คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คำถามนี้มาตลอด ขอเอาคำตอบเก่าๆ มาให้อ่านนะคะ
https://ppantip.com/topic/37029889
คอมเม้นท์ที่ 2
และกระทู้ของคุณต๊กโกวคิ้วป้าย เป็นอีกแหล่งให้อ่านค่ะ
https://ppantip.com/topic/37656183
https://ppantip.com/topic/37029889
คอมเม้นท์ที่ 2
และกระทู้ของคุณต๊กโกวคิ้วป้าย เป็นอีกแหล่งให้อ่านค่ะ
https://ppantip.com/topic/37656183
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
หลักฐานสมัยอยุทธยาถึงรัตนโกสินทร์มีการใช้งานคำว่า "ไทย" หรือ "ไท" มาโดยตลอดครับ ผมได้นำเสนอหลักฐานไว้โดยละเอียดในบทความเรื่อง "คำว่า ไท-ไทย ในสมัยอยุทธยา" แล้ว สามารถเข้าไปศึกษาได้ครับ https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/3357211281008985/
ในที่นี้ขอนำเสนอหลักฐานที่กล่าวถึงการใช้งานคำว่า "ไทย" ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์และยุคใกล้เคียงครับ
จดหมายเหตุราชอาณาจักรสยาม (Du Royaume de Siam) ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินเข้ามาในสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ระบุว่า
"ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย (Tàï) แปลว่า อิสระ อันเป็นความหมายตามศัพท์ในภาษาของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาภูมิใจที่ใช้นามว่า ฟรังซ์ (Franc) อันเป็นนามที่บรรพบุรุษของพวกเราได้ถือใช้เมื่อสลัดแอกชาติโกลออกจากอำนาจปกครองของจักรวรรดิโรมัน. ผู้ที่รู้ภาษาพะโคยืนยันว่า สยาม แปลว่า อิสระ ในภาษานั้นเหมือนกัน ฉะนั้นพวกปอรตุเกสจึงน่า จะนำเอาคำๆ นี้มาใช้เรียกสยามก็เป็นได้ เพราะได้รู้จักรชาวสยามจากปากคำของชาวพะโค (มอญ)
อนึ่ง นาวาร์แรต (Navarrete) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ พงศาวดารแห่งราชอาณาจักรจีน ตอนที่ ๑ บทที่ ๕ ว่า คำว่า สยาม ที่เขียน เสียน (Sian) นั้น มาจากคำสองคำ คือ เสียนโล้ (Sien Lô) แต่มิได้บอกไว้ว่าคำสองคำนี้หมายความว่ากระไร และมาจากภาษาไหน แม้จะได้สรุปเอาว่าเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียก เมืองไทย (Meüang Tàï) จึงเป็นนามที่ชาวสยามใช้เรียกราชอาณาจักรสยาม (เพราะคำว่า เมือง แปลว่า ราชอาณาจักร) และคำ ๆ นี้ เขียนอย่างง่าย ๆ ว่า Muantay ปรากฏอยู่ในหนังสือของ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ (Vincent le Blanc) และในแผนที่ภูมิศาสตร์หลายแห่ง ว่าเป็นราชอาณาจักรหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับพะโค แต่ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ คงไม่ทราบว่านั่นแล้วคือราชอาณาจักรสยาม เพราะคงมิได้เฉลียวใจว่าคำว่าสยามกับไทยนั้น เป็นคำสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน."
ลา ลูแบร์ กล่าวต่อว่า “อนึ่ง ชาวสยามที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนี้ เรียกตนเองว่า ไทยน้อย (Tàï-nôë, Siams-Petits) และตามที่ข้าพเจ้าได้ยินมา ก็ยังมีชนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งยังป่าเถื่อนอยู่มาก เรียกกันว่า ไทยใหญ่ (Tàï-yàï, Siams-grands) และตั้งสำนักหลักแหล่งอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ”
หนังสือสัญญาไทย-ฝรั่งเศส รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๒๓๑ (ตามปฏิทินปัจจุบันเป็น พ.ศ. ๒๒๓๐) ต้นฉบับอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กระทรวงอาณานิคม ประเทศฝรั่งเศส เนื้อหากล่าวถึงการทำหนังสือสัญญาว่า
“ในี้ ภาษาไทยสามชบับ ภาษาฝรังเสดสามชบับ ภาษาบ์ตุกกรรสามช่บับ แลผูมีชือทังสองผ์ายนั้น ฃีดแกงไดปีดตรา เบ์นสำคันทุกช่บับ เขียนในเมีองลพบุรีย ในวันพระหัดเดีอนอ้ายฃึ้นแบ์ดค่ำ พุท่สักราชสองพันสองร้อยสามสีบเบดปีเถาะนพศก”
คำว่า “ไทยภาษา” ใน “ไตร่ยภูม พระมาไลย” สมัยอยุทธยาตอนปลาย เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส
คำว่า อีงบาศโดรไทย และ ราช่ทูตไทย ในบันทึกออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) พ.ศ. ๒๒๒๙ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ต้นฉบับเก็บรักษาที่หอสมุดคณะมิสซังต่างประเทศ กรุงปารีส (Missions étrangères de Paris) ที่มาภาพ : ประชุมจดหมายเหตุออกพระวิสุทสุนทร (โกษาปาน)
หลักฐานสมัยพระเพทราชา มีการใช้คำว่า "ชาวไทย" "กรุงไทย" "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงไทย" พบในจดหมายของเจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) ที่ส่งไปถึงฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๒๓๖
จดหมายเจ้าพระญาศรีธรรมราชปานถึงพระอธิกรณ์ เดอ ลา แชส (François de la Chaise) พระไถ่บาป (confessor) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
จดหมายเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) ส่งถึง มองซิเออร์ เดอ ปงต์ชาร์แตรง (Jérôme Phélypeaux, comte de Pontchartrain) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศส
วรรณกรรมเก่าๆของสมัยอยุทธยาก็ใช้คำว่า "ไทย" เช่น วรรณคดียุคตันอยุทธยาอย่างลิลิตพระลอ "...ฝ่ายข้างยวนแพ้พ่าย ฝ่ายข้างลาวประลัย ฝ่ายข้างไทยไชเยศ คืนยังประเทศพิศาล..."
นิราศ "ตนทางฝรังงเสษ" ที่เขียนโดยกวีที่ตามคณะทูตไปฝรั่งเศสกับออกพระวิสุทสุนธร (ปาน)
'เมื่อจากบันตัม ใจพี่กระสัน รัญจวนกวนใจ
เห็นเมืองนี้เอย ดุจเห็นเมืองไทย แต่นี้จากไป ไกลเมืองแลนา'
หลักฐานร่วมสมัยของยุโรปให้ข้อมูลว่า ไท-ไทย เป็น คือชื่อที่คนพื้นเมืองใช้เรียกตนเอง (endonym) ในขณะที่ สยาม เป็นชื่อที่คนนอกประเทศเรียก (exonym) ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทย สอดคล้องกับจดหมายของเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) ถึงเมอซิเออร์ ปงชาร์แตรง ซึ่งมีทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส แปลคำว่า “ชาวไทย” เป็น les Siamois แปลคำว่า “สํมเดจ่พระม่หากร่ษัตราธีราช่เจ้ากรุงไทย่” เป็น le Grand Roi de Siam หรือในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ที่แปลคำว่า ไทยน้อย (Tàï-nôë) เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Siams-Petits
