##############
รู้ทุกข์อย่างพระอรหันต์
#############
พระผู้มีพระ-ภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มี อสรพิษ ๔ จำพวก มีเดชกล้าพิษร้าย
ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตายรักสุข เกลียดทุกข์ มา ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า
ท่านบุรุษอสรพิษ ๔ จำพวกนี้ มีเดชกล้าพิษร้าย ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา
ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา
เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลานั้น ท่านก็จะพึงถึงความตาย
หรือถึงทุกข์ปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔จำพวกนั้น จึงหนีไปในที่อื่น
ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ มีเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติดตามท่านมา
พบท่านในที่ใดก็จะฆ่าท่านเสีย ในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย
ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น
ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ มีเพชฌฆาตคนที่ ๖
ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตามท่านมา พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของท่านเสียในที่นั้นกิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.
ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก ซึ่งมีเดชกล้า กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕
และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น
เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปยัง
เรือนร้างว่างเปล่าหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า
ท่านบุรุษ มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามาบ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.
ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕กลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน
จึงหนีไปในที่อื่นเขาไปพบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง
ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย
ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี.
ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นักฝั่งข้างนี้เป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย
ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี
ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้าไม่ กิ่งไม้และใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วยเท้า
ก็พึงถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิดอย่างนั้น ก็ข้ามฟากถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว ขึ้นบกไปเป็นพราหมณ์.
##############
แมลงเม่าบินเข้ากองไฟหรือยื่นมือให้งูพิษ
เพชฌฆาตผู้ฆ่าปุถุชน
##############
ภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความโดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ …..
"Monks, I have made up this simile in order to convey a meaning. This is the meaning here: …
อุปมายื่นมือให้งูพิษ/ Give hand to snake
เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือหัวแม่มือให้แก่งูพิษที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ
ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
"Suppose there were a deadly poisonous viper, and a man were to come along, wanting to live, not wanting to die, desiring pleasure, & abhorring pain. What do you think, Sunakkhatta — would he give his hand or finger to the snake knowing that 'Having been bitten by this, I will incur death or death-like suffering'?" "No, lord."
"In the same way, when a monk — maintaining restraint over the six spheres of contact, knowing that 'Acquisition is the root of stress' — is free from acquisition, released in the total ending of acquisition, it's not possible that, with regard to acquisition, he would stir his body or arouse his mind."
#################
เพชฌฆาตผู้ฆ่าเมื่อทำน้ำมันหก
#################
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบทพึงประชุมกัน ก็นางงาม
ในชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่งในการขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่านางงามใน
ชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนา
ความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าวกะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า
บุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็ม
เปี่ยมนี้ ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไป
ข้างหลัง ๆ บอกว่า ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว”
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ? บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น
แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !
ภิกษุ ท. ! เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่า
ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของ กายคตาสติ.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของ
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดี
แล้ว. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ. ภิกษุ ท. !
ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ ;
ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ ภิกษุ ท. ! ชนเหล่า
ใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ดังนี้ แล.
#################
เพชฌฆาตผู้ฆ่าปลอมตัวเป็นคนรับใช้
#################
พระสารีบุตร. ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ
ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้
ว่าอย่างไร?
ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูปแลไม่เที่ยง สิ่ง
ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป
แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้.
พระสารีบุตร. ดีละๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อหยั่งรู้ความข้อ
นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้น. ดูกรท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งประสงค์ความพินาศ ประสงค์ความ
ไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
คฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่าง
กวดขัน การที่จะอุกอาจปลงชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบาย
ปลงชีวิต. บุรุษนั้น พึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอเป็น
คนรับใช้ท่าน. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้ เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดีทุกประการ
คือ มีปรกติตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รัก
ใคร่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น เชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย และถึงความ
ไว้วางใจในเขา. เมื่อใด บุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีไว้ใจเราดีแล้ว เมื่อนั้น บุรุษ
นั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม. ท่านยมกะ ท่าน
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีโน้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่านแม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตร
คฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนภายหลัง
คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็น
ผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. และใน
กาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ จึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม
แม้ในกาลนั้น เขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่า
เราไม่.
