.
บทที่ ๑๔ จิตใจที่ไม่ยอมแพ้
ลานประลองที่ใช้สำหรับการแข่งขันยิงธนูและฟันดาบเมื่อช่วงเช้า ตกบ่ายกลับกลายเป็นลานเตรียมช้างเชือกหนึ่งซึ่งจะถูกใช้ในการประลองฐานที่สาม
ฝุ่นผงภายในถูกลมหอบหนึ่งพัดม้วนวนเรี่ยไปกับพื้น ชวนให้รู้สึกวังเวง แห้งแล้งและเดียวดาย...
แม้ด้านนอกจะแว่วเสียงจอแจคึกคักของผู้คนที่เฝ้ารอชมฉากสุดท้ายของการชิงชัย แต่กลับคล้ายเสียงก่นสาปจากโลกอื่น... โลกที่ไม่เคยมีความปรารถนาดีใดๆ ต่อเจ้าทิพเลย...
ชายหนุ่มนั่งอยู่บนแคร่ข้างช้างของตนซึ่งไปคัดเลือกมาตอนพักเที่ยง ปล่อยร่างให้หมอหลวงตรวจรักษาอาการบาดเจ็บไป
“กระดูกซี่โครงไม่ได้หัก แต่กล้ามเนื้อและเอ็นรอบบริเวณอาจฉีกขาด... ข้าว่าท่านอย่าได้แข็งขืนต่อไปเลย แค่เอี้ยวตัวก็เจ็บปวดมากแล้ว” หมอหลวงวินิจฉัยอาการด้วยสีหน้ากังวล
เจ้าทิพรับฟัง ได้แต่ทอดถอนลมหายใจ นิ่งเงียบไม่กล่าวกระไร
ครั้นแล้วเสียงหนึ่งก็ดังขึ้นเป็นภาษาจีน...
“คิดจะยอมแพ้แล้วหรือ”
“ท่านอาจือกง” ชายหนุ่มเงยหน้าขึ้นมอง แววตาฉายประกายตื้นตัน แม้จะเป็นเพียงคำถามสั้นๆ แต่น้ำเสียงแสดงชัดถึงความอาทรห่วงใย บางทีอาจือกงอาจเป็นคนเดียวที่ตนจะหวังพึ่งได้
“หลานไม่คิดจะยอมแพ้ และไม่เคยคิด... แต่ หลานไม่รู้จะเอาชนะได้อย่างไร” กล่าวทั้งที่น้ำตาคลอเบ้า คิดถึงผลแห่งความพ่ายแพ้ ทั้งถูกสักบ่าประจาน ถูกเนรเทศขับไล่ให้พ้นเขตแดน และอาจถูกปฏิเสธห้ามเข้าเมืองที่มีสัมพันธไมตรีต่อปตานี
“เจ้ากำลังคิดถึงผลของความสูญเสียอยู่ใช่หรือไม่”
เจ้าทิพนิ่งงัน สายตาเพ่งมองผู้เป็นอาซึ่งหยั่งรู้จิตใจตน
“ท่านหมอออกไปเถอะ ให้ข้าได้อยู่กับท่านเซียงจือกงตามลำพัง”
หมอหลวงลุกขึ้นจากแคร่ เก็บล่วมยาเตรียมจากไป แต่ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า
“อย่างไรเสีย ก็อย่าเอาชีวิตไปเสี่ยงต่อเลย... สภาพของท่านคงไม่อาจฝืนอาการบาดเจ็บได้ ไม่มีทางจับอาวุธร่ายรำได้คล่องแคล่วหรอก”
ด้วยความเป็นห่วงในตัวเจ้าทิพ เซียงจือกงซึ่งนั่งอยู่ใกล้ที่ประทับได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตลุกออกมา
“ทำไมถึงคิดว่าเจ้าจะไม่สามารถเอาชนะได้” ผู้ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเลถามขึ้นทันทีที่หมอหลวงผละจากไป
เจ้าทิพก้มหน้านิ่งตอบคำ
“เดิมทีหลานคิดว่ามีจังหวะเพลงอาวุธและความเร็วที่เหนือกว่า... แต่แล้วสิงขรกลับรวดเร็วกว่า อีกทั้งการบังคับช้างม้าก็เป็นจุดอ่อนของหลาน... แล้วตอนนี้ ยิ่งร่างกายได้รับบาดเจ็บ.. หลาน...”
ชายหนุ่มพูดได้เท่านั้น ก็จำต้องหยุด มือบีบรั้งแขนของอาจือกงแน่น เสมือนหนึ่งจะหาที่พึ่งยึดเหนี่ยวไว้ และเหมือนจะพยายามกลั้นน้ำตาไม่ให้หลั่งไหลออกมาอีก
“ถ้าเจ้าถูกเนรเทศ ก็ล่องเรือไปกับอา ท้องฟ้าแผ่นน้ำกว้างใหญ่ คงมีที่ให้เจ้าเริ่มต้นได้”
...ผิดคาด เจ้าทิพส่ายหน้า ฝืนน้ำตามิให้ไหล ขบกรามกล่าวช้าๆ ชัดๆ
“หลานจะออกไปสู้ ขอตายอยู่กลางลานประลอง แต่ไม่ยอมให้ถูกขับไล่”
เซียงจือกงมีรอยยิ้มน้อยๆ ขึ้นที่มุมปาก กล่าวว่า
“ดี ถ้าอย่างนั้นเจ้าต้องเข้าใจเรื่องสำคัญ ๓ เรื่อง”
“เรื่องสำคัญสามเรื่อง...” ชายหนุ่มมองผู้อาวุโสซึ่งตนรักดุจญาติสนิท ทวนคำด้วยความไม่เข้าใจ
“เรื่องแรก สำคัญที่สุดคือจิตใจ” พลางมองเจ้าทิพแล้วกล่าวอย่างลึกซึ้ง “ใจที่โศกเศร้าย่อมมืดมัว มันนำไปสู่ความโหดร้าย.. หรือไม่ก็ความอ่อนแอ เจ้าเป็นคนที่จิตใจดีงาม ย่อมไม่นำไปสู่ความโหดร้าย แต่จะฉุดรั้งเจ้าสู่ความอ่อนแอ”
ชายหนุ่มนั่งนิ่ง พยายามตีความให้เข้าใจ แต่ผู้เป็นอาพลันกล่าวต่อขึ้นว่า
“หากเจ้าพ่ายแพ้ พระบิดาจะทรงรักเจ้ามากขึ้นไหม...”
“ไม่มีทาง” เจ้าทิพตอบชัดเจนทันทีอยู่ในใจ
“แล้วมันจะเกิดประโยชน์อันใดเล่าที่จะมามัวคร่ำครวญเจ็บปวดใจ... ถ้าเจ้าพ่ายแพ้ ตัวเจ้ากับพระบิดาก็จบสิ้นกัน ถ้าไม่จบด้วยชีวิตที่สิ้นไปกลางสนามประลอง ก็จบด้วยการพลัดพรากจากกันตลอดกาล ยืนคนละผืนแผ่นดินตลอดไป...
เจ้าต้องละทิ้งอารมณ์โศกเศร้าออกไปเสีย เพราะมันปิดกั้นสำนึกการควบคุมสภาวะต่างๆ ของร่างกายเจ้า จนสภาพของเจ้าไม่ต่างจากผู้ฝึกอาวุธชั้นต้น”
คำเตือนของอาจือกงเหมือนน้ำเย็นราดรดลงบนศีรษะ เพราะมัวแต่เจ็บแค้นช้ำใจ ทำให้ภวังค์แห่งจิตไม่ก่อเกิด ไม่สามารถใช้ฌานกำหนดกระบวนเพลงอาวุธ เท่ากับไม่มีเปรียบอันใดเหนือกว่าสิงขรเลย... อีกทั้งมีแต่เป็นผู้ชนะและเป็นผู้นำองค์ตุมพะทะนานทองกลับมา เราจึงจะได้ความรักของพระบิดากลับคืน
เสียงอาจือกงยังกล่าวต่อ
“เราได้ยินขุนพลสิงหลแจกแจงว่า บุตรชายของเขามีระดับจิตอยู่ในขั้นที่ ๘ ต่ำกว่าของเจ้าซึ่งอยู่ในขั้นที่ ๙... จงยกระดับจิตของเจ้าและรักษาไว้ให้สูงกว่าของเขา หากยังต้องการเป็นผู้ชนะในครั้งนี้”
เจ้าทิพตาเข้มแวววาว จ้องมองอาจือกงลึกซึ้ง เป็นคำตอบชัดเจนถึงความมุ่งมั่นและเด็ดเดี่ยว บัดนี้ริ้วรอยเศร้าโศกได้ถูกขจัดหายไปแล้ว...
“ดีมาก” ผู้นำกองเรือผ่านมหาสมุทรตบบ่าหลานชาย “เรื่องที่สองที่เจ้าต้องเข้าใจคือ การเลือกยุทธวิธีต่อสู้”
“ยุทธวิธี...” ชายหนุ่มทวนคำ ด้วยไม่แน่ใจว่าอาจือกงจะหมายถึงอะไรอีก... มิใช่การออกไปสู้รบด้วยฝีมืออาวุธหรอกหรือ
“เราผ่านดินแดนทะเลใต้มาหลายครา ได้ยินหลักการต่อสู้ของดินแดนแถบนี้มาก็มากมาย หลักสำคัญที่คล้ายคลึงกันคือการกำหนดธาตุทั้งสี่ในตัว มีดิน น้ำ ลม ไฟ ประสานเข้ากับ ๔ องค์ประกอบคือ หนึ่งจิต สองจังหวะ สามความเร็ว และสี่ความแข็งแกร่ง
จิตเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะควบคุมองค์ประกอบทั้งสาม... เมื่อยามเผชิญคู่ต่อสู้ที่สูสีหรือเหนือกว่า ให้พยายามสะกดคู่ต่อสู้ด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วนต่อ ๑ ส่วน”
เจ้าทิพฟังและพยายามตีความไปแต่ก็ไม่เข้าใจ... จนผู้ผ่านไปทั่วทะเลใต้อธิบายต่อว่า
“ความเร็วข่มจังหวะ จังหวะข่มความเข้มแข็ง และความเข้มแข็งข่มความเร็ว... ทั้งหมดนี้แม้เป็นหลักธรรมชาติ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า... ความเร็วแค่ไหนจึงทำลายจังหวะ จังหวะล้ำเลิศแค่ไหนจึงจะทลายความเข้มแข็ง และแข็งแกร่งแค่ไหนจึงจะสะกดข่มความเร็ว”
หยุดชั่วครู่คล้ายให้หลานชายได้ใคร่ครวญพิจารณา ก่อนกล่าวต่อว่า
“มีแต่อาศัย ๒ สะกด ๑ จึงได้ผลชนะที่แน่นอน ใช้ความเร็วและจังหวะ ย่อมชนะความแข็งแกร่ง... ใช้จังหวะและความแข็งแกร่งย่อมชนะความเร็ว... และใช้ความเร็วบวกความแข็งแกร่งจึงชนะจังหวะ”
ชายหนุ่มคล้ายเริ่มเข้าใจ พึมพำขึ้น
“เมื่อระดับจิตของเรากลับสู่ระดับภวังค์สำนึก การควบคุมให้ความแข็งแกร่งเหนือกว่าสิงขรที่อยู่ในระดับจิตสำนึกย่อมเป็นไปได้ เราย่อมได้เปรียบ ๑ ส่วนแล้ว ...แต่...” พลันมองหน้าอาจือกง หยุดไว้ไม่กล่าวต่อ
“เจ้าคิดว่าสิงขรกำหนดความเร็วได้เร็วกว่าเจ้า และเพราะความเชี่ยวชาญในการบังคับช้าง จะทำให้จังหวะเหนือกว่าเจ้า กลายเป็นสิงขรมีเปรียบในอีก ๒ ส่วนที่เหลือ”
“เป็นเช่นนั้นจริง ท่านอา”
“เราแม้ไม่รู้ว่าเกิดสิ่งใดขึ้นกับความเร็วของสิงขร แต่รู้ว่าเรื่องนี้มีเลศนัย... เราอาศัยกล้องส่องขยายทะเลไกล ส่องเห็นสิงขรจงใจล่อลวงให้เจ้าขับม้าตามออกไปให้ห่างผู้คน ครั้นไกลเกินกว่าสายตาของผู้ใดจะจับสังเกตได้ จึงกำหนดจิตเปลี่ยนความเร็ว เป็นความเร็วที่เหนือกว่าเจ้า”
“เป็นเช่นนั้นจริงๆ ท่านอา ด้วยหลักวิชาการกำหนดจิตของลังกาสุกะ ไม่มีทางที่ผู้ใดจะเปลี่ยนมิติความเร็วได้ถ้ายังอยู่ในระดับจิตสำนึก... เท่าที่ท่านขุนพลบิดาของเขากล่าว สิงขรเองก็ยังอยู่ในระดับจิตสำนึก”
“อืม เราเชื่อว่าเรื่องนี้อาจไม่มีผู้ใดในปตานีล่วงรู้ และสิงขรเองก็ไม่ต้องการให้ผู้ใดรับรู้... สิ่งที่เจ้าต้องทำคือการกำหนดวงต่อสู้ให้อยู่เฉพาะเบื้องพระพักตร์เท่านั้น การที่สิงขรจะบังคับช้างให้เตลิดหนีไกลเหมือนควบขับม้าก็จะผิดวิสัย ยามเขาแสร้งเพลี่ยงพล้ำเจ้าก็อย่าถลำรุกไล่ สิ่งนี้จะสะกดไม่ให้สิงขรใช้ความเร็วที่ซ่อนเร้นออกมา”
“ใช่อย่างที่ท่านอาว่า เพียงข้าไม่รุกไล่ติดตาม สิงขรย่อมไม่อาจทำสิ่งน่าละอาย ขับช้างออกจากหน้าพระที่นั่ง”
เจ้าทิพดีใจได้เพียงวูบของความคิด แต่แล้วก็ต้องสะดุดลงเมื่ออาจือกงกล่าวต่อว่า
“แต่คนอย่างสิงขร ถ้าจะต้องพ่ายแพ้ในครั้งนี้ มีหรือจะไม่ยอมเสี่ยงใช้ความเร็วที่ปิดบังออกมา”
เจ้าทิพเห็นพ้องกับการคาดคะเนของผู้อาวุโส ในใจระลึกถึงองค์ประกอบสุดท้าย... คือจังหวะ พลันคำนึงขึ้น หากแม้นเป็นการสู้รบบนพื้นดิน ด้วยกระบวนเพลงของพระมหาเถระที่เราร่ำเรียนมามากกว่า จังหวะของเราย่อมเหนือกว่าสิงขร แต่นี่เป็นการต่อสู้กันบนหลังพญาสัตว์ จังหวะทวนย่อมสัมพันธ์กับจังหวะม้า จังหวะง้าวย่อมสัมพันธ์กับจังหวะช้าง การบังคับช้างของเราคงไม่อาจเทียบสิงขรได้ อีกทั้งช้างที่เราเลือกมาหรือจะเทียบกับช้างศึกประจำตัวของราชองครักษ์
เซียงจือกงมองชายหนุ่มแล้วส่ายหน้าช้าๆ กล่าวต่อว่า
“เจ้าคงคิดว่าการสู้บนหลังช้างจะเสียเปรียบเรื่องจังหวะ และสุดท้ายเจ้าจะพ่ายแพ้... ใช่หรือไม่”
เจ้าทิพได้แต่ผงกศีรษะเป็นเชิงยอมรับ
“เรากล่าวกับเจ้าตั้งแต่แรกแล้ว เรื่องที่สองที่เจ้าต้องเข้าใจ คือการเลือกยุทธวิธีในการต่อสู้ นั่นคือต้องรู้ว่าอะไรคือเหตุให้แพ้ชนะ อะไรเป็นข้อจำกัด จากนั้นจึงเลือกจุดที่จะเอาชนะ และสุดท้าย การกำหนดรูปแบบให้เกิดขึ้น”
ผู้มากประสบการณ์และชำนาญกลวิธีหยุดเว้นระยะที่จะกล่าวต่อ คล้ายต้องการให้เจ้าทิพได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการก้าวผ่านความตายด้วยตนเอง ให้เจ้าตัวได้ตรึกตรองหาเหตุปัจจัยอันจะนำพาตนรอดพ้นอันตราย
“เราจะข้ามไปยังเรื่องสำคัญที่สามก่อน เพราะเป็นเรื่องด่วนที่ต้องกระทำตอนนี้ และมีผลเป็นข้อจำกัดของเรื่องที่สองด้วย”
“เรื่องสำคัญที่สาม... คือเรื่องอะไรหรือท่านอา”
“เรื่องสภาพร่างกายของเจ้า”
--------------------------------------------------
“ด้วยสภาพร่างกายของเจ้าทิพ บวกกับเพิ่งจะได้คัดเลือกช้างไปยังไม่คุ้นกัน ผิดกับช้างศึกชั้นดีในระวางกองราชองครักษ์หลวงของกระหม่อมที่ใช้ฝึกอยู่ประจำ.. กระหม่อมมั่นใจว่าสามารถเอาชนะได้ไม่ยาก พระเจ้าค่ะ” สิงขรทูลต่อองค์ชายอัศวเมฆที่เสด็จมาตรวจความพร้อมของตน
“นับว่าเจ้าฉลาดมาก ที่ล่อเจ้าทิพออกไปไกลสายพระเนตรของพระบิดาและสายตาของทุกคนจนไม่มีใครจับพิรุธเรื่องความเร็วของเจ้าได้”
ราชองครักษ์หลวงหน้าซีดเผือดทันทีที่ได้ยินรับสั่งเท้าความถึงเรื่องดังกล่าว
องค์ชายทรงกำชับต่อว่า
“แต่เจ้าห้ามประมาทเป็นอันขาด ครั้งนี้มันอาจจะไม่หลงกลขับช้างตามเจ้าไป จนไกลห่างสายตาผู้คนอีกก็เป็นได้”
สิงขรสงบฟัง คล้ายเห็นพ้องและลังเลขึ้นทันที
“บางทีเจ้าทิพอาจจะไม่สามารถฝืนทนสภาพบาดเจ็บออกมาต่อสู้ก็เป็นได้ พระเจ้าค่ะ”
“เราก็หวังเช่นนั้น แต่ถ้าเกิดเจ้าทิพขับช้างออกมา เจ้าจำไว้.. จงทำทุกอย่างให้มันพ่ายแพ้ไปให้จงได้ แม้ว่าเรื่องของเจ้าจะต้องถูกเปิดเผยออกมาก็ตาม”
“พระองค์...”
สิงขรอุทานขึ้นในลำคอซึ่งรู้สึกร้อนผากทันที
--------------------------------------------------
เสียงเซ็งแซ่บนอัฒจันทร์ยังคงดังต่อเนื่อง ผู้ชมที่เฝ้ารอการประลองในด่านสุดท้ายต่างพากันวิจารณ์ถึงอาการบาดเจ็บของเจ้าทิพ ว่าจะสามารถกลับเข้ามาประลองต่อไปได้หรือไม่ หรือหากฝืนสู้ก็ไม่น่าจะเป็นคู่ต่อกรของสิงขรได้ ด้วยเห็นฝีมือการบังคับม้าและฝีมือที่ดุดันเหนือกว่า
เซียงจือกงกลับขึ้นมาบนอัฒจันทร์ข้างที่ประทับเรียกความสนใจของทุกคนที่อยู่รายรอบ รวมถึงองค์กษัตริย์ทั้งสองพระนคร
“อาการบาดเจ็บของเจ้าทิพเป็นอย่างไรบ้าง หนักหนาสาหัสประการใดหรือท่านจือกง” เสียงล่ามแปลพระดำรัสถามของพระเจ้านครศรีธรรมราชดังมา
“เจ้าทิพบาดเจ็บสาหัสอยู่พระพุทธเจ้าข้า กระดูกต่างๆ แม้ไม่หักแต่กล้ามเนื้อและเอ็นภายในบาดเจ็บมากทีเดียว หมอหลวงได้ทำการรักษาเบื้องต้นให้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระพักตร์ของพระเจ้าศรีมหาราชฉายถึงพระอาการกังวล หากแต่พระราชธิดาของพระองค์กลับทรงเคร่งเครียดกังวลยิ่งกว่า
“แล้วเขาจะออกมาต่อสู้อีกไหม” พระนางทรงอดรนทนไม่ไหว จนต้องเสียพระกิริยา รับสั่งถามขึ้นขณะเซียงจือกงยังคงเฝ้ากราบทูลพระราชบิดา
“เจ้าทิพยืนยันจะเข้าสู่สนามประลองต่อ ไม่ยอมเป็นผู้แพ้ พระเจ้าค่ะ องค์หญิง”
“แล้วเขาจะต่อสู้ได้อย่างไร ในเมื่อบาดเจ็บอยู่อย่างนั้น”
(มีต่อ)
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทที่ ๑๔ จิตใจที่ไม่ยอมแพ้
บทที่ ๑๔ จิตใจที่ไม่ยอมแพ้
ลานประลองที่ใช้สำหรับการแข่งขันยิงธนูและฟันดาบเมื่อช่วงเช้า ตกบ่ายกลับกลายเป็นลานเตรียมช้างเชือกหนึ่งซึ่งจะถูกใช้ในการประลองฐานที่สาม
ฝุ่นผงภายในถูกลมหอบหนึ่งพัดม้วนวนเรี่ยไปกับพื้น ชวนให้รู้สึกวังเวง แห้งแล้งและเดียวดาย...
