มุ่งหน้าเข้ามาบำเพ็ญเพียรในป่าช้ามีเพียงอัฐบริขาร ๘ อย่าง ตามพุทธบัญญัติ จริยวัตรหนึ่งที่ท่านได้ถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมาคือการอยู่ในอิริยาบถ ๓ โดยละเว้นอิริยาบถที่ ๔ คือ การนอน เรียกกันว่า “หลังของท่านไม่เคยแตะถูกพื้นเลย” โดยการนอนของท่านจะอยู่ในท่าที่เรียกว่า “มูบ” คือ นั่งบนเก้าอี้หรือตั่ง ก้มหน้าลงบนฝ่ามือที่วางหงายอยู่บนหัวเข่าทั้งสอง การนอนและปฏิบัติสมาธิภาวนาในท่านี้เป็นเวลานาน ประกอบกับการฉันจังหันน้อยทำให้ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังในวัยชรา
หลวงพ่อเริ่มอาพาธด้วยโรคปวดหลังอย่างมาก ถึงกระนั้นหลวงพ่อก็คงปฏิบัติภาวนา และอนุเคราะห์ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมามิได้ขาด เมื่ออาการอาพาธของหลวงพ่อมีอาการหนักมากขึ้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์จึงได้นำนายแพทย์เข้าไปตรวจ นายแพทย์ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลวงพ่อไม่ยอม จนกระทั่งความได้ทราบถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายแพทย์จากกรุงเทพ ฯ มาถวายการรักษา และผ่าตัด หลวงพ่อจึงยินยอมเข้าโรงพยาบาล นับตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงพ่อจึงมีการเอนกายกับพื้น แต่ก็ยังไม่ยอมให้หลังแตะถูกพื้น โดยการใช้วิธีนอนตะแคงบ้างเป็นครั้งคราว
เรื่องนี้ เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เล่าไว้ใน หนังสือที่ระลีกหลวงพ่อเกษม เขมโก ไว้ดังนี้
“เมื่อกล่าวถึงความอดทนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดของท่าน จะเห็นได้จากการที่หลวงพ่ออาพาธด้วยโรคกระดูกสันหลังผุ ไม่สามารถจะลุกไปไหนได้ เรื่องนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ให้หมอรับมารักษาที่โรงพยาบาลลำปาง ในหลวงทรงห่วงใย และทรงโปรดพระราชทานหมอที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกมาทำการรักษา
วาระสุดท้ายแห่งชีวิตของหลวงพ่อเกษม เขมโก สืบเนื่องจากการที่ท่านได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่ม
หลวงพ่อเริ่มอาพาธด้วยโรคปวดหลังอย่างมาก ถึงกระนั้นหลวงพ่อก็คงปฏิบัติภาวนา และอนุเคราะห์ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมามิได้ขาด เมื่ออาการอาพาธของหลวงพ่อมีอาการหนักมากขึ้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์จึงได้นำนายแพทย์เข้าไปตรวจ นายแพทย์ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลวงพ่อไม่ยอม จนกระทั่งความได้ทราบถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายแพทย์จากกรุงเทพ ฯ มาถวายการรักษา และผ่าตัด หลวงพ่อจึงยินยอมเข้าโรงพยาบาล นับตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงพ่อจึงมีการเอนกายกับพื้น แต่ก็ยังไม่ยอมให้หลังแตะถูกพื้น โดยการใช้วิธีนอนตะแคงบ้างเป็นครั้งคราว
เรื่องนี้ เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เล่าไว้ใน หนังสือที่ระลีกหลวงพ่อเกษม เขมโก ไว้ดังนี้
“เมื่อกล่าวถึงความอดทนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดของท่าน จะเห็นได้จากการที่หลวงพ่ออาพาธด้วยโรคกระดูกสันหลังผุ ไม่สามารถจะลุกไปไหนได้ เรื่องนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ให้หมอรับมารักษาที่โรงพยาบาลลำปาง ในหลวงทรงห่วงใย และทรงโปรดพระราชทานหมอที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกมาทำการรักษา