแต่พยายามจะครอบงำพระเจ้าแผ่นดิน นอกจากนี้ยังใช้อำนาจเกินขอบเขต
มีเหตุการณ์หนึ่งที่ VOC บันทึกไว้คือ ขุนนางชื่อหลวงไกร (Laung Krai) กับผู้หญิงชื่อ นางพัน (Nang Paan) ได้ยึดครองดีบุกและเงินของ VOC ไปในช่วงสงครามพระเจ้าอลองพญา แต่เมื่อ VOC ฟ้องร้องไปยังราชสำนักแต่ก็ไม่เป็นผล VOC เพราะตัวนางพันนั้นมีเจ้าหญิงซึ่งเป็นพี่น้องของพระเจ้าเอกทัศองค์หนึ่งที่มีอำนาจมากปกป้องอยู่ จนเสนาบดีพระคลัง (ซึ่งเป็นคนของพระเจ้าอุทุมพร และเป็นขุนนางดีในสายตา VOC) เรียกตัวไปสอบสวนไม่ได้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๐๔ พระคลังผู้นี้ก็ต้องออกบวชตามพระเจ้าอุทุมพรเพราะไม่อยากถูกเจ้าชายเจ้าหญิงบางองค์รังควาน
ภายหลังเพื่อฟื้นฟูการค้าต่างประเทศ พระเจ้าเอกทัศพยายามดึงพระคลังคนนี้กลับมารับราชการ แต่ถูกปฏิเสธนอกจากพระเจ้าเอกทัศจะทรงสัญญาว่าจะคุ้มกันตนจากเหล่าเจ้าหญิงและขุนนางที่ดัตช์วิจารณ์ไว้ว่า "โลภ" และ "กระหายอำนาจ" อย่างไรก็ตามเหล่าเจ้าหญิงกับขุนนางเหล่านี้ก็คัดค้านในเรื่องนี้ครับ
แต่จะบอกว่าฝรั่งมีอคติจงใจกล่าวว่าฝ่ายในเป็นสาเหตุของการเสียกรุงก็คงจะไม่ตรงเท่าไหร่ครับ เพราะหลักฐานเหล่านี้เขียนก่อนสงครามเสียกรุงครับ
ส่วนเรื่องอยุทธยายันพม่าได้ถึง ๑๔ เดือน ผมคิดว่าอาจจะต้องแยกแยะในเรื่องความอ่อนแอทางการเมืองการปกครองของราชสำนักกับความเข้มแข็งของยุทธศาสตร์การป้องกันตนเองของอยุทธยาเป็นคนละประเด็นกันครับ เพราะพิจารณาแล้วที่อยุทธยายืดหยัดอยู่ได้ก็ด้วยปราการธรรมชาติของเกาะเมืองเป็นหลักจนยากแก่การเข้าตีได้ มากกว่าจะเป็นเพราะกษัตริย์หรือราชสำนักเข้มแข็งอย่างเดียวครับ
อีกพระองค์คือเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของฝรั่งเศสระบุว่าทรงศักดิ์เสมอด้วยพระอัครมเหสี และทรงเป็นอธิบดีในราชสำนักฝ่ายใน ดังที่ซิมง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) ราชทูตฝรั่งเศส ก็ได้บันทึกถึงพระราชอำนาจของพระนางไว้ว่า
"พระราชธิดาพระองค์นั้น ทรงพระเกียรติยศและเสด็จประทับ ณ พระมนทิราลัยเยี่ยงพระอัครมเหสี พระชายาของพระมหากษัตริย์นางอื่นๆ โดยทั่วๆ ไปเรียกกันว่า เจ้าวัง (Tcháou Vang) เพราะคำว่า เจ้า แปลว่า เจ้านาย ยังแปลว่าพระสนม (Dame) หรือ ราชบาทบริจาริกา (Maitresse) ก็ยังได้อีก ล้วนยำเกรงพระราชธิดาทั้งสิ้น และนับถือพระราชธิดาเสมอว่าเป็นแม่เจ้าชีวิตของตน เมื่อมีคดีอย่างไรเกิดขึ้น พระสนมเหล่านี้ก็ตกอยู่ในการพิจารณาทางยุติธรรม โดยทำนองเดียวกันกับพวกนางพระกำนัลและขันทีทั้งปวง ด้วยบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถจะออกมาข้างหน้าเพื่อร้องเรียนยังโรงศาลได้ พระราชธิดาจึงจำเป็นต้องทรงเป็นผุ้ชำระตัดสินและลงพระอาญาเพื่อป้องกันมิให้วิวาทต่อกันอันเป็นการทำลายความสงบเรียบร้อยในพระราชนิเวศน์"
ลาลูแบร์ยังบันทึกว่าพระนางซึ่งมีศักดิ์เสมอพระอัครมเหสีนั้นยังทรงมีพระคลัง เรือกำปั่นและระราชทรัพย์อีกจำนวนมาก พระนางยังทรงทำการค้าขายกับต่างประเทศด้วยพระองค์เอง แต่เมื่อภายหลังสมเด็จพระนารายณ์ทรงผูกขาดการค้าต่างประเทศไว้กับพระองค์เพียงผู้เดียว (ตามคำแนะนำของฟอลคอน) ทำให้พระนางไม่ทรงพอพระทัย
นิโกลาส์ แชร์แวส (Nicolas Gervaise) มิชชันนารีฝฝรั่งเศสก็ได้บันทึกไว้ว่า
"ในฐานะที่เธอทรงเป้นรัชทายาทโดยธรรมแห่งราชบัลลังก์ วันหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงสำราญพระราชหฤทัยด้วยการพระราชทานพระมหามงกุฎ มอบให้เธอปกครองแผ่นดินสองเวลาคราละ ๒๔ ชั่วนาฬิกาเท่านั้น (deux fois vingt-quarte heures seulement) เธอก็ทรงกระทำได้ดีอย่างเกินความคาดหมาย โดยทรงวินิจฉัยอรรถคดีที่ยากๆ ในที่ประชุมขุนนางได้ ประดุจว่าเธอได้ถือสมภพมาเพื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินตลอดพระชนม์ชีพทีเดียว"
ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ก็ยังปรากฏว่าพระนางซึ่งเป็นอัครมเหสีฝ่ายซ้ายทรงมีอิทธิพลสูงมาก จากรายงานของกิเดโยน ตันต์ (Gideon Tant) ผู้ดำรงตำแหน่ง Opperhoofd หรือหัวหน้าสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (VOC) ประจำกรุงศรีอยุทธยา ใน พ.ศ. ๒๒๔๖ ระบุว่า ารปกครองกรุงศรีอยุทธยาถูกแบ่งออกเป็น ๓ ขั้ว ตามที่ตันต์ใช้คำว่า “รัฐบาลสามเศียร (three-headed goverment)” คือขั้ววังหลวงของสมเด็จพระเพทราชา ขั้ววังหน้าของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระเจ้าเสือ) และขั้วของเจ้าพระขวัญซึ่งมีเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพพระมารดาทรงใช้อำนาจแทน ทั้ง ๓ ขั้วต่างมีราชสำนักในปกครองของตนเอง และมีสิทธิในการทำการค้าและการเก็บภาษีอากรอย่างเป็นอิสระต่อกัน และต่างฝ่ายต่างก็แข็งขันในการแสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง ตันต์ยังตั้งสมมติฐานว่าพระนางอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์กบฏเมืองนครราชสีมา โดยมีจุดประสงค์ให้เจ้าพระขวัญได้เป็นกษัตริย์แทน