แม้ด้านนอกจะแว่วเสียงจอแจคึกคักของผู้คนที่เฝ้ารอชมฉากสุดท้ายของการชิงชัย แต่กลับคล้ายเสียงก่นสาปจากโลกอื่น... โลกที่ไม่เคยมีความปรารถนาดีใดๆ ต่อเจ้าทิพเลย...
ชายหนุ่มนั่งอยู่บนแคร่ข้างช้างของตนซึ่งไปคัดเลือกมาตอนพักเที่ยง ปล่อยร่างให้หมอหลวงตรวจรักษาอาการบาดเจ็บไป
“กระดูกซี่โครงไม่ได้หัก แต่กล้ามเนื้อและเอ็นรอบบริเวณอาจฉีกขาด... ข้าว่าท่านอย่าได้แข็งขืนต่อไปเลย แค่เอี้ยวตัวก็เจ็บปวดมากแล้ว” หมอหลวงวินิจฉัยอาการด้วยสีหน้ากังวล
เจ้าทิพรับฟัง ได้แต่ทอดถอนลมหายใจ นิ่งเงียบไม่กล่าวกระไร
ครั้นแล้วเสียงหนึ่งก็ดังขึ้นเป็นภาษาจีน...
“คิดจะยอมแพ้แล้วหรือ”
“ท่านอาจือกง” ชายหนุ่มเงยหน้าขึ้นมอง แววตาฉายประกายตื้นตัน แม้จะเป็นเพียงคำถามสั้นๆ แต่น้ำเสียงแสดงชัดถึงความอาทรห่วงใย บางทีอาจือกงอาจเป็นคนเดียวที่ตนจะหวังพึ่งได้
“หลานไม่คิดจะยอมแพ้ และไม่เคยคิด... แต่ หลานไม่รู้จะเอาชนะได้อย่างไร” กล่าวทั้งที่น้ำตาคลอเบ้า คิดถึงผลแห่งความพ่ายแพ้ ทั้งถูกสักบ่าประจาน ถูกเนรเทศขับไล่ให้พ้นเขตแดน และอาจถูกปฏิเสธห้ามเข้าเมืองที่มีสัมพันธไมตรีต่อปตานี
“เจ้ากำลังคิดถึงผลของความสูญเสียอยู่ใช่หรือไม่”
เจ้าทิพนิ่งงัน สายตาเพ่งมองผู้เป็นอาซึ่งหยั่งรู้จิตใจตน
“ท่านหมอออกไปเถอะ ให้ข้าได้อยู่กับท่านเซียงจือกงตามลำพัง”
หมอหลวงลุกขึ้นจากแคร่ เก็บล่วมยาเตรียมจากไป แต่ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า
“อย่างไรเสีย ก็อย่าเอาชีวิตไปเสี่ยงต่อเลย... สภาพของท่านคงไม่อาจฝืนอาการบาดเจ็บได้ ไม่มีทางจับอาวุธร่ายรำได้คล่องแคล่วหรอก”
ด้วยความเป็นห่วงในตัวเจ้าทิพ เซียงจือกงซึ่งนั่งอยู่ใกล้ที่ประทับได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตลุกออกมา
“ทำไมถึงคิดว่าเจ้าจะไม่สามารถเอาชนะได้” ผู้ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเลถามขึ้นทันทีที่หมอหลวงผละจากไป
เจ้าทิพก้มหน้านิ่งตอบคำ
“เดิมทีหลานคิดว่ามีจังหวะเพลงอาวุธและความเร็วที่เหนือกว่า... แต่แล้วสิงขรกลับรวดเร็วกว่า อีกทั้งการบังคับช้างม้าก็เป็นจุดอ่อนของหลาน... แล้วตอนนี้ ยิ่งร่างกายได้รับบาดเจ็บ.. หลาน...”