หลักฐานประวัติศาสตร์ของอยุทธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชกาลที่ ๔ ที่ใช้ภาษาไทย มีคำว่า ไท-ไทย อย่างแพร่หลาย ในขณะที่คำว่า สฺยาม/สาม ส่วนใหญ่ปรากฏในวรรณกรรมทางศาสนาที่ใช้ภาษาบาลี-สันสฤตเป็นหลัก ไม่ค่อยปรากฏในเอกสารราชการหรือใช้งานโดยทั่วไปในเอกสารภาษาไทยมากนัก เพิ่งมาใช้เรียกชื่ออาณาจักรอย่างเป็นทางการในภาษาไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ ครับ
ในอดีตจะเรียกขานกษัตริย์ก็เรียกว่า "พระเจ้าอยู่หัวกรุงศรีอยุทธยา" "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" หรือ "พระมหากษัตรยาธิราชเจ้ากรุงไทย" ไม่เคยเรียกว่า "พระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม" ในภาษาไทยก่อนรัชกาลที่ ๔
ก่อนยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังใช้กันอย่างแพร่หลาย ถ้าจอมพล ป. สร้างคำว่า "ไทย" ขึ้นมาจริง คงไม่มีคำนี้อยู่ในลายพระหัตถ์โคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสสติของรัชกาลที่ ๖ ครับ
แต่ถึงจะใช้คำว่า ไทย ที่สะท้อนว่าคนไทยสมัยโบราณมีสำนึกรับรู้ความเป็นชาติอยู่ในระดับหนึ่งว่ากลุ่มคนที่ใช้ภาษาเดียวกันมีวัฒนธรรมเหมือนกันเป็นชนชาติเดียวกัน (ในแง่วัฒนธรรม ไม่ใช่พันธุกรรม) แต่ความเป็น "รัฐชาติไทย" ที่ทุกคนในชาติมีสำนึกรับรู้ว่าทุกคนในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันเป็นคนไทยร่วมเลือดเนื้อเดียวกัน หรือมีสำนึกว่าต้องปกป้องประเทศชาติซึ่งเป็นสถาบันหลักยังไม่มีในอดีตครับ
สำหรับสุโขทัยกับอยุทธยา มีหลักฐานว่าทั้งสองใช้ภาษาไทยเหมือนกัน มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน แต่ในสมัยแรกยังไม่ปรากฏว่าทั้งสองรัฐคิดว่าอีกฝ่ายเป็น "คนไทย" เหมือนกัน มีการทำสงครามกันอยู่แม้จะเป็นรัฐเครือญาติ แม้ว่าต่อมาอยุทธยาจะรวมสุโขทัยไว้ในอำนาจได้ แต่ความรู้สึกแตกต่างนั้นก็มีอยู่ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าราชวงศ์พระร่วงเดิมคือพระมหาธรรมราชที่ครองเมืองพิษณุโลกกับอยุทธยา ซึ่งกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กรุงศรีอยุทธยาเสียแก่หงสาวดี
แต่หลังจากนี้เข้าใจว่าความบาดหมางระหว่างเมืองเหนือกับเมืองใต้น่าจะหมดไป เพราะเมื่อพระมหาธรรมราชาได้ครองกรุงศรีอยุทธยา สมเด็จพระนเรศวรก็ได้ครองพิษณุโลก จึงไม่น่าจะมีปัญหากันอีก นอกจากนี้เพราะพลเมืองถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีมาก ทำให้ต้องมีการเทครัวหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาป้องกันพระนครเวลารับศึกหงสาวดี จึงน่าจะทำให้พลเมืองเหนือใต้กลมกลืนกันในเวลาต่อมา
ราวสมัยอยุทธยาตอนกลางช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่พบหลักฐานการเรียกแผ่นดินว่า "กรุงไทย" ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย (และยังมีลาวและมอญที่นับเป็นประชากรส่วนใหญ่) และใช้ภาษาไทยเป็นหลัก จึงสันนิษฐานว่าคนไทยในสมัยอยุทธยาน่าจะรับรู้ได้ว่าคนที่มีวัฒนธรรมเหมือนกันและใช้ภาษาเดียวกันเป็นคนไทยเหมือนกัน แม้ว่ารูปแบบความเป็นไทยในสมัยนั้นคงยังไม่เหมือนกับ "ประเทศไทย" ในปัจจุบันก็ตาม
ดินแดนที่มีคนไทยเป็นประชากรหลักอาณาเขตที่กรุงศรีอยุทธยามีอำนาจปกครองโดยตรง (ไม่นับประเทศราช) คือ ทางเหนือก็แค่ภาคกลางตอนบนคือบริเวณของรัฐสุโขทัยเดิม อีสานก็แค่แถบนครราชสีมา พิมาย ทางใต้แค่นครศรีธรรมราช พัทลุง
หัวเมืองอื่นๆ ที่เป็นประเทศราชอย่างล้านนา ล้านช้างบางส่วน กับภาคอีสานซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน อยุทธยาไม่เคยนับว่าเป็นชาติเดียวกับตนเอง แต่เรียกรวมๆ ว่า "ลาว" เช่นเดียวกับทางรัฐมลายูภาคใต้ที่ถูกเรียกว่า "แขก" ซึ่งก็ถูกเรียกเช่นนี้มาจนสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
ล้านนา แม้จะมีหลักฐานว่าเรียกตนเองว่า "ไท" โดยเป็นชาว "ไทยวน" แต่อยุทธยานับเป็น "ลาว" มาโดยตลอด ล้านนาก็เรียกดินแดนสุโขทัยและอยุทธยาที่อยู่ใต้ตนเองลงไปว่า "เมืองใต้" เป็นอีกดินแดนหนึ่ง (เหมือนกับที่อยุทธยาเคยเรียกดินแดนของสุโขทัยว่า "เมืองเหนือ") มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะมีความพยายามผนวกหัวเมืองล้านนาเข้ากับการปกครองของสยามในยุคหลัง แต่ยังมีความแปลกแยกในเรื่องเชื้อชาติอยู่ ในรัชกาลที่ ๗ ยังปรากฏการเรียกคนล้านนาว่า "ลาว" อยู่
ล้านนาเองน่ามีความใกล้ชิดกับพม่ามากกว่าไทย เพราะว่าเคยตกเป็นประเทศราชของพม่าตั้งแต่ยุคหงสาวดีมาเกือบสองร้อยปี ซึ่งราชสำนักพม่าเองได้ผนวกหัวเมืองของล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่าอย่างสมบูรณ์ โดยตั้งให้เชียงใหม่และเชียงแสนเป็นเมืองที่ปกครองโดยข้าหลวง (เมียวหวุ่น-Myowun) ชาวพม่าโดยตรง ก่อนที่จะกบฏต่อพม่ามาเข้ากับสยามในสมัยธนบุรี หลังจากนั้นมีความใกล้ชิดกับสยามมากขึ้น แต่ยังเป็น "ลาว" ในสายตาไทยสยามอยู่ครับ
ในสมัยอยุทธยาถึงรัชกาลที่ ๔ ยังมีรูปแบบการปกครองแบบ "รัฐราชาธิราช" มีอำนาจหลวมๆ เหนือเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชอย่างล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา มลายูซึ่งอยู่ใต้บารมีกษัตริย์เอกราช โดยมีพันธะด้วยการถวายบรรณาการดอกไม้เงินดอกไม้ทองหรือองค์ประกัน โดยที่เจ้าเอกราชไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวเรื่องการปกครองหรือธรรมเนียมปฏิบัติภายใน เขตแดนของสยามไม่ได้มีแน่นอนและส่วนกลางยังไม่มีอำนาจในการบริหารหัวเมืองและประเทศราชที่ห่างไกลอย่างเด็ดขาดไพร่หัวเมืองอาจมีความผูกพันกับข้าราชการท้องถิ่นของตนมากกว่าส่วนกลาง
ในสมัยที่รัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้เปลี่ยนสถานะ "รัฐราชาธิราช" เป็น "รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์" โดยดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งในการปกครองอาณาจักรและพุทธจักร เลิกระบบไพร่ทาสเพื่อลดอำนาจขุนนางดึงอำนาจสูงสุดเข้าสู่พระมหากษัตริย์ ผนวกหัวเมืองประเทศราชซึ่งเคยมีอิสระในการปกครองตนเองเข้ามาเป็นหัวเมืองของสยามโดยการตั้งมณฑลเทศาภิบาล ทำให้สถานะของ "ประเทศสยาม" (เข้าใจว่าเพิ่งมีคำนี้ในสมัย ร.๔-๕ จริงๆสมัยนั้นก็มีการเรียก 'ประเทศไทย' แล้ว แต่โดยทางการแล้วยังเป็น 'ประเทศสยาม') พัฒนาขึ้นเป็นรัฐสมัยใหม่ซึ่งมีเขตแดนชัดเจน
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ มณฑลเทศภิบาลถูกยุบเหลือแต่จังหวัดแบบในปัจจุบัน จนมาถึงสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการออก "รัฐนิยม" เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติด้วยแนวคิดชาตินิยม ทำให้ชื่อประเทศจาก "ประเทศสยาม" กลายเป็น "ประเทศไทย" อย่างในปัจจุบัน ชนชาติทั้งหลายที่อาศัยอยู่ซึ่งตั้งแต่โบราณมีหลากหลายทั้งไทย ลาว มอญ เขมร ญวน จาม จีน ชวา มลายู ฯลฯ จึงถูกเปลี่ยนเป็น "คนไทย" ทั้งหมด ซึ่งก็น่าจะใกล้เคียงกับ "ประเทศไทย" หรือ "ชาติไทย" ในปัจจุบันที่สุดครับ
ในที่นี้ขอนำเสนอหลักฐานที่กล่าวถึงการใช้งานคำว่า "ไทย" ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์และยุคใกล้เคียงครับ
จดหมายเหตุราชอาณาจักรสยาม (Du Royaume de Siam) ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศสที่เดินเข้ามาในสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ระบุว่า
"ชาวสยามเรียกตนว่า ไทย (Tàï) แปลว่า อิสระ อันเป็นความหมายตามศัพท์ในภาษาของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน พวกเขาภูมิใจที่ใช้นามว่า ฟรังซ์ (Franc) อันเป็นนามที่บรรพบุรุษของพวกเราได้ถือใช้เมื่อสลัดแอกชาติโกลออกจากอำนาจปกครองของจักรวรรดิโรมัน. ผู้ที่รู้ภาษาพะโคยืนยันว่า สยาม แปลว่า อิสระ ในภาษานั้นเหมือนกัน ฉะนั้นพวกปอรตุเกสจึงน่า จะนำเอาคำๆ นี้มาใช้เรียกสยามก็เป็นได้ เพราะได้รู้จักรชาวสยามจากปากคำของชาวพะโค (มอญ)
อนึ่ง นาวาร์แรต (Navarrete) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ พงศาวดารแห่งราชอาณาจักรจีน ตอนที่ ๑ บทที่ ๕ ว่า คำว่า สยาม ที่เขียน เสียน (Sian) นั้น มาจากคำสองคำ คือ เสียนโล้ (Sien Lô) แต่มิได้บอกไว้ว่าคำสองคำนี้หมายความว่ากระไร และมาจากภาษาไหน แม้จะได้สรุปเอาว่าเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียก เมืองไทย (Meüang Tàï) จึงเป็นนามที่ชาวสยามใช้เรียกราชอาณาจักรสยาม (เพราะคำว่า เมือง แปลว่า ราชอาณาจักร) และคำ ๆ นี้ เขียนอย่างง่าย ๆ ว่า Muantay ปรากฏอยู่ในหนังสือของ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ (Vincent le Blanc) และในแผนที่ภูมิศาสตร์หลายแห่ง ว่าเป็นราชอาณาจักรหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับพะโค แต่ แว็งซังต์ เลอะ บลังก์ คงไม่ทราบว่านั่นแล้วคือราชอาณาจักรสยาม เพราะคงมิได้เฉลียวใจว่าคำว่าสยามกับไทยนั้น เป็นคำสองคำที่มีความแตกต่างกัน แต่หมายถึงพลเมืองของประเทศเดียวกัน."
ลา ลูแบร์ กล่าวต่อว่า “อนึ่ง ชาวสยามที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงนี้ เรียกตนเองว่า ไทยน้อย (Tàï-nôë, Siams-Petits) และตามที่ข้าพเจ้าได้ยินมา ก็ยังมีชนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งยังป่าเถื่อนอยู่มาก เรียกกันว่า ไทยใหญ่ (Tàï-yàï, Siams-grands) และตั้งสำนักหลักแหล่งอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือ”
หนังสือสัญญาไทย-ฝรั่งเศส รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ปีเถาะ พ.ศ. ๒๒๓๑ (ตามปฏิทินปัจจุบันเป็น พ.ศ. ๒๒๓๐) ต้นฉบับอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กระทรวงอาณานิคม ประเทศฝรั่งเศส เนื้อหากล่าวถึงการทำหนังสือสัญญาว่า
“ในี้ ภาษาไทยสามชบับ ภาษาฝรังเสดสามชบับ ภาษาบ์ตุกกรรสามช่บับ แลผูมีชือทังสองผ์ายนั้น ฃีดแกงไดปีดตรา เบ์นสำคันทุกช่บับ เขียนในเมีองลพบุรีย ในวันพระหัดเดีอนอ้ายฃึ้นแบ์ดค่ำ พุท่สักราชสองพันสองร้อยสามสีบเบดปีเถาะนพศก”
คำว่า “ไทยภาษา” ใน “ไตร่ยภูม พระมาไลย” สมัยอยุทธยาตอนปลาย เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส
คำว่า อีงบาศโดรไทย และ ราช่ทูตไทย ในบันทึกออกพระวิสุทสุนธร (ปาน) พ.ศ. ๒๒๒๙ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ต้นฉบับเก็บรักษาที่หอสมุดคณะมิสซังต่างประเทศ กรุงปารีส (Missions étrangères de Paris) ที่มาภาพ : ประชุมจดหมายเหตุออกพระวิสุทสุนทร (โกษาปาน)
หลักฐานสมัยพระเพทราชา มีการใช้คำว่า "ชาวไทย" "กรุงไทย" "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงไทย" พบในจดหมายของเจ้าพระญาศรีธรรมราช (ปาน) ที่ส่งไปถึงฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๒๓๖
จดหมายเจ้าพระญาศรีธรรมราชปานถึงพระอธิกรณ์ เดอ ลา แชส (François de la Chaise) พระไถ่บาป (confessor) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
จดหมายเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) ส่งถึง มองซิเออร์ เดอ ปงต์ชาร์แตรง (Jérôme Phélypeaux, comte de Pontchartrain) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือฝรั่งเศส
วรรณกรรมเก่าๆของสมัยอยุทธยาก็ใช้คำว่า "ไทย" เช่น วรรณคดียุคตันอยุทธยาอย่างลิลิตพระลอ "...ฝ่ายข้างยวนแพ้พ่าย ฝ่ายข้างลาวประลัย ฝ่ายข้างไทยไชเยศ คืนยังประเทศพิศาล..."
นิราศ "ตนทางฝรังงเสษ" ที่เขียนโดยกวีที่ตามคณะทูตไปฝรั่งเศสกับออกพระวิสุทสุนธร (ปาน)
'เมื่อจากบันตัม ใจพี่กระสัน รัญจวนกวนใจ
เห็นเมืองนี้เอย ดุจเห็นเมืองไทย แต่นี้จากไป ไกลเมืองแลนา'
หลักฐานร่วมสมัยของยุโรปให้ข้อมูลว่า ไท-ไทย เป็น คือชื่อที่คนพื้นเมืองใช้เรียกตนเอง (endonym) ในขณะที่ สยาม เป็นชื่อที่คนนอกประเทศเรียก (exonym) ซึ่งไม่เป็นที่คุ้นเคยของคนไทย สอดคล้องกับจดหมายของเจ้าพระยาศรีธรรมราช (ปาน) ถึงเมอซิเออร์ ปงชาร์แตรง ซึ่งมีทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส แปลคำว่า “ชาวไทย” เป็น les Siamois แปลคำว่า “สํมเดจ่พระม่หากร่ษัตราธีราช่เจ้ากรุงไทย่” เป็น le Grand Roi de Siam หรือในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ที่แปลคำว่า ไทยน้อย (Tàï-nôë) เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Siams-Petits
หลักฐานประวัติศาสตร์ของอยุทธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชกาลที่ ๔ ที่ใช้ภาษาไทย มีคำว่า ไท-ไทย อย่างแพร่หลาย ในขณะที่คำว่า สฺยาม/สาม ส่วนใหญ่ปรากฏในวรรณกรรมทางศาสนาที่ใช้ภาษาบาลี-สันสฤตเป็นหลัก ไม่ค่อยปรากฏในเอกสารราชการหรือใช้งานโดยทั่วไปในเอกสารภาษาไทยมากนัก เพิ่งมาใช้เรียกชื่ออาณาจักรอย่างเป็นทางการในภาษาไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ ครับ
ในอดีตจะเรียกขานกษัตริย์ก็เรียกว่า "พระเจ้าอยู่หัวกรุงศรีอยุทธยา" "พระมหากษัตราธิราชเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" หรือ "พระมหากษัตรยาธิราชเจ้ากรุงไทย" ไม่เคยเรียกว่า "พระเจ้าอยู่หัวกรุงสยาม" ในภาษาไทยก่อนรัชกาลที่ ๔