เปิดธรรมที่ถูกปิด ความหมายของการรู้ทุกข์ That Mean You Know Give hand to snake or Killer
รู้ทุกข์อย่างพระอรหันต์
#############
พระผู้มีพระ-ภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มี อสรพิษ ๔ จำพวก มีเดชกล้าพิษร้าย
ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตายรักสุข เกลียดทุกข์ มา ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า
ท่านบุรุษอสรพิษ ๔ จำพวกนี้ มีเดชกล้าพิษร้าย ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา
ให้อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา
เวลาใดอสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลานั้น ท่านก็จะพึงถึงความตาย
หรือถึงทุกข์ปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔จำพวกนั้น จึงหนีไปในที่อื่น
ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ มีเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติดตามท่านมา
พบท่านในที่ใดก็จะฆ่าท่านเสีย ในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย
ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น
ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ มีเพชฌฆาตคนที่ ๖
ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบติดตามท่านมา พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของท่านเสียในที่นั้นกิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.
ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก ซึ่งมีเดชกล้า กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕
และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น
เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปยัง
เรือนร้างว่างเปล่าหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า
ท่านบุรุษ มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามาบ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.
ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕กลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน
จึงหนีไปในที่อื่นเขาไปพบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง
ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย
ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี.
ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นักฝั่งข้างนี้เป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย
ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัยเรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี
ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้าไม่ กิ่งไม้และใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วยเท้า
ก็พึงถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิดอย่างนั้น ก็ข้ามฟากถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว ขึ้นบกไปเป็นพราหมณ์.
##############
แมลงเม่าบินเข้ากองไฟหรือยื่นมือให้งูพิษ
เพชฌฆาตผู้ฆ่าปุถุชน
##############
ภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราสมมติขึ้นเพื่อจะให้รู้เนื้อความโดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ …..
"Monks, I have made up this simile in order to convey a meaning. This is the meaning here: …
อุปมายื่นมือให้งูพิษ/ Give hand to snake
เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ พึงมาถึงเข้า เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือหัวแม่มือให้แก่งูพิษที่มีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ ฯ
ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
"Suppose there were a deadly poisonous viper, and a man were to come along, wanting to live, not wanting to die, desiring pleasure, & abhorring pain. What do you think, Sunakkhatta — would he give his hand or finger to the snake knowing that 'Having been bitten by this, I will incur death or death-like suffering'?" "No, lord."
"In the same way, when a monk — maintaining restraint over the six spheres of contact, knowing that 'Acquisition is the root of stress' — is free from acquisition, released in the total ending of acquisition, it's not possible that, with regard to acquisition, he would stir his body or arouse his mind."
#################
เพชฌฆาตผู้ฆ่าเมื่อทำน้ำมันหก
#################
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบทพึงประชุมกัน ก็นางงาม
ในชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่งในการขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่านางงามใน
ชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนา
ความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าวกะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า
บุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็ม
เปี่ยมนี้ ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไป
ข้างหลัง ๆ บอกว่า ท่านจักทำน้ำมันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว”
ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ? บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น
แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !
ภิกษุ ท. ! เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่า
ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของ กายคตาสติ.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของ
อันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดี
แล้ว. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ. ภิกษุ ท. !
ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมบริโภคอมตะ ;
ภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ ภิกษุ ท. ! ชนเหล่า
ใด ไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทอมตะ ดังนี้ แล.
#################
เพชฌฆาตผู้ฆ่าปลอมตัวเป็นคนรับใช้
#################
พระสารีบุตร. ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ
ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้
ว่าอย่างไร?
ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูปแลไม่เที่ยง สิ่ง
ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป
แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้.
พระสารีบุตร. ดีละๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อหยั่งรู้ความข้อ
นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้น. ดูกรท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์
มาก มีโภคะมาก และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งประสงค์ความพินาศ ประสงค์ความ
ไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
คฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่าง
กวดขัน การที่จะอุกอาจปลงชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบาย
ปลงชีวิต. บุรุษนั้น พึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอเป็น
คนรับใช้ท่าน. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้ เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดีทุกประการ
คือ มีปรกติตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รัก
ใคร่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น เชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย และถึงความ
ไว้วางใจในเขา. เมื่อใด บุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีไว้ใจเราดีแล้ว เมื่อนั้น บุรุษ
นั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม. ท่านยมกะ ท่าน
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีโน้นแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่านแม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตร
คฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนภายหลัง
คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็น
ผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. และใน
กาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ จึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม
แม้ในกาลนั้น เขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่า
เราไม่.