ชายหนุ่มพูดได้เท่านั้น ก็จำต้องหยุด มือบีบรั้งแขนของอาจือกงแน่น เสมือนหนึ่งจะหาที่พึ่งยึดเหนี่ยวไว้ และเหมือนจะพยายามกลั้นน้ำตาไม่ให้หลั่งไหลออกมาอีก
“ถ้าเจ้าถูกเนรเทศ ก็ล่องเรือไปกับอา ท้องฟ้าแผ่นน้ำกว้างใหญ่ คงมีที่ให้เจ้าเริ่มต้นได้”
...ผิดคาด เจ้าทิพส่ายหน้า ฝืนน้ำตามิให้ไหล ขบกรามกล่าวช้าๆ ชัดๆ
“หลานจะออกไปสู้ ขอตายอยู่กลางลานประลอง แต่ไม่ยอมให้ถูกขับไล่”
เซียงจือกงมีรอยยิ้มน้อยๆ ขึ้นที่มุมปาก กล่าวว่า
“ดี ถ้าอย่างนั้นเจ้าต้องเข้าใจเรื่องสำคัญ ๓ เรื่อง”
“เรื่องสำคัญสามเรื่อง...” ชายหนุ่มมองผู้อาวุโสซึ่งตนรักดุจญาติสนิท ทวนคำด้วยความไม่เข้าใจ
“เรื่องแรก สำคัญที่สุดคือจิตใจ” พลางมองเจ้าทิพแล้วกล่าวอย่างลึกซึ้ง “ใจที่โศกเศร้าย่อมมืดมัว มันนำไปสู่ความโหดร้าย.. หรือไม่ก็ความอ่อนแอ เจ้าเป็นคนที่จิตใจดีงาม ย่อมไม่นำไปสู่ความโหดร้าย แต่จะฉุดรั้งเจ้าสู่ความอ่อนแอ”
ชายหนุ่มนั่งนิ่ง พยายามตีความให้เข้าใจ แต่ผู้เป็นอาพลันกล่าวต่อขึ้นว่า
“หากเจ้าพ่ายแพ้ พระบิดาจะทรงรักเจ้ามากขึ้นไหม...”
“ไม่มีทาง” เจ้าทิพตอบชัดเจนทันทีอยู่ในใจ
“แล้วมันจะเกิดประโยชน์อันใดเล่าที่จะมามัวคร่ำครวญเจ็บปวดใจ... ถ้าเจ้าพ่ายแพ้ ตัวเจ้ากับพระบิดาก็จบสิ้นกัน ถ้าไม่จบด้วยชีวิตที่สิ้นไปกลางสนามประลอง ก็จบด้วยการพลัดพรากจากกันตลอดกาล ยืนคนละผืนแผ่นดินตลอดไป...
เจ้าต้องละทิ้งอารมณ์โศกเศร้าออกไปเสีย เพราะมันปิดกั้นสำนึกการควบคุมสภาวะต่างๆ ของร่างกายเจ้า จนสภาพของเจ้าไม่ต่างจากผู้ฝึกอาวุธชั้นต้น”
คำเตือนของอาจือกงเหมือนน้ำเย็นราดรดลงบนศีรษะ เพราะมัวแต่เจ็บแค้นช้ำใจ ทำให้ภวังค์แห่งจิตไม่ก่อเกิด ไม่สามารถใช้ฌานกำหนดกระบวนเพลงอาวุธ เท่ากับไม่มีเปรียบอันใดเหนือกว่าสิงขรเลย... อีกทั้งมีแต่เป็นผู้ชนะและเป็นผู้นำองค์ตุมพะทะนานทองกลับมา เราจึงจะได้ความรักของพระบิดากลับคืน
เสียงอาจือกงยังกล่าวต่อ
“เราได้ยินขุนพลสิงหลแจกแจงว่า บุตรชายของเขามีระดับจิตอยู่ในขั้นที่ ๘ ต่ำกว่าของเจ้าซึ่งอยู่ในขั้นที่ ๙... จงยกระดับจิตของเจ้าและรักษาไว้ให้สูงกว่าของเขา หากยังต้องการเป็นผู้ชนะในครั้งนี้”
เจ้าทิพตาเข้มแวววาว จ้องมองอาจือกงลึกซึ้ง เป็นคำตอบชัดเจนถึงความมุ่งมั่นและเด็ดเดี่ยว บัดนี้ริ้วรอยเศร้าโศกได้ถูกขจัดหายไปแล้ว...
“ดีมาก” ผู้นำกองเรือผ่านมหาสมุทรตบบ่าหลานชาย “เรื่องที่สองที่เจ้าต้องเข้าใจคือ การเลือกยุทธวิธีต่อสู้”
“ยุทธวิธี...” ชายหนุ่มทวนคำ ด้วยไม่แน่ใจว่าอาจือกงจะหมายถึงอะไรอีก... มิใช่การออกไปสู้รบด้วยฝีมืออาวุธหรอกหรือ
“เราผ่านดินแดนทะเลใต้มาหลายครา ได้ยินหลักการต่อสู้ของดินแดนแถบนี้มาก็มากมาย หลักสำคัญที่คล้ายคลึงกันคือการกำหนดธาตุทั้งสี่ในตัว มีดิน น้ำ ลม ไฟ ประสานเข้ากับ ๔ องค์ประกอบคือ หนึ่งจิต สองจังหวะ สามความเร็ว และสี่ความแข็งแกร่ง
จิตเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะควบคุมองค์ประกอบทั้งสาม... เมื่อยามเผชิญคู่ต่อสู้ที่สูสีหรือเหนือกว่า ให้พยายามสะกดคู่ต่อสู้ด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วนต่อ ๑ ส่วน”
เจ้าทิพฟังและพยายามตีความไปแต่ก็ไม่เข้าใจ... จนผู้ผ่านไปทั่วทะเลใต้อธิบายต่อว่า