จนเมื่อพระเพทราชาสวรรคตแล้ว ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของ อาร์เนาต์ เคลอร์ (Aernout Cleur) Opperhoofd คนต่อมาระบุว่า พระนางได้ดึงขุนนางผู้ใหญ่จำนวนมากมาเป็นพรรคพวกเพื่อจะสนับสนุนเจ้าพระขวัญให้ก่อกบฏ แต่ถูกพระเจ้าเสือจับได้และกวาดล้างขุนนางกลุ่มนี้จนหมดสิ้น เจ้าพระขวัญถูกสำเร็จโทษ พระนางต้องเสด็จนี้ไปประทับอยู่ในวัด และหมดอำนาจทางการเมืองลงไป
2. การที่ฝ่ายในจะขึ้นมามีอำนาจได้ ส่วนใหญ่ก็มักเพราะพระเจ้าแผ่นดินอุดหนุนเป็นหลัก หรือไม่ก็ทรงอยู่ในสถานะที่จะเข้ามามีอำนาจได้ เช่น ท้าวศรีสุดาจันทร์ที่เป็นพระราชมารดาของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์เดียว และคงเป็นด้วยทรงมีบารมีมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์และมีหลักฐานว่าทรงสนับสนุนพระเพทราชาให้ก่อการยึดอำนาจ จึงน่าเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ยังทำให้คงอิทธิพลและรักษาสถานะในอดีตของพระนางอยู่ได้จนถึงสมัยพระเพทราชา นอกจากนี้การจะมีอำนาจก็ต้องเลือกข้างทางการเมืองให้ถูก
การแสวงหาอิทธิพลเพื่อหาผลประโยชน์เข้าตัวเองเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ไม่จำกัดชายหรือหญิง เจ้านายฝ่ายในเองก็เช่นเดียวกัน โดยปรากฏหลักฐานร่วมสมัยหลายชิ้นว่าในสมัยพระเจ้าเอกทัศเจ้านายฝ่ายในมีอิทธิพลสูง และมีการเลือกข้างทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
เจ้าจอมเพ็ง เจ้าจอมแมนนั้น ในคำให้การชาวกรุงเก่าระบุว่าเป็นพระสนมเอกอยู่ตำหนักปลายทองทั้งสององค์ แต่ในพงศาวดารได้สะท้อนสถานะที่ไม่ธรรมดาว่าล้วนเป็นพระชายาเดิมของพระเจ้าเอกทัศตั้งแต่ยังทรงเป้นเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พอครองราชย์แล้วก็ปรากฏเรียกในพงศาวดารกับคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า "อัครราชชายา" เหมือนกับพระองค์เจ้าแมงเม่าที่เป็นเจ้าบ้าง เรียก "พระมเหสี" บ้าง นอกจากนี้พระเจ้าเอกทัศยังทรงชุบเลี้ยงโอรสธิดาของเจ้าจอมทั้งสองให้มียศศักดิ์และเครื่องสูงเสมอกับเจ้าฟ้าศิริจันทาเทวีที่เป็นพระราชธิดาของพระองค์เจ้าแมงแม่าด้วย จึงเข้าใจว่าพระเจ้าเอกทัศจะทรงยกย่องสนมเอกทั้งสององค์นี้ให้มีศักดิ์เสมอพระมเหสีครับ