ก่อนยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังใช้กันอย่างแพร่หลาย ถ้าจอมพล ป. สร้างคำว่า "ไทย" ขึ้นมาจริง คงไม่มีคำนี้อยู่ในลายพระหัตถ์โคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสสติของรัชกาลที่ ๖ ครับ
แต่ถึงจะใช้คำว่า ไทย ที่สะท้อนว่าคนไทยสมัยโบราณมีสำนึกรับรู้ความเป็นชาติอยู่ในระดับหนึ่งว่ากลุ่มคนที่ใช้ภาษาเดียวกันมีวัฒนธรรมเหมือนกันเป็นชนชาติเดียวกัน (ในแง่วัฒนธรรม ไม่ใช่พันธุกรรม) แต่ความเป็น "รัฐชาติไทย" ที่ทุกคนในชาติมีสำนึกรับรู้ว่าทุกคนในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันเป็นคนไทยร่วมเลือดเนื้อเดียวกัน หรือมีสำนึกว่าต้องปกป้องประเทศชาติซึ่งเป็นสถาบันหลักยังไม่มีในอดีตครับ
สำหรับสุโขทัยกับอยุทธยา มีหลักฐานว่าทั้งสองใช้ภาษาไทยเหมือนกัน มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน แต่ในสมัยแรกยังไม่ปรากฏว่าทั้งสองรัฐคิดว่าอีกฝ่ายเป็น "คนไทย" เหมือนกัน มีการทำสงครามกันอยู่แม้จะเป็นรัฐเครือญาติ แม้ว่าต่อมาอยุทธยาจะรวมสุโขทัยไว้ในอำนาจได้ แต่ความรู้สึกแตกต่างนั้นก็มีอยู่ จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าราชวงศ์พระร่วงเดิมคือพระมหาธรรมราชที่ครองเมืองพิษณุโลกกับอยุทธยา ซึ่งกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กรุงศรีอยุทธยาเสียแก่หงสาวดี
แต่หลังจากนี้เข้าใจว่าความบาดหมางระหว่างเมืองเหนือกับเมืองใต้น่าจะหมดไป เพราะเมื่อพระมหาธรรมราชาได้ครองกรุงศรีอยุทธยา สมเด็จพระนเรศวรก็ได้ครองพิษณุโลก จึงไม่น่าจะมีปัญหากันอีก นอกจากนี้เพราะพลเมืองถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีมาก ทำให้ต้องมีการเทครัวหัวเมืองฝ่ายเหนือลงมาป้องกันพระนครเวลารับศึกหงสาวดี จึงน่าจะทำให้พลเมืองเหนือใต้กลมกลืนกันในเวลาต่อมา
ราวสมัยอยุทธยาตอนกลางช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่พบหลักฐานการเรียกแผ่นดินว่า "กรุงไทย" ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย (และยังมีลาวและมอญที่นับเป็นประชากรส่วนใหญ่) และใช้ภาษาไทยเป็นหลัก จึงสันนิษฐานว่าคนไทยในสมัยอยุทธยาน่าจะรับรู้ได้ว่าคนที่มีวัฒนธรรมเหมือนกันและใช้ภาษาเดียวกันเป็นคนไทยเหมือนกัน แม้ว่ารูปแบบความเป็นไทยในสมัยนั้นคงยังไม่เหมือนกับ "ประเทศไทย" ในปัจจุบันก็ตาม
ดินแดนที่มีคนไทยเป็นประชากรหลักอาณาเขตที่กรุงศรีอยุทธยามีอำนาจปกครองโดยตรง (ไม่นับประเทศราช) คือ ทางเหนือก็แค่ภาคกลางตอนบนคือบริเวณของรัฐสุโขทัยเดิม อีสานก็แค่แถบนครราชสีมา พิมาย ทางใต้แค่นครศรีธรรมราช พัทลุง
หัวเมืองอื่นๆ ที่เป็นประเทศราชอย่างล้านนา ล้านช้างบางส่วน กับภาคอีสานซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน อยุทธยาไม่เคยนับว่าเป็นชาติเดียวกับตนเอง แต่เรียกรวมๆ ว่า "ลาว" เช่นเดียวกับทางรัฐมลายูภาคใต้ที่ถูกเรียกว่า "แขก" ซึ่งก็ถูกเรียกเช่นนี้มาจนสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