“ความเร็วข่มจังหวะ จังหวะข่มความเข้มแข็ง และความเข้มแข็งข่มความเร็ว... ทั้งหมดนี้แม้เป็นหลักธรรมชาติ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่า... ความเร็วแค่ไหนจึงทำลายจังหวะ จังหวะล้ำเลิศแค่ไหนจึงจะทลายความเข้มแข็ง และแข็งแกร่งแค่ไหนจึงจะสะกดข่มความเร็ว”
หยุดชั่วครู่คล้ายให้หลานชายได้ใคร่ครวญพิจารณา ก่อนกล่าวต่อว่า
“มีแต่อาศัย ๒ สะกด ๑ จึงได้ผลชนะที่แน่นอน ใช้ความเร็วและจังหวะ ย่อมชนะความแข็งแกร่ง... ใช้จังหวะและความแข็งแกร่งย่อมชนะความเร็ว... และใช้ความเร็วบวกความแข็งแกร่งจึงชนะจังหวะ”
ชายหนุ่มคล้ายเริ่มเข้าใจ พึมพำขึ้น
“เมื่อระดับจิตของเรากลับสู่ระดับภวังค์สำนึก การควบคุมให้ความแข็งแกร่งเหนือกว่าสิงขรที่อยู่ในระดับจิตสำนึกย่อมเป็นไปได้ เราย่อมได้เปรียบ ๑ ส่วนแล้ว ...แต่...” พลันมองหน้าอาจือกง หยุดไว้ไม่กล่าวต่อ
“เจ้าคิดว่าสิงขรกำหนดความเร็วได้เร็วกว่าเจ้า และเพราะความเชี่ยวชาญในการบังคับช้าง จะทำให้จังหวะเหนือกว่าเจ้า กลายเป็นสิงขรมีเปรียบในอีก ๒ ส่วนที่เหลือ”
“เป็นเช่นนั้นจริง ท่านอา”
“เราแม้ไม่รู้ว่าเกิดสิ่งใดขึ้นกับความเร็วของสิงขร แต่รู้ว่าเรื่องนี้มีเลศนัย... เราอาศัยกล้องส่องขยายทะเลไกล ส่องเห็นสิงขรจงใจล่อลวงให้เจ้าขับม้าตามออกไปให้ห่างผู้คน ครั้นไกลเกินกว่าสายตาของผู้ใดจะจับสังเกตได้ จึงกำหนดจิตเปลี่ยนความเร็ว เป็นความเร็วที่เหนือกว่าเจ้า”
“เป็นเช่นนั้นจริงๆ ท่านอา ด้วยหลักวิชาการกำหนดจิตของลังกาสุกะ ไม่มีทางที่ผู้ใดจะเปลี่ยนมิติความเร็วได้ถ้ายังอยู่ในระดับจิตสำนึก... เท่าที่ท่านขุนพลบิดาของเขากล่าว สิงขรเองก็ยังอยู่ในระดับจิตสำนึก”
“อืม เราเชื่อว่าเรื่องนี้อาจไม่มีผู้ใดในปตานีล่วงรู้ และสิงขรเองก็ไม่ต้องการให้ผู้ใดรับรู้... สิ่งที่เจ้าต้องทำคือการกำหนดวงต่อสู้ให้อยู่เฉพาะเบื้องพระพักตร์เท่านั้น การที่สิงขรจะบังคับช้างให้เตลิดหนีไกลเหมือนควบขับม้าก็จะผิดวิสัย ยามเขาแสร้งเพลี่ยงพล้ำเจ้าก็อย่าถลำรุกไล่ สิ่งนี้จะสะกดไม่ให้สิงขรใช้ความเร็วที่ซ่อนเร้นออกมา”
“ใช่อย่างที่ท่านอาว่า เพียงข้าไม่รุกไล่ติดตาม สิงขรย่อมไม่อาจทำสิ่งน่าละอาย ขับช้างออกจากหน้าพระที่นั่ง”
เจ้าทิพดีใจได้เพียงวูบของความคิด แต่แล้วก็ต้องสะดุดลงเมื่ออาจือกงกล่าวต่อว่า
“แต่คนอย่างสิงขร ถ้าจะต้องพ่ายแพ้ในครั้งนี้ มีหรือจะไม่ยอมเสี่ยงใช้ความเร็วที่ปิดบังออกมา”
เจ้าทิพเห็นพ้องกับการคาดคะเนของผู้อาวุโส ในใจระลึกถึงองค์ประกอบสุดท้าย... คือจังหวะ พลันคำนึงขึ้น หากแม้นเป็นการสู้รบบนพื้นดิน ด้วยกระบวนเพลงของพระมหาเถระที่เราร่ำเรียนมามากกว่า จังหวะของเราย่อมเหนือกว่าสิงขร แต่นี่เป็นการต่อสู้กันบนหลังพญาสัตว์ จังหวะทวนย่อมสัมพันธ์กับจังหวะม้า จังหวะง้าวย่อมสัมพันธ์กับจังหวะช้าง การบังคับช้างของเราคงไม่อาจเทียบสิงขรได้ อีกทั้งช้างที่เราเลือกมาหรือจะเทียบกับช้างศึกประจำตัวของราชองครักษ์
เซียงจือกงมองชายหนุ่มแล้วส่ายหน้าช้าๆ กล่าวต่อว่า
“เจ้าคงคิดว่าการสู้บนหลังช้างจะเสียเปรียบเรื่องจังหวะ และสุดท้ายเจ้าจะพ่ายแพ้... ใช่หรือไม่”
เจ้าทิพได้แต่ผงกศีรษะเป็นเชิงยอมรับ