พอเจ้านายฝ่ายในมีอำนาจ การจะใช้อำนาจหาผลประโยชน์เข้าตัวก็ทำได้ง่าย ดังที่ปรากฏในหลักฐานร่วมสมัยของบาทหลวงฝรั่งเศสในสมัยพระเจ้าเอกทัศระบุว่า
"ตั้งแต่ครั้งสมัยก่อน ๆ มา พระราชโองการของพระเจ้าแผ่นดินเท่ากับเปนกฎหมายในเมืองนี้ ครั้นมาในบัดนี้เจ้านายผู้หญิงทุกองค์ก็มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน และข้าราชการก็ต้องเปลี่ยน กันอยู่เสมอ แต่ก่อน ๆ มา ผู้ที่มีความผิดฐานเปนขบถฆ่าคนตาย และเอาไฟเผาบ้านเรือน ต้องรับพระราชอาญาถึงประหารชีวิต แต่มาบัดนี้ความโลภของเจ้านายผู้หญิง ได้เปลี่ยนลงโทษความผิดชนิดนี้พียงแต่ริบทรัพย์ และทรัพย์ที่ริบไว้ได้นั้น ก็ตกเปนสมบัติของเจ้าหญิงเหล่านี้ทั้งสิ้น ฝ่ายพวกข้าราชการเห็นความโลภของเจ้านายผู้หญิงเปนตัวอย่างก็หาหนทางที่จะหาประโยชน์บ้าง ถ้าผู้ใดเปนถ้อยความแล้วข้าราชการเหล่านี้ก็คิดหาประโยชน์จากคู่ความ ให้ได้มากที่สุดจะเอาได้ การที่ทำเช่นนี้ก็ปิดความหาให้พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบไม่ แต่ถ้าห่างพระเนตร์พระกรรณออกไปแล้วข้าราชการ เหล่านี้ก็ลักขะโมยอย่างไม่กลัวทีเดียว"
เรื่องนี้ยังสอดคล้องกับหลักฐานของพ่อค้าของ VOC ที่ระบุว่า เจ้าหญิงฝ่ายในที่เป็นพี่น้องกับพระเจ้าเอกทัศล้วนแต่เปลี่ยนข้างไปมาขึ้นอยู่กับว่าพระเจ้าเอกทัศหรือพระเจ้าอุทุมพรขึ้นมามีอำนาจเพื่อรักษาสถานะและผลประโยชน์ส่วนตนและยังทำการค้าอย่างเอารัดเอาเปรียบด้วย ดัตช์ระบุว่าในเวลานั้นขุนนางส่วนใหญ่สนใจแต่ผลประโยชน์ไม่สนใจกฎหมาย แต่เจ้าหญิงเหล่านี้เลวร้ายกว่าขุนนางเพราะล้วนแต่พยายามจะครอบงำพระเจ้าแผ่นดิน นอกจากนี้ยังใช้อำนาจเกินขอบเขต
มีเหตุการณ์หนึ่งที่ VOC บันทึกไว้คือ ขุนนางชื่อหลวงไกร (Laung Krai) กับผู้หญิงชื่อ นางพัน (Nang Paan) ได้ยึดครองดีบุกและเงินของ VOC ไปในช่วงสงครามพระเจ้าอลองพญา แต่เมื่อ VOC ฟ้องร้องไปยังราชสำนักแต่ก็ไม่เป็นผล VOC เพราะตัวนางพันนั้นมีเจ้าหญิงซึ่งเป็นพี่น้องของพระเจ้าเอกทัศองค์หนึ่งที่มีอำนาจมากปกป้องอยู่ จนเสนาบดีพระคลัง (ซึ่งเป็นคนของพระเจ้าอุทุมพร และเป็นขุนนางดีในสายตา VOC) เรียกตัวไปสอบสวนไม่ได้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๐๔ พระคลังผู้นี้ก็ต้องออกบวชตามพระเจ้าอุทุมพรเพราะไม่อยากถูกเจ้าชายเจ้าหญิงบางองค์รังควาน
