ตระบัดสัตย์ เป็นคำกริยา แปลว่า ไม่รักษาคํามั่นสัญญา, ไม่รักษาคำพูด
ตัวอย่าง: ปูพูดบ่อยครั้งว่าไม่หนี แต่สุดท้ายก็หนี ถือว่าเป็นคนตระบัดสัตย์ต่อประชาชน
29 ก.พ. 47 ใครฝันจะยุบสภา เอาไว้ชาติหน้าตอนสายๆ
6 มี.ค. 2548 ไม่มีอะไรจำเป็นอย่างยิ่งยวด ไม่มีการยุบสภา
18 เม.ย. 48 ผมไม่ใช่คนที่ต้องการชิงความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองด้วยการยุบสภาอยู่แล้ว
“ทักษิณ” ตระบัดสัตย์ยุบสภา
สำหรับนายกฯทักษิณแล้ว ชั่วโมงนี้คงจะไม่มีทางเลือกในการถอยใดจะดีไปกว่าการเลือกที่จะยุบสภาอีก แม้จะเคยประกาศอย่างชัดเจนเอาไว้แล้วว่า "ไม่ลาออก-ไม่ยุบสภา เอาไว้ชาติหน้าตอนสายๆ" เมื่อเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ขณะยังคงหลงมัวเมาอยู่ในภาพอันจอมปลอมของ 19 ล้านเสียงโดยไม่ลืมตาดูความเป็นจริงอันโหดร้าย
https://mgronline.com/daily/detail/9490000023773
ถ้าพิจารณาสาเหตุของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475-2556 รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง จะพบว่า มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่มีสาเหตุของการยุบสภาแตกต่างไปจากสาเหตุของการยุบสภาครั้งอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมดในประเทศไทย
การยุบสภาผู้แทนราษฎรสองครั้งที่ว่านี้คือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
และการยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ในสมัย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้มิพักต้องกล่าวว่า เหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองครั้งนี้ผิดแผกแตกต่างไปจากกรอบเหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดของอังกฤษ
.....
นั่นคือ การขอเปิดอภิปรายในลักษณะดังกล่าวเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งถ้าทักษิณต้องการให้มีการเปิดอภิปรายดังกล่าวจริง การอภิปรายดังกล่าวก็ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับตัดสินใจยุบสภาทั้งๆ ที่ยังมีกลไกตามระบบรัฐสภาที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งฝ่ายค้านก็มีเสียงไม่พอที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 185 และ 186 ที่ระบุให้ใช้คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 1 ใน 5 (คือ 100 คน) หากจะอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และจะต้องใช้เสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 5 (200 คน) หากจะอภิปรายนายกรัฐมนตรี
ซึ่งฝ่ายค้านได้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องขอเสียงในสภาผู้แทนราษฎรในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สำเร็จ
ดังนั้น การยุบสภาครั้งนี้จึงไม่เข้าข่ายรัฐบาลขัดแย้งกับสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด เพราะในขณะนั้นยังมิได้มีการเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
https://www.matichonweekly.com/column/article_75041
คำว่าตระบัดสัตย์ เป็นคำที่กำลังเป็นที่สนใจกันในเวลานี้
ดิฉันจึงสนใจศึกษาว่า...มีผู้นำหรือนักการเมืองคนไหนที่ไม่เคยตระบัดสัตย์บ้างคะ ท่านคือไอดอลของประชาชน ที่เราควรยกย่องชื่นชมค่ะ
🤔~มาลาริน~ในประเทศไทยนักการเมืองคนไหนหรือผู้นำคนไหนที่ไม่เคยตระบัดสัตย์บ้างคะ...? อยากทราบเอาไว้เป็นต้นแบบที่ดีค่ะ
ตระบัดสัตย์ เป็นคำกริยา แปลว่า ไม่รักษาคํามั่นสัญญา, ไม่รักษาคำพูด
ตัวอย่าง: ปูพูดบ่อยครั้งว่าไม่หนี แต่สุดท้ายก็หนี ถือว่าเป็นคนตระบัดสัตย์ต่อประชาชน
29 ก.พ. 47 ใครฝันจะยุบสภา เอาไว้ชาติหน้าตอนสายๆ
6 มี.ค. 2548 ไม่มีอะไรจำเป็นอย่างยิ่งยวด ไม่มีการยุบสภา
18 เม.ย. 48 ผมไม่ใช่คนที่ต้องการชิงความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองด้วยการยุบสภาอยู่แล้ว
“ทักษิณ” ตระบัดสัตย์ยุบสภา
สำหรับนายกฯทักษิณแล้ว ชั่วโมงนี้คงจะไม่มีทางเลือกในการถอยใดจะดีไปกว่าการเลือกที่จะยุบสภาอีก แม้จะเคยประกาศอย่างชัดเจนเอาไว้แล้วว่า "ไม่ลาออก-ไม่ยุบสภา เอาไว้ชาติหน้าตอนสายๆ" เมื่อเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ขณะยังคงหลงมัวเมาอยู่ในภาพอันจอมปลอมของ 19 ล้านเสียงโดยไม่ลืมตาดูความเป็นจริงอันโหดร้าย
https://mgronline.com/daily/detail/9490000023773
ถ้าพิจารณาสาเหตุของการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2475-2556 รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง จะพบว่า มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่มีสาเหตุของการยุบสภาแตกต่างไปจากสาเหตุของการยุบสภาครั้งอื่นๆ ที่เหลือทั้งหมดในประเทศไทย
การยุบสภาผู้แทนราษฎรสองครั้งที่ว่านี้คือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
และการยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ในสมัย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้มิพักต้องกล่าวว่า เหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองครั้งนี้ผิดแผกแตกต่างไปจากกรอบเหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดของอังกฤษ
.....
นั่นคือ การขอเปิดอภิปรายในลักษณะดังกล่าวเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งถ้าทักษิณต้องการให้มีการเปิดอภิปรายดังกล่าวจริง การอภิปรายดังกล่าวก็ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับตัดสินใจยุบสภาทั้งๆ ที่ยังมีกลไกตามระบบรัฐสภาที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งฝ่ายค้านก็มีเสียงไม่พอที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามมาตรา 185 และ 186 ที่ระบุให้ใช้คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 1 ใน 5 (คือ 100 คน) หากจะอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และจะต้องใช้เสียงไม่ต่ำกว่า 2 ใน 5 (200 คน) หากจะอภิปรายนายกรัฐมนตรี
ซึ่งฝ่ายค้านได้ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องขอเสียงในสภาผู้แทนราษฎรในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สำเร็จ
ดังนั้น การยุบสภาครั้งนี้จึงไม่เข้าข่ายรัฐบาลขัดแย้งกับสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด เพราะในขณะนั้นยังมิได้มีการเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
https://www.matichonweekly.com/column/article_75041
คำว่าตระบัดสัตย์ เป็นคำที่กำลังเป็นที่สนใจกันในเวลานี้
ดิฉันจึงสนใจศึกษาว่า...มีผู้นำหรือนักการเมืองคนไหนที่ไม่เคยตระบัดสัตย์บ้างคะ ท่านคือไอดอลของประชาชน ที่เราควรยกย่องชื่นชมค่ะ