“เรากล่าวกับเจ้าตั้งแต่แรกแล้ว เรื่องที่สองที่เจ้าต้องเข้าใจ คือการเลือกยุทธวิธีในการต่อสู้ นั่นคือต้องรู้ว่าอะไรคือเหตุให้แพ้ชนะ อะไรเป็นข้อจำกัด จากนั้นจึงเลือกจุดที่จะเอาชนะ และสุดท้าย การกำหนดรูปแบบให้เกิดขึ้น”
ผู้มากประสบการณ์และชำนาญกลวิธีหยุดเว้นระยะที่จะกล่าวต่อ คล้ายต้องการให้เจ้าทิพได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการก้าวผ่านความตายด้วยตนเอง ให้เจ้าตัวได้ตรึกตรองหาเหตุปัจจัยอันจะนำพาตนรอดพ้นอันตราย
“เราจะข้ามไปยังเรื่องสำคัญที่สามก่อน เพราะเป็นเรื่องด่วนที่ต้องกระทำตอนนี้ และมีผลเป็นข้อจำกัดของเรื่องที่สองด้วย”
“เรื่องสำคัญที่สาม... คือเรื่องอะไรหรือท่านอา”
“เรื่องสภาพร่างกายของเจ้า”
--------------------------------------------------
“ด้วยสภาพร่างกายของเจ้าทิพ บวกกับเพิ่งจะได้คัดเลือกช้างไปยังไม่คุ้นกัน ผิดกับช้างศึกชั้นดีในระวางกองราชองครักษ์หลวงของกระหม่อมที่ใช้ฝึกอยู่ประจำ.. กระหม่อมมั่นใจว่าสามารถเอาชนะได้ไม่ยาก พระเจ้าค่ะ” สิงขรทูลต่อองค์ชายอัศวเมฆที่เสด็จมาตรวจความพร้อมของตน
“นับว่าเจ้าฉลาดมาก ที่ล่อเจ้าทิพออกไปไกลสายพระเนตรของพระบิดาและสายตาของทุกคนจนไม่มีใครจับพิรุธเรื่องความเร็วของเจ้าได้”
ราชองครักษ์หลวงหน้าซีดเผือดทันทีที่ได้ยินรับสั่งเท้าความถึงเรื่องดังกล่าว
องค์ชายทรงกำชับต่อว่า
“แต่เจ้าห้ามประมาทเป็นอันขาด ครั้งนี้มันอาจจะไม่หลงกลขับช้างตามเจ้าไป จนไกลห่างสายตาผู้คนอีกก็เป็นได้”
สิงขรสงบฟัง คล้ายเห็นพ้องและลังเลขึ้นทันที
“บางทีเจ้าทิพอาจจะไม่สามารถฝืนทนสภาพบาดเจ็บออกมาต่อสู้ก็เป็นได้ พระเจ้าค่ะ”
“เราก็หวังเช่นนั้น แต่ถ้าเกิดเจ้าทิพขับช้างออกมา เจ้าจำไว้.. จงทำทุกอย่างให้มันพ่ายแพ้ไปให้จงได้ แม้ว่าเรื่องของเจ้าจะต้องถูกเปิดเผยออกมาก็ตาม”
“พระองค์...”
สิงขรอุทานขึ้นในลำคอซึ่งรู้สึกร้อนผากทันที
--------------------------------------------------
เสียงเซ็งแซ่บนอัฒจันทร์ยังคงดังต่อเนื่อง ผู้ชมที่เฝ้ารอการประลองในด่านสุดท้ายต่างพากันวิจารณ์ถึงอาการบาดเจ็บของเจ้าทิพ ว่าจะสามารถกลับเข้ามาประลองต่อไปได้หรือไม่ หรือหากฝืนสู้ก็ไม่น่าจะเป็นคู่ต่อกรของสิงขรได้ ด้วยเห็นฝีมือการบังคับม้าและฝีมือที่ดุดันเหนือกว่า
เซียงจือกงกลับขึ้นมาบนอัฒจันทร์ข้างที่ประทับเรียกความสนใจของทุกคนที่อยู่รายรอบ รวมถึงองค์กษัตริย์ทั้งสองพระนคร
“อาการบาดเจ็บของเจ้าทิพเป็นอย่างไรบ้าง หนักหนาสาหัสประการใดหรือท่านจือกง” เสียงล่ามแปลพระดำรัสถามของพระเจ้านครศรีธรรมราชดังมา
“เจ้าทิพบาดเจ็บสาหัสอยู่พระพุทธเจ้าข้า กระดูกต่างๆ แม้ไม่หักแต่กล้ามเนื้อและเอ็นภายในบาดเจ็บมากทีเดียว หมอหลวงได้ทำการรักษาเบื้องต้นให้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
พระพักตร์ของพระเจ้าศรีมหาราชฉายถึงพระอาการกังวล หากแต่พระราชธิดาของพระองค์กลับทรงเคร่งเครียดกังวลยิ่งกว่า
“แล้วเขาจะออกมาต่อสู้อีกไหม” พระนางทรงอดรนทนไม่ไหว จนต้องเสียพระกิริยา รับสั่งถามขึ้นขณะเซียงจือกงยังคงเฝ้ากราบทูลพระราชบิดา
“เจ้าทิพยืนยันจะเข้าสู่สนามประลองต่อ ไม่ยอมเป็นผู้แพ้ พระเจ้าค่ะ องค์หญิง”
“แล้วเขาจะต่อสู้ได้อย่างไร ในเมื่อบาดเจ็บอยู่อย่างนั้น”
(มีต่อ)