ภายหลังเพื่อฟื้นฟูการค้าต่างประเทศ พระเจ้าเอกทัศพยายามดึงพระคลังคนนี้กลับมารับราชการ แต่ถูกปฏิเสธนอกจากพระเจ้าเอกทัศจะทรงสัญญาว่าจะคุ้มกันตนจากเหล่าเจ้าหญิงและขุนนางที่ดัตช์วิจารณ์ไว้ว่า "โลภ" และ "กระหายอำนาจ" อย่างไรก็ตามเหล่าเจ้าหญิงกับขุนนางเหล่านี้ก็คัดค้านในเรื่องนี้ครับ
แต่จะบอกว่าฝรั่งมีอคติจงใจกล่าวว่าฝ่ายในเป็นสาเหตุของการเสียกรุงก็คงจะไม่ตรงเท่าไหร่ครับ เพราะหลักฐานเหล่านี้เขียนก่อนสงครามเสียกรุงครับ
ส่วนเรื่องอยุทธยายันพม่าได้ถึง ๑๔ เดือน ผมคิดว่าอาจจะต้องแยกแยะในเรื่องความอ่อนแอทางการเมืองการปกครองของราชสำนักกับความเข้มแข็งของยุทธศาสตร์การป้องกันตนเองของอยุทธยาเป็นคนละประเด็นกันครับ เพราะพิจารณาแล้วที่อยุทธยายืดหยัดอยู่ได้ก็ด้วยปราการธรรมชาติของเกาะเมืองเป็นหลักจนยากแก่การเข้าตีได้ มากกว่าจะเป็นเพราะกษัตริย์หรือราชสำนักเข้มแข็งอย่างเดียวครับ
แสดงความคิดเห็น
ฝ่ายใน (หนึ่งด้าวฟ้าเดียว)
มีการบันทึกทั้งฝั่งไทยและพม่าถึงสาเหตุการเสียกรุง แม้ว่าฝั่งไทยจะค่อนไปทางลบของผู้นำ แต่ฝั่งพม่ากลับเห็นว่าสู้กันสูสีไม่ได้ยิ่งหย่อน เพียงแต่พวกเขาเตรียมการมาอย่างดีกว่าและอึดกว่า (ว่าฝ่ายเราอึดแล้วที่ยันไว้ได้เป็นแรมปี ฝ่ายอังวะนี่ก็นับว่าอึดยิ่งกว่า แม่ทัพและทหารรอนแรมจากบ้านมาเป็นปี ว่ามั๊ย)
แต่ที่น่าสนใจที่เราไปอ่านผ่านๆมา (ไม่ได้ละเอียดมากนัก) คือบันทึกของฝรั่งผู้หนึ่ง ที่เหมือนยกความผิดนี้กับการที่ ฝ่ายใน มีอำนาจเทียบเท่าพระราชา จนทำให้เกิดการฉ้แอฉลเอารัดเอาเปรียบเหสมือนสนิมในเนื้อเหล็กที่เขาเปรียบกันนั่นแหละ
ซึ่งพอเราอ่านก็มีขุ่นใจนิดนึงเพราะเป็นหญิง และ ฝ่ายใน ก็เปรียบเหมือนอำนาจที่อยู่ในมือผู้หญิง แต่ก็ไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร ฝรั่งผู้นั้นจะมีอคติกับการมีอำนาจของผู้หญิงหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ที่มาตั้งกระทู้นี้ คืออยากรู้ว่า
1. สมัยนี้เป็นสมัยแรกในช่วงอยุธยาหรือเปล่าที่ ฝ่ายใน ได้รับอำนาจ เทียบเท่าพระราชา
2. แล้วทำไมถึงได้รับอำนาจนั้น (ถ้ามองในแง่ดี คือ นี่จะเป็นครั้งแรกที่พระราชามองเห็นความสำคัญของผู้หญิง ถ้าพูดแบบสมัยใหม่ คือ สิทธิสตรีน่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยนี้ ถ้ามองในแง่ร้าย คือ ฝ่ายใน ทะเยอทะยานจนสามารถกดหรือคานอำนาจเดิมได้ แต่หัวหน้าฝ่ายในหรือกรมขุนฯในละครก็ไม่ได้ดูเป็นคนเจ้าอำนาจ ดูใจดีเสียด้วยซ้ำ)
มีละครเรื่องไหนเสนอมุมมองของฝ่ายในในเชิงลึก อีกหรือเปล่าคะ