ล้านนา แม้จะมีหลักฐานว่าเรียกตนเองว่า "ไท" โดยเป็นชาว "ไทยวน" แต่อยุทธยานับเป็น "ลาว" มาโดยตลอด ล้านนาก็เรียกดินแดนสุโขทัยและอยุทธยาที่อยู่ใต้ตนเองลงไปว่า "เมืองใต้" เป็นอีกดินแดนหนึ่ง (เหมือนกับที่อยุทธยาเคยเรียกดินแดนของสุโขทัยว่า "เมืองเหนือ") มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะมีความพยายามผนวกหัวเมืองล้านนาเข้ากับการปกครองของสยามในยุคหลัง แต่ยังมีความแปลกแยกในเรื่องเชื้อชาติอยู่ ในรัชกาลที่ ๗ ยังปรากฏการเรียกคนล้านนาว่า "ลาว" อยู่
ล้านนาเองน่ามีความใกล้ชิดกับพม่ามากกว่าไทย เพราะว่าเคยตกเป็นประเทศราชของพม่าตั้งแต่ยุคหงสาวดีมาเกือบสองร้อยปี ซึ่งราชสำนักพม่าเองได้ผนวกหัวเมืองของล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่าอย่างสมบูรณ์ โดยตั้งให้เชียงใหม่และเชียงแสนเป็นเมืองที่ปกครองโดยข้าหลวง (เมียวหวุ่น-Myowun) ชาวพม่าโดยตรง ก่อนที่จะกบฏต่อพม่ามาเข้ากับสยามในสมัยธนบุรี หลังจากนั้นมีความใกล้ชิดกับสยามมากขึ้น แต่ยังเป็น "ลาว" ในสายตาไทยสยามอยู่ครับ
ในสมัยอยุทธยาถึงรัชกาลที่ ๔ ยังมีรูปแบบการปกครองแบบ "รัฐราชาธิราช" มีอำนาจหลวมๆ เหนือเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชอย่างล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา มลายูซึ่งอยู่ใต้บารมีกษัตริย์เอกราช โดยมีพันธะด้วยการถวายบรรณาการดอกไม้เงินดอกไม้ทองหรือองค์ประกัน โดยที่เจ้าเอกราชไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวเรื่องการปกครองหรือธรรมเนียมปฏิบัติภายใน เขตแดนของสยามไม่ได้มีแน่นอนและส่วนกลางยังไม่มีอำนาจในการบริหารหัวเมืองและประเทศราชที่ห่างไกลอย่างเด็ดขาดไพร่หัวเมืองอาจมีความผูกพันกับข้าราชการท้องถิ่นของตนมากกว่าส่วนกลาง
ในสมัยที่รัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้เปลี่ยนสถานะ "รัฐราชาธิราช" เป็น "รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์" โดยดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งในการปกครองอาณาจักรและพุทธจักร เลิกระบบไพร่ทาสเพื่อลดอำนาจขุนนางดึงอำนาจสูงสุดเข้าสู่พระมหากษัตริย์ ผนวกหัวเมืองประเทศราชซึ่งเคยมีอิสระในการปกครองตนเองเข้ามาเป็นหัวเมืองของสยามโดยการตั้งมณฑลเทศาภิบาล ทำให้สถานะของ "ประเทศสยาม" (เข้าใจว่าเพิ่งมีคำนี้ในสมัย ร.๔-๕ จริงๆสมัยนั้นก็มีการเรียก 'ประเทศไทย' แล้ว แต่โดยทางการแล้วยังเป็น 'ประเทศสยาม') พัฒนาขึ้นเป็นรัฐสมัยใหม่ซึ่งมีเขตแดนชัดเจน
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ มณฑลเทศภิบาลถูกยุบเหลือแต่จังหวัดแบบในปัจจุบัน จนมาถึงสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการออก "รัฐนิยม" เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติด้วยแนวคิดชาตินิยม ทำให้ชื่อประเทศจาก "ประเทศสยาม" กลายเป็น "ประเทศไทย" อย่างในปัจจุบัน ชนชาติทั้งหลายที่อาศัยอยู่ซึ่งตั้งแต่โบราณมีหลากหลายทั้งไทย ลาว มอญ เขมร ญวน จาม จีน ชวา มลายู ฯลฯ จึงถูกเปลี่ยนเป็น "คนไทย" ทั้งหมด ซึ่งก็น่าจะใกล้เคียงกับ "ประเทศไทย" หรือ "ชาติไทย" ในปัจจุบันที่สุดครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมถึงเรียกคนไทยว่าคนไทยคะ
อันนี้ไม่ได้เสี้ยมนะคะ คือสงสัยจริงๆค่ะ มันมีเหตุผลอื่นมั้ยคะ ที่ใช้คำว่าไทยก่อนหน้ายุคจอมพลป.
.
.
